วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เทคนิคการปลูกมะเขือเทศ

สภาพอากาศที่เหมาะสม
ฤดูหนาว เป็นฤดูที่เหมาะสมที่สุดในการเจริญเติบโตของมะเขือเทศ อุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดในการเจริญเติบโตอยู่ระหว่าง 18-28 องศาเซลเซียสซึ่งต้นจะแข็งแรงและติดผลมาก ถ้าความชื้นของอากาศและอุณหภูมิสูงจะทำให้ผลผลิตและคุณภาพลดลง และทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ง่าย
ปัญหาการปลูกมะเขือเทศใน ฤดูฝนคือ ในฤดูฝนมีความชื้นและอุณหภูมิเหมาะแก่การเจริญเติบโตของโรคหลายชนิด และมะเขือเทศบางพันธุ์ผลจะแตกง่ายเมื่อฝนตกแต่ถ้าต้องการจะปลูกมะเขือเทศใน ฤดูฝนสิ่งที่จะต้องปฏิบัติคือ
1. เลือกพื้นที่ปลูกที่สูงมีการระบายน้ำดีเป็นพิเศษ
2. ดินมีสภาพเป็นกลาง คือมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ประมาณ 6.5-6.8
3. ใช้พันธุ์ที่เหมาะสมคือให้ผลดกในฤดูฝนและฤดูร้อน
4. มีการปฏิบัติรักษาอย่างถูก ต้องดีคือ เตรียมดินใส่ปุ๋ยถูกต้อง ฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและบ่อยครั้งเป็นพิเศษ อย่าปล่อยให้โรคทำลายก่อนแล้วจึงคิดป้องกันกำจัด ปกติผู้ปลูกที่ประสบความสำเร็จมักใช้สารป้องกันกำจัดแมลงและเชื้อราสูงกว่า ในฤดูปกติ
สภาพดินและการเตรียมดิน
ดินที่เหมาะสมในการปลูกมะเขือเทศมากที่สุดควรเป็นดินร่วนมีอินทรียวัตถุสูงและมีการระบายน้ำดี ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH) ประมาณ 6.5-6.8 ถ้า ดินเป็นกรดหรือด่างมากเกินไปจะทำให้ดินขาดธาตุอาหารบางอย่างได้ หรือธาตุอาหารบางชนิดสามารถละลายออกมาได้มากเกินไปจนเป็นเหตุให้เป็นพิษต่อ ต้นพืช สามารถทราบปริมาณธาตุอาหารต่าง ๆ ในดินบริเวณ  โดยการส่งตัวอย่างดินไปวิเคราะห์
การปลูกมะเขือเทศโดยทั่ว ไปไม่ควรปลูกซ้ำที่เดิมหรือในพื้นที่ปลูกพืชในตระกูลเดียวกันกับมะเขือเทศมา ก่อน เช่น พริก มะเขือและยาสูบ เป็นต้น เพราะอาจมีเชื้อโรคต่าง ๆ สะสมอยู่ในดิน ซึ่งเป็นโอกาสให้มะเขือเทศเป็นโรคได้ง่าย
การเตรียมดินสำหรับปลูก มะเขือเทศต้องพิถีพิถันเป็นอย่างมาก ดินต้องมีการระบายน้ำดี กำจัดวัชพืชให้หมด เพราะวัชพืชนอกจากจะแย่งน้ำ อาหารและแสงแดดแล้วยังเป็นที่อยู่อาศัยของโรคและแมลงได้อย่างดีอีกด้วย ดังนั้น ถ้าหากมีการเตรียมดินให้ดีตั้งแต่เริ่มแรกจะป้องกันการงอกของวัชพืชไปได้นาน ควรเตรียมดินให้ลึก 30-40 เซนติเมตร  ถ้าใช้เครื่องทุ่นแรงหรือรถไถ 2-3 ครั้ง โดยไถกลบดินไปมาและตากดินให้แห้ง 3-4 อาทิตย์ แล้วย่อยดินให้ละเอียดพอควร อย่าให้ละเอียดมากเกินไป เพราะมะเขือเทศต้องการสภาพดินที่มีการระบายน้ำและถ่ายเทอากาศได้ ถ้าหากดินเป็นกรดหรือเสื่อมสภาพจากปุ๋ยเคมี ให้ใช้สารปรับสภาพดินชนิดน้ำ ไดนาไมท์ อัตราตามที่แนะนำ (ไดนาไมท์ 1 ลิตรต่อพื้นที่ 3-5 ไร่ ผสมน้ำและปล่อยไปกับระบบน้ำ) หรือ ผสมน้ำ อัตรา 100 ซีซี/น้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นบริเวณผิวดินให้ชุ่มทั่วแปลง  ก่อนการเพาะปลูก 2 อาทิตย์

