วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554

แนวการปฏิบัติเืบื้องต้นและเลือกใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชทางการเกษตรด้วยความปลอดภัย


แนวการปฏิบัติเืบื้องต้นและเลือกใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชทางการเกษตรด้วยความปลอดภัย


การปฏิบัติและเลือกใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชทางการเกษตรด้วยความปลอดภัย
สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
สารเคมีกำจัดศัตรูพืช  หมายถึง  วัตถุมีพิษที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ในการควบคุมแมลง โรคพืชและวัชพืช  ซึ่งเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ด้วย จึงจำเป็นที่จะต้องใช้อย่างระมัดระวังอย่างมากในการใช้และการเก็บรักษา
ชนิดของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช  ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่ม
กลุ่มของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่สำคัญ ซึ่งได้แก่
1. สารเคมีกำจัดแมลง
2. สารป้องกันและกำจัดเชื้อรา
3. สารเคมีกำจัดวัชพืช
4. สารเคมีกำจัดไส้เดือนฝอย
ศัตรูพืชที่สำคัญ  แบ่งแยกเป็นประเภทได้ ดังนี้
1. ประเภทแมลงปากกัด
2. ประเภทแมลงปากดูด
3. ประเภทโรคพืชที่เกิดจากเชื้อไวรัส
4. ประเภทโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
5. ประเภทโรคพืชที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
6. วัชพืช
7. ไส้เดือนฝอย
8. เชื้อราในดิน
9. แมลงศัตรูพืชในดิน
10. หนู
11. หอย
การอารักขาพืช (การป้องกันและกำจัดศัตรูพืช)  คืออะไร?
การอารักขาพืช  หมาย ถึง ผลของความพยายามทั้งปวงของมนุษย์ที่จะปกป้องพืชที่ปลูกให้ปลอดภัยจากการ ทำลายของศัตรูพืชทั้งมวล และทำให้พืชที่ปลูกได้รับผลผลิตในปริมาณและคุณภาพที่เหมาะสมสอดคล้องกับ ปริมาณปัจจัยการผลิตที่ถูกใช้ไป
การอารักขาพืช  ควรจะรวมถึงการเขตกรรม การใช้สารเคมี  และ ชีววิธี(ปลอดสารพิษ) ดังนั้นการอารักขาพืชจึงเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตพืช สำหรับในบทความนี้จะเอ่ยถึงเฉพาะสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเท่านั้น
ชนิดของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (แบ่งตามประสิทธิภาพและกิจกรรม)
ชนิดของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถแยกออกเป็นชนิดต่างๆ ตามประเภทสิทธิภาพและกิจกรรม ได้ดังนี้  คือ
1. สารกำจัดแมลง
2. สารกำจัดไร
3. สารป้องกันและกำจัดเชื้อรา
4. สารป้องกันและกำจัดเชื้อแบคทีเรีย
5. สารกำจัดวัชพืช
6. สารกำจัดไส้เดือนฝอย
7. สารรมฆ่าเชื้อโรค/แมลงในดิน
8. สารกำจัดหนู
9. สารกำจัดหอย
10. สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
สารเคมีกำจัดแมลงและสารเคมีกำจัดไรศัตรูพืช
