วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูในมะพร้าว

การป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูในมะพร้าว
แมลงดำหนาม
ในช่วงแล้งและฤดูร้อนของทุกปี  มัก จะมีแมลงดำหนามระบาดเข้าทำลายสวนมะพร้าว โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงของยอดอ่อนที่ยังไม่คลี่ของมะพร้าว ทำให้ยอดมะพร้าวชะงักการเจริญเติบโต  ลักษณะ การเข้าทำลายของแมลงดำหนาม จะเข้าทำลายโดยตัวหนอนและตัวเต็มวัยกัดกินยอดอ่อน และซ่อนตัวในใบอ่อนที่พับอยู่ ทำให้ยอดมะพร้าวถูกทำลาย ต้นมะพร้าวที่ถูกเข้าทำลายอย่างรุนแรง ใบมะพร้าวจะเป็นสีขาวโพลนชัดเจน หรือที่ภาษาชาวบ้านเรียกว่า มะพร้าวหัวหงอก
 
                ภาพวงจรชีวิตของแมลงดำหนาม B. longissima
 วงจรชีวิตของแมลงดำหนาม จากตัวอ่อน(หนอน) ถึงตัวเต็มวัย ใช้เวลาประมาณ 36 วัน และตัวเต็มวัย ใช้เวลาประมาณ 75-90 วัน เท่ากับว่าเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าว ต้องเจอการเข้าทำลายของแมลงดำหนามแต่ละตัวเกือบ 4 เดือน ดังนั้น การป้องกันและกำจัดที่ได้ผล จึงต้องมีการควบคุมและกำจัดทั้งภายในแปลง และป้องกันการระบาดจากภายนอก  การใช้เชื้อราเมทาไรเซี่ยม ใน เมทา-แม็ก ในการควบคุมกำจัดดูจะเป็นวิธีที่สะดวก ประหยัด และได้ผลดีที่สุด
 

ยอดมะพร้าวที่ถูกแมลงดำหนามเข้าทำลาย
 การควบคุมและกำจัด
            สามารถควบคุมป้องกันการระบาดโดยการทำกองเหยื่อล่อ และ การใช้ชีวภัณฑ์ปลอดสารพิษ "เมทา-แม็ก" ตามวิธีที่แนะนำ เพื่อควบคุมและลดปริมาณประชากร
ด้วงแรดมะพร้าว
เป็นแมลงปีกแข็งขนาดค่อนข้างใหญ่  ลำตัวยาวประมาณ 3 - 5 เซนติเมตร วงจรชีวิตประมาณ 4-9 เดือน  เฉลี่ยประมาณ 6 เดือน  ดังนั้นปีหนึ่งด้วงแรดจึงมีได้ 2 รุ่น   โดยตัวเต็มวัยจะเป็นวัยที่ทำลายมะพร้าว  ด้วยการบินไปกัดเจาะโคนทางมะพร้าว    ทำให้ทางใบหักง่าย และกัดเจาะทำลายยอดอ่อน   ทำให้ทางใบเกิดใหม่ไม่สมบูรณ์ มีรอยแหว่งเป็นริ้วๆ คล้ายรูปสามเหลี่ยม  ถ้าถูกทำลายมากใบเกิดใหม่จะแคระแกรน รอยแผลที่ด้วงแรดกัดจะเป็นช่องทางที่ให้ด้วงงวงมะพร้าวเข้ามาวางไข่   หรือทำให้เกิดโรคยอดเน่าได้   ซึ่งปัจจุบันพบด้วงแรดมะพร้าวกระจายไปทั่ว โดยเฉพาะบริเวณที่เลี้ยงช้าง

ด้วงงวงมะพร้าว
 
เป็นแมลงปีกแข็งเช่นเดียวกับด้วงแรดมะพร้าวแต่มีขนาดเล็กกว่า ลำตัวสีน้ำตาลแดง  ส่วนหัวมีอวัยวะคล้ายงวงยื่นออกมา โดยจะขยายพันธุ์อยู่ภายในคอมะพร้าว  บางครั้งอาจพบบริเวณโคนลำต้น  เมื่อเข้าทำลายจะทำให้ยอดมะพร้าวหักพับ ยืนต้นตาย  และหากมีการเข้าทำลาย ของด้วงแรดมะพร้าว ด้วงงวงมะพร้าวจะเข้าไปวางไข่ได้ มีวงจรชีวิตประมาณ 171-229 วัน  ดังนั้น หากมีการทำลายของด้วงแรดมะพร้าวก็จะพบกับด้วงงวงมะพร้าวตามมา