การเพาะกล้า
ทำได้ 2 วิธี คือ
1. กระบะ เพาะ นิยมใช้ในกรณีที่ต้องการต้นกล้าจำนวนไม่มากนัก การเพาะกล้าโดยวิธีนี้จะสามารถเพาะได้ดีเนื่องจากใช้ดินจำนวนน้อยสามารถนำ ดินมาอบฆ่าเชื้อโรคก่อนทำการเพาะได้ สารเคมีที่ใช้ในการอบดินได้แก่ เมทิลโบรโมด์ คลอโรพิคริน หรือจะใช้เมอร์คิวริคคลอไรด์ ในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 2,000 ส่วน นำไปรดดินที่จะเพาะ แล้วทิ้งไว้ 2 อาทิตย์ก่อนเพาะ แต่ถ้าหากไม่สามารถจะทำได้ก็ใช้วิธีนำดินไปอบด้วยไอน้ำร้อน หรือตากดินที่จะใช้เพาะให้ดีก่อนประมาณ 3-4 อาทิตย์ หรือเลือกดินที่ปราศจากโรคมาเป็นส่วนผสม โดยสังเกตว่าดินนั้นปลูกพืชแล้วพืชไม่เคยเป็นเคยเป็นโรคมาก่อน หรือเป็นดินที่ไม่เคยปลูกพืชมาก่อนก็ใช้ได้ กระบะที่ใช้เพาะเมล็ดควรมีขนาดประมาณ 45 x 60 เซนติเมตร (หรือภาชนะที่พอจะหาได้) ลึกไม่เกิน 10 เซนติเมตร มีรูระบายน้ำได้ใส่ดินที่ร่อนแล้ว 3 ส่วน ปุ๋ยคอก 1 ส่วน ทรายหรือแกลบ 1 ส่วนคลุกเคล้าให้เข้ากันปรับผิวหน้าดินให้เรียบ แล้วโรยเมล็ดเป็นแถวโดยการใช้ไม้ทาบเป็นร่องเล็ก ๆ ระยะห่างกันระหว่างแถวประมาณ 5-7 เซนติเมตร แล้วกลบเมล็ดด้วยแกลบหรือทรายบาง ๆ แล้วรดน้ำให้ชุ่มใช้ไบโอเฟอร์ทิล (สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตราส่วน 100 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร(1:200) ผสมน้ำรด เพื่อป้องกันมด แมลงเข้าทำลาย และกระตุ้นการงอกของเมล็ดได้ดี
เมื่อกล้าอายุได้ 15 วัน หรือมีใบจริง 2 ใบ ให้ย้ายกล้าลงใส่ถุงพลาสติกขนาด 4 x 6 นิ้ว ซึ่งบรรจุดินผสมอยู่ อาจใช้ไบโอเฟอร์ทิล (สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตราส่วน 100 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร(1:200) ผสมน้ำรดอีก 1 ครั้ง เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโต เพิ่มความแข็งแรงให้กล้า  ทำให้สามารถย้ายลงปลูกได้เร็วขึ้น เมื่อกล้าสูงประมาณ 1 คืบหรือมีอายุ 30-35 วัน  จึงทำการย้ายกล้าลงแปลงปลูก โดยใช้มีดกรีดถุงพลาสติกให้ขาดเพื่อไม่ให้รากกระทบกระเทือน  ก่อนย้ายกล้าควรงดให้น้ำ 1 วัน เพื่อให้ดินในถุงจับตัวแน่น จะสะดวกต่อการย้ายกล้ามาก อย่างไรก็ตามเมื่อกล้ามีใบจริง 2-3 ใบ หากไม่ย้ายกล้าลงถุงพลาสติกก็ควรชำต้นกล้าให้เป็นแถวในแปลงชำซึ่งเตรียมดินให้ร่วนซุยโดยการใส่วัสดุปรับปรุงดินอินทรีย์แท้ เกรด AAA ตรายักษ์เขียวสูตร เข้มข้น (แถบเขียว) ในอัตรา 1-2 กำมือต่อ 1 ตารางเมตร ขนาดแปลงชำกว้าง 1 เมตร ความยาวแล้วแต่พื้นที่และปริมาณของต้นกล้า ระยะปลูกระหว่างแถว 10 เซนติเมตร ระหว่างต้น 10 เซนติเมตร และเมื่อกล้าสูงประมาณ 1 คืบ หรือมีอายุ 30-35 วัน ก็ย้ายลงแปลงปลูกจริง โดยก่อนย้ายจะต้องรดน้ำในแปลงชำให้ชุ่มเสียก่อน เพื่อความสะดวกในการถอนต้นกล้า และรากต้นกล้าจะไม่ขาดและกระทบกระเทือนมาก