ชนิดของแมลงและไร
สารเคมี กำจัดแมลงจะสามารถควบคุมแมลงและไรศัตรูพืชได้บางชนิด ในขณะที่สารเคมีกำจัดไรศัตรูพืชจะสามารถควบคุมไรศัตรูพืชเป็นส่วนใหญ่ และจะควบคุมแมลงได้บางชนิด ตามลักษณะของปากสามารถแบ่งแมลงออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่ม คือ
1. แมลงพวกปากกัดและเคี้ยวกิน เช่น แมลงสาป จิ้งหรีด แมงกะชอน แมลงหางหนีบ ตั๊กแตน ด้วงปีกแข็ง  ด้วงงวง หนอนผีเสื้อกลางวันและหนอนผีเสื้อกลางคืน
2. พวกแมลงปากเจาะดูด ได้แก่ เพลี้ยไฟ มวน มวนแดง จักจั่น เพลี้ยจั๊กจั่น แมลงหวี่ขาว เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย บั่ว แมลงวันผลไม้ หนอนชอนใบ
สารเคมีกำจัดแมลงและการออกฤทธิ์ทำลาย
ตามลักษณะการออกฤทธิ์ทำลายเราสามารถจำแนกกลุ่มสารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้  ดังนี้
1. สารกำจัดแมลง
2. สารกำจัดไร
3. สารกำจัดเพลี้ย
4. สารกำจัดไข่แมลง
5. สารกำจัดตัวอ่อน
6. สารกำจัดตัวเต็มวัย (ตัวแก่) ของแมลง
7. สารผสม 2-3 ชนิด ดังกล่าวรวมกัน
ชนิดปฏิกิริยาของสารกำจัดแมลงตามลักษณะการเข้าทำลายและแมลงศัตรูพืชเป้าหมาย
1. สารกำจัดแมลงประเภทสัมผัสหรือถูกตัวตาย ทำลายแมลงทุกชนิด
2. สารกำจัดแมลงประเภทกินตาย ทำลายแมลงพวกปากจัดกิน
3. สารกำจัดแมลงประเภททำลายระบบหายใจ ทำลายแมลงทุกชนิด
4. สารกำจัดแมลงประเภทดูด ซึม ทำลาย แมลงประเภทปากเจาะดูดและไรแดง
สารป้องกันและกำจัดเชื้อรา
ชนิดของโรคพืช
โรคพืชสามารถจำแนกออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 3 กลุ่ม คือ
1. โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
2. โรคพืชที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
3. โรคพืชที่เกิดจากเชื้อวิสาหรือไวรัส
ตัวอย่างโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราที่พบอยู่สม่ำเสมอ
1. โรคใบไหม้ของมันฝรั่ง
2. โรคราแป้งของแอปเปิ้ล
3. โรคใบขีดและใบจุดของกล้วย
4. โรคใบไหม้ของข้าว
โรคพืชที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
1. โรคไหม้ของมะม่วง
2. โรคเหี่ยวของมะเขือเทศ
โรคพืชที่เกิดจากเชื้อวิสาหรือไวรัส
1. โรคใบขีดของข้าวโพด
2. โรคใบด่างของยาสูบและพืชตระกูลแตง
การออกฤทธิ์
การควบคุม เชื้อราสาเหตุของโรคพืช สารเคมีป้องกันและกำจัดเชื้อราจะฆ่าหรือยับยั้งเชื้อราตามช่วงการเจริญเติบ โตของเชื้อรา การออกฤทธิ์ ควบคุม    เชื้อรา สามารถแบ่งได้  ดังนี้
1. ออกฤทธิ์โดยการป้องกัน สารเคมีจะต้องฉีดพ่นก่อนการเข้าทำลายของเชื้อราหรือก่อนการเข้าทำลายของ เชื้อราหรือก่อนจะมีการแพร่ระบาดของโรค และมีคุณสมบัติเป็นสารเคมีประเภทสัมผัส
2. ออกฤทธิ์ทำลายเชื้อราโดยการรักษา สารเคมีจะรักษาโรคที่เกิดขึ้นแล้วให้รายจากโรค แต่ทั้งนี้อาการของโรคจะต้องอยู่ในระยะเริ่มแรกและอาการยังไม่รุนแรงมากนัก
