วันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2557


           ว่างเว้นงานเขียน Blog ห่างหายไปนานนนน.....ร่วม 2 ปีกว่า   เนื่องจากขยับไปทำธุรกิจ เพิ่มเติม ด้านงานวิศวกรรมโยธา  เรียกหรูนิดนึง ^^  แต่พูดภาษาบ้าน ๆ ได้ใจความเลย ก็คือ งานรับเหมาก่อสร้าง กับงานขายวัสดุก่อสร้างซึ่งเป็นงานสายตรงที่จบมาตามหลักสูตรที่เรียนมา  หากท่านใดต้องการสร้างตึกสร้างอาคาร หรือมีความสนใจก็ไปแวะเยี่ยมชม กันได้
ที่


          มาเข้าเรื่องกันดีกว่า   ณ. ปัจจุบันนี้  พอเริ่มมีเวลาว่างจากงานวิศวกรรม ที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว  ก็รู้สึกอยากจะทำอะไร ๆ ที่เคยเริ่มทำไว้  ก็คือ การมาดูแล Blog นี้  อัพเดทข้อมูลข่าว และสาระที่เป็นประโยชน์ ให้กับทุกท่าน  หวังว่าคงจะได้รับการต้อนรับกันด้วยดีเช่นเคย จากทุก ๆ ท่านครับ 

           เริ่มเคาะสนิมกันก่อน วันนี้เก็บข่าวที่เป็นประโยชน์มาฝาก  จากหน้าข่าวของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ คอลัมน์  "หลังสู้ฟ้า  หน้าสู้ดิน" ของนามปากกา คุณ "ชมชื่น  ชูช่อ"   เห็นว่าเป็นประโยชน์ดี  กับเพื่อนเกษตรกร ที่รู้จักใช้ธรรมชาติ มาจัดการกับการผลิตพืชในสวนเกษตรของตนเอง  นับเป็นตัวอย่างที่ดี ตัวอย่างหนึ่งครับ  ซึ่งไม่ว่าเราจะทำอะไร สาขาใด จะเกษตร หรือ อุตสาหกรรม  ถ้าเรารู้จักใช้ประโยชน์จากพื้นที่,สภาพแวดล้อมและธรรมชาติ (ดิน,น้ำ,ลม,ฤดูกาล)แล้ว เป้าหมายเราที่วางไว้ ก็จะง่ายเข้า เหมือนมีธรรมชาติคอยหนุนหลัง  ดังบทความนี้ครับ

ขอขอบคุณแหล่งที่มา

หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน  โดย ชมชื่น ชูช่อ 2 ธ.ค. 2557 05:01

ไปดูงานศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการคุณภาพทุเรียน อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร ของ คุณฉัตรกมล มุ่งพยาบาล เกษตรกรดีเด่น ผู้มีดีกรีจบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และปริญญาโทจากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) แต่หันมายึดอาชีพเกษตรเป็นชาวสวนผลไม้ แน่นอนผลงานที่ออกมาย่อมไม่ธรรมดา
ยิ่งเห็นวิธีคิด วิธีจัดการสวน ยิ่งอึ้งไปกันใหญ่ เพราะไม่ได้ใช้วิธีการวิเศษพิสดารอะไรเลย แค่เอาหลักการพลังธรรมชาติ เรื่องแรงโน้มถ่วงของโลก มาช่วยลดทุนเพิ่มเงินเข้ากระเป๋าได้อย่างไม่น่าเชื่อ
ด้วยสวนทุเรียนของ คุณฉัตรกมล ตั้งอยู่ในพื้นที่ลาดชัน เป็นเนินสูง ด้านปลายเนินด้านที่ต่ำอยู่ติดกับลำห้วยและสระน้ำที่ขุดไว้...อย่างที่เรา รู้กัน การทำเกษตรบนพื้นที่ไหนๆ เกษตรกรต้องใส่ปุ๋ย แต่ถ้าอยู่ในพื้นที่ลาดชัน ใส่ปุ๋ยไป เรารดน้ำ ฝนตกลงมา น้ำจะพัดพาปุ๋ยลงสู่ที่ราบต่ำหมด
เพื่อให้การใช้ปุ๋ยได้เต็มประสิทธิภาพ คุณฉัตรกมลใช้วิธีใส่ปุ๋ยให้ต้นไม้เฉพาะที่อยู่บนเนินเป็นหลัก จากนั้นให้ธรรมชาติช่วยกระจายปุ๋ยให้แทน เรารดน้ำ ฝนตกมา ถึงปุ๋ยไหลไป ต้นไม้ที่อยู่ด้านล่างก็ยังได้ ประโยชน์ ไม่ต้องกลัวปุ๋ยจะไหลหายสูญเปล่า เลยช่วยประหยัดค่าปุ๋ยไปอีกทาง
และเพื่อให้การใช้ที่ดินเป็นไปตามศักยภาพของพื้นที่ เนินด้านบนปลูกไม้ผล ทุเรียน ส้ม....ที่ราบติดชายน้ำด้านล่าง ปลูกพืชชอบซดน้ำ ปาล์มน้ำมัน
ทุเรียน ส้ม เป็นไม้ผลทำเงินสร้างรายได้ปีละครั้ง...ปาล์มน้ำมันริมชายน้ำ สร้างรายได้รายเดือน
และเพื่อให้มีรายได้ไว้กินใช้รายวัน...ปลูกไผ่ขายหน่อ
เป็นอีกต้นแบบที่พี่น้องเกษตรกรทั้งหลาย ควรจะนำไปเป็นแบบอย่างในการคิดทำ คิดบริหารการจัดแปลงที่ดินทำกินของตัวเอง
ที่ดินที่ใครๆว่า ไม่ดี ทำกินไม่ได้ผล แต่ถ้ารู้จักคิด รู้จักนำสิ่งที่มีอยู่ มาใช้ประโยชน์ให้ตรงกับความเป็นไปของธรรมชาติ เรื่องยากๆ พลันกลายเป็นเรื่องง่ายได้...ขอเพียงรู้จักคิด และคิดให้เป็นเท่านั้น
อย่าไปเชื่อที่เขาว่ามาให้มากนัก...เพราะเขาที่ว่า ยังเอาตัวไม่รอดเลย แล้วจะไปเชื่อได้ยังไง.
ชมชื่น ชูช่อ

วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2555

เทคนิคการปลูกพริกไทย

แผนการปฏิบัติงานเพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตที่มีคุณภาพ
สำหรับสวนพริกไทยตั้งแต่การเริ่มปลูก-การทำผลผลิตคุณภาพ


สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม  
          พื้นที่ไม่มีน้ำท่วมขัง สูงจากระดับน้ำทะเล 0-1200 เมตร มีความลาดเอียง 0-25 องศา แต่ถ้าลาดเอียงมากกว่า 15 องศา ควรทำขั้นบันไดเพื่อป้องกันการพังทะลายของหน้าดิน
ดินร่วน ดินร่วนปนทราย หรือดินร่วนเหนียว มีความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำได้ดี ความลึกของหน้าดินมากกว่า 50 เซนติเมตร ความเป็นกรดด่างอยู่ระหว่าง 5.5-6.5
วิธีการปลูก  การเตรียมกิ่งพันธุ์ ทำได้ 2 วิธี คือ
1.    ตัดจากค้างที่สมบูรณ์ เหนือพื้นดิน 50 เซนติเมตร ตัดเป็นท่อนยาว 5-6 ข้อ ตัดกิ่งแขนง ข้อที่ 1-3 ดอก แล้วนำไปปลูกหลุมละ 20 กิ่ง
2.    นำกิ่งพันธุ์ที่ตัดเป็นท่อนแล้ว ปักชำในถุงพลาสติก ขนาด 9x14 นิ้ว ประมาณ 2-3 เดือน พริกไทยจะงอกรากและแตกยอด จึงย้ายปลูกในแปลง
ระยะปลูก
-           พันธุ์ซาราวัค (มาเลเซีย) ใช้ระยะ 2x2 เมตร
-           พันธุ์ซีลอน ใช้ระยะปลูก 2.25 x 2.25 หรือ 2.25 x 2.5 เมตร
 การปักค้าง
          ใช้ค้างไม้แก่นหรือค้างปูนซีเมนต์ ขนาด 4x4x4 เมตร ฝังลึก 50-60 เซนติเมตร กลบดินให้แน่น หลังจากนั้น   ขุดหลุมขนาด  40x50 เซนติเมตร ลึก 40 เซนติเมตร   ค้างละ 1 หลุม ห่างจากโคนค้าง 15 เซนติเมตร ผสมดินกับปุ๋ยอินทรีย์แท้ เกรด AAA ตรายักษ์เขียว สูตร 2 (แถบเขียว)    อัตรา (ดิน)3 : (ยักษ์เขียว)1   แล้วใส่ในหลุมประมาณครึ่งหลุม นำยอดพันธุ์ที่เตรียมไว้ปลุกหลุมละ 2 กิ่ง ให้ปลายยอดเอนเข้าหาค้าง   กลบดินให้แน่นรดน้ำให้ชุ่ม ใช้วัสดุพลางแสง ประมาณ 3-4 เดือน หรือจนกว่าพริกไทยจะตั้งตัวได้
การดูแลรักษา
การตัดแต่ง
ปีที่ 1 เหลือยอดที่สมบูรณ์ไว้ ค้างละ 4-6 ยอด ใช้เถาวัลย์หรือเชือกฟางผูกยอด ให้แนบติดกับค้างโดยผูกขอเว้นข้อ จนกระทั่งพริกไทยอายุ 1 ปี ตัดเถาให้เหลือ 50 เซนติเมตร จากระดับผิวดิน
ปีที่ 2 ตัดแต่งเช่นเดียวกับปีแรก จนกว่าพริกไทยจะสูงเลยค้างไปประมาณ 30 เซนติเมตร ให้ผูกไว้บนยอดค้าง และใช้เชือกไนล่อนผูกทับเถาวัลย์เดิมเป็นเปลาะ ๆ ห่างกัน 40-50 เซนติเมตร
ปีที่ 3 ตัดไหลและปรางบริเวณโคนต้น ปลิดใบที่ลำต้นออก เพื่อให้โคนโปร่ง ถ้าพริกไทยยังไม่ถึงยอดค้าง เด็ดช่อดอกออกให้หมด เพราะจะทำให้พริกไทยเจริญเติบโตช้า
การใส่ปุ๋ย
          ช่วงแรกใส่ ปุ๋ยอินทรีย์แท้ เกรด AAA ตรายักษ์เขียว  ปีละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 400-500 กรัม/ค้าง แบ่งใส่เดือนละ 1 กำมือต่อต้น  ในกรณีที่ดินมีสภาพเป็นกรด ให้ผสม สารปรับสภาพดิน ไดนาไมท์ ชนิดน้ำ สามารถปล่อยไปกับการให้น้ำ  อัตรา 500 ซีซีต่อ 2 ไร่ ทุก ๆ  2-3 เดือน
การให้ปุ๋ยอาจให้ปุ๋ยตามเกณฑ์ดังนี้
ปีที่ 1 สูตร 15-15-15 อัตรา 400-500 กรัม(3-5 กำมือ)/ค้าง หรือ สูตร 15-15-15 อัตรา 100 กรัม(1 กำมือ) + ยักษ์เขียว เกรด AAA อัตรา 400 กรัม(2-3 กำมือ)
ปีที่ 2 สูตร 15-15-15 อัตรา 800-1,000 กรัม(4-5 กำมือ)/ค้าง แบ่งใส่ 3-4 ครั้ง หรือ สูตร 15-15-15 อัตรา 200 กรัม(1 กำมือ) + ยักษ์เขียว เกรด AAA อัตรา 800 กรัม(4-5 กำมือ)
ปีที่ 3 และปีต่อ ๆ ไป ครั้งที่ 1 ใช้ปุ๋ยอินทรีย์แท้ เกรด AAA ตรายักษ์เขียว สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง) อัตรา 800 กรัม/ค้าง ใส่หลังเก็บเกี่ยว
                               ครั้งที่ 2 ใช้ปุ๋ยอินทรีย์แท้ เกรด AAA ตรายักษ์เขียว สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง) อัตรา 500 กรัม(3 กำมือ)/ค้าง ประมาณเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน
                               ครั้งที่ 3 สูตร 15-15-15 อัตรา 100-200 กรัม/ค้าง+ ปุ๋ยอินทรีย์แท้ เกรด AAA ตรายักษ์เขียวอัตรา 400 กรัม(2-3 กำมือ)ประมาณเดือนกันยายน-ตุลาคม
การฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ
          ใช้ ไบโอเฟอร์ทิล  สูตรบำรุงต้น  ไล่แมลง (ฝาแดง)  อัตรา 20-30  ซีซี + อาหารรองและเสริม “คีเลท” อัตรา 5 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร  ฉีดพ่นทุก ๆ  15  วัน  จะทำให้พริกไทยมีผลผลิตเพิ่มขึ้นมากกว่า  200%  และช่วยป้องกันการเข้าทำลายของแมลงศัตรูพืชได้ดี  ช่วยลดต้นทุนสารเคมีได้กว่า 50%  ช่วงฤดูฝนแนะนำให้ผสม สารจับใบสูตรเข้มข้น “จีแอล” อัตรา 5 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อป้องกันการชะล้างจากน้ำฝน ทำให้ใบพืชดูดซึมได้รวดเร็ว มากกว่าและนานกว่า
หมายเหตุ การใส่ปุ๋ยเคมีเป็นประจำ บ่อย ๆ  จะทำให้ดินเสื่อมสภาพเร็ว และอายุการให้ผลผลิตของต้นพริกไทยสั้นลง ดังนั้น แนะนำ ให้ลดการใช้ปุ๋ยเคมีลง  โดยผสมปุ๋ยอินทรีย์ ตรายักษ์เขียว กับปุ๋ยเคมี ในอัตรา  ยักษ์เขียว 4 ส่วน : ปุ๋ยเคมี 1 ส่วน ในทุกครั้งของการใส่ที่แนะนำข้างต้น  เพื่อลดต้นทุน โดยที่ผลผลิตได้มากกว่า เนื่องจาก ยักษ์เขียว จะปลดปล่อยปุ๋ยให้รากพืชได้อย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า ช่วยในการปรับสภาพดิน และ และยังช่วยดูดซับลดการสูญเสียของปุ๋ยเคมีในแต่ละรอบของการใส่ ลดต้นทุนได้ประมาณ 20-50% ต่อรอบการผลิต
การให้น้ำ
          ควรให้แบบมินิสปริงเกอร์ mini sprinkler ระยะเวลาการให้น้ำ หลังปลูกควรรดน้ำทุกวันหรือวันเว้นวัน เมื่อพริกไทยตั้งตัวได้ ลดเหลือ 2-3 วัน/ครั้ง พริกไทยที่ให้ผลผลิตแล้วควรให้ 3-4 วัน/ครั้ง ตามสภาพดินฟ้าอากาศ
แมลงที่สำคัญ
มวนแก้ว วางไข่เป็นกลุ่ม ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดน้ำเลี้ยงจากช่อดอก ทำให้ช่อดอกแห้งเป็นสีน้ำตาล ไม่ติดเมล็ด ผลผลิตลดลง ป้องกันโดยการเก็บตัวอ่อนเผาทำลาย และใช้ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) ตามคำแนะนำเป็นประจำ ถ้าระบาดรุนแรงฉีดพ่นด้วย ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช เมทาแม็ก อัตราตามฉลากระบุ
ด้วงงวงเจาะเถาพริกไทย ตัวอ่อนเจาะทำลายเถาพริกไทย ทำให้เถาแห้งตาย ส่วนตัวเต็มวัยจะกันกินใบและผลพริกไทย ป้องกันโดยเผาทำลาย เถาพริกไทยที่พบรอยเจาะของหนอนด้วงงวง ป้องกันโดยการใช้ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) ตามคำแนะนำเป็นประจำ ถ้าเริ่มพบการระบาด ฉีดพ่นด้วย ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช เมทาแม็ก อัตราตามฉลากระบุ
เพลี้ยอ่อน ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณยอดอ่อน ใบอ่อน ช่อดอก และผลอ่อน ทำให้ใบและยอดแคระแกรน บิดงอ ไม่ติดเมล็ด ป้องกันโดยเก็บทำลาย หรือฉีดพ่นด้วย  ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช เมทาแม็ก อัตราตามฉลากระบุ
เพลี้ยแป้ง ตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากช่อดอก ใบ และเถาพริกไทย เพลี้ยแป้งจะขับถ่ายมูลเป็นน้ำหวาน จึงพบว่ามดเป็นตัวพาเพลี้ยแป้งไปปล่อยยังส่วนต่าง ๆ ของต้นพืช ป้องกันโดยฉีดพ่นด้วย ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช เมทาแม็ก ร่วมกับ สารจับใบเข้มข้น จีแอล  และป้องกันมดซึ่งเป็นพาหะด้วยการใช้ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) ตามคำแนะนำเป็นประจำ 
โรคที่สำคัญ