2. แปลงเพาะ นิยมใช้ในกรณีที่ต้องการต้นกล้าเป็นจำนวนมาก สำหรับขนาดแปลงเพาะก็เช่นเดียวกับแปลงชำ คือขนาดกว้าง 1 เมตร ความยาวแล้วแต่พื้นที่หรือปริมาณกล้าที่ต้องการ ทางเดินระหว่างแปลง 50 เซนติเมตร ผสมดินด้วยปุ๋ยคอกและทรายตามอัตราส่วน 3: 1 เช่นกัน ทำการเพาะเมล็ดโดยโรยเมล็ดเป็นแถวห่างกัน 10 เซนติเมตร ใช้ไบโอเฟอร์ทิล (สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตราส่วน 100 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร(1:200) ผสมน้ำรด เพื่อป้องกันมด แมลงเข้าทำลาย และกระตุ้นการงอกของเมล็ดได้ดี  เมื่อกล้ามีอายุ 25-30 วัน หรือมีใบจริง 2-3 ใบ ก็สามารถย้ายลงแปลงปลูกได้ แปลงเพาะควรมีตาข่าย หรือผ้าดิบคลุมแปลงเพื่อป้องกันแดด ลม และฝน ซึ่งจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ต้นอ่อนให้ถึงตายหรือเกิดโรคได้ ถ้าจะให้ได้ผลดีควรเปิดให้รับแสงแดดถึง 3 โมงเช้าและเปิดอีกครั้งเมื่อ 4 โมงเย็น ในกรณีที่หาวัสดุหรือผ้าคลุมแปลงไม่ได้และไม่ใช่ฤดูฝน อาจจะใช้ฟางข้าวใหม่มาคลุมบาง ๆ หลังจากโรยเมล็ดและกลบดินเรียบร้อยแล้ว เมื่อเมล็ดงอกแล้วค่อย ๆ ดึงเอาฟางออกบ้างเพื่อให้ต้นกล้าโผล่พ้นฟางได้ง่ายและต้นกล้าจะได้แข็งแรง เนื่องจากเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศนั้นมีราคาแพง ดังนั้น ก่อนจะเพาะกล้า ควรจะได้ทดลองหาความงอกของเมล็ดเสียก่อนว่ามีความงอกเท่าไร (กี่เปอร์เซ็นต์) โดยใช้วิธีเพาะเมล็ดในกระดาษเพาะเมล็ดโดยตรงหรือถ้าไม่มีก็ใช้กระดาษฟางชื้น หรือในกระบะทรายก็ได้โดยใช้เมล็ด 100 เมล็ด หลังจากเพาะได้ 10-15 วัน นับจำนวนต้นที่งอกเป็นเปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ด
การปลูก
แปลงปลูกควรไถพรวนและปรับระดับดินให้เรียบสม่ำเสมอกันแล้วยกแปลงให้สูงประมาณ 30 เซนติเมตร กว้าง 100 เซนติเมตร ปลูกเป็นแถวคู่ระยะระหว่างแถว 70 เซนติเมตร ระหว่างต้น 50 เซนติเมตร รองก้นหลุมปลูกด้วย วัสดุปรับปรุงดินอินทรีย์แท้ เกรด AAA ตรายักษ์เขียวสูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง)  อัตรา 1 กำมือต่อหลุม คลุกเคล้าให้เข้ากันและโรย ชีวภัณฑ์กำจัดโรครา ไตรโคแม็ก อัตรา 5 กรัม ต่อหลุม เพื่อป้องกันโรคเหี่ยวเหลืองและป้องกันกล้าเน่าตาย แล้วจึงย้ายกล้าลงหลุมปลูกหลุมละ 1-2 ต้น กลบดินให้เสมอระดับผิวดินอย่าให้เป็นแอ่งหรือเป็นหลุม เพราะจะทำให้น้ำขังและต้นกล้าเน่าตายได้ ถ้าปลูกขณะที่ฤดูฝนยังไม่สิ้นสุด แต่ถ้าปลูกในฤดูหนาวหรือฤดูแล้งควรจะกลบดินให้ต่ำกว่าระดับหลุมเล็กน้อย

สำหรับการย้ายกล้าลงแปลง ปลูกนี้ต้องเลือกต้นกล้าที่มีลักษณะดี มียอดและปราศจากโรคและแมลงรบกวน ถ้าเป็นการย้ายกล้าจากแปลงเพาะหรือแปลงชำมาลงปลูกโดยตรง ควรย้ายปลูกในเวลาที่อากาศไม่ร้อนคือในตอนบ่ายหรือตอนเย็น เมื่อย้ายเสร็จให้รีบรดน้ำตามทันทีจะทำให้กล้าตั้งตัวได้เร็วขึ้น และเปอร์เซ็นต์การตายน้อยลง แต่ถ้าเป็นการย้ายกล้าที่ชำในถุงพลาสติก สามารถย้ายลงแปลงได้ทุกเวลา กล้าจะตั้งตัวได้เร็วและรอดตายเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์