หนอนหัวดำในมะพร้าว
 
หนอนหัวดำมะพร้าว  ลักษณะตัวเต็มวัยจะเป็นผีเสื้อกลางคืน  ขนาดลำตัววัดจากหัวถึงปลายท้อง  ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร มักเกาะนิ่งหลบใต้ใบมะพร้าวหรือในที่ร่มและ เริ่มวางไข่ 3 วันหลังออกจากดักแด้ โดยจะวางไข่ทุกวันติดต่อกัน 4-6 วัน ตัวหนึ่งๆ วางไข่ได้ประมาณ 157-490 ฟอง   อยู่เป็นไข่ประมาณ 5-6 วัน ก่อนที่จะฟักออกมาเป็นตัวหนอน และเป็นระยะตัวหนอนประมาณ 32-48 วัน จากนั้นเข้าดักแด้ 9-11 วัน และเป็นผีเสื้อ 5-14 วัน
           การทำลายของหนอนหัว ดำมะพร้าว  เมื่อฟักออกมาเป็นตัวหนอนจะรวมกันอยู่เป็นกลุ่ม 1-2 วัน   ก่อนจะย้ายไปกัดกินใบมะพร้าวตัวหนอนจะสร้างใยผสมกับมูลทำเป็นอุโมงค์ยาวคล้ายทางเดินของปลวก  คลุมเส้นทางที่หนอนแทะกินผิวใบยาวตามทางใบ และอาศัยอยู่ในอุโมงค์นั้น ใบที่เข้าทำลายมักเป็นใบแก่ และมีลักษณะแห้งเป็นสีน้ำตาล  ตัวหนอนจะสร้างใยดึงใบย่อยติดกันเป็นแพ  สำหรับแนวทางในการป้องกันกำจัดแมลงเหล่านี้ พบว่า ด้วงงวงมะพร้าวเป็นศัตรูมะพร้าวที่สำคัญที่สุด กรมวิชาการเกษตร  ไม่แนะนำให้ใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัด   โดยเฉพาะมะพร้าวที่เป็นมะพร้าวพันธุ์ต้นสูง  การใช้สารเคมีจะเป็นอันตรายต่อผู้ใช้และผู้บริโภค อีกทั้งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และแมลงศัตรูตามธรรมชาติได้
                 วิธีการป้องกันโดยวิธีกล คือ  การกำจัดด้วงแรดมะพร้าว  หาก กำจัดได้จะควบคุมด้วงงวงมะพร้าวได้โดยอัตโนมัติ การกำจัดด้วงแรด มะพร้าวทำได้โดยการดูแลรักษาความสะอาดในสวนมะพร้าว และพื้นที่ใกล้เคียง  ไม่ให้เป็นแหล่งขยายพันธุ์ของแมลงศัตรูพืช  โดยการตัด โค่นต้นมะพร้าวหรือปาล์มที่ยืนต้นตาย ห้ามทิ้งไว้เกิน 2 - 3 เดือนเผาหรือฝังซากทางใบ ลำต้น หรือตอ  รวมทั้งเกลี่ยกองซากพืช  มูลสัตว์ให้กระจายออกมีความสูงไม่เกิน 15 เซนติเมตร และหากมีความจำเป็นต้องกองซากพืชหรือมูลสัตว์มากกว่า 2-3 เดือน ควรหมั่นพลิกกลับกองเพื่อเก็บไข่ หนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัยไปทำลาย โดยเฉพาะสวนที่ใช้มูลสัตว์เป็นปุ๋ย สาเหตุที่ด้วงแรดมะพร้าวระบาดเกิดจากการทิ้งซากใบมะพร้าวและมีการใช้มูล สัตว์จำนวนมาก ทำให้เป็นแหล่งสะสมและขยายพันธุ์ของด้วงแรดมะพร้าว

