วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ข้อควรระวังในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช 16-20 (สำเนาจาก ยักษ์เขียว@bloggang)

มีฟอสโฟแลน
(mephospholan)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดแมลงออร์กาโนฟอสโฟรัส  ประเภทดูดซึม  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย  การแทรกซึมเข้าไปในต้นได้  โดยผ่านทางใบและลำต้น
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  9  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (กระต่าย)  28.7  มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        หนอนเจาะสมออเมริกัน  หนอนสไปนี่  หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด  หนอนชอนใบ  หนอนกระทู้  หนอนกัดราก  หนอนหงอน  ด้วงงวงเจาะสมอฝ้าย  หนอนคืบ  ไร  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยไฟ  เพลี้ยจักจั่น  และแมลงหวี่ขาว
พืชที่ใช้                   ฝ้าย  ส้ม  ยาสูบ  ข้าวโพด  ข้าวฟ่าง  ข้าว  มันฝรั่ง  มะเขือเทศ  อ้อย  และพืชอื่น ๆ
สูตรผสม                  2%  จี
อัตราการใช้               โดยทั่วไปใช้  4-8  กก./ไร่
วิธีใช้                       ใช้หว่านให้ทั่วพื้นที่ ๆ ต้องการกำจัดศัตรูพืช  หรือโรยระหว่างร่อง  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น
อาการเกิดพิษ            มีอาการมึนงง  อ่อนเพลีย  ปวดศีรษะ  กระวนกระวาย  ปลายลิ้นและเปลือกตาจะมีอาการสั่น  ม่านตาหรี่และตาพร่า  คลื่นไส้  อาเจียน  น้ำลายและน้ำตาไหล  ชีพจรเต้นช้า  และกล้ามเนื้อเกร็ง
การแก้พิษ                ถ้าเข้าตาให้รีบล้างด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ  ถ้าถูกผิวหนังให้รีบล้างด้วยน้ำกับสบู่  ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไป  จะมีอาการของพิษเกิดขึ้น  ให้คนไข้กินยาอะโทรปินซัลเฟท  ขนาด  2-4  มก.  แบบ  IV  ฉีดซ้ำทุก  15  นาที  จนเกิดอาการ  atropinization  แล้วรักษาตามอาการ  ห้ามใช้ยาที่มีมอร์ฟีนหรือส่วนผสมของมอร์ฟีน
ข้อควรรู้                    - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  4  สัปดาห์
                             - เป็นพิษมากในทางสัมผัส  ทางหายใจหรือกลืนกินเข้าไป
                             - ทำให้ผิวหนังระคายเคือง
                             - เป็นอันตรายต่อผึ้งและปลา
                             - เป็นอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง  ห้ามสัตว์เลี้ยงเข้าไปในพื้นที่ใช้สารนี้อย่างน้อย  1  วัน
                             - ห้ามใช้โดยการฉีดพ่น

เม็ทอัลดีไฮด์
(metaldehyde)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดหอยทาก  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  630  มก./กก.  (สุนัข)  2,510-10,000  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (หนู)  มากกว่า  5,000  มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        หอยทาก  และหอยอื่น ๆ
พืชที่ใช้                   สวนผัก  สวนไม้ผล  สวนกล้วย  กล้วยไม้  แปลงเพาะชำ  แปลงกล้า  และโรงเรือนเพาะชำ
สูตรผสม                  5% , 6%  จี  หรือใช้ผสมกับเหยื่อ
อัตราใช้และวิธีใช้        ชนิดที่เป็นเหยื่อสำเร็จรูป  ใช้  10-20  เม็ดต่อพื้นที่  3  ตารางเมตร  หรือโรยตามผิวดินในพื้นที่ ๆ มีหอยชุกชุม
อาการเกิดพิษ            ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองตามเยื่อบุจมูก  ตา  และอาจจะมีอาการแสบ  น้ำตาไหล  ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไปจะปวดท้อง  คลื่นไส้  วิงเวียน  อาเจียน  ท้องเสีย  เป็นไข้  ชัก  และหมดสติ
การแก้พิษ                ถ้าเข้าตาหรือถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำมาก ๆ  ถ้ากลืนกินเข้าไป  ต้องรีบทำให้อาเจียนด้วยการล้วงคอ  ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายของคนไข้  แล้วนำส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ให้กลูโคสทางเส้นเลือดแก่คนไข้  แล้วรักษาตามอาการ  ห้ามคนไข้รับประทานเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่

เม็ทธิดาไธออน
(methidathion)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดแมลงและไรออร์กาโนฟอสโฟรัส  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  25-44  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (กระต่าย)  200  มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        เพลี้ยอ่อนส้ม  เพลี้ยหอย  เพลี้ยแป้ง  ไรแมงมุม  แมลงหวี่ขาว  มวนต่าง ๆ  หนอนเจาะสมอสีชมพู  หนอนเจาะตา  หนอนชอนใบ  ด้วงงวงเจาะสมอฝ้าย  และอื่น ๆ
พืชที่ใช้                   ฝ้าย  ส้ม  ยาสูบ  ทานตะวัน  มะเขือเทศ  ข้าวฟ่าง  องุ่น  ไม้ผลและพืชทั่วไป
สูตรผสม                  40%  อีซี
อัตราการใช้               ศึกษารายละเอียดจากฉลากที่ติดข้างภาชนะบรรจุ
วิธีใช้                       ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น
การแก้พิษ                ใช้ยาอะโทรปิน  หรือ  toxogonin  แต่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
ข้อควรรู้                    - เป็นพิษต่อปลาและผึ้ง
                             - อย่าใช้ในขณะที่ต้นไม้กำลังออกดอก
                             - การผสมกับสารเคมีที่มีสภาพเป็นด่าง  อาจทำให้ประสิทธิภาพลดลง
                             - ประสิทธิผลตกค้างมีอยู่ได้  3-5  สัปดาห์

เม็ทธิโอคาร์บ
(methiocarb)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดแมลงและไร  คาร์บาเมท  ประเภทไม่ดูดซึม  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย  ใช้เป็นสารกำจัดหอยและสารขับไล่นกได้
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  100-130  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (หนู)  มากกว่า  500  มก./กก.  (กระต่าย)  มากกว่า  2,000  มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        เพลี้ยไฟ  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยหอย  เพลี้ยแป้ง  ไรแดง  แมลงเต่าทอง  แมลงวันทอง  หนอนเจาะสมอชนิดต่าง ๆ  หนอนกระทู้  นอกจากนี้ยังใช้กำจัด  หอยทากและหอยศัตรูพืชอื่น ๆ ได้ด้วย
พืชที่ใช้                   ฝ้าย  องุ่น  ไม้ผล  ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม                  50ดับบลิวพี  และ  2%  จี
อัตราการใช้               ชนิด  50ดับบลิวพี  ใช้อัตรา  20-40  กรัม  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ชนิด  2จี  ใช้กำจัดหอยทาก
วิธีใช้                       ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นให้ทั่วใบและต้นพืช
อาการเกิดพิษ            จะมีอาการอ่อนเพลีย  วิงเวียนและปวดศีรษะ  ท้องเสีย  ม่านตาหรี่  หายใจขัด
การแก้พิษ                ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ  ถ้าเข้าปากต้องรีบทำให้อาเจียนด้วยการล้วงคอ  หรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น  แล้วให้คนไข้กินยาอะโทรปินซัลเฟท  ขนาด  1/100  เกรน  2  เม็ด  พร้อมกับนำส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ควรรักษาคนไข้ด้วยการใช้อะโทรปินซัลเฟท  ขนาด  2  มก.  ฉีดเข้าทางเส้นเลือดและฉีดซ้ำตามความจำเป็น  จนกว่าอาการดีขึ้น
ข้อควรรู้                    - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  21  วัน
                             - เป็นอันตรายต่อผึ้ง  เป็นพิษต่อปลา  และค่อนข้างเป็นพิษต่อไส้เดือนฝอย
                             - อย่าผสมกับสารเคมีที่มีสภาพเป็นด่าง
                             - ผสมได้กับสารกำจัดศัตรูพืชอย่างอื่น ๆ