3. ออกฤทธิ์โดยการเลือกทำลาย สารเคมีจะเลือกทำลายเฉพาะเชื้อราบางชนิดเท่านั้น
4. ออกฤทธิ์โดยการเสริมฤทธิ์ ได้จากการนำสารเคมีตั้งแต่ 2 ชนิด มาผสมกันและสารผสมที่ได้จะมีประสิทธิภาพในการควบคุมได้ดีขึ้น
5. ออกฤทธิ์โดยการแทรกซึม สารเคมีจะซึมซาบเข้าสู่เนื้อเยื่อของใบและเซลล์ภายในพืช
6. ออกฤทธิ์โดยการดูดซึม สารเคมีเมื่อซึมซาบสู่ใบพืชแล้วจะเกิดการเคลื่อนย้ายในพืช และออกฤทธิ์ทำลาย เชื้อราที่อยู่ภายใน
7. ออกฤทธิ์โดยการดูดซึมเฉพาะที่ สารเคมีจะเคลื่อนย้ายเข้าสู่ใบพืช แล้วสามารถเคลื่อนย้ายขึ้นข้างบนได้เล็กน้อย
8. ออกฤทธิ์โดยการยับยั้งการเจริญเติบโต สารเคมีจะยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราหรือแบคทีเรียโดยไม่ฆ่าหรือทำลาย เชื้อราหรือแบคทีเรียโดยฆ่าหรือทำลายเชื้อราหรือแบคทีเรีย
สารกำจัดวัชพืช
การใช้สารกำจัดวัชพืช  เกษตรกร จะต้องให้ความสนใจและระมัดระวังในการใช้มากกว่าการใช้สารเคมีกำจัดแมลงและ กำจัดเชื้อรา เพราะอาจจะก่อให้ผลเสียได้ คือ สารเคมีจะทำลายพืชที่เราปลูกด้วย
ชนิดของสารเคมีกำจัดวัชพืช
1. สารกำจัดวัชพืชชนิดควบคุมวัชพืชตระกูลหญ้า
2. สารกำจัดวัชพืชชนิดควบคุมวัชพืชใบกว้าง
3. สารกำจัดวัชพืชชนิดควบคุมวัชพืชตระกูลกก
4. สารกำจัดวัชพืชชนิดควบคุมวัชพืชทุกชนิด
สารเคมีกำจัดวัชพืชและการออกฤทธิ์
1. สารกำจัดวัชพืชอาจแบ่งออกเป็นชนิดต่างๆ   ตามช่วงระยะการใช้และระยะการเจริญเติบโตของพืช ได้ดังนี้
1.1 ประเภทฉีดพ่นก่อนการปลูกพืชและต้องคลุกเคล้าลงดิน
1.2 ประเภทฉีดพ่นหลังพืชและวัชพืชงอกแล้ว
1.3 ประเภทฉีดพ่นก่อนพืชและวัชพืชงอก
2. แบ่งตามลักษณะการออกฤทธิ์
2.1 ประเภทสัมผัส เช่น พาราควอท
2.2 ประเภทฉีดพ่นทางใบและซึมซาบทางใบ เช่น เบนตาโซน
2.3 ประเภทฉีดพ่นทางใบและเคลื่อนย้าย เช่น สารกำจัดวัชพืชคล้ายฮอร์โมน เช่น 2-4-D
2.4 ประเภทฉีดพ่นทางดินและเคลื่อนย้าย เช่น อะทราซิน
2.5 ประเภทฉีดพ่นทางใบและตกค้าง  เช่นโพรพานิล , เบนไธโอคาร์บ
3. แบ่งตามการฉีดพ่น
3.1 ประเภทฉีดพ่นคลุมทั่วพื้นที่
3.2 ประเภทฉีดพ่นตามแถวพืชปลูก
3.3 ประเภทฉีดพ่นเป็นจุด
สารเคมีกำจัดไส้เดือนฝอย
ไส้เดือนฝอย มีขนาดระหว่าง 0.2-1 มิลลิเมตร มีลักษณะรูปร่างคล้ายตัวหนอน ไส้เดือนฝอยไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จึงมักเรียกว่า ศัตรูที่ไม่สามารถมองเห็นได้สารเคมีผลิตภัณฑ์สำหรับกำจัดไส้เดือนฝอยมักจะอยู่ในรูปของก๊าซของเหลว เม็ด หรือผงละลายน้ำ
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสารกำจัดไส้เดือนฝอย
สารกำจัด ไส้เดือนฝอย เป็นวัตถุมีพิษที่มักอยู่ในรูปของก๊าซ ของเหลว ที่ระเหยตัวเป็นไอได้ง่ายเป็นเม็ดหรือผง เป็นสารที่ใช้ทำความสะอาดดินให้ปราศจากไส้เดือนฝอย ประมาณ 7-21 วัน ก่อนเพาะกล้าหรือย้ายกล้าพืช สำหรับสารกำจัดไส้เดือนฝอย ชนิดเม็ดจะมีสารออกฤทธิ์ในระดับต่ำทำให้สามารถใช้ในระหว่างแถวพืชที่ปลูกได้ โดยให้ห่างจากต้นพืชประมาณ 2-3 นิ้ว ไส้เดือนฝอยจะเข้าทำลายรากพืช โดยการเจาะและดูดน้ำเลี้ยงและวางไข่
