วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การแก้ปัญหาโรคไส้กลวงของดาวเรือง

การป้องกันโรคไส้กลวงในดาวเรือง


โรคไส้กลวงของดาวเรือง (Hollow stem)
สาเหตุของโรคเกิดจากอาการ ที่ต้นดาวเรือง ขาดธาตุอาหารรอง โบรอน (Boron deficiency)
ลักษณะอาการ ที่สังเกตได้ จากภายนอกต้นดาวเรือง
ลักษณะอาการ ต้นดาวเรืองในตอนแรก ยังไม่เริ่ม แสดงอาการอะไร ให้เห็นเด่นชัด จนกระทั่ง ดาวเรืองเริ่มโตมากขึ้น จะเริ่มสังเกตเห็นได้ว่า บริเวณลำต้นผิดปกติไป  คือใบล่างของต้น จะแห้งกรอบ ลำต้นเล็กลงจนผิดสังเกต  ทรงพุ่มด้านบน มีลักษณะกอดแน่น  ใบจะชูขึ้น  มีจำนวนยอดมาก แต่อาจจะไม่สามารถให้ดอกได้  หลังจากนั้น เมื่อต้นดาวเรืองโตกว่าเดิม ต้นดาวเรืองจะฉีกขาด  เนื่องจาก ส่วนของลำต้นไม่แข็งแรง  น้ำหนักของส่วนยอดดาวเรือง จะทำให้ต้นฉีกขาด  เมื่อสังเกตลำต้นที่ฉีกขาด จะพบว่าเนื้อเยื่อ ส่วนที่เป็นท่อน้ำ ท่ออาหารไม่พัฒนาฝ่อและกลวง  จึงเป็นสาเหตุ ที่ทำให้ต้นพืช ไม่สามารถดูดน้ำ และอาหารขึ้นไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของต้นได้อย่างสมบูรณ์ และแห้งตายในที่สุด  อีกหนึ่งอาการคือ ถ้าต้นไม่ฉีกขาด แต่ยังเจริญเติบโตต่อไป  ลักษณะอาการที่ผิดปกติ คือใบล่างของต้น จะเริ่มแห้งกรอบ ลามจนถึงยอดและตาย  ถ้าตัดมาผ่าตามแนวยาวของต้น  จะพบเนื้อเยื่อ ใจกลางลำต้นเจริญเติบโตไม่เต็มที่ เป็นระยะๆ และเกิดอาการเซลล์ตาย กลายเป็นแผลสีน้ำตาล

   

 

การป้องกันโรคไส้กลวงของดาวเรือง
ต้นดาวเรืองที่แสดงอาการไส้กลวงนั้น สาเหตุเกิดจากการขาดธาตุโบรอน ซึ่งเป็นธาตุอาหารรอง  ต้นดาวเรืองต้องการ แต่ไม่ต้องการเป็นปริมาณมาก  อาการไส้กลวงจากการสังเกตพบว่า เกิดระบาดมากในช่วงฤดูฝนหรือเดือนมิถุนายนกันยายน เพราะฉะนั้นควรต้องทำการป้องกันตั้งแต่เริ่มทำการปลูกดาวเรือง คือ
1. การเตรียมแปลงปลูกในช่วงฤดูฝน ควร จะยกแปลงให้สูงมากกว่าปกติ เพื่อให้รากหยั่งลึกได้ดีขึ้น ทำร่องระบายน้ำให้ลึกเพื่อที่ระบายน้ำได้ดีน้ำไม่ขังบริเวณราก เพื่อให้รากพืชได้ออกซิเจนที่อยู่ในดินอย่างเพียงพอ ทำให้ต้นดาวเรืองแข็งแรงสมบูรณ์
2. หลุมปลูกดาวเรือง ควรห่างประมาณ 45x45 เซนติเมตร เพื่อให้ทรงพุ่มโปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก ป้องกันโรคและแมลงระบาด ต้นดาวเรืองจะแข็งแรงสมบูรณ์
3.  เพิ่มปุ๋ยที่มีโบรอนเดี่ยว ให้โดยการใช้ โบรอนราดโคนต้น หรือในแปลงที่เริ่มพบการระบาดให้รีบใช้โบรอน ฉีดพ่นทางใบทุกๆสัปดาห์ หรือตามลักษณะอาการ และควรฉีดพ่นใบในช่วงที่ปากใบดาวเรืองเปิด หรือช่วงที่มีแสงแดด เพราะจะช่วยทำให้โบรอน เข้าไปทางปากใบได้ดี เพิ่มประสิทธิภาพของดาวเรือง ในการดูดซึมธาตุโบรอน ไปเสริมสร้างลำต้นให้แข็งแรง
ข้อมูล เอ เอฟ เอ็ม ฟลาวเวอร์ ซีดส์
โรคไส้กลวง
สาเหตุของโรค : พืชขาดธาตุโบรอน
ลักษณะอาการ : ส่วนของลำต้นจะแตกและภายในกลวง แต่ต้นจะยังคงเจริญเติบโตได้
 การจัดการ :  ปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินให้เหมาะสม โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพ รวมถึงการฉีดพ่นโบรอน  2 ครั้ง ในสัปดาห์ที่ 1 และ 3

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น