เม็ทโธมิล
(methomyl)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดแมลงและไรคาร์บาเมท  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย  cholinesterase  inhibitor
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  17-24  มก./กก.  ทางผิวหนัง  มากกว่า  1,500  มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        หนอนใยผัก  หนอนคืบ  หนอนกระทู้  หนอนเจาะผล  หนอนยาสูบ  หนอนม้วนใบ  หนอนเขียว  หนอนเจาะสมอฝ้าย  หนอนกัดกินใบ  เพลี้ยไฟ  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยจักจั่น  และแมลงศัตรูพืชอื่นๆ
พืชที่ใช้                   ฝ้าย  ถั่วเหลือง  ผักต่าง ๆ  หอม  พริก  มะเขือเทศ  มะเขือ  ยาสูบ  มันฝรั่ง  หน่อไม้ฝรั่ง  แตงโม  แตงกวา  องุ่น  ส้ม  มะนาว  ไม้ดอกไม้ประดับ  และพืชอื่น ๆ
สูตรผสม                  90ดับบลิวพี , เอสพี  18เอสแอล  และ  1%  จี
อัตราการใช้               ชนิด  90เอสพี  ใช้อัตรา  6-18  กรัม  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ชนิดอื่น ๆ  ศึกษาได้จากฉลากที่ติดข้างภาชนะบรรจุ
วิธีใช้                       ใช้ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นที่ใบและต้นพืช  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น
อาการเกิดพิษ            จะมีอาการอ่อนเพลีย  ปวดศีรษะ  คลื่นไส้  ตาลาย  จุกเสียด  แน่นหน้าอก  เหงื่อไหล  ม่านตาหรี่  กล้ามเนื้อกระตุก  ชีพจรเต้นเร็ว
การแก้พิษ                ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้รีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดอย่างน้อย  15  นาที  ถ้าเข้าปากต้องทำให้คนไข้อาเจียนด้วยการล้วงคอหรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น  แล้วให้คนไข้กินยาอะโทรปินซัลเฟท  ขนาด  1/100  เกรน  2  เม็ด  แล้วนำส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ให้ใช้ยาอะโทรปินซัลเฟท  ขนาด  1-2  มก.  ฉีดเข้าเส้นทุก  10-30  นาที  จนเกิดอาการ  atropinization  ห้ามใช้  2-PAM  และ  Morphine
ข้อควรรู้                    - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  ผักและส้ม  ใช้เวลา  1-3  วัน  ถั่วเหลือง  ใช้เวลา  6-14  วัน  หอมสด  ใช้เวลา  28  วัน  องุ่น  ใช้เวลา  14  วัน  และถั่วลิสง  ใช้เวลา  21  วัน
                             - เป็นพิษต่อผึ้ง
                             - ผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ ได้

มีโธพรีน
(methoprene)
การออกฤทธิ์             เป็นสารควบคุมหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของแมลง  (insect  growth  regulator)  และสารกำจัดลูกน้ำยุง
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  มากกว่า  600  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (กระต่าย)  มากกว่า  3,000  มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        ใช้กำจัดหนอนผีเสื้อ  ด้วงยาสูบ  ด้วงแตง  มวนต่าง ๆ  หนอนชอนใบ  ผีเสื้อยาสูบ  มด  หมัด  แมลงวัน  เหา  และยุง
การใช้                     - ใช้กำจัดยุงในพื้นที่ ๆ ไม่มีการเพาะปลูก  ข้าว  และทุ่งหญ้า
                             - ใช้กำจัดหนอนแมลงวันในหญ้าหมัก
                             - ใช้กำจัดศัตรูยาสูบและถั่วลิสงในโรงเก็บ
สูตรผสม                  5อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้        ปฏิบัติตามคำแนะนำในฉลาก
ข้อควรรู้                    - ค่อนข้างจะเป็นพิษต่อปลา  กุ้งและปู  อาจตายได้
                             - ห้ามผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ  และน้ำมัน
                             - ให้ผลดีโดยเฉพาะในการใช้กำจัดแมลงวัน
                             - ใช้อัตราต่ำมากก็ยังได้ผลดี
                             - ทำให้แมลงไม่เป็นตัวแก่และสืบพันธุ์ต่อไปไม่ได้
                             - มีผลเล็กน้อย  ถึงไม่มีเลยต่อแมลงที่อยู่ในระยะตัวแก่หรือระยะดักแด้
                             - ในประเทศญี่ปุ่น  ใช้สารนี้กับหนอนไหม  เพื่อทำให้หนอนยืดระยะเวลาการผลิตไหมของมันออกไปอีกได้

เม็ทท๊อกซีคลอร์
(methoxychlor)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดแมลงออร์กาโนคลอรีน  ที่ออกฤทธิ์ตกค้างได้นาน
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  6,000  มก./กก.  ปริมาณที่ทำให้คนตายได้  ประมาณ  1  ปอนด์  โดยการฉีดเข้าไปในร่างกายเพียงครั้งเดียว
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        ด้วงงวง  มอด  เพลี้ยกระโดด  หนอนกระทู้  หนอนใยผัก  เพลี้ยหอย  มวนดอกรัก  แมลงวัน  เหา  เห็บ  และอื่น ๆ
พืชที่ใช้                   แอสพารากัส  ถั่ว  กะหล่ำ  แตงโม  กะหล่ำดอก  มะเขือ  องุ่น  คะน้า  ถั่วแขก  ถั่วลิสง  ฟักทอง  ข้าว  ถั่วเหลือง  สตรอเบอร์รี่  มันฝรั่ง  มะเขือเทศ  ไม้ผล  ไม้พุ่ม  พืชผัก  วัวนม  วัวเนื้อ  และรอบ ๆ  โรงเรือน  (ยกเว้นโรงเลี้ยงสัตว์ปีก)
สูตรผสม                  25% , 50%  ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้        ปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลาก
การแก้พิษ                ถ้ากลืนกินเข้าไป  รีบทำให้อาเจียนและให้อยู่ในความดูแลของแพทย์  ถ้าถูกผิวหนังและมีอาการเป็นพิษ  ให้รีบล้างบริเวณที่ถูกด้วยน้ำนานประมาณ  15  นาที  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดมาก ๆ นาน  15  นาที  แล้วไปหาแพทย์
ข้อควรรู้                    - มีพิษต่อคนและสัตว์เลือดอุ่นต่ำ  เป็นพิษต่อปลาและผึ้ง
                             - อย่าให้ปะปนลงไปในน้ำที่ใช้เลี้ยงปลา
                             - ห้ามผสมกับผลิตภัณฑ์ที่ผสมกับน้ำมันไม่ได้
                             - ห้ามใช้ภายหลังการใช้  sulphur  หรือผลิตภัณฑ์ที่มี  sulphur  ผสมอยู่ภายใน  14  วัน
                             - กำจัดเพลี้ยอ่อนและไรไม่ได้
                             - เป็นสารที่มีส่วนใกล้เคียงกับ  DDT  มาก  แต่มีพิษกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม  ต่ำกว่า  DDT  1/25 1/50  เท่า
                             - ผสมได้กับสารกำจัดแมลงและสารกำจัดเชื้อราอื่น ๆ  ยกเว้นชนิดที่มีความเป็นด่างสูง