สรุปวิธีการควบคุมและกำจัดเมื่อพบการระบาด
                  การ ควบคุมและกำจัด ให้ทำทั้ง 2 ขั้นตอน ทั้งการฉีดพ่นเพื่อกำจัดตัวอ่อนที่ยอดมะพร้าวและการกำจัดไข่หรือล่อตัวเต็ม วัยมาวางไข่ที่กองล่อ  เพื่อป้องกันการวางไข่ซ้ำที่ยอด  โดยแนะนำให้ปฎิบัติดังนี้ คือ
           1. สำหรับการกำจัดเมื่อพบการระบาดรุนแรงของด้วงแรดมะพร้าว,แมลงดำหนาม,หนอนตัวอ่อนและหนอนหัวดำมะพร้าว ให้ใช้ชีวภัณฑ์เมทา-แม็ก อัตรา 100 กรัมผสมน้ำซาวข้าวหรือน้ำมะพร้าว 2 ลิตร ผสมกวนทิ้งไว้ประมาณ 2-4 ชั่วโมง จากนั้นนำไปผสม ชีวภัณฑ์กำจัดหนอนศัตรูพืช บาร์ท๊อป อัตรา 100 กรัมน้ำ เติมน้ำให้ครบ 20 ลิตร ผสมให้เข้ากัน นำไปฉีดพ่นทั่วยอดใบของต้นมะพร้าวให้ชุ่ม ทุก ๆ 5 วันติดต่อกันประมาณ 3-4 ครั้ง หลังจากนั้น หรือใช้หยอดที่ยอดให้ชุ่ม หรืออาจร่วมกับการใช้แตนเบียนแมลงดำหนามและนำมาปล่อยเป็นระยะๆ 
           2. ให้เตรียมกองล่อขนาด 2  x 2 x 0.5 เมตร(1 กองต่อพื้นที่ 5-10 ไร่)  ในพื้นที่ที่พบการระบาดของด้วงแรดมะพร้าวและด้วงงวงมะพร้าว  เพื่อล่อให้ตัวเต็มวัยมาผสมพันธุ์และวางไข่  วัสดุที่ใช้ควรเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายและด้วงแรดชอบได้แก่ ขุยมะพร้าว ขี้เลื่อย ขี้วัว แกลบ และเศษหญ้า  โดย ใช้ใส่ในอัตราส่วนเท่า ๆ กัน ผสมคลุกรวมกันรดน้ำให้ชุ่มแต่ไม่แฉะจนเกินไป ทิ้งไว้จนวัสดุในกองสลายตัวและอุณหภูมิภายในกองเย็นลง จึงนำ เมทา-แม็ก ไปโรยในกองล่ออัตรา 200–400 กรัม/กอง  เมื่อด้วงแรดมาวางไข่ในกองล่อตัวหนอนที่ฟักออกจากไข่จะติดราเขียว   ใน ระยะนี้จะต้องควบคุมกองล่อให้มีความชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้เชื้อรา เมทา-แม็ก สามารถงอกและเจริญเติบโตได้ เชื้อรา เมทา-แม็ก ในกองล่อจะมีประสิทธิภาพในการกำจัดหนอนด้วงแรดมะพร้าวได้นานประมาณ 6 – 12 เดือน

คุณสมบัติพิเศษที่ดีของเชื้อราเมทา-แม็ก
           1. สามารถเลี้ยงต่อเชื้อได้บนเมล็ดธัญพืชและอาหารเทียม
          2. มีความคงทนในสภาพแวดล้อมสูง สามารถมีชีวิตอยู่ในดินได้ข้ามปี
          3. ใช้ได้ง่าย โดยการโรยลงดินเพื่อกำจัดแมลงในดิน
          4. แพร่กระจายได้ง่าย โดยปลิวไปกับลมหรือติดไปกับคน สัตว์ หรือแมลง
          5. ไม่มีพิษกับคน หรือสัตว์ประเภทอื่น ปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้บริโภค
ข้อจำกัดในการใช้งาน
          1. ราเขียวต้องการความชื้นสูงในการงอกของโคนิเดีย จึงใช้ได้ในบางท้องที่และบางฤดูกาล
          2. ผู้ใช้ควรหลีกเลี่ยงการใช้ในช่วงที่มีแสงแดดจัด เช่น ในช่วงเวลากลางวัน
          3. ผู้ใช้ควรสวมเครื่องป้องกัน เช่น ใช้ผ้าปิดปากและจมูก เพื่อหลีกเลี่ยงโคนิเดียปลิวเข้าระบบทาบเดินหายใจ สำหรับผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ อาจทำให้เกิดอาการผื่นคันได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น