โรครากเน่า เกิดจากเชื้อรา อาการระยะแรกเถาจะเหี่ยวในเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและร่วง ต่อมาปราง (กิ่งแขนง) เริ่มหลุดเป็นข้อ ๆ ตั้งแต่โคนต้นถึงยอดขั้วกิ่งเป็นสีเหลืองและดำ ส่วนรากเน่าดำและมีกลิ่นเหม็น ป้องกันโดยอย่าให้น้ำขังในฤดูฝน เผาทำลายต้นที่เป็นโรค และใช้ ชีวภัณฑ์กำจัดเชื้อรา ไตรโคแม็ก อัตรา 50-100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ราดหรือฉีดพ่นที่ผิวดินเป็นประจำ  โดยเฉพาะในช่วงหน้าฝน
โรครากขาว เกิดจากเชื้อรา ใบเหลืองและร่วง พบเส้นใยสีขาวปกคลุมที่รากบางส่วน ป้องกันโดยเผาทำลายส่วนที่เป็นโรคเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด โดยใช้ ชีวภัณฑ์กำจัดเชื้อรา ไตรโคแม็ก อัตรา 50-100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ราดหรือฉีดพ่นที่ผิวดินเป็นประจำถ้าระบาดรุนแรงใช้ควินโตซีน ผสมน้ำราดหรือฉีดพ่น
โรครากปม เกิดจากไส้เดือนฝอยรากปม เข้าทำลายที่รากฝอย เกิดเป็นปมเห็นได้ชัดเจน นอกจากนี้ทำให้ผนังเซลล์เป็นแผล เป็นสาเหตุให้โรคอื่น ๆ เข้าร่วมทำลายได้ง่าย ป้องกันโดยคลุมดินก้นหลุมก่อนปลูกด้วย ชีวภัณฑ์กำจัดไส้เดือนฝอย พีแม็ก อัตรา 50 กรัมต่อหลุม และใช้อัตรา 50 กรัมผสมน้ำ 20 ลิตร ราดรอบทรงพุ่มในช่วงต้นและปลายฤดูฝนปีละ 1-2 ครั้ง
โรคแอนแทรกโนส เกิดจากเชื้อรา ทำลายส่วนใบของพริกไทย เกิดเป็ดจุดวงกลมสีน้ำตาลดำหรือสีดำ ผิวเป็นเงามัน รอบจุดเป็นสีเหลือง ตรงกลางแผลมีลักษณะเป็นวงสีน้ำตาลดำเรียงซ้อนกันเหมือนวงปีของเนื้อไม้ ถ้าเป็นรุนแรงอาจทำให้ตายได้ ป้องกันโดยตัดแต่งกิ่งและเก็บไปเผาทำลาย และใช้ชีวภัณฑ์กำจัดเชื้อรา ไตรโคแม็ก ฉีดพ่นเป็นประจำในช่วงฤดูฝนหรือช่วงที่น้ำค้างแรง  หรืออาจพ่นด้วยเบนโนมิล หรือแมนโคเซบ หรือคาร์เบนดาซิม อัตราตามฉลาก
โรคราเห็ดพริกไทย เกิดจากเชื้อราเป็นเส้นใยสีขาวเจริญบนผิวเปลือกของลำต้น กิ่ง และใต้ใบ ทำให้ลำต้น กิ่งใบ แห้ง และตายได้ ป้องกันโดยอย่าให้น้ำท่วมขัง ตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง และพ่นด้วยคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 85% WP
 การเก็บเกี่ยว
ระยะเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม
-           บริโภคสด หลังพริกไทยติดผล 3-4 เดือน
-           ส่งโรงงานทำพริกไทยดอง หลังติดผล 4-5 เดือน
-           ทำพริกไทยดำ เก็บเมื่อพริกไทยยังเขียวอยู่ หลังติดผล 6-8 เดือน
-           ทำพริกไทยขาว เก็บเมื่อผลเริ่มสุกเป็นสีแดง หลังติดผล 6-8 เดือน
ข้อสังเกตและเปรียบเทียบหลังจากใช้ไบโอเฟอร์ทิล และปุ๋ยอินทรีย์ ตรายักษ์เขียว ตามคำแนะนำ เป็นประจำ
1.    ต้นพริกไทยสมบูรณ์ สามารถให้ผลผลิตมาก ดอกติดดก, ขั้วเหนียวและ ต้นจะมีอายุยืนกว่าสวนที่ไม่ได้ใช้
2.    เมื่อใช้เป็นประจำ (3-4 ครั้งขึ้นไป) จะสังเกตได้ว่าแมลงศัตรูพืชที่เข้ามารบกวนลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะจำพวกผีเสื้อกลางคืนซึ่งเป็นตัวแม่ของหนอนชนิดต่าง ๆ รวมถึงด้วงกัดกินใบ  ทำให้ประหยัดต้นทุนยากำจัดศัตรูพืช และลดความเสียหายได้ดีกว่า  (ในพื้นที่ที่มีการระบาดมาก หากใช้ไบโอเฟอร์ทิล ฉีดร่วมกับยากำจัดศัตรูพืช ก็จะทำให้สามารถคุมและป้องกันการเข้าทำลาย ได้นานขึ้น)
3.    ใบพืชจะเขียวเงาเป็นมัน อายุใบนานขึ้นทำให้ต้นไม่สูญเสียอาหารในการสร้างใบใหม่ (ไบโอเฟอร์ทิล เป็นสารธรรมชาติ ไม่กัดผิวใบทำให้ใบด้านเหมือนการใช้เคมีอย่างเดียว)
4.    สุขภาพผู้ปลูกดีขึ้น เนื่องจาก สัมผัสหรือจับต้องสารเคมีน้อยลง
5.    เมื่อใช้ร่วมกับ ปุ๋ยอินทรีย์ ตรายักษ์เขียว จะสามารถลดต้นทุน การใช้ปุ๋ยลงอีกประมาณ  20-50%