เม็ทธิล  โบรไมด์
(methyl  bromide)
การออกฤทธิ์             เป็นสารรมควันพิษ  ใช้กำจัดแมลงศัตรูผลิตผลทางการเกษตรในโรงเก็บ  ใช้รมดินเพื่อกำจัดวัชพืช  เมล็ดวัดพืช  ไส้เดือนฝอย  แมลงและโรคบางชนิดที่อยู่ในดิน
ความเป็นพิษ             เป็นอันตรายอย่างยิ่งเมื่อหายใจเอาควันพิษเข้าไป  ผิวหนังหรือดวงตาจะไหม้เมื่อถูกกับเม็ทธิลโบรไมด์ที่อยู่ในลักษณะที่เป็นของเหลว
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        ด้วงงวงข้าว  มอดแป้ง  มอดข้าวเปลือก  มอดฟันเลื่อย  มอดยาสูบ  มอดฟันเลื่อยใหญ่  ด้วงถั่วเขียว  ด้วงงวงข้าวโพด  ด้วงกาแฟ  ด้วงขาแดง  ผีเสื้อข้าวสาร  ผีเสื้อข้าวเปลือก  ผีเสื้อข้าวโพด  แมลงศัตรูในโรงเก็บอื่น ๆ  ไส้เดือนฝอยและวัชพืช
พืชที่ใช้                   ข้าว  ข้าวเปลือก  ยาสูบ  ข้าวโพด  ข้าวฟ่าง  แป้งมันสำปะหลัง  เมล็ดถั่วต่าง ๆ  เมล็ดธัญพืชและพืชอื่น ๆ  ที่เก็บในโรงเก็บ
สูตรผสม                  98%
อัตราใช้และวิธีใช้        ศึกษาจากฉลากที่ติดข้างภาชนะบรรจุ  โดยปกติใช้อัตรา  1-4  ปอนด์/1000  ลบ.ฟุต
ข้อควรระวัง               ภาชนะบรรจุต้องปิดมิดชิด  แน่นสนิท  เก็บในที่เย็นและมีอากาศถ่ายเทได้ดี  อย่าให้เข้าตา  ถูกผิวหนัง  เสื้อผ้าหรือหายใจเอาไอพิษเข้าไป  เมื่อมีการรมยาควรสวมใส่หน้ากากป้องกันไอพิษ
การแก้พิษ                ย้ายคนไข้ออกไปให้อยู่ในที่โล่งแจ้งทันทีเมื่อได้รับพิษ  ให้คนไข้นอนลงพร้อมกับให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย  ถ้ามีอาการหายใจขัด  ให้ใช้เครื่องช่วยหายใจ  แล้วนำส่งแพทย์ทันที  ในกรณีที่ถูกผิวหนัง  ให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  นานอย่างน้อย  15  นาที
ข้อควรรู้                    - ระยะเวลาที่ใช้ในการรมยา  24-48  ชม.หรือมากกว่านี้
                             - อย่ารมเมล็ดพืชที่มีความชื้นสูง
                             - เป็นแก๊สไม่ไวไฟ
                             - ผู้ที่จะใช้ควรได้รับการฝึกมาก่อน
                             - ในการใช้กำจัดเชื้อโรคพืช  จะต้องใช้อัตราเพิ่มขึ้นอย่างน้อยสองเท่า

เม็ทธิล  พาราไธออน
(methyl  parathion)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดแมลงออร์กาโนฟอสโฟรัส  ประเภทไม่ดูดซึม  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย  cholinesterase  inhibitor
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  ประมาณ  9-25  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (กระต่าย)  300-400  มก./กก.  (หนู)  20  มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        หนอนผีเสื้อต่าง ๆ  เช่น  หนอนกอสีชมพู  หนอนม้วนใบ  หนอนกระทู้ผัก  หนอนใยผัก  หนอนคืบ  หนอนเจาะสมออเมริกัน  หนอนกินใบ  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยจักจั่น  เพลี้ยหอย  เพลี้ยไฟ  บั่ว  ด้วงดีด  มวนต่าง ๆ  แมลงหวี่ขาวและแมลงอื่น ๆ 
พืชที่ใช้                   ผัก  ข้าว  กาแฟ  ชา  ส้ม  อ้อย  ยาสูบ  กล้วย  ฝ้าย  สัปปะรด  ข้าวโพด  ข้าวฟ่าง  ถั่วลิสง  สตรอเบอร์รี่  มันฝรั่ง  องุ่น  ไม้ผล  พืชสวน  ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม                  50อีซี  และ  3ดี
อัตราใช้                   ชนิด  50อีซี  ใช้  10-20  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ศึกษาอัตราการใช้เพิ่มเติมจากฉลาก
วิธีใช้                       ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นให้ทั่วใบและต้นพืช  ฉีดซ้ำได้ตามความจำเป็น
อาการเกิดพิษ            ภายหลังจากได้รับพิษเข้าไปแล้ว  1-4  ชม.  อาการจึงจะปรากฏโดยมีอาการคลื่นไส้  อาเจียน  แน่นหน้าอก  มึนงง  ปวดท้องเกร็ง  กล้ามเนื้อกระตุก
การแก้พิษ                ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนานอย่างน้อย  15  นาที  ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไป  ควรรีบนำส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ยาแก้พิษ  คือ  อะโทรปินซัลเฟท  โดยใช้ฉีดแบบ  IV  ขนาด  2-4  มก.ฉีดซ้ำทุก  10-15  นาที  จนอาการดีขึ้น  ยา  2-PAM , PAM , 2-PAMM  และ  Toxogonin  เป็นยาแก้พิษที่ใช้รักษาร่วมกับอะโทรปินได้  ห้ามใช้  morphine , Theophylline  และ  Aminophylline
ข้อควรรู้                    - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  14  วัน
                             - เป็นพิษต่อผึ้ง  ปลา  กุ้ง  และปู
                             - ห้ามบุคคลที่ไม่สวมใส่เครื่องป้องกันเข้าไปในพื้นที่ที่ฉีดพ่นแล้วอย่างน้อย  48  ชั่วโมง
                             - ไม่เข้ากับสารเคมีที่มีสภาพเป็นด่าง
                             - ไม่มีความคงตัวในดิน

มีโทลคาร์บ
(metolcarb)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดแมลงคาร์บาเมท
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  268  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (หนู)  มากกว่า  2,000  มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        แมลงปากดูดที่เป็นศัตรูข้าว  เช่น  เพลี้ยจักจั่น  และเพลี้ยกระโดด
พืชที่ใช้                   ข้าว  และอื่น ๆ
สูตรผสม                  50ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้        ศึกษารายละเอียดได้จากฉลากข้างภาชนะบรรจุ