หลังจากย้ายกล้าแล้วรดน้ำกล้าให้ชุ่มทุกเช้า-เย็น เมื่อกล้าตั้งตัวดีแล้ว จึงควรรดน้ำเพียงวันละครั้งในบางแห่งอาจจะให้น้ำแบบเข้าตามร่องแปลงจนชุ่ม แล้ว ปล่อยน้ำออก วิธีนี้สามารถจะทำให้มะเขือเทศได้รับน้ำอย่างเต็มที่และอยู่ได้ถึง 7-10 วัน
การพรวนดินกลบโคนต้น
เมื่อต้นกล้าตั้งตัวได้ แล้วควรพรวนดินกลบโคนต้น โดยเปิดเป็นร่องระหว่างแถว เพื่อให้การให้น้ำทำได้สะดวก น้ำไม่ขัง และทำให้รากมะเขือเทศเกิดมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ต้นแข็งแรงมากขึ้น และการพรวนดินกลบโคนก็เป็นการกำจัดวัชพืชไปในตัวด้วย หลังจากพรวนดินกลบโคนครั้งแรกแล้ว หลังจากนั้นอีก 1 เดือนให้ทำการกลบโคนอีกครั้งหนึ่ง
การให้น้ำ
มะเขือเทศต้องการน้ำสม่ำเสมอ ตั้งแต่เริ่มปลูกไปจนถึงผลเริ่มแก่ (ผลมีการเปลี่ยนสี) หลัง จากนั้นควรลดการให้น้ำลง มิฉะนั้นอาจทำให้ผลแตกได้ การรดน้ำมากเกินไปจะทำให้ดินชื้น ซึ่งทำให้เชื้อราที่ทำให้เกิดโรคเน่าเจริญได้ดี แต่หากมะเขือเทศขาดน้ำ และให้น้ำอย่างกะทันหันก็จะทำให้ผลแตกได้เช่นกัน
การให้ปุ๋ย
          ทางดิน
หลังจากย้ายกล้าลงหลุมปลูกแล้ว  แนะ นำให้ใส่ปุ๋ยเคมีเสริมด้วย เพื่อให้คุณภาพและผลผลิตของมะเขือเทศสูงขึ้น สำหรับปุ๋ยเคมีที่จะใช้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพของดินแต่ละแห่ง เช่น ถ้าดินเป็นดินเหนียว ปุ๋ยเคมีที่ใช้ควรมีไนโตรเจนและโปแตสเซี่ยมเท่ากัน ส่วนฟอสฟอรัสให้มีอัตราสูง เช่น สูตร 12-24-12 หรือ 15-30-15 ถ้าเป็นดินร่วนควรให้ปุ๋ยที่มีโปแตสเซี่ยมสูงขึ้น แต่ไม่สูงกว่าฟอสฟอรัส เช่นสูตร 10-20-15 ส่วนดินทรายเป็นดินที่ไม่ค่อยจะมีโปแตสเซี่ยม จึงควรให้ปุ๋ยที่มีธาตุโปแตสเซี่ยมสูงกว่าตัวอื่น เช่นสูตร 15-20-20, 13-13-21 และ 12-12-17 เป็นต้น แต่ถ้าเป็นการปลูกมะเขือเทศนอกฤดูจะต้องใช้ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูง เนื่องจากมะเขือเทศจะใช้ปุ๋ยไนโตรเจนมากถ้าหากอุณหภูมิของอากาศสูง โดยในแต่ละช่วงของการใส่ให้ผสม วัสดุปรับปรุงดินอินทรีย์แท้ เกรด AAA ตรายักษ์เขียวสูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง) ในอัตรา ยักษ์เขียว 2 ส่วน ต่อ ปุ๋ยเคมี 1 ส่วน เพื่อปรับสภาพดินและกระตุ้นการทำงานของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน  ทำให้พืชตอบสนองต่อปุ๋ยเคมีได้ดีขึ้น  โดยการแบ่งใส่ 3 ครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ 1 หลังจากย้ายปลูก 7 วัน ใส่ ยักษ์เขียว สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง) 2 ส่วน + เคมี 1 ส่วน   รวมอัตรา  50 กิโลกรัมต่อไร่
ครั้งที่ 2 หลังจากครั้งที่หนึ่ง 15 วัน ใส่ ยักษ์เขียว สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง) 2 ส่วน+ เคมี 1 ส่วน   รวมอัตรา  50 กิโลกรัมต่อไร่