6.    การใช้ ปุ๋ยอินทรีย์ ยักษ์เขียว  ร่วมด้วยเป็นประจำ  จะทำให้ต้นทุนปุ๋ยและสารทางดินต่อชุดการผลิต ลดลงได้ประมาณ 30-50 % โดยที่ผลผลิตที่ได้ยังเป็นปกติหรือดีกว่าเดิม และสังเกตได้ว่าสารอินทรีย์ในเนื้อปุ๋ยทำให้สภาพดินดีขึ้น  ดินโปร่ง อุ้มน้ำได้ดี  ต้นทนแล้งได้ดีขึ้น  และพืชตอบสนองต่อการให้ปุ๋ยทางดินดีกว่าเดิม ในระยะยาวปัญหาเรื่องโรคทางดินน้อยกว่าแปลงข้างเคียงที่ไม่ได้ใช้ ผลในทางอ้อม  เนื่อง จาก ยักษ์เขียว เป็นสารอินทรีย์แท้ จึงกระตุ้นจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ให้ย่อยปุ๋ย(เคมี)ที่ตกค้างในดินทำให้ รากพืชสามารถดูดซึมกลับไปใช้ได้ ธาตุอาหารในดินจะสมดุลมากกว่า
การแก้ไขพริกไทยที่เป็นรากปมเนื่องจากถูกไส้เดือนฝอยเข้าทำลายราก
เมื่อพบอาการ ให้รี่บใช้ ชีวภัณฑ์กำจัดไส้เดือนฝอย พีแม็ก อัตรา 100 กรัมผสมน้ำ 20 ลิตร + ไบโอเฟอร์ทิล สูตรไล่แมลง(ฝาแดง)  อัตรา 50-100 ซีซี  ผสมให้เข้ากัน ฉีดพ่นบริเวณรอบทรงพุ่มที่บริเวณที่มีรากของต้นพริกไทย จำนวน 2  ครั้งห่างกันครั้งละ 15 วัน โดยก่อนฉีดพ่นให้ใช้คราดขูดเปิดผิวดินบาง ๆ และรดน้ำผิวดินให้ชุ่มชื้นเพื่อให้เนื้อสารกระจายตัวได้ดี จากนั้นจึงค่อยฉีดพ่น (พีแม็ก 1 ซอง จะผสมน้ำได้ 40 ลิตร  ใช้ฉีดพ่นผิวดินรอบทรงพุ่มได้ประมาณ 50-80 ต้นทรงพุ่มละประมาณ ½ ลิตร) หลังจากนั้น แนะนำให้ใช้ป้องกันและกำจัดโดยทุก ๆ 3-6 เดือน
กระบวนการในการทำงาน(ฆ่าไส้เดือนฝอย)ของ พีแม็ก จะมีขั้นตอนดังนี้คือ
1.    หลังจากฉีดพ่น 3-5 วันแรก เชื้อจุลินทรีย์ พีแม็ก จะเริ่มฟักตัวและขยายพันธุ์เพิ่มปริมาณในดิน โดยใช้อาหารส่วนหนึ่งจาก ไบโอเฟอร์ทิลที่ผสมเข้าไป และต้นฝรั่งเมื่อได้รับไบโอเฟอร์ทิลจะเริ่มทรงตัว(ไม่โทรมลงกว่าเดิม)
2.    หลังจากนั้น จุลินทรีย์จะเริ่มทำงานเต็มที่ โดยทำลายไข่ไส้เดือนฝอย,ไส้เดือนฝอยเพศเมีย โดยไข่ไส้เดือนฝอยจะถูกทำลาย ประมาณ 14 วัน และตัวแก่เพศเมียจะเริ่มตายลงตามลำดับ
3.    หลังการฉีดพ่นครั้งที่ 2 (ห่างจากครั้งแรก 15 วัน) จะทำให้ไข่และเพศเมียที่เหลือถูกทำลาย
4.    ตัวแก่เพศผู้ อื่น ๆ จะเริ่มทยอยตาย  โดยการขยายพันธุ์ของไส้เดือนฝอยศัตรูพืช จะลดลงตามลำดับ เนื่องจากไม่มีเพศเมียที่สามารถขยายพันธุ์และวางไข่ได้(ใช้เวลาประมาณ 30-60 วัน)
หมายเหตุ
1.    จะสังเกตเห็นได้ว่าต้นเริ่มมีสภาพดีขึ้นเป็นลำดับหลังจากใช้ตามคำแนะนำ ประมาณ 20-40 วัน (ช้าหรือเร็ว ขึ้นอยู่กับสภาพต้นแต่ละต้นในแปลงว่าโดนไส้เดือนฝอยเข้าทำลายมากน้อยเพียงใด)
2.    การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และฮอร์โมนจากธรรมชาติ ร่วมกับพีแม็ก จะช่วยกระตุ้นการทำงานของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน เป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยป้องกันและลดการเข้าทำลายของไส้เดือนฝอยได้ดีและเร็วขึ้น
3.    เชื้อจุลินทรีย์ พีแม็ก เป็นสิ่งมีชีวิต  ดังนั้นในการใช้งานทุกครั้งต้องมั่นใจว่าภาชนะที่บรรจุ ปราศจากสารเคมีตกค้าง เพราะจะทำให้เชื้อตายหรือทำงานได้ไม่เต็มที่หรือไม่ได้ผล(ควรซื้อถังฉีดสะพายหลังใหม่ สำหรับใช้โดยกับกรณีนี้โดยเฉพาะ)
4.    หลังจากต้นเริ่มดีขึ้น  อย่าพึ่งวางใจและหยุดใช้  เนื่องจากพื้นดินหรือในพื้นที่นั้น อาจมีไส้เดือนฝอยปะปนอยู่ทั่วไป  เปรียบได้กับคนซึ่งเป็นโรคเรื้อรัง  การรักษาต้องทำอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยอาจฉีดซ้ำอีก 1-2 ครั้ง หรือฉีดพ่นควบคุมและป้องกันอัตราตามที่แนะนำ ทุก ๆ 3-6 เดือน/ครั้ง  เพื่อป้องกันเข้าทำลายและการระบาดของไส้เดือนฝอยจากแหล่งข้างเคียง
5.    หากมีอาการรากเน่าแทรกซ้อน(เนื่องจากเชื้อไฟท๊อปเทอร่าเข้าบริเวณแผลที่ถูกไส้เดือนฝอยทำลาย) สังเกตจากเมื่อขุดรากขึ้นมาดู มีอาการรากเน่าเป็นสีน้ำตาล หรือรากถอดปลอก ให้ผสม ไตรโคแม็ก ร่วมกับการใช้ พีแม็ก ในแต่ละครั้ง ด้วย

วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2554

แนวทางการจัดการต้นไม้ในสนามกอล์ฟ เพื่อลดต้นทุนและลดการใช้สารเคมี

แนวทางการจัดการต้นไม้ในสนามกอล์ฟ เพื่อลดต้นทุนและลดการใช้สารเคมี

 

    ธุรกิจสนามกอล์ฟเป็นธุรกิจการใช้ที่ดิน ที่ให้ผลตอบแทนที่มีมูลค่ามาก ในช่วงที่ราคาที่ดินสูงขึ้นทำให้ธุรกิจประเภทนี้เกิดขึ้นมากมาย แต่ละสนามต่างมีกลยุทธ์ที่จะดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาใช้บริการเป็นจำนวนมาก จึงเป็นหน้าที่ของผู้ดูแลสนามที่จะต้องทำให้สนามมีความสวยงามอยู่ตลอดเวลา
    สนามกอล์ฟจัดได้ว่าเป็นการเกษตรรูปแบบหนึ่ง เนืองจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นสนามหญ้า นับว่าเป็นแหล่งอาหารของศัตรูพืชที่มีขนาดใหญ่ ทำให้มีศัตรูพืชเข้าทำลายมาก ผู้ดูแลสนามจึงมีบทบาทในการควบคุมไม่ให้ศัตรูพืชเข้าทำลายสนามหญ้าได้หรือ ต้องรีบทำการกำจัดหากพบวามีการระบาดของศัตรูพืช วิธีการกำจัดศัตรูพืช เช่น การกำจัดโดยใช้แรงงานคนงาน การกำจัดโดยวิธีทางชีวภาพ หรือการใช้สารเคมี บางสนามกอล์ฟอาจมีการกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน คือ หากมีการระบาดของศัตรูพืชเป็นจำนวนน้อยจะใช้แรงงานหรือใช้วิธีทางชีวภาพ แต่ถ้าศัตรูพืชเข้าทำลายเป็นจำนวนมาก จึงจะใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชฉีดพ่น


    เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน สนามกอล์ฟแต่ละสนามมีนโยบายในการลดค่าใช้จ่ายในด้านต่าง ๆ ของสนามลง ซึ่ง 50% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดจะอยู่ในส่วนของการดูแลรักษาสนาม ผู้บริหารจึงหาทางที่จะลดค่าใช้จ่ายทางด้านนี้ แต่ยังคงความสวยงามของสนามหญ้าไว้เช่นเดิม
    วิธีการลดค่าใช้จ่ายของสนามวิธีการหนึ่งคือ ลดปริมาณสารเคมีทีใช้ในสนามลง ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนชนิดของปุ๋ยที่ใช้จากปุ๋ยเคมีมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือ วัสดุปรับปรุงดินอินทรีย์ ซึ่งปุ๋ยอินทรีย์จะให้ผลดีกว่า เพราะนอกจากจะช่วยปลดปล่อยธาตุอาหารที่จำเป็นแก่หญ้าและต้นไม้แล้วยังช่วย ปรับสภาพโครงสร้างของดินให้ดีขึ้นด้วย หรือใช้วิธีการกำจัดศัตรูพืชวิธีอื่นนอกเหนือจากการใช้สารเคมี เช่น การใช้วิธีทางชีวภาพ โดยใช้ชีวภัณฑ์จำพวกเชื้อราหรือแบคทีเรียในการกำจัดและควบคุมศัตรูพืช กับดักแสงไฟ การกำจัดโดยวิธีกล การเลือกใช้พันธุ์หญ้าพื้นเมือง เช่น หญ้านวลน้อยแทนการใช้พันธุ์หญ้าต่างประเทศ เช่น หญ้าเบอร์มิวด้า อาจจะทำให้การเล่นยากขึ้น เนื่องจากพันธุ์หญ้าพื้นเมืองมีใบแข็งกว่า แต่ความทนทานต่อศัตรูพืช และการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมดีกว่าหญ้าพันธุ์ต่างประเทศ ทำให้การใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืชลดน้อยลง
    อีกวิธีที่ช่วยลดปริมาณการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช คือ การเลือกใช้ต้นไม้ปลูกในสนาม ซึ่งแนวทางการใช้ต้นไม้ในสนามกอล์ฟโดยทั่วไปมีจุดประสงค์ดังนี้