แม็กซาคาร์เบท
(mexacarbate)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดแมลงและไรคาร์บาเมท  ออกฤทธิ์ในทางดูดซึม  สัมผัสและกินตาย 
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  15-19  มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยไฟ  หนอนคืบ  หนอนเจาะสมอ  หนอนกระทู้  หนอนชอนใบ  เพลี้ยจักจั่น  เพลี้ยกระโดด  เพลี้ยแป้ง  แมลงหวี่ขาว  และไร
พืชที่ใช้                   ฝ้าย  ไม้ดอกและไม้ประดับ  ไม้ยืนต้นและไม้พุ่ม
สูตรผสม                  25ดับบลิวพี  ,  24อีซี
อัตราการใช้               กำจัดแมลงทั่วไปใช้  50-100  กรัม  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร
วิธีใช้                       ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นให้ทั่วใบและต้น  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น
อาการเกิดพิษ            ถ้าถูกกับผิวหนังหรือเข้าตา  จะเกิดอาการระคายเคือง  น้ำตาไหล  รูม่านตาเล็กลง  ตาพร่า  ถ้าสูดดมเข้าไป  จะหายใจลำบาก  ถ้ากลืนกินเข้าไป  จะปวดท้อง  เวียนศีรษะ  คลื่นไส้  ท้องเสีย  เหงื่อออกมาก  ปวดศีรษะ  กล้ามเนื้อกระตุก  ชัก  หมดสติ  และตาย
การแก้พิษ                ถ้าถูกผิวหนังต้องล้างด้วยน้ำกับสบู่  ถ้าเข้าตาต้องล้างตาด้วยน้ำจำนวนมาก ๆ  ถ้ากลืนกินเข้าไปและยังมีสติอยู่  ให้กินไข่ขาวหรือดื่มน้ำมาก ๆ  แล้วรีบนำส่งแพทย์  สำหรับแพทย์ให้ใช้ยาอะโทรปินซัลเฟท  รักษาคนไข้  ห้ามใช้ยาพวก  sedative  และ  narcotic  รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้                    - เป็นพิษต่อผึ้งและปลา
                             - สามารถใช้เป็นสารกำจัดหอยทากได้  โดยทากจะหยุดกินอาหารภายหลังจากที่กินเข้าไป  และจะตายภายใน  2-3  วัน
                             - สามารถเข้ากับสารกำจัดแมลงชนิดอื่น ๆ ได้
                             - อย่าใช้กับพืชอาหารคนหรืออาหารสัตว์

นาเลด
(naled)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดแมลงและไรออร์กาโนฟอสโฟรัส  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย  สารตกค้างออกฤทธิ์เป็นสารรมควันพืชในระยะสั้น ๆ ได้ด้วย
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  430  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (กระต่าย)  1,110  มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยจักจั่น  ไร  แมลงหวี่ขาว  หนอนกระทู้ฝักข้าวโพด  หนอนคืบ  หนอนชอนใบ  หนอนเจาะสมอ  มวนเขียว  มวนลำไย  มวนดอกรัก  ด้วงงวงกล้วย  หนอนใยผัก  ตั๊กแตน  แมลงวันผลไม้  ยุง  และแมลงวันบ้าน
พืชที่ใช้                   ฝ้าย  คะน้า  กะหล่ำปลี  กะหล่ำดอก  คื่นฉ่าย  ส้มต่าง ๆ  แตง  มะเขือ  องุ่น  กล้วย  ข้าว  ถั่วเหลือง  ยาสูบ  มะเขือเทศ  และโรงเรือนเลี้ยงสัตว์
สูตรผสม                  50อีซี
อัตราการใช้               ใช้  40-70  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ศึกษารายละเอียดจากฉลากเพิ่มเติม 
วิธีใช้                       ผสมกับน้ำกวนให้ละลายเข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นที่ใบและต้นพืช  เมื่อตรวจพบแมลงกำลังทำลายพืช  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น
อาการเกิดพิษ            ผู้ได้รับพิษจะมีอาการม่านตาหรี่  ชีพจรเต้นช้าลง  เหงื่อแตก  คลื่นไส้  อาเจียน  ไม่มีแรง  ท้องร่วง  กลั้นปัสสาวะไม่อยู่  หัวใจวายกะทันหันและตายได้
การแก้พิษ                ถ้าถูกผิวหนังให้รีบล้างด้วยน้ำกับสบู่  ถ้าเข้าตาอาจทำให้ดวงตาไหม้  จึงต้องรีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดนานอย่างน้อย  15  นาที  แล้วให้อยู่ในความดูแลของแพทย์  สำหรับแพทย์  ยาแก้พิษ  คือ  อะโทรปินซัลเฟท  ใช้  2-PAM  รักษาร่วมกับอะโทรปินได้
ข้อควรรู้                    - ทำให้ผิวหนังระคายเคือง
                             - อย่าใช้ขณะที่มีอากาศร้อนเกินกว่า  32  องศาเซลเซียส
                             - ไม่เข้ากับสารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง
                             - กัดกร่อนโลหะ

โอเม็ทโธเอท
(omethoate)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดแมลงและไรออร์กาโนฟอสโฟรัส  ประเภทดูดซึม  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย  cholinesterase  inhibitor
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  50  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (หนู)  700  มก./กก.  (ภายใน  7  วัน)
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยจักจั่น  เพลี้ยไฟ  แมลงหวี่ขาว  ไร  เพลี้ยแป้ง  หนอนกอข้าว  หนอนชอนใบส้ม  หนอนแมลงวันชอนใบผัก  และหนอนผีเสื้ออื่น ๆ
พืชที่ใช้                   ฝ้าย  ข้าว  องุ่น  ส้ม  กาแฟ  อ้อย  มันฝรั่ง  ผักต่าง ๆ  ไม้ผลและไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม                  50%  อีซี  และ  เอสแอล
อัตราการใช้               กำจัดแมลงทั่วไป  ใช้อัตรา  20-30  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร
วิธีใช้                       ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นให้ทั่วใบและต้นพืช  เมื่อตรวจพบว่ามีการทำลายของแมลง  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น
อาการเกิดพิษ            จะมีอาการเวียนศีรษะ  มึนงง  ปวดศีรษะ  คลื่นไส้  อาเจียน  ท้องเดินและปวดท้องเกร็ง  ม่นตาหรี่  หายใจขัด  เหงื่อออกมาก  เมื่อถูกผิวหนังและดวงตาจะมีอาการระคายเคือง  คัน  และอักเสบ
การแก้พิษ                ถ้าถูกผิวหนังให้รีบล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้รีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดจำนวนมาก ๆ  ถ้าเข้าปากให้คนไข้ดื่มถ่านยา  เพื่อดูดซับพิษ  แต่ถ้ามีอาการเกิดพิษรุนแรง  ควรให้คนไข้กินยา  อะโทรปินซัลเฟท  ขนาด  0.5  มก.  จำนวน  2  เม็ด  แล้วนำส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ถ้าคนไข้มีอาการรุนแรง  ควรฉีดด้วยอะโทรปินซัลเฟท  ขนาด  2  มก.แบบ  IV  ฉีดซ้ำทุก  10-15  นาที  จนอาการดีขึ้น  ยา  2-PAM  และ  Toxogonin  เป็นยาที่ใช้รักษาร่วมกับอะโทรปินได้
ข้อควรรู้                    - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  21  วัน
                             - เป็นอันตรายต่อผึ้ง  อย่าใช้ในระยะที่ต้นไม้กำลังออกดอก
                             - อย่าผสมกับกำมะถัน  (sulfur)
                             - ผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ ได้