อาการของโรคพืชที่เกิดจากการทำลายไส้เดือนฝอย
พืชที่ เป็นโรคสาเหตุเกิดจากไส้เดือนฝอย จะมีอาการเตี้ย แคระแกรน ขาดความสมบูรณ์ และมีแนวโน้มที่จะแสดงอาการเหี่ยวอย่างรุนแรง ในวันที่อากาศร้อนหรือแห้งแล้ง ถ้าพบไส้เดือนฝอยที่มีการระบาดมากจะทำให้พืชมีผลผลิตและคุณภาพลดลง นอกจากนี้แล้วยังอาจจะทำให้พืชเกิดโรคทางใบ โรคเหี่ยวของท่อน้ำขาดอาหารและความทนทานต่อเชื้อสาเหตุของโรคอื่นๆ ลดลง และรากพืชจะเป็นปุ่มปมรากบวม การบวมโป่งจะมีขนาดแตกต่างกันไป ในแปลงพืชที่พบว่ามีไส้เดือนฝอยเข้าทำลาย จะมีผลทำให้อาการของส่วนของพืชที่อยู่เหนือดินตามมา โดยเริ่มจากการเจริญเติบโตลดลง ใบเริ่มเหลือง พืชจะเหี่ยวในขณะที่อากาศร้อนหรือแห้ง
การป้องกันและกำจัดโรค
การควบคุมโรคพืชที่เกิดจากไส้เดือนฝอยให้ได้ผลดีที่สุด คือ การป้องกันซึ่งประกอบด้วย
1. การปลูกพืชหมุนเวียน ไส้เดือนฝอย ศัตรูพืชบางชนิดชอบที่จะเป็นศัตรูพืชกับพืชบางชนิดเท่านั้น หากเว้นระยะการปลูกพืชดังกล่าวในระยะเวลาหนึ่ง โดยหันไปปลูกพืชอื่นแทนประมาณ 3-4 ปี ไส้เดือนฝอยชนิดนั้นๆ จะมีจำนวนน้อยลง
2. การปฏิบัติทางการเกษตร เช่น การเผาหรือเคลื่อนย้ายซากพืชที่เป็นโรค
3. ใช้พันธุ์พืชที่มีความต้านทานปลูก
4. การใช้เชื้อราพาซิโลมัยซิส(ปลอดสารพิษ) ในการป้องกันและกำจัด
5. การลดประชากรไส้เดือนฝอย โดยการปลูกพืชตระกูลดาวเรือง สามารถช่วยลดประชากรไส้เดือนฝอย
6. การใช้สารเคมีควบคุมไส้เดือนฝอยบางชนิด จะกำจัดจุลินทรีย์ต่างๆ แมลงไส้เดือนฝอยและวัชพืช ทั้งหมด การใช้จึงควรต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง
สูตรผสมของสารเคมีกำจัดวัชพืช
ลักษณะสูตรผสมของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
โดยทั่วไปแล้วสารกำจัดศัตรูพืชจะผลิตอยู่ในรูปของสูตรผสม ซึ่งมีอยู่ 5 ลักษณะ คือ
1. สารกำจัดศัตรูพืชที่ใช้ในรูปของการฉีดพ่น
2. สารกำจัดศัตรูพืชที่ใช้ในรูปของฝุ่นผง
3. สารกำจัดศัตรูพืชที่ใช้ในรูปของการหว่านโรย ข้างแถวพืชหรือการหว่านคลุเคล้าลงดิน
4. สารกำจัดศัตรูพืชที่ใช้ในรูปของเหยื่อพิษ
5. สารกำจัดศัตรูพืชที่ใช้ในรูปของการคลุกเมล็ด
ข้อควรระวังและข้อปฏิบัติในการใช้สารเคมีกำจัด
1. สารเคมีที่เป็นอันตรายกับปลา ห้ามเทสารเคมีนี้ลงไปในแม่น้ำลำคลอง
2. สารเคมีเป็นอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง
3. ชำระล้างร่างกายทันที่หลังจากการใช้สารเคมี
4. ในขณะฉีดพ่นสารเคมีจะต้องสวมถุงมือและใส่รองเท้า
5. ใส่รองเท้าบูท แว่นตา และสวมถุงมือ เมื่อถือหรือขนส่งสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
6. เก็บรักษาไว้ในที่มิดชิด มีกุญแจและห่างจากการหยิบถือของเด็ก
7. ล้างมือและหน้าด้วยสบู่ก่อนกินอาหาร ดื่มน้ำหรือสูบบุหรี่