ครั้งที่ 3 หลังจากครั้งที่สอง 20 วัน หรือช่วงที่เริ่มติดผลเป็นเม็ดแล้ว ใส่ ยักษ์เขียว สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง) 2 ส่วน + เคมี 1 ส่วน   อัตรา  75 กิโลกรัมต่อไร่
2.    ในพื้นที่ที่มีการปลูกซ้ำที่เป็นประจำทุกปี  ควรมีการนำดินตัวอย่างไปวิเคราะห์ ซึ่งหากพบว่าในดินมีการสะสมของฟอสฟอรัส ค่อนข้างสูง  ในฤดูการถัดไป  อาจใช้ปุ๋ยเคมีที่มีสัดส่วนฟอสฟอรัส ต่ำลงมา และเน้นการใช้ ปุ๋ยวัสดุปรับปรุงดินอินทรีย์แท้ เกรด AAA ตรายักษ์เขียวซึ่ง สารอินทรีย์ในเนื้อปุ๋ยจะกระตุ้นให้จุลินทรีย์ในดินที่เป็นประโยชน์ ช่วยย่อยธาตุอาหารที่ตกค้างจากปุ๋ยเคมี ทำให้สภาพดินสมดุล และช่วยลดโอกาสเกิดโรคเน่าทางดิน
3.    แนะนำให้มีการสุ่มตรวจ วิเคราะห์ดินก่อนเพาะปลูก เพื่อเป็นแนวทางการใช้ปุ๋ยเคมี  เนื่องจากพื้นที่ ๆ ปลูกซ้ำทุก ๆ ปี  จะ มีการสะสมของธาตุอาหารส่วนเกินที่ตกค้างและหลงเหลือจากการที่พืชนำไปใช้ไม่ หมด ซึ่งหากมีปริมาณมากเกินไปอาจทำให้เป็นพิษกับพืช หรือเกิดกักธาตุอาหารซึ่งกันและกัน ทำให้พืชไม่สามารถดูดซึมไปใช้ได้  ทำให้ผลผลิตลดลง  และต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น
การให้ปุ๋ยและฮอร์โมนทางใบ
1.    ใช้ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตรา 30-40  ซีซี/น้ำ 20 ลิตร  ฉีดพ่นเป็นประจำ ทุก ๆ 7-10 วัน ทำให้ต้นแข็งแรง ทนต่อโรคและเจริญเติบโตเร็ว ให้ผลผลิตได้เร็ว ติดดอกและผลดกมาก
2.    ในช่วงที่ต้นมีผลผลิตจำนวนมาก ให้สลับใช้ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรเร่งขนาดผล) อัตรา 20-30 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ทำให้ผลผลิตได้น้ำหนักดีมาก
3.    ฉีดพ่นเสริมด้วยอาหารเสริมทางใบ โดยผสม ธาตุอาหารรองและเสริม คีเลท อัตรา 5 กรัม + แคลเซียมโบรอน ชนิดน้ำ แคลแม็ก อัตรา 15-30 ซีซี ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 7-10 วัน
การปักค้าง
พันธุ์ที่ทอดยอดหรือ พันธุ์เลื้อยจำเป็นต้องมีการปักค้างโดยใช้ไม้หลักปักค้างต้นก่อนระยะออกดอก โดยใช้เชือกผูกกับลำต้นให้ไขว้กันเป็นเลข 8 และ ผูกเงื่อนกระตุกกับค้างเพื่อให้ต้นเจริญเติบโตได้ดี สะดวกต่อการดูแลรักษา ฉีดสารป้องกันแมลงได้ทั่วถึง ผลไม่สัมผัสดิน ทำให้ผลสะอาดและสะดวกต่อการเก็บเกี่ยว
แมลงและการป้องกันกำจัด
สำหรับแมลงที่เป็นปัญหา ต่อการปลูกการดูแลรักษามะเขือเทศที่สำคัญคือแมลงปากดูด เช่น แมลงหวี่ขาว เพลี้ยอ่อน ซึ่งเป็นตัวนำเชื้อโรคไวรัสมาสู่มะเขือเทศ ทำให้เกิดอาการได้หลายอย่าง เช่น ใบหงิก ยอดหด ปลายยอดแหลมเรียวเล็ก สีใบซีดด่าง ซึ่งเมื่อเกิดอาการเหล่านี้ขึ้นแล้วก็ไม่มีทางที่จะแก้ไขได้ จึงควรหาทางป้องกันไว้ก่อน โดยหากใช้ไบโอเฟอร์ทิล (สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) ตามคำแนะนำแล้ว จะป้องกันแมลงเหล่านี้เข้าทำลายได้ดี  หากในพื้นที่มีการปลูกมะเขือเทศมาก  และเคยมีการระบาดอย่างรุนแรง  แนะนำให้ผสมไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น  ไล่แมลง) + ชีวภัณฑ์กำจัดแมลง(ปลอดสารพิษ) "พีแม็ก" + "เมทาแม็ก" + สารจับใบ  อัตราตามที่แนะนำข้างภาชนะบรรจุ ฉีดพ่นเป็นประจำทุก ๆ 5-7 วัน