อ๊อกซามิล
(oxamyl)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดแมลง  ไร  และไส้เดือนฝอย  คาร์บาเมท  ประเภทดูดซึม  โดยผ่านทางรากและใบ  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัส  cholinesterase  inhibitor
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  5.4  มก./กก.  ชนิด  24แอล  มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  37  มก./กก.  ชนิด  25แอล  มีพิษเฉียบพลันทางผิวหนัง  (กระต่าย)  2,960  มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยไฟ  เพลี้ยจักจั่น  แมลงหวี่ขาว  ไรแดง  ไรสนิม  หนอนชอนใบและไส้เดือนฝอย
พืชที่ใช้                   ยาสูบ  ถั่วลิสง  ถั่วเหลือง  มะเขือ  ฝ้าย  พริกไทย  สัปปะรด  มะเขือเทศ  อ้อย  ส้ม  ไม้ผลและไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม                  24แอลซี
อัตราการใช้               แตกต่างกันออกไปตามชนิดของพืช  เช่น  ส้ม  ใช้อัตรา  25-100  ซีซี  ไม้ดอกไม้ประดับใช้อัตรา  200-400  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ควรศึกษารายละเอียดจากฉลากเพิ่มเติม
วิธีใช้                       ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นที่ใบพืชหรือใช้ราดโคลนหรือใช้จุ่ม
อาการเกิดพิษ            ทำให้ผิวหนัง  ดวงตา  จมูก  คอ  ระคายเคือง  ถ้าซึมผ่านเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังจะมีอาการอ่อนเพลีย  ปวดศีรษะ  ตาพร่า  คลื่นไส้  อาเจียน  แน่นหน้าอก  เหงื่อออกมาก  ตาหรี่  ชีพจรเต้นช้า-ต่ำ  กล้ามเนื้อกระตุก
การแก้พิษ                ถ้าถูกผิวหนังให้รีบล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ  ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไป  ต้องรีบทำให้คนไข้อาเจียนโดยเร็วด้วยการล้วงคอหรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น  แล้วนำส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ยาแก้พิษ  คือ  อะโทรปินซัลเฟท  โดยใช้ฉีดแบบ  IV  ขนาด  1.2-2  มก.  ฉีดซ้ำได้ทุก  10-30  นาที  จนกว่าอาการจะดีขึ้น  ห้ามใช้มอร์ฟีน  (morphine)
ข้อควรรู้                    - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  7-21  วัน
                             - เป็นพิษต่อผึ้ง  อย่าใช้กับพืชในขณะที่กำลังออกดอก
                             - เป็นอันตรายต่อปลา  นก  และสัตว์ป่า
                             - เป็นอันตรายเมื่อหายใจเอาละอองไอเข้าไป
                             - ไม่เข้ากับสารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง
                             - ใช้แช่หรือจุ่มรากพืชเพื่อป้องกันไส้เดือนฝอยได้

อ๊อกซีดีมีตัน-เม็ทธิล
(oxydemeton-methyl)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดแมลงออร์กาโนฟอสโฟรัส  ประเภทดูดซึม  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย  พร้อมกับมีฤทธิ์เป็นสารรมควันพิษในตัว  cholinesterase  inhibitor
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  65-75  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (หนู)  250  มก./กก. 
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        แมลงปากดูด  คือ  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยแป้ง  เพลี้ยจักจั่น  เพลี้ยกระโดด  ไรแดง  แมลงหวี่ขาว  หนอนผีเสื้อต่าง ๆ  เช่น  หนอนชอนใบ  หนอนเจาะสมอ  หนอนกระทู้  รวมทั้งหนอนแมลงวันเจาะต้นถั่ว
พืชที่ใช้                   ยาสูบ  อ้อย  ส้ม  ฝ้าย  กล้วย  ถั่วลิสง  ถั่วเขียว  ถั่วเหลือง  ชา  กาแฟ  มันฝรั่ง  องุ่น  ข้าว  ข้าวโพด  ข้าวฟ่าง  ผักต่าง ๆ
สูตรผสม                  25อีซี
อัตราการใช้               กำจัดแมลงทั่วไป  ใช้อัตรา  10  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร
วิธีใช้                       ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นให้ทั่วใบพืช  สารอ๊อกซีดีมีตันเม็ทธิล  จะแทรกซึมเข้าไปอยู่ในกระแสน้ำเลี้ยงของต้นพืช  เป็นผลให้มีประสิทธิภาพตกค้างในต้นพืช
อาการเกิดพิษ            จะมีอาการวิงเวียน  คลื่นไส้  อาเจียน  ปวดท้องเกร็ง  ท้องร่วง  ม่านตาหรี่  เหงื่อออกมาก  และหายใจหอบ
การแก้พิษ                ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง  ถ้าเข้าปากหรือมีอาการเกิดพิษขึ้นในขณะที่ใช้อยู่  ต้องรีบเปลี่ยนเสื้อผ้า  ทำความสะอาดร่างกาย  และให้ความอบอุ่นแก่คนไข้  ให้ดื่มน้ำสุกผสมถ่านยา  เพื่อช่วยดูดซับพิษ  อาจจะให้กินยาอะโทรปิน  ขนาด  0.5  มก.  จำนวน  2  เม็ด  เพื่อช่วยลดอาการเกิดพิษก่อนก็ได้  แล้วนำคนไข้ส่งแพทย์ต่อไป  สำหรับแพทย์  ถ้าคนไข้มีอาการไม่รุนแรง  ใช้อะโทรปินซัลเฟท  ขนาด  2  มก.  ฉีดแบบ  IV  ถ้าอาการรุนแรงให้ใช้  ขนาด  4  มก.  ฉีดซ้ำได้ทุก  10-15  นาที  จนอาการดีขึ้น  สำหรับยา  2-PAM  และ  Toxogonin  เป็นยาแก้พิษที่อาจใช้รักษาร่วมกับอะโทรปินได้
ข้อควรรู้                    - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  2-3  อาทิตย์
                             - เป็นอันตรายต่อผึ้ง
                             - อย่าผสมกับสารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง
                             - มีความเจาะจงในการป้องกันกำจัดแมลง  ออกฤทธิ์น๊อคแมลงได้รวดเร็ว
                             - ผสมกับสารกำจัดแมลงและสารกำจัดเชื้อราอื่น ๆ ได้  ยกเว้นพวกที่มีฤทธิ์เป็นด่าง

พาราไดคลอโรเบ็นซีน
(paradichlorobenzene)
การออกฤทธิ์             เป็นสารรมควันพิษที่ใช้รมดินและผ้า
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  500  มก./กก.  อาจจะทำให้ผิวหนังระคายเคือง
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        โรคราสีน้ำเงิน  หนอนเจาะต้นไม้  หนอนผีเสื้อกัดกินหญ้า  กิ้งกือ  มด  และทำเป็นสารขับไล่แมลงสาบ  แมลงสามง่าม  ตามตู้เสื้อผ้า  ตู้หนังสือและตามบ้านเรือน
พืชที่ใช้                   ใช้รมแปลงเพาะกล้ายาสูบ  รมผ้า  และทำเป็นสารขับไล่แมลงในบ้านเรือน
ข้อควรรู้                    - ทำให้ความงอกของเมล็ดพืชบางชนิดลดลงอย่างรุนแรง
                             - เป็นพิษต่อรากพืช  เมล็ด  และต้นกล้า  เมื่อใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรคในดิน
                             - ในทางอุตสาหกรรมใช้ป้องกันโรคราดำที่เป็นกับเสื้อผ้า

