วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

คู่มือการเพิ่มผลผลิตให้ น้อยหน่า

การปลูก
วิธีการปลูก
1.    ควรปลูกในช่วงฤดูฝน  ขุดหลุมปลูกให้มีขนาดกว้าง ยาวและลึกประมาณ 50 เซนติเมตร
2.    ผสมดิน ปุ๋ยอินทรีย์ ตรายักษ์เขียว สูตร 2 (แถบเขียว) จำนวน 1 กิโลกรัม และปุ๋ยร็อคฟอสเฟต ประมาณ 500 กรัม เข้าด้วยกันในหลุมสูงประมาณ 2 ใน 3 ของหลุม
3.    ยกถุงกล้าต้นไม้วางในหลุม โดยให้ระดับของดินในถุงสูงกว่าระดับดินปากหลุมเล็กน้อย
4.    ใช้มีดที่คมกรีดถุงจากก้นถุงขึ้นมาถึงปากถุงทั้ง 2 ด้าน (ซ้ายและขวา)
5.     ดึงถุงพลาสติกออก โดยระวังอย่าให้ดินแตก
6.     กลบดินที่เหลือลงในหลุม
7.    กดดินบริเวณโดนต้นให้แน่น
8.    ปักไม้หลักและผูกเชือกยึด เพื่อป้องกันลดพัดโยก
9.    หาวัสดุคลุดดินบริเวณโคนต้น เช่น ฟางข้าว หญ้าแห้ง
10. รดน้ำให้ชุ่ม
11. ทำร่มเงา เพื่อช่วยพรางแสงแดด
ระยะปลูก   3 x 3 เมตร    
จำนวนต้นต่อไร่    จำนวนต้นเฉลี่ย 150 ต้น/ไร่
การดูแลรักษา
การให้ปุ๋ย 
  1. ต้นที่ยังไม่ให้ผลผลิตใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ตรายักษ์เขียว สูตร 2 (แถบเขียว)อัตรา 1-2 กิโลกรัม/ต้น/ปี แบ่งใส่ 2 - 3 ครั้ง ช่วงฤดูฝน
  2. ต้นที่ให้ผลผลิตแล้ว แบ่งการใส่ปุ๋ยดังนี้
     - บำรุงต้นใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ตรายักษ์เขียว สูตร 2 (แถบเขียว) อัตรา 0.5-1 กิโลกรัมต่อต้น
- ระยะสร้างตาดอก ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ตรายักษ์เขียว สูตร 1 (แถบทอง) อัตรา 0.5-1 กิโลกรัมต่อต้น
     - บำรุงผล ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 อัตรา 1 ส่วน + ปุ๋ยอินทรีย์ ตรายักษ์เขียว สูตร 1 (แถบทอง)  อัตรา 2 ส่วน (ครั้งละ 1 กก. ใส่ 2-3 ครั้งจนถึงเก็บเกี่ยว)
     หมายเหตุ ปริมาณปุ๋ยที่ใช้ขึ้นอยู่กับอายุของต้นและผลผลิตบนต้น ซึ่งอัตราที่ใช้อยู่ระหว่าง 2 - 4 กิโลกรัม/ต้น/ปี

การให้ปุ๋ยทางใบ
  1. ต้นที่ยังไม่ให้ผลผลิต ฉีดพ่น ไบโอเฟอร์ทิล สูตรไล่แมลง อัตรา 30 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 15-20 วัน ทำให้ต้นเจริญเติบโตได้ดี ทรงพุ่มใหญ่ แบกผลผลิตได้มาก และช่วยป้องกันการเข้าทำลายของแมลง
  2. ต้นที่ให้ผลผลิตแล้ว แบ่งฉีดเป็นช่วง ดังนี้
     - บำรุงต้น,สร้างใบใหม่ ฉีดพ่น ไบโอเฟอร์ทิล สูตรไล่แมลง อัตรา 30 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 10 วัน
- ระยะสร้างตาดอก ฉีดพ่น ไบโอเฟอร์ทิล สูตรไล่แมลง อัตรา 30 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 5 วันจนดอกบานเต็มที่(ประมาณ 3 ครั้ง)
- บำรุงผล ขยายขนาด เพิ่มรสชาด ฉีดพ่น ไบโอเฟอร์ทิล สูตรเร่งขนาดผล อัตรา 30 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 10-15 วัน เพิ่มน้ำหนัก และรสชาติ

การให้น้ำ
          ในระยะปลูกใหม่ จำเป็นต้องให้น้ำสม่ำเสมอ จะช่วยให้น้อยหน่าเจริญเติบโตได้เร็ว จำนวนรอดตายสูง น้อยหน่าเริ่มติดผลได้ในปีที่ 2 การให้น้ำแก่ต้นน้อยหน่าสม่ำเสมอจะทำให้ขนาดของผลและคุณภาพผลดี
การปฏิบัติอื่น ๆ
          น้อยหน่าที่ให้ผลในระยะ 2 - 3 ปีแรก ไม่จำเป็นต้องตัดแต่งกิ่ง เพราะยังให้ผลขนาดใหญ่อยู่จะต้องตัดแต่งบ้างก็เป็นกิ่งที่สูงเกินไป กิ่งฉีกหัก กิ่งแก่ กิ่งไม่สมบูรณ์ ส่วนการตัดแต่งกิ่งครั้งใหญ่ จะเริ่มตัดแต่งกิ่งเมื่อน้อยหน่าอายุประมาณ 4 - 8 ปี ซึ่งต้นจะเริ่มเสื่อมโทรม ผลเล็ก รูปร่างไม่ดี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ความสมบูรณ์ของต้นและการบำรุงรักษาเป็นสำคัญ
การป้องกันกำจัดศัตรูพืช
          1. ระยะแตกใบอ่อน      ระวังศัตรูพวกหนอนกินใบ ป้องกันโดยพ่นชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดแมลง “เมทา-แม็ก” +ยาจับใบ หรือ หากใช้สารเคมี (ใช้คาร์บาริล หรือ ไซเปอร์เมธริน)
          2. ระยะออกดอก   ระวังศัตรูหนอนกัดกินดอกอ่อน,เพลี้ยไฟ,ไรแดง  ป้องกันโดย ชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดแมลง “เมทา-แม็ก” +ยาจับใบ หรือ หากใช้สารเคมีป้องกันให้พ่นด้วยสารคาร์บาริล หรือ  อิมิดาโคลพริด
          3. ระยะติดผล  ระวังโรครา ป้องกันโดยพ่นสาร แคปแทน หรือ บีโนมิล  และเพลี้ยแป้ง,เพลี้ยหอย ป้องกันกำจัดด้วยชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดแมลง “เมทา-แม็ก”+ยาจับใบ หรือหากใช้สารเคมี พ่นด้วยสารคลอไพริฟอส ผสม ไซเปอร์เมทริน
ปฏิทินการดูแลรักษา
ปฏิทินการปฏิบัติดูแลรักษา น้อยหน่า ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ม.ค.
ก.พ.
มี.ค.
เม.ย.
พ.ค.
มิ.ย.
ก.ค.
ส.ค.
ก.ย.
ต.ค.
พ.ย.
ธ.ค.
- แตกใบอ่อน
- ให้น้ำสม่ำเสมอ
- ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล สูตรไล่แมลง  อัตรา 30 ซีซี/ปี๊บ+อาหารเสริม ออลวัน-100
- ออกดอก
- ฉีดพ่นเมทา-แม็ก ป้องกันกำจัดโรคแมลง (ยกเว้นช่วงดอกบาน)
ปุ๋ยอินทรีย์ยักษ์เขียว อัตรา 1 กิโลกรัม
- ติดผลอ่อน
-ให้ปุ๋ยสูตร 13-13-21+ยักษ์เขียว
- ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคแมลง
- ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล สูตรเร่งขนาดผล อัตรา 30 ซีซี/ปี๊บ+อาหารเสริม ออลวัน-100
- เก็บเกี่ยวผลผลิต
- ช่วงพักต้น
- ตัดแต่งกิ่งรูดใบทิ้งให้หมด
- ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ยักษ์เขียว อัตรา 1-2 กก.ต่อต้น ตามขนาดทรงพุ่ม
การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
          1. ดัชนีการเก็บเกี่ยว ผลน้อยหน่าจะเก็บเกี่ยวได้ประมาณ 110 - 120 วัน จากดอกบานโดยสังเกตร่องตาน้อยหน่าเริ่มห่างและสีร่องตาเข้ม ผิวจะเปลี่ยนจากสีเขียวอมเหลือง สำหรับน้อยหน่า-หนัง,เพชรปากช่อง สำหรับพันธุ์สีครั่งจะเปลี่ยนเป็นสีม่วง
          2. การเก็บเกี่ยว โดยใช้มือปลิดผลติดขั้ว ถ้าอยู่สูงจะใช้ไม่ง่ามสอย ลงมาปลดผล ใส่ตะกร้า นำมาคัดขนาด และบรรจุผลใส่ภาชนะบรรจุ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ตะกร้าสานด้วยไม้ไผ่ โดยรองด้วยใบตอง
          3. อายุการเก็บรักษา หลังจากขนส่งน้อยหน่าส่งตลาดผลผลิตจะเริ่มสุก ขึ้นอยู่กับความแก่ของผลผลิตที่เก็บเกี่ยวปกติอายุการวางขยายผลผลิต จะอยู่ระหว่าง 3 - 5 วัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น