    1. เพื่อการใช้สนาม และความสวยงาม


       1.1 เพื่อความสวยงาม เป็นจุดประสงค์หลักของการเลือกใช้ต้นไม้ มีข้อพิจารณาสำหรับการเลือกใช้ต้นไม้ปลูกดังนี้ ลักษณะการเจริญเติบโต สีของดอก ช่วงเวลาในการออกดอก ลักษณะของต้นไม้ใหญ่จะต้องมีทรงพุ่มสวยงาม กิ่งไม่เปราะหักง่าย ไม่ผลัดใบ หรือมีใบที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก เป็นต้น โดยจะปลูกเป็นกลุ่มมากกว่าที่จะปลูกกระจายทั่วทั้งสนามบริเวณที่ปลูกไม้ใหญ่ โดยมากมักปลูกบริเวณราฟ ชนิดของไม้ใหญ่ที่ปลูก เช่น นนทรี ประดู่ ลั่นทม ปาล์มชนิดต่าง ๆ


       1.2 เพื่อใช้สร้างจุดเด่นให้สนาม สนามกอล์ฟบางสนามเลือกใช้ต้นไม้ที่ต้องการให้เป็นจุดเด่นของสนาม เช่น การปลูกต้นไม้ที่มีดอกหอม ได้แก่ โมก เข็มขาว แก้ว หรือมีการใช้ไม้ไทย ได้แก่ การเวก สุพรรณิกา สารภี ชวนชม เป็นต้น
       อาจมีการใช้ต้นไม้ที่มีดอกสีเดียวกัน ได้แก่ นนทรี รำเพย กระถินณรงค์ ประดู่ ลั่นทม ปาล์มชนิดต่าง ๆ หรืออาจมีการสร้างจุดเด่นของสนามโดยการเลือกใช้ชนิดต้นไม้ ในการสร้างจุดเด่นของสนามอีกวิธีหนึ่งคือการเลือกใช้ต้นไม้ที่ทนแล้งเพื่อ ใช้ประกอบกับ รูปแบบ ของสนามแบบทะเลทราย เพื่อเพิ่มความยากในการเล่น การเลี้ยงหญ้าบริเวณราฟให้ยาว เพื่อให้เกิดความท้าทาย

       1.3 เพื่อการแบ่งบริเวณพื้นที่ระหว่างหลุม เป็นการใช้ต้นไม้เพื่อการแบ่งพื้นที่หลุมที่ติดกัน ทำให้ผู้เล่นไม่สับสนระหว่างการเล่น และเป็นการใช้แบ่งเส้นทางสัญจรในสนาม การปลูกต้นไม้เพื่อใช้แบ่งบริเวณจะเน้นการใช้ไม้ต้นใหญ่ เช่น นนทรี สน ประดู่ มะพร้าว ชมพู่พันธุ์ทิพย์ เป็นต้น


       1.4 เพื่อเป็นอุปสรรคของการเล่น ต้นไม้ยังสามารถใช้เป็นสิ่งกีดขวางประเภทหนึ่งได้ ทำให้การเล่นยากขึ้น ซึ่งสนามกอล์ฟส่วนใหญ่จะใช้ต้นไม้เพื่อจุดประสงค์นี้ การเลือกใช้ต้นไม้เพื่อเป็นอุปสรรคของการเล่นจะต้องเป็นต้นไม้ที่มีกิ่ง เหนียว ไม่เปราะหักง่าย รูปทรงค่อนข้างกะทัดรัดกิ่งไม่เกะกะ สามารถทนแรงกระแทกของลูกกอล์ฟได้ ชนิดของต้นไม้ เช่น สะเดาอินเดีย ปาล์มน้ำมัน ตาล นนทรี เป็นต้น


       1.5 เพื่อใช้เป็นแนวกันลม สนามกอล์ฟที่มีพื้นที่ติดบริเวณชายทะเลมักจะประสบปัญหาเรื่องลมแรง การเลือกใช้ต้นไม้จะเลือกใช้ต้นไม้ที่ลดความเร็วของลมได้บ้าง จนไม่เป็นอุปสรรคต่อการเล่น เพราะหากว่าการเล่นกอล์ฟจะต้องเจอกับสภาพลมแรงมาก ๆ ทำให้นักกอล์ฟไม่สามารถตีลูกไปยังทิศทางที่ต้องการได้ ดังนั้นการใช้ต้นไม้เพื่อลดความเร็วของลม ทำให้การเล่นเป็นไปได้ราบรื่นขึ้น ชนิดของต้นไม้ที่ใช้ปลูกเป็นแนวกันลม เช่น สนประดิพัทธ์ กระถินณรงค์ มะพร้าว เป็นต้น


       1.6 เพื่อใช้เป็นแนวกันน้ำ ในสนามกอล์ฟที่มีพื้นที่ติดกับภูเขา มักจะเกิดปัญหาในเรื่องความแรงของน้ำในฤดูฝน น้ำที่มีความแรงจะไหลลงจากภูเขาสู่สนามอย่างรวดเร็ว ทำให้ดิน และต้นไม้พังทลาย จะต้องทำการซ่อมแซมทำให้เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น ทางสนามที่ประสบกับปัญหานี้จะมีการปลูกไม้พุ่มที่มีพุ่มสานกันแน่นเพื่อลด ความแรงของน้ำ การปลูกจะใช้ต้นไม้ประมาณ 1-2 ชนิดปลูกเป็นชั้น เพื่อการซับน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ชนิดของต้นไม้ที่ใช้ เช่น เทียนทอง ไทรยอดทอง หูปลาช่อน ผักเป็ดเขียว-แดง เป็นต้น
       บางสนามที่ต้องการการดูแลรักษาต้นไม้ต่ำ จะเน้นการใช้ต้นไม้ใหญ่ มากกว่าการใช้ไม้พุ่มและไม้คลุมดิน เนื่องจากต้นไม้ใหญ่มีการดูแลรักษาที่ต่ำกว่า การใส่ปุ๋ย การตัดแต่งน้อยกว่า และหากมีโรคและแมลงเข้าทำลาย จะสังเกตได้ไม่ชัดเท่าไม้พุ่มและไม้คลุมดินที่จะพบ การเข้าทำลายของโรคและแมลงได้ง่าย ดังนั้นการเลือกใช้ต้นไม้ใหญ่จะทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในส่วนของการดูแล รักษาได้


    2. เพื่อใช้ในการควบคุมแมลงและวัชพืช นับเป็นจุดประสงค์ในการใช้ต้นไม้เพื่อช่วยลดปริมาณการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้


       2.1 เพื่อใช้เป็นแนวกันวัชพืช สนามกอล์ฟในต่างจังหวัดที่มีพื้นที่ติดภูเขา จะมีการปล่อยพื้นที่ของสนามบางส่วนให้เป็นสวนป่า ไม่มีการตัดแต่งต้นไม้หรือการใส่ปุ๋ย ให้ต้นไม้ขึ้นได้ตามธรรมชาติ มักจะมีปัญหาเกี่ยวกับการบุกรุกของวัชพืชที่ไม่ต้องการให้ขึ้นในพื้นที่สนาม ซึ่งหากเป็นฤดูฝนจะมีเมล็ดวัชพืชไหลปะปนกับน้ำเข้ามาในสนาม หากต้องทำการกำจัดจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการแก้ไขปัญหาคือ ทำการปลูกไม้พุ่มเป็นแนวซ้อนกันประมาณ 1-2 ชั้น เพื่อการป้องกันวัชพืช ทั้งที่เป็นต้นและส่วนที่เป็นเมล็ดที่จะเข้ามาในฤดูฝน นอกจากจะช่วยป้องกันวัชพืชได้แล้ว ยังช่วยให้สนามมีความสวยงาม ช่วยแบ่งขอบเขตที่เป็นพื้นที่ป่าและพื้นที่สนามให้แยกออกจากกันได้ ทำให้นักกอล์ฟทราบว่าควรที่จะตีลูกให้ตกบริเวณใด


       2.2 เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยและใช้ผลเป็นอาหารของนกเพื่อช่วยกำจัดแมลง สนามกอล์ฟบางสนามมีการเลือกชนิดของต้นไม้ที่สามารถใช้เป็นที่อยู่ของนก และให้ผลที่นกสามารถใช้เป็นอาหารได้ เพื่อจุดประสงค์ในการเพิ่มปริมาณนก และใช้ประโยชน์จากนกเพื่อช่วยกำจัดหนอนแมลงที่เข้ามาทำลาย สนามหญ้า ชนิดของต้นไม้ที่ปลูก เช่น ตะขบ หว้า ไทร ข้าวฟ่าง เป็นต้น
    สนามกอล์ฟในต่างจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับภูเขา จะมีการปล่อยพื้นที่ให้เป็นสวนป่าธรรมชาติ มีต้นไม้หลายชนิดขึ้นในบริเวณนั้น ทำให้นกมีที่อยู่ และมีอาหารเป็นจำนวนมาก หรือมีการกำหนดเขตพื้นที่สนามเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ ช่วยให้ปริมาณนกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดหนอนแมลง ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้
    แนวทางการใช้ต้นไม้เพื่อลดปริมาณการใช้สารเคมี เป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายของสนามได้ หากว่าสนามกอล์ฟใดที่เริ่มมีการใช้ต้นไม้เพื่อจุดประสงค์นี้ ก็จะเกิดประโยชน์หลายด้าน ทั้งประโยชน์หลักที่ได้กล่าวแล้ว และยังช่วยลดผลกระทบของการใช้สารเคมีที่มีทั้งต่อตัวผู้ใช้และแหล่งน้ำ อีกทั้งช่วยให้สภาพแวดล้อมดีขึ้น หากสนามกอล์ฟทุกสนามมีการควบคุมระบบนิเวศในสนามให้ดี อาจไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมี ทำให้มีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นเนื่องจาก สภาพอากาศที่ดี ปลอดโปร่ง เป็นสิ่งที่ผู้ใช้บริการต้องการ ดังนั้นแนวทางการเลือกใช้ต้นไม้หากสามารถเลือกใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ทำให้สนามกอล์ฟยังคงมีความสวยงาม สามารถลดค่าใช้จ่าย และอยู่รอดต่อไปในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน
  ขอบคุณ ภาพจาก progolf.com

วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การเกษตรกับนายยักษ์เขียว: เทคนิคการปลูกองุ่น

การเกษตรกับนายยักษ์เขียว: เทคนิคการปลูกองุ่น: แผนการปฏิบัติงานเพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตที่มีคุณภาพ สําหรับสวนองุ่นตั้งแต่การเริ่มปลูก-การทำผลผลิตคุณภาพ 1. การเตรียมหลุมปลูก เมื่อเตรียมด...