หรือหากใช้สารเคมี ก็ให้ใช้ อาทิ แลนเนท มาลาไธออน ทามารอน โตกุไธออน อโซดริน หรือซูมิไซดริน อัตราส่วนที่แนะนำข้างภาชนะบรรจุ  โดยอาจผสมร่วมกันในครั้งแรกเพื่อฉีดพ่น  หลังจากนั้นครั้งต่อ ๆ ไป จนถึงเก็บเกี่ยว ก็สามารถใช้ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) เพียงอย่างเดียว โดยฉีดพ่นทุก ๆ  5-10 วัน เพื่อบำรุงต้น กระตุ้นดอก และป้องกันแมลงศัตรูพืชเข้าทำลายในแปลง  (ระยะเวลาการเว้นช่วงการใช้แต่ละครั้ง ขึ้นอยู่กับผลผลิตและความเสี่ยงในการระบาดของแมลงในพื้นที่นั้น ๆ)    โดยหมั่นสังเกตแมลงศัตรูที่เล็ดลอดเข้ามาในแปลง หากพบจึงใช้ร่วมกับสารเคมีกำจัด(ในบางพื้นที่ ที่มีการระบาดของแมลงมาก และเกษตรกรมีการปลูกพืชชนิดเดิมซ้ำที่มานาน  สามารถประยุกต์ใช้ ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) ผสมร่วมกับสารเคมีกำจัดแมลง  ก็จะทำให้ยืดระยะเวลาการใช้สารเคมีครั้งต่อไปได้ 2-3 เท่า)
โรคและการป้องกันกำจัด  สำหรับโรคซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญในการปลูกมะเขือเทศ หากใช้ไบโอเฟอร์ทิล ร่วมกับ ชีวภัณฑ์ป้องกันและกำจัดโรครา "ไตรโคแม็ก" อัตราตามระบุที่ฉลาก เป็นประจำ จะสังเกตเห็นได้ชัดเจนว่า มะเขือเทศจะมีเปอร์เซ็นต์การถูกทำลายจากโรคซึ่งเกิดจากเชื้อรา และแบคทีเรียลดลง ลดต้นทุนการใช้ยากำจัดโรค และผลผลิตเพิ่มขึ้นประมาณ 30-40 % โดยข้อมูลรายละเอียดและการแก้ไขของโรคมีดังนี้
โรคผลเน่าแห้งสีดำหรือปลายผลดำ
ลักษณะอาการ ผลมะเขือเทศในที่บางแห่งมีอาการทั้งผลอ่อนเน่าที่ก้นหรือปลายผล อาการเน่าแบบแห้งเป็นสีน้ำตาล เนื้อเยื่อบุ๋มลึกลงไปต่ำกว่าระดับเดิมเล็กน้อย ขนาดของแผลขยายใหญ่ออกไปเรื่อย ๆ บางผลเน่าประมาณ 1 ใน 3 ของผลทำให้ผลร่วง
สาเหตุของโรค
1. ขาดธาตุแคลเซี่ยม
2. ความชื้นในดินที่ปลูกแห้งมาก
การป้องกันกำจัด
1. ควรให้น้ำทุกวันโดยสม่ำเสมอและไม่มากหรือน้อยเกินไป
2. ใช้ วัสดุปรับปรุงดินอินทรีย์แท้ เกรด AAA ตรายักษ์เขียว และฉีดพ่น ไบโอเฟอร์ทิล เสริมด้วย "แคลแม็ก" เป็นครั้งคราวตามคำแนะนำข้างต้นแล้ว จะปราศจากปัญหาดังกล่าว
โรคใบแห้ง
ลักษณะอาการ มะเขือเทศจะแสดงอาการของโรคได้ทุกส่วนของต้น เช่น ใบเริ่มมีจุดฉ่ำน้ำ สีเขียวหม่น เนื้อเยื่อรอบ ๆ แผลมีสีเหลืองเล็กน้อย ส่วนมากแผลเกิดขึ้นที่จุดหนึ่งบนขอบใบก่อนแล้วขยายใหญ่กว้างออกไปจนเกือบหมด ทั้งใบ ด้านท้องใบมีเส้นใยของเชื้อราเกิดขึ้น มีลักษณะเป็นผงสีขาว เป็นวงกลมตามแผล 2-3 ชั้น แผลจะแห้งเป็นสีน้ำตาลภายในเวลาอันรวดเร็ว ตามก้านใบ ลำต้น ก็มีแผลแบบเดียวกัน ทำให้ส่วนนั้น ๆ เหี่ยวแห้งตายไป ผลมะเขือเทศอ่อนที่เป็นโรคนี้จะมีแผลสีน้ำตาลเช่นกัน และทำให้ผลสุก มีผิวแตกและมีเชื้อราขึ้นตรงรอยแตกเห็นได้ชัดเจนจัดเป็นโรคที่สำคัญทางภาค เหนือ