8. ห้ามกินอาหาร ดื่มหรือสูบบุหรี่ขณะทำงาน
9. ชำระล้างร่างกายด้วยสบู่และซักเสื้อผ้าด้วยผงซักฟอกภายหลังจากเสร็จสิ้นภารกิจการทำงาน
มาตรการการป้องกันจะต้องมีเมื่อมีการฉีดพ่นสารเคมีดังต่อไปนี้
1. ใช้ชุดป้องกันสารเคมี
2. ไม่ควรอนุญาตให้เด็กๆ ใช้เครื่องพ่นสารเคมี
3. บริเวณฉีดพ่นจะต้องปราศจากสัตว์เลี้ยง
4. ไม่ควรสูบบุหรี่ กินอาหาร หรือดื่มน้ำระหว่างผสมหรือฉีดพ่นสารเคมี
5. ไม่ควรใช้เครื่องพ่นสารเคมีที่ชำรุด รั่วไหล เพื่อความแน่ใจควรเช็ดความสะอาดของหัวฉีดและสายฉีดที่สมบูรณ์ที่ผู้ใช้จะนำ ไปฉีดพ่นสารเคมี
6. หลีกเลี่ยงละอองสารที่ฉีดพ่น
7. ความสมบูรณ์ในการฉีดพ่นของผู้พ่น จะต้องชำระให้สะอาดและล้างทำความสะอาดด้วยน้ำเพื่อความปลอดภัย
8. บริเวณที่ฉีดพ่นสารเคมี จะต้องทำเครื่องหมายแสดงไว้เพื่อป้องกันการเข้าไป
การเกิดพิษจากสารเคมีและการพยาบาลเบื้องต้น
สารเคมีกำจัดศัตรูพืช จะเข้าสู่ร่างกายได้ 3 ทาง คือ
1. ทางผิวหนัง
2. ทางปาก
3. ทางจมูก
ลักษณะอาการของการเกิดพิษ
1. สารเคมีที่มีพิษน้อย สามารถทำให้เกิดพิษและมีลักษณะอาการปวดหัว อ่อนเพลีย เหนื่อย มึนงง เหงื่อออก น้ำลายฟูมปาก น้ำตาลไหล ระคายคอ
2. สารเคมีที่มีพิษปานกลาง ก่อให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ตามัว ตัวสั่น แน่นหน้าอก ท้องเป็นตะคริว อ่อนเพลีย หายใจถี่ เกิดอาการทางประสาท ม่านตาไม่ขยาย และเหงื่อออกมาก
3. สารเคมีที่มีพิษร้ายแรง ก่อให้เกิดอาการชัก หัวใจล้มเหลว ไม่รู้สึกตัว ชีพจรเต้นช้า และตายในที่สุด
การแก้พิษเบื้องต้น จะต้องปฏิบัติดังนี้
1. ย้ายผู้ป่วยออกจากที่เกิดเหตุแล้วนำไปไว้ที่มีร่มเงา
2. ถ้าเป็นไปได้ให้นำผู้ป่วยส่งแพทย์ทำการรักษาโรคทันที โดยนำภาชนะบรรจุสารเคมี หรือฉลาดสารเคมีที่เป็นสาเหตุของการเกิดพิษไปด้วย
3. ก่อนนำผู้ป่วยส่งแพทย์ให้ทำการรักษาพยาบาลเบื้องต้น ดังนี้
3.1 ชำระล้างส่วนผิวหนังที่เปรอะเปื้อนสารเคมีด้วยสบู่ น้ำและเสื้อผ้าที่ผู้ป่วยสวมใส่ให้ถอดออก นำผู้ป่วยนอนลงพื้นเขย่าศีรษะไปมา เพื่อให้รู้สึกตัว
3.2 สำหรับผู้ป่วยจากการกลืนสารพิษเข้าไป อันดับแรกให้แยกแยะสารพิษชนิดที่ผู้ป่วยกินเข้าไป ถ้าผู้ป่วยรู้สึกตัวและควบคุมตัวเองได้ให้ทำให้อาเจียนในทันทีทันใด ซึ่งสามารถทำได้โดยการดื่มน้ำ 1-2 ลิตร และล้วงคอให้อาเจียน
3.3 สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่เป็นของเหลวประกอบด้วยสารออกฤทธิ์และผสมเป็นเนื้อ เดียวกัน เมื่อผสมน้ำมีลักษณะสีขาวขุ่น หากผู้ใดได้รับสารเคมีชนิดนี้ให้ทำให้อาเจียน เพื่อให้เกิดการบรรเทาหลังจากนั้นให้ผู้ป่วยรับประทานไข่ หรือนม เพื่อให้มีการระบายท้อง หรือให้อาหารพวกแป้งละลายน้ำ
หมายเหตุ  ถ้าผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวหรือ ไม่สามารถช่วยตนเองได้
ห้ามทำให้อาเจียน
ข้อคำนึงในการซื้อสารเคมี
