วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สารกำจัดวัชพืช(ยาฆ่าหญ้า) ตอนที่ 14

บท ความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำ ชื่อสารเคมี(ชื่อสามัญ) ชนิดต่างๆ  มาเผยแพร่ให้เกษตรกร,ผู้สนใจ,ฯลฯ ได้รู้ถึงประโยชน์, อันตราย, และความเป็นพิษเพื่อจะได้เลือกใช้สารเคมีอย่างระมัดระวัง(ในกรณีที่จำเป็น) มิได้ต้องการส่งเสริมให้เกษตรกรหรือผู้อ่านใช้สารเคมีเพิ่มขึ้น เพียงแต่หากจำเป็นต้องใช้สารเคมี  ก็ควรใช้อย่างรู้คุณและโทษของมันอย่างถูกต้อง และได้ประโยชน์ คุ้มค่ากับเงินลงทุนที่เสียไปทุกบาททุกสตางค์ และไม่ทำให้ผู้บริโภครวมถึงตัวเกษตรกรและผู้ใช้เองต้องตกเป็นเหยื่อของพิษ ภัยจากการใช้สารเคมีโดยมิได้รู้แจ้ง ซึ่ง ทางผู้โพสหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรและบุคคลทั่วไปไม่มากก็น้อย  สำหรับท่านที่มีเพื่อน,มิตร,ญาติสนิท,ฯลฯ ที่ทำเกษตร หรือเกี่ยวข้องทางด้านนี้อยู่ ก็รบกวนช่วยนำไปเผยแพร่นะครับ ผมเองได้ข้อมูลมาตั้งแต่สมัยที่ยังทำการเกษตรอยู่ จาก หนังสือ "สารกำจัดศัตรูพืชในประเทศไทย"  เป็นหนังสือที่หาค่อนข้างยาก ปัจจุบันไม่ทราบว่ามีตีพิมพ์อีกหรือไม่ แต่ข้อมูลก็ยังสามารถใช้ได้ดีอยู่ จึงอยากนำมาเผยแพร่ให้คนรักต้นไม้,เกษตรกร,หรือคนที่เกี่ยวข้องได้ทราบกัน
 (นายยักษ์เขียว)


ฮาโลซี่ฟอพ - เม็ทธิล
(haloxyfop - methyl)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดวัชพืชประเภทเจาะจงพืช  กำจัดวัชพืชแบบภายหลังงอก  ออกฤทธิ์ดูดซึมและเคลื่อนย้ายไปทั่วทุกส่วนของวัชพืช
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนูตัวผู้)  2,398  มก./กก.  (หนูตัวเมีย)  2,179  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (กระต่าย)  3,536  มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้         วัชพืชใบแคบพวกหญ้าต่าง ๆ  ทั้งชนิดล้มลุกและยืนต้น  เช่น  หญ้าแพรก หญ้านกสีชมพู  หญ้าตีนติด หญ้าตีนกา หญ้าไข่แมงดา หญ้าปากควาย หญ้าตีนนก หญ้าขจรจบและหญ้าดอกขาว
พืชที่ใช้                   ใช้กำจัดวัชพืชในแปลงปลูกพืชใบกว้างทั่วไป
สูตรผสม                  25.5อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้        ใช้อัตรา  20  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ฉีดพ่นที่วัชพืชโดยตรง  ให้ทั่วพื้นที่ปลูก
อาการเกิดพิษ            อาจทำให้ผิวหนังและดวงตาเกิดอาการระคายเคือง
การแก้พิษ                ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนังหรือดวงตา  ให้ล้างด้วยน้ำจำนวนมาก ๆ  ถ้ากลืนกินเข้าไปควรทำให้คนไข้อาเจียนทันที  รักษาตามอาการ

เฮ็กซาซิโนน
(hexazinone)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดวัชพืช  triazine  ประเภทไม่เจาะจงพืช  กำจัดวัชพืชได้ทั้งแบบก่อนงอกและภายหลังงอก  ซึมผ่านเข้าลำต้นได้ทั้งทางใบและราก
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  1,690  มก./กก.  ทางผิวหนัง  มากกว่า  5,278  มก./กก.  ทำให้ดวงตาระคายเคือง
วัชพืชที่กำจัดได้        
วัชพืชใบแคบ  เช่น  หญ้าข้าวนก  หญ้าตีนนก  หญ้าหางหมา  หญ้าตีนติด  หญ้าพง  หญ้าชันอากาศ  หญ้าดอกขาว  หญ้าแพรก  หญ้าโขย่ง  วัชพืชใบกว้าง  เช่น  ผักโขม  ผักเบี้ยและวัชพืชอื่น ๆ  ทั้งประเภทล้มลุกและยืนต้น
พืชที่ใช้                   ใช้กำจัดวัชพืชในไร่อ้อย  และสัปปะรด
สูตรผสม                  90เอสพี
อัตราใช้และวิธีใช้        ใช้อัตรา  135-180  กรัมผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ฉีดพ่นที่ใบและต้นวัชพืชโดยตรงให้ทั่วพื้นที่ 1 ไร่ 
การแก้พิษ                ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนัง  ให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ  ถ้ากลืนกินเข้าไป  ทำให้คนไข้อาเจียนด้วยการล้วงคอหรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น  แล้วรักษาตามอาการ  ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ
ข้อควรรู้                    - ควรใช้ในขณะที่วัชพืชกำลังเจริญเติบโตหรือสูงอย่างน้อย  2  นิ้ว
                             - อย่าให้รากของพืชที่ปลูกถูกกับสารกำจัดวัชพืชชนิดนี้
                             - อย่าให้ละอองปลิวไปถูกกับพืชที่ปลูก
                             - ให้ผลดีในการกำจัดวัชพืชประเภทไม้พุ่มและไม้ยืนต้น
                             - ประสิทธิภาพในการกำจัดจะมากขึ้นตามสภาพอุณหภูมิที่สูงขึ้น

อิมาซาเพอร์
(imazapyr)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดวัชพืช  imidazolinone  ประเภทไม่เจาะจงพืช  กำจัดวัชพืชได้ทั้งแบบก่อนงอกและภายหลังงอก  ออกฤทธิ์ในทางดูดซึม  โดยผ่านทางใบและราก  สามารถเคลื่อนย้ายในต้นวัชพืชได้
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  มากกว่า  5,000  มก./กก.  ทางผิวหนัง  มากกว่า  2,000  มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้         วัชพืชใบแคบพวกหญ้าและวัชพืชใบกว้างทั้งประเภทล้มลุกและยืนต้น  รวมทั้งไม้พุ่ม  และไม้ผลัดใบทุกชนิด
พืชที่ใช้                   ใช้กำจัดวัชพืชในพื้นที่ไม่มีการเพาะปลูก
สูตรผสม                  10เอสแอล
การแก้พิษ                ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  รักษาตามอาการ

อิมาเซ็ทธาเพอร์
(imazethapyr)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดวัชพืช  imidazolinone  กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอกและภายหลังงอก
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู)มากกว่า  5,000  มก./กก.  ทางผิวหนัง มากกว่า  2,000  มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้         วัชพืชใบกว้างและหญ้าต่าง ๆ  ทั้งประเภทล้มลุกและยืนต้น
พืชที่ใช้                   ถั่วเหลือง
สูตรผสม                  50อีซี  ,  5.3%  เอเอส

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น