สาเหตุของโรค เกิดจากเชื้อรา
การป้องกันกำจัด
1. ใช้ชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดเชื้อรา(ปลอดสารพิษ) "ไตรโคแม็ก"  อัตรา 50-100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 5-7 วัน
2. ใช้พันธุ์ที่มีความต้านทานโรคนี้ปลูก หมายเหตุ เชื้อราจะระบาดมากในระยะที่มีความชื้นสูง 90% และมีอุณหภูมิประมาณ 10-20 องศาเซลเซียส 
ลักษณะอาการ โรคใบจุดที่เกิดกับมะเขือเทศจะทำให้เกิดจุดได้หลายแบบ เช่น จุดวงกลมสีน้ำตาลและจุดเหลี่ยม ซึ่งทำให้ใบเหลืองและแห้ง และมีราขึ้นเป็นผงสีดำคล้ายกำมะหยี่จุดดังกล่าวด้วย
สาเหตุของโรค เกิดจากเชื้อราได้หลายชนิด
การป้องกันกำจัด ควรฉีดพ่นชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดเชื้อรา(ปลอดสารพิษ) "ไตรโคแม็ก"    อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 5-7 วัน เสมอ ๆ ถ้ามีการระบาดมากใช้สารพวกไอโพรไดโอนรอฟรัล ฉีดพ่นตามคำแนะนำที่ฉลาก แล้วสลับด้วยสารป้องกันกำจัดราอื่น ๆ
หมายเหตุ เชื้อราบางชนิดมักจะเป็นโรคบนใบแก่หรือต้นแก่ซึ่งในระยะนี้ต้นเสื่อมโทรม การฉีดพ่นสารกำจัดเชื้อราจะไม่คุ้มค่า
โรคเหี่ยวเหลืองตาย
ลักษณะอาการ จะเริ่มเกิดจากใบที่อยู่ตอนล่าง ๆ ก่อน โดยใบล่างจะเหลืองแล้วค่อยลุกลามขึ้นมาบนต้นในเวลากลางวันที่มีอากาศร้อนจัด ต้นจะแสดงอาการเหี่ยว เวลากลางคืนก็กลับปกติ อาการเหี่ยวค่อย ๆ มากขึ้นจนในที่สุดยอดเหี่ยวตาย เมื่อถอนรากขึ้นมาตรวจดูเนื้อเยื่อซึ่งเป็นท่อทางเดินอาหารและน้ำมีสีน้ำตาล ดำ โคนต้นและรากผุเปื่อยมักจะมีราเป็นผงสีขาวอมชมพูบางๆ ขึ้นตรงส่วนที่เป็นสีน้ำตาล
สาเหตุของโรค เกิดจากเชื้อรา
การป้องกันและกำจัด
1. ต้องแก้ไขปรับปรุงดินโดยการใส่ปูนขาว และกากพืชหรืออินทรียวัตถุให้เพียงพอ
2. ใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ให้น้อยลง
3. ก่อนลงปลูกให้โรย ชีวภัณฑ์กำจัดโรครา ไตรโคแม็ก อัตรา 5 กรัมต่อหลุม
4. ปลูกพืชหมุนเวียนอย่างอื่นสลับ
โรคเกิดจากการขาดธาตุอาหาร
ลักษณะอาการ การขาดธาตุอาหารที่ปรากฏในมะเขือเทศมักจะรุนแรงมากกว่าพืชอื่น ๆ ลักษณะที่เห็นชัดเจนก็คือใบสีม่วงแดงขอบใบม้วนงอและชะงักการเจริญเติบโต ใบเล็กและหดสั้นบางต้น ใบยอดเนื้อใบซีดขาดตัดกับสีเขียวของเส้นใบชัดเจนและมีขนาดเล็กลง ไม่เจริญเติบโตไปตามปกติและเมื่อเป็นมาก ๆ ยอดแห้งตาย ฯลฯ
สาเหตุของโรค ขาดธาตุต่าง ๆ เช่น ฟอสฟอรัส เหล็ก แมงกานีส โบรอน สังกะสี แมกนีเซี่ยม ฯลฯ บางต้นมีอาการซับซ้อนเนื่องจากขาดธาตุรวมกันจนแยกอาการไม่ออก
การป้องกันจำจัด
1. ควรจะปรับสภาพของดินให้เหมาะสม คือมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ประมาณ 6-6.5 จะเป็นดินที่ธาตุอาหารต่าง ๆ ละลายได้มากและเป็นประโยชน์ต่อพืชมาก