1. ซื้อในจำนวนที่เพียงพอต่อการใช้ในฤดูกาลหนึ่ง ไม่ควรซื้อมากเกินไปแล้วเก็บส่วนที่เหลือไว้หลังจากหมดฤดูกาลเพาะปลูกนั้นๆแล้ว
2. ในกรณีที่ต้องใช้สารเคมีในปริมาณมากให้พิจารณาเลือกซื้อชนิดที่แบ่งบรรจุ ไม่ควรซื้อชนิดที่แบ่งบรรจุ ไม่ควรซื้อชนิดที่บรรจุขนาดใหญ่ ทั้งนี้เพื่อสะดวกและปลอดภัยในการใช้
3. ตรวจดูว่าภาชนะบรรจุว่าชำรุดรั่วหรือไม่ ฉลากจะต้องไม่เสียหายและอ่านได้ง่ายและอ่านได้ง่าย เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาในภายในภายหลัง
ข้อปฏิบัติในการเก็บรักษา
การเก็บรักษาสารเคมี ไม่ว่าจะมีปริมาณมากหรือน้อย ต้องคำนึงถึงความปลอดภัย ดังนี้
1. เก็บในที่มั่นคง แข็งแรงและมีล็อคกุญแจให้เรียบร้อย และเก็บให้ห่างจากเด็กหรือสัตว์เลี้ยงไม่สามารถสัมผัสได้
2. สถานที่เก็บสารเคมีควรอยู่ห่างจากยุ้งฉาง และไม่ควรเก็บใกล้กับแหล่งกำเนิดความร้อน เช่น เตาไฟ ตะเกียง
3. โกดัง เก็บสารเคมีควรแยกเป็นเอกเทศจากอาการอื่นๆ
ปัจจัยที่ผลกระทบต่อการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
1. ประสิทธิภาพของเครื่องพ่นสารเคมี ควรทำความสะอาดที่กรอง หัวฉีด และซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของเครื่องที่เกิดชำรุดเสียหาย และสำรวจตรวจเช็คเครื่องพ่นสารเคมี ตามรอยต่อต่างๆ
2. ศัตรูพืช
3. การเลือกใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ควรเลือกใช้สารเคมีที่เหมาะสมกับชนิดศัตรูพืชนั้นๆ ที่สุด
4. การเก็บรักษาสารเคมี ควรเก็บในห้องที่เย็นและแห้ง มืด มีความปลอดภัยสูง
5. การผสมสารเคมี ควรใช้น้ำสะอาดและหลีกเลี่ยงน้ำที่เป็นกรดด่าง ซึ่งจะทำให้ฤทธิ์ของสารเคมีเปลี่ยนไปได้ และจะทำให้ประสิทธิภาพลดลง
6. การฉีดพ่นสารเคมี เมื่อผสมสารเคมีเสร็จแล้ว ควรฉีดพ่นสารเคมีเลยทันที ไม่ควรผสมสารเคมีทิ้งไว้นานๆ และไม่ควรฉีดสารเคมีในสภาพที่มีอากาศฝนตกหนักและลมแรง
ความต้านทานสารเคมีของศัตรูพืช (ศัตรูพืชดื้อยา)
การเริ่มต้นหรือการป้องกันต้านทานของศัตรูพืชด้วยการปฏิบัติ  ดังนี้
1. ไม่ควรฉีดพ่นสารเคมีบ่อยกว่าที่ต้องการ
2. ไม่ควรใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชน้อยกว่าอัตราที่แนะนำ
3. ไม่ควรใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชมากกว่าอัตราที่แนะนำ
4. ใช้วิธีการควบคุมศัตรูพืชโดยระบบผสมผสาน
5. การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชไม่ใช้ตัวใดตัวหนึ่งมากเกินไป
สาเหตุที่ทำให้เกิดความเป็นพิษต่อพืช
1. สาเหตุพืชไม่ต้านทานต่อสารเคมี
2. ใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชผสมรวมกัน
3. อัตราการใช้สารเคมีสูงกว่าที่แนะนำ
4. ฉีดพ่นสารเคมีในขณะที่มีแดดจัด
5. ขณะฉีดพ่นสารเคมี สารเคมีปลิวไปถูกพืชชนิดอื่นๆที่ปลูกอยู่ใกล้ๆ พืชนั้น ซึ่งพืชเหล่านั้นไม่ทนทานต่อสารเคมีที่ฉีดพ่นในขณะนั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น