วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สารกำจัดวัชพืช(ยาฆ่าหญ้า) ตอนที่ 9

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำ ชื่อสารเคมี(ชื่อสามัญ) ชนิดต่างๆ  มาเผยแพร่ให้เกษตรกร,ผู้สนใจ,ฯลฯ ได้รู้ถึงประโยชน์, อันตราย, และความเป็นพิษเพื่อจะได้เลือกใช้สารเคมีอย่างระมัดระวัง(ในกรณีที่จำเป็น) มิได้ต้องการส่งเสริมให้เกษตรกรหรือผู้อ่านใช้สารเคมีเพิ่มขึ้น เพียงแต่หากจำเป็นต้องใช้สารเคมี  ก็ควรใช้อย่างรู้คุณและโทษของมันอย่างถูกต้อง และได้ประโยชน์ คุ้มค่ากับเงินลงทุนที่เสียไปทุกบาททุกสตางค์ และไม่ทำให้ผู้บริโภครวมถึงตัวเกษตรกรและผู้ใช้เองต้องตกเป็นเหยื่อของพิษ ภัยจากการใช้สารเคมีโดยมิได้รู้แจ้ง ซึ่ง ทางผู้โพสหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรและบุคคลทั่วไปไม่มากก็น้อย  สำหรับท่านที่มีเพื่อน,มิตร,ญาติสนิท,ฯลฯ ที่ทำเกษตร หรือเกี่ยวข้องทางด้านนี้อยู่ ก็รบกวนช่วยนำไปเผยแพร่นะครับ ผมเองได้ข้อมูลมาตั้งแต่สมัยที่ยังทำการเกษตรอยู่ จาก หนังสือ "สารกำจัดศัตรูพืชในประเทศไทย"  เป็นหนังสือที่หาค่อนข้างยาก ปัจจุบันไม่ทราบว่ามีตีพิมพ์อีกหรือไม่ แต่ข้อมูลก็ยังสามารถใช้ได้ดีอยู่ จึงอยากนำมาเผยแพร่ให้คนรักต้นไม้,เกษตรกร,หรือคนที่เกี่ยวข้องได้ทราบกัน
 (นายยักษ์เขียว)


ไดมีฟูรอน
(dimefuron)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดวัชพืช  oxadiazole  ประเภทเจาะจงพืช  กำจัดวัชพืชได้ทั้งในแบบก่อนงอก  และภายหลังงอกดูดซึมเข้าลำต้นได้โดยทางราก
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  2,000  มก./กก.  ทางผิวหนัง  มากกว่า  1,000  มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้         วัชพืชใบกว้าง
พืชที่ใช้                   พืชตระกูลกะหล่ำ  ถั่วและสัปปะรด
สูตรผสม                  50ดับบลิวพี
การแก้พิษ                ยาแก้พิษโดยเฉพาะยังไม่เป็นที่ทราบกัน  รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้                    นิยมใช้ผสมกับสารกำจัดวัชพืชอย่างอื่นเพื่อให้สามารถกำจัดวัชพืชได้กว้างขวางยิ่งขึ้น

ไดเม็ทธามีทริน
(dimethametryn)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดวัชพืช  triazine  ประเภทเจาะจงพืช  กำจัดวัชพืชได้ทั้งก่อนงอกและภายหลังงอก  ดูดซึมได้ทางรากและใบ
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  3,000  มก./กก.  ทางผิวหนัง  มากกว่า  2,150  มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้         วัชพืชใบกว้างประเภทล้มลุกและยืนต้น
พืชที่ใช้                   กำจัดวัชพืชในนาข้าวและไร่อ้อย

ไดไนตรามีน
(dinitramine)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดวัชพืชประเภทเจาะจงพืชและกำจัดแบบก่อนงอก
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  3,000  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (กระต่าย)  6,800  มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้         วัชพืชใบกว้างและหญ้าประเภทล้มลุก
พืชที่ใช้                   ฝ้าย  ถั่วลิสง  ถั่วเหลืองและทานตะวัน
สูตรผสม                  25อีซี

ไดยูรอน
(diuron)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดวัชพืช  urea  กำจัดวัชพืชได้ทั้งแบบก่อนงอกและภายหลังงอก
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  3,400  มก./กก.  อาจทำให้ดวงตาและผิวหนังระคายเคือง
วัชพืชที่กำจัดได้         หญ้าตีนนก  หญ้าตีนกา  หญ้าตีนติด  หญ้าไม้กวาด  หญ้ารังนก  หญ้านกสีชมพู  ผักเบี้ยใหญ่  ผักโขม  หญ้าอื่น ๆ  และวัชพืชใบกว้างอีกเป็นจำนวนมาก
พืชที่ใช้                   สัปปะรด  อ้อย  ชา  กาแฟ  มะละกอ  ส้ม  กล้วย  มันสำปะหลัง  ปาล์ม  ยางพารา  ฝ้าย  องุ่น  แอสพารากัส  และพืชที่ไม่ได้ทำการเพาะปลูก
สูตรผสม                  80ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้        โดยทั่วไปใช้อัตรา  365-725  กรัม/ไร่  ผสมกับน้ำ  ฉีดพ่นให้ทั่วพื้นที่ทันที  ภายหลังจากปลูกพืชเสร็จและก่อนที่วัชพืชจะงอก
การแก้พิษ                ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนัง  ให้ล้างออกด้วยน้ำกับสบู่จำนวนมาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ  ถ้ากลืนกินเข้าไป  ทำให้ผู้ป่วยอาเจียนทันทีแล้วให้กินถ่านยาแอ็คติเวทเต็ด  ซาร์โคล  แล้วนำส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ยาแก้พิษโดยเฉพาะยังไม่เป็นที่ทราบกัน  รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้                    - อย่าใช้ในขณะที่มีแสงแดดจัดหรือกับดินปนทราย
                             - อย่าปลูกพืชที่อ่อนแอต่อไดยูรอน  ภายใน  12  เดือนหลังจากใช้
                             - เป็นสารไม่กัดกร่อนและไม่ระเหย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น