เปอร์มีธริน
(permethrin)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดแมลงไพรีทรอยด์สังเคราะห์  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  มากกว่า  500  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (กระต่าย)  มากกว่า  2,000  มก./กก.  (หนู)  4,000  มก./กก.  ทำให้ผิวหนังและดวงตา  เกิดอาการระคายเคือง
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        หนอนเจาะสมออเมริกัน  หนอนคืบ  หนอนเจาะสมอสีชมพู  หนอนกัดตายาสูบ  หนอนกระทู้ผัก  หนอนคืบกะหล่ำ  หนอนใยผัก  หนอนกระทู้หอม  เพลี้ยจักจั่น  เพลี้ยกระโดด  แมลงหวี่ขาว  เพลี้ยอ่อน  และแมลงศัตรูพืชอื่น ๆ  นอกจากนี้ยังใช้ในการกำจัดแมลงศัตรูปศุสัตว์อีกด้วย
พืชที่ใช้                   ฝ้าย  ผักตระกูลกะหล่ำ  ถั่วฝักยาว  มะเขือเทศ  ฟักทอง  องุ่น  ถั่วเขียว  ถั่วเหลือง  ปาล์มน้ำมัน  ไม้ผลทั่วไป
สูตรผสม                  5% , 10%  อีซี  และ  25ดับบลิวพี
อัตราการใช้               ชนิด  10อีซี  เมื่อใช้กำจัดแมลงทั่วไป  ใช้อัตรา  10-40  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  สำหรับชนิดอื่น  ศึกษารายละเอียดจากฉลากก่อนใช้
วิธีใช้                       ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  ฉีดพ่นให้ทั่วใบและต้นพืช  เมื่อพบเห็นแมลงศัตรูพืช
อาการเกิดพิษ            จะมีอาการอ่อนเพลีย  ปวดศีรษะ  แน่นหน้าอก  ตาพร่ามัว  ม่านตาหด  น้ำลายไหล  เหงื่อออกมาก  คลื่นไส้  อาเจียน  ท้องร่วงและปวดเกร็ง  ในช่องท้อง
การแก้พิษ                ในกรณีที่เข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดจำนวนมาก ๆ  ทันที  นานอย่างน้อย  15  นาที  ในกรณีถูกผิวหนังและเกิดอาการเป็นพิษขึ้น  ให้ถอดเสื้อผ้าออกทันทีแล้วล้างด้วยน้ำมาก ๆ  ถ้ากลืนกินเข้าไป  อย่าทำให้คนไข้อาเจียน  ควรไปหาแพทย์  สำหรับแพทย์  ควรล้างท้องคนไข้ด้วย  sodium  bicarbonate  5%  แล้วให้ยา  diazepam  ขนาด  2-4  มก.  แก่คนไข้ด้วยการฉีด  แบบ  IV  หรือ  IM  ฉีดซ้ำได้ทุก  2  ชั่วโมง  ถ้าจำเป็น
ข้อควรรู้                    - เป็นพิษต่อผึ้ง  อย่าใช้กับพืชในขณะที่กำลังออกดอก
                             - เป็นอันตรายต่อปลาสูงมาก  อย่าปล่อยให้ปนเปื้อนลงไปในน้ำ
                             - อาจเป็นสาเหตุให้เกิดไรเพิ่มขึ้น
                             - ออกฤทธิ์ได้เร็ว  ให้ผลในทางขับไล่แมลงได้

ปิโตรเลียม  ออยล์
(petroleum  oils)
การออกฤทธิ์             เป็นน้ำมันที่นำมาใช้กำจัดแมลง  ไร  และไข่  โดยทางสัมผัส
ความเป็นพิษ             ไม่เป็นพิษ  (โดยอนุโลม)
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        เพลี้ยหอย  เพลี้ยแป้ง  ไข่เพลี้ยอ่อนและตัวแก่  ไข่ไรและตัวแก่
พืชที่ใช้                   ฝ้าย  ข้าวโพด  ถั่วลิสง  มะเขือเทศ  ข้าว  ข้าวฟ่าง  ถั่วเหลือง  องุ่น  อ้อย  ไม้ผล  ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม                  85-90น้ำมัน
อัตราใช้และวิธีใช้        ปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลาก
ข้อควรรู้                    - ใช้ผสมกับสารกำจัดแมลงบางชนิด  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
                             - อย่าใช้ซัลเฟอร์ภายหลังการฉีดพ่นปิโตรเลียม  ออยล์  ในช่วงระยะ  2-3  สัปดาห์
                             - ทำลายชิ้นส่วนที่เป็นยางของเครื่องมือพ่นยา
                             - ห้ามใช้ภายหลังการใช้แคปแทน  หรือ  ฟัลแทน  60-90  วัน
                             - ห้ามใช้ร่วมกับคาร์บาริล
                             - ห้ามใช้ในขณะที่มีอากาศร้อน

เฟนโธเอท
(phenthoate)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดแมลงและไรออร์กาโนฟอสโฟรัส  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย  cholinesterase  inhibitor
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  300-439  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (หนู)  2,100  มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        ใช้กำจัดแมลงศัตรูพืชได้อย่างกว้างขวาง  เช่น  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยจักจั่น  เพลี้ยกระโดด  เพลี้ยหอย  เพลี้ยไฟ  เพลี้ยแป้ง  ไร  หนอนกระทู้  หนอนเจาะลำต้น  หนอนเจาะสมอ  หนอนชอนใบ  หนอนคืบ  หนอนใยผัก  และมวนต่าง ๆ
พืชที่ใช้                   ข้าว  ฝ้าย  ผักต่าง ๆ  ถั่ว  ส้ม  กาแฟ  อ้อย  ข้าวโพด  ข้าวฟ่าง  ชา  ยาสูบ  ไม้ผล  องุ่น  ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม                  50อีซี
อัตราการใช้               กำจัดแมลงศัตรูอ้อยและฝ้าย  ใช้อัตรา  40-80  ซีซี  พืชอื่น ๆ ใช้อัตรา  20-30  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร
วิธีใช้                       ใช้ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นให้ทั่วใบและต้นพืช  เมื่อตรวจพบแมลงศัตรูพืช  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น
อาการเกิดพิษ            จะมีอาการวิงเวียนและปวดศีรษะ  คลื่นไส้  อาเจียน  เหงื่อออกมาก  อ่อนเพลีย  พูดไม่ชัด  ตาพร่ามัว  ปวดเกร็งช่องท้อง  กล้ามเนื้อกระตุกและอาจชักได้
การแก้พิษ                ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ  ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไป  ควรรีบนำส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ให้ล้างท้องคนไข้ด้วย  sodium  bicarbonate  5%  ยาแก้พิษที่ใช้คือ  อะโทรปินซัลเฟท  ขนาด  2-4  มก.  ฉีดแบบ  IV  หรือ  IM  ฉีดซ้ำทุก  5-10  นาที  ตามความจำเป็น  ห้ามใช้ยาที่มีมอร์ฟีนผสม
ข้อควรรู้                    - เป็นพิษต่อปลาและเป็นอันตรายต่อผึ้ง
                             - อย่าผสมกับสารที่มีฤทธิ์เป็นด่างสูง
                             - ใช้ผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ ได้

โฟเรท
(phorate)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดแมลงและไรออร์กาโนฟอสโฟรัส  ประเภทดูดซึม  ออกฤทธิ์ทั้งในทางสัมผัสและกินตาย  ใช้กำจัดไส้เดือนฝอยบางชนิดได้ด้วย
  ความเป็นพิษ           มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  2  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (หนู)  2.5-6.2  มก./กก.  (หนูกิเนีย)  20-30  มก./กก.  ซึมผ่านผิวหนังและดวงตาได้อย่างรวดเร็ว
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        ใช้กำจัดแมลงปากดูด  ได้แก่  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยจักจั่น  เพลี้ยไฟ  เพลี้ยกระโดด  แมลงหวี่ขาว  มวนเขียว  แมลงอื่น ๆ  คือ  หนอนขอนใบ  หนอนกระทู้  หนอนแมลงวันเจาะยอดข้าวฟ่าง  และไส้เดือนฝอยทำลายใบ
พืชที่ใช้                   ข้าวโพด  ฝ้าย  ถั่วลิสง  มะเขือเทศ  ข้าว  ข้าวฟ่าง  ถั่วเหลือง  อ้อย  มันฝรั่ง  ถั่วเขียว  ถั่วแขก  ยาสูบ  และไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม                  10จี
อัตราการใช้               แตกต่างกันออกไปตามแต่ชนิดของพืช  ตั้งแต่  1.5-3  กก./ไร่  ก่อนใช้จึงควรศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากฉลาก
วิธีใช้                       ใช้โรยตามร่องหรือหยอดรองก้นหลุมพืชที่ต้องการปลูก  รากพืชจะดูดซึมเอาโฟเรทเข้าไปในต้นและเคลื่อนย้ายไปอยู่ที่ใบ
อาการเกิดพิษ            จะมีอาการปวดศีรษะ  ม่านตาหรี่  อ่อนเพลีย  คลื่นไส้  อาเจียน  เหงื่อออกมาก  น้ำลายไหล  ท้องร่วง  แน่นหน้าอก  ปวดเกร็งช่องท้อง
การแก้พิษ                ในกรณีเกิดพิษที่ผิวหนัง  เนื่องมาจากการสัมผัสถูกให้รีบล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ  ถ้าเข้าปากต้องรีบทำให้อาเจียนโดยเร็ว  ด้วยการล้วงคอหรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น  ภายหลังจากที่คนไข้อาเจียนแล้ว  ให้กินยา  อะโทรปินซัลเฟท  ขนาด  1/100  เกรน  จำนวน  2  เม็ด  แล้วนำส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ยาแก้พิษคือ  อะโทรปินซัลเฟท  โดยใช้ขนาด  4-8  มก.  ฉีดแบบ  IV  หรือ  IM  ฉีดซ้ำได้ตามความจำเป็น  จนกว่าจะเกิดอาการ  atropinization  ห้ามใช้มอร์ฟีน
ข้อควรรู้                    - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  6  สัปดาห์
                             - ความร้อนอากาศแห้งแล้ง  จะทำให้ประสิทธิภาพการใช้ทางดินลดลง
                             - เป็นพิษเมื่อถูกกับผิวหนัง  หายใจหรือกลืนกินเข้าไป
                             - เป็นอันตรายต่อปลา  เป็นพิษต่อผึ้ง
                             - ไม่เข้ากับสารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง
                             - ออกฤทธิ์คุ้มครองพืชได้  4-12  สัปดาห์  ภายหลังการใช้

โฟซาโลน
(phosalone)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดแมลงและไรออร์กาโนฟอสโฟรัส  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย  cholinesterase  inhibitor 
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  120  มก./กก.  ทางผิวหนัง  มากกว่า  1,000  มก./กก. 
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        เพลี้ยอ่อน  ไร  เพลี้ยจักจั่น  เพลี้ยกระโดด  เพลี้ยไฟ  เพลี้ยแป้ง  แมลงหวี่ขาว  หนอนคืบ  หนอนเจาะสมอชนิดต่าง ๆ  หนอนกระทู้  หนอนใยผัก  หนอนเจาะยอด  กะหล่ำ  ด้วงงวงข้าวโพด  แมลงดำหนาม  และแมลงอื่น ๆ
พืชที่ใช้                   ส้ม  และไม้ผลทั่วไป  องุ่น  ยาสูบ  ฝ้าย  มะเขือ  พริก  แตง  มันฝรั่ง  ชา  หอม  ผักตระกูลกะหล่ำ  ข้าว  ข้าวโพด  ข้าวฟ่าง  มะม่วง  ไม้ดอกและไม้ประดับ
สูตรผสม                  35อีซี
อัตราการใช้               กำจัดแมลงศัตรูฝ้าย  ใช้อัตรา  30-60  ซีซี  พืชอื่น ๆ  ใช้อัตรา  20-35  ซีซี  ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากฉลาก
วิธีใช้                       ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นที่ใบและต้นพืช  เมื่อตรวจพบศัตรูพืช  ฉีดพ่นซ้ำได้ตามความจำเป็น
อาการเกิดพิษ            ทำให้ผิวหนัง  ดวงตา  เยื่อบุจมูก  เกิดอาการระคายเคือง  ถ้าซึมผ่านเข้าสู่ร่างกาย  จะมีอาการมึนงง  ปวดศีรษะ  อ่อนเพลีย  คลื่นไส้  อาเจียน  น้ำลายไหล  มีเหงื่อออกมาก  ปวดท้อง  ตาพร่ามัว  ชีพจรเต้นเร็วและไม่สม่ำเสมอ  กล้ามเนื้อกระตุก
การแก้พิษ                ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ  ถ้าเข้าปากให้นำผู้ป่วยส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ยาแก้พิษ  คือ  อะโทรปินซัลเฟท  โดยใช้ขนาด  2  มก.  ฉีดแบบ  IV  และฉีดซ้ำทุก  30  นาที  จนอาการดีขึ้น
ข้อควรรู้                    - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  2-3  สัปดาห์
                             - เป็นอันตรายต่อผึ้ง  และเป็นพิษต่อปลา
                             - ห้ามผสมกับสารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง  เช่น  lime  sulphur
                             - ใช้ในการป้องกันพืชได้ประมาณ  12-20  วัน
                             - สลายตัวในดินได้เร็วกว่า  พาราไธออน
                             - ใช้ผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ ได้

ฟอสเม็ท
(phosmet)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดแมลงและไรออร์กาโนฟอสโฟรัส  ประเภทไม่ดูดซึม  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัส  cholinesterase  inhibitor
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  230  มก./กก.  (หนู)  ทางผิวหนัง  มากกว่า  4,040  มก./กก.  (กระต่าย)
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        ด้วงงวงเจาะสมอฝ้าย  หนอนม้วนใบ  หนอนเจาะผลไม้  เพลี้ยจักจั่น  เพลี้ยกระโดด  ด้วงหมัด  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยหอย  และแมลงอื่น ๆ  รวมทั้งแมลงศัตรูปศุสัตว์  เช่น  เหา  ไร  และโรคขี้เรื้อนสุกร
พืชที่ใช้                   ฝ้าย  ข้าวโพด  มันฝรั่ง  องุ่น  มะเขือเทศ  ไม้ผล  ใช้กำจัดโรคขี้เรื้อนสุกร  และ  วัวเนื้อ
สูตรผสม                  20น้ำมัน , 18.8%  น้ำมัน  และ  12%  อีซี , 50%  ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้        กำจัดขี้เรื้อนสุกร  ใช้โดยการเทราดฟอสเม็ทลงบนตัวสุกร  ในอัตรา  1  ซีซี  ต่อสุกรหนัก  10  กก.  ถ้าพบไรหรือขี้เรื้อนที่ใบหู  ให้ใช้แปรงทาสีชุบฟอสเม็ททา  บริเวณที่พบ  ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากฉลากก่อนใช้
อาการเกิดพิษในสัตว์    โดยทั่วไป  สัตว์จะมีอาการซึม  ไม่มีแรง  น้ำลายไหล  และหายใจขัด  สำหรับการรักษา  ให้ใช้ยา  อะโทรปินซัลเฟท  ขนาด  0.2-0.5  มก./กก.  น้ำหนักตัว  ฉีดเข้าแบบ  IV  และ  IM  หรือ  SC  ให้ฉีดซ้ำทุก  3-6  ชั่วโมง
อาการเกิดพิษในคน     จะมีอาการมึนงง  ปวดศีรษะ  อ่อนเพลีย  กระวนกระวาย  มีอาการสั่นที่ปลายลิ้นและเปลือกตา  ม่านตาหรี่  คลื่นไส้  อาเจียน  น้ำตาและน้ำลายไหล  เหงื่อออกมาก  ปวดท้องเกร็ง  ชีพจรเต้นช้า  กล้ามเนื้อเกร็ง  ในรายที่มีอาการรุนแรง  จะมีอาการหายใจลำบาก  ปอดบวม  ขาดออกซิเจน  ตัวเขียวคล้ำ  กล้ามเนื้อหูรูดไม่ทำงาน  ชักและตาย
การแก้พิษในคน          ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนัง  ให้รีบล้างด้วยน้ำและสบู่  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำจำนวนมาก ๆ  ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไปให้รีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์ทันที  สำหรับแพทย์  ยาแก้พิษคือ  อะโทรปินซัลเฟท  โดยให้ขนาด  2  มก.  ฉีดแบบ  IM  และให้ซ้ำทุก  3-8  นาที  จนเกิดอาการ  atropinization  ห้ามใช้ยาพวก  morphine  theophyline  aminophylline  barbiturates  phenotriazines  และ  reppiratory  depressant
ข้อควรรู้                    - ห้ามใช้กับลูกสัตว์และสัตว์ที่กำลังป่วย
                             - ห้ามใช้ผสมกับสารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง
                             - ห้ามใช้กับวัวนม
                             - เป็นพิษต่อปลาและผึ้ง
                             - อย่าเก็บไว้ในที่มีอุณหภูมิสูงกว่า  45  องศาเซลเซียส

ฟ๊อกซิม
(phoxim)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดแมลงออร์กาโนฟอสโพรัส  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย  moderate  cholinesterase  inhibitor
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  1,895  มก./กก.  (หนู)  ทางผิวหนัง  มากกว่า  1,000  มก./กก.  (หนู)
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        - แมลงศัตรูในโรงเก็บ  เช่น  มอดข้าวสาร  มอดข้าวเปลือก  มอดแป้ง  ผีเสื้อข้าวโพด  ผีเสื้อข้าวเปลือก  ด้วงงวงข้าว  ด้วงเจาะเม็ดถั่ว
                             - แมลงศัตรูปศุสัตว์  เช่น  ไร  และโรคขี้เรื้อนสุกร
                             - แมลงศัตรูพืช  เช่น  เพลี้ยอ่อน  มวนดอกรัก  หนอนเจาะสมอฝ้าย  หนอนผีเสื้อขาวกะหล่ำ  หนอนใยผัก  หนอนกระทู้ผัก  หนอนกระทู้หอม  เพลี้ยไฟ  แมลงกะชอน  หนอนกอลายและสีชมพู  และด้วงดีด
พืชที่ใช้                   เมล็ดพันธุ์พืช  ฝ้าย  ยาสูบ  ผักต่าง ๆ  กล้วย  มันฝรั่ง  ข้าวโพด  ข้าวฟ่าง  ถั่วลิสง  ที่เป็นปศุสัตว์  ได้แก่  สุกร
สูตรผสม                  3ดี , 7.5%  และ  50%  อีซี , 80ยูแอลวี
อัตราใช้และวิธีใช้     ชนิด  3%  ดี  ใช้คลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกในอัตรา  20-40  กรัม  ต่อ  เมล็ดพันธุ์  100  กก.  ชนิด  75เอส  ใช้กำจัดไรและขี้เรื้อนสุกร  ใช้อัตรา  4  ซีซี  ต่อสุกรหนัก  10  กก.  ชนิด  50อีซี  ใช้กำจัดแมลงทำไปในอัตรา  20-30  ซีซี  ผสมน้ำ  20  ลิตร  กวนให้เข้ากันดีแล้วฉีดพ่นให้ทั่วใบพืช  ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากฉลากก่อนใช้
อาการเกิดพิษ            จะมีอาการมึนงงและวิงเวียนศีรษะ  ปวดศีรษะ  คลื่นไส้  อาเจียน  ปวดเกร็งในช่องท้อง  ท้องร่วง  ม่านตาหรี่  หายใจแรง  เหงื่อออกมาก
การแก้พิษ                ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง  ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไป  ให้รีบนำส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ยาแก้พิษคือ  อะโทรปินซัลเฟท  โดยใช้ขนาด  2  มก.  ฉีดแบบ  IV  ถ้ามีอาการหนัก  ให้ใช้ขนาด  4  มก.  และฉีดซ้ำด้วยขนาด  2  มก.  ทุก ๆ  10-15  นาที  จนกว่าผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น  ยา  2-PAM  และ  Toxogonin  ใช้รักษาร่วมกับ  atropine  ได้  รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้                    - ออกฤทธิ์น๊อคแมลงได้รวดเร็ว
                             - พิษที่มีต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีน้อย
                             - สามารถใช้ผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ ได้
                             - อย่าใช้ผสมกับสารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง
                             - อย่าใช้กับสารกำจัดศัตรูพืชชนิดดับบลิวพี  (WP)  ผสมกับสารนี้ในถังฉีดพ่น
                             - เป็นพิษต่อปลาและผึ้ง

ไพริมิคาร์บ
(pirimicarb)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดแมลงคาร์บาเมท  ประเภทดูดซึม  ที่ใช้ในการกำจัดเพลี้ยอ่อนโดยเฉพาะ  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและเป็นสารรมควันพิษในตัว  สามารถแทรกซึมเข้าลำต้นได้โดยผ่านทางใบและรากได้  cholinesterase  inhibitor
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  147  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (หนู)  มากกว่า  50  มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        เพลี้ยอ่อน
พืชที่ใช้                   ส้ม  ยาสูบ  มันฝรั่ง  ข้าวโพด  ผักตระกูลกะหล่ำ  ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม                  50ดีจี , 50ดับบลิวพี
อัตราการใช้               แตกต่างกันออกไปตามชนิดของพืช  โดยทั่วไปใช้อัตราระหว่าง  5-15  กรัม  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ก่อนใช้ควรศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากฉลาก
วิธีใช้                       ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นที่ใบและต้นพืช  เมื่อเห็นว่ามีเพลี้ยอ่อนระบาด  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น
อาการเกิดพิษ            จะมีอาการปวดศีรษะ  คลื่นไส้  อาเจียน  น้ำลายฟูมปาก  เหงื่อออกมาก  อ่อนเพลีย  ตาพร่า  หายใจลำบาก  อาจจะชักและหมดสติได้
การแก้พิษ                ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่หลายครั้ง  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดมาก ๆ  ถ้าเข้าปากต้องทำให้อาเจียนโดยเร็วด้วยการล้วงคอหรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่นแล้วนำส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ยาแก้พิษคือ  อะโทรปินซัลเฟท  โดยฉีดแบบ  IV  แล้วฉีดซ้ำได้ตามความจำเป็นทุก  15  นาที  แล้วรักษาตามอาการ
ข้อควรรู้                    - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  2-7  วัน
                             - ออกฤทธิ์เร็ว  ฤทธิ์ตกค้างมีระยะสั้น
                             - ไม่เป็นอันตรายต่อตัวห้ำ  ตัวเบียฬ  และผึ้ง  โดยอนุโลม

ที่มา สารกำจัดศัตรูำืพืชในประเทศไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น