2. ใช้ ธาตุอาหารรองและเสริม คีเลท ฉีดพ่นร่วมกับไบโอเฟอร์ทิล ตามคำแนะนำ ทุก ๆ 7-10 วัน
โรคเหี่ยวเฉาตาย
ลักษณะอาการ มะเขือเทศบางพันธุ์มีอาการเหี่ยวเฉาตายในเวลาอันรวดเร็ว เมื่อถอนรากมาตรวจพบว่าลำต้นใต้ระดับดินและรากเน่าเปื่อย ถ้าตัดลำต้นตามขวางแล้วเอาไปแช่ในน้ำ จะปรากฏสีขาวข้นคล้ายยางเหนียวปูดออกมาตรงรอยแผลตัด ซึ่งเป็นน้ำเชื้อแบคที่เรีย
สาเหตุของโรค เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
การป้องกันและกำจัด เชื้อโรคชนิดนี้ไม่ชอบดินที่เป็นด่าง อุณหภูมิสูง ความชื้นสูงและในดินที่ขาดไนโตรเจนเชื้อแบคทีเรียจะถูกทำลายโดยกำมะถัน ดังนั้น การแก้ไขป้องกันกำจัดโรคนี้ควรทำดังต่อไปนี้
1. ปลูกพืชหมุนเวียนสลับ
2. ใช้สารปรับสภาพดิน ไดนาไมท์ผสมน้ำ อัตรา 500 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นหลังเตรียมดินก่อนเพาะปลูก โดยฉีดพ่นให้ทั่วบริเวณ
โรคราแป้ง
ลักษณะอาการ ใบจะมีสีเหลืองไม่สม่ำเสมอกัน ใบที่มีสีเหลืองมาก ๆ จะร่วงหล่นได้ง่าย เชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคจะจับเป็นผงหรือขุยสีขาวคล้ายผงแป้ง ผงสีขาวนี้คือเส้นใยและสปอร์ของเชื้อราที่ขึ้นเป็นกลุ่ม กระจัดกระจายทั่วไปทางด้านท้องใบ เนื้อเยื่อด้านบนที่อยู่ตรงข้ามกันจะมีสีเหลือง
สาเหตุของโรค เกิดจากเชื้อรา
การป้องกันกำจัด สารป้องกันกำจัดเชื้อราที่ใช้ต้องมีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดโรคนี้โดย ตรง เช่น กำมะถันผงชนิดละลายน้ำ คาลาเทน เบนเลท ฯลฯ ให้เลือกใช้ชนิดใดชนิดหนึ่งเท่านั้น สำหรับกำมะถันควรจะฉีดพ่นในเวลาเช้ามืดที่มีอากาศเย็นหรือในตอนเย็น ไม่ควรฉีดพ่นในเวลาที่มีแดดร้อนจัด เพราะจะทำให้เกิดอาการใบไหม้ได้
โรคยอดหงิก
ลักษณะอาการ มะเขือเทศมีลำต้นแคระแกร็น ใบยอดด่างและหงิก ไม่ออกดอกออกผล
สาเหตุของโรค เกิดจากเชื้อไวรัส
การป้องกันกำจัด
1. บริเวณเพาะกล้าต้องสะอาดปราศจากวัชพืชและฉีดยากำจัดแมลงพวกปากดูด เช่น แมลงหวี่ขาว โดยใช้สารเคมีประเภทดูดซึม
2. ให้ถอนทำลายต้นที่เป็นโรคทิ้ง
3. ถ้าสงสัยว่าจะมีวัชพืชอาศัยให้ทำลายให้หมด
4. ไม่ควรสูบบุหรี่หรือจับต้นที่เป็นโรคแล้วไปจับต้นที่ดี จะทำให้โรคระบาดติดต่อกันได้
โรคโคนเน่า
ลักษณะอาการ ระยะกล้า โคนต้นกล้ามะเขือเทศจะเกิดแผลสีน้ำตาล ลำต้นหักพับลง ระยะเริ่มติดดอก มะเขือเทศจะแสดงอาการเหี่ยวเฉาตาย บริเวณโคนต้นระดับผิวดินจะเกิดเป็นแผลยุบลงไป บริเวณแผลจะมีเส้นใยสีขาวของเชื้อราเกิดขึ้น ในกลุ่มเส้นใยนั้นจะเกิดเม็ดขยายพันธุ์ของเชื้อราเล็ก ๆ สีขาวต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและดำ มีขนาดเท่าเมล็ดผักกาด บางครั้งจึงเรียกโรคนี้ว่า "โรคราเมล็ดผักกาด"
สาเหตุของโรค เกิดจากเชื้อรา
การป้องกันและกำจัด
1. ไถดินตากแดดไว้สักระยะหนึ่ง
2. ก่อนการเพาะเมล็ด ให้คลุกเมล็ดด้วย ไตรโค-แม็ก เพื่อป้องกันและกำจัดเชื้อราที่ติดมากับดินปลูก
3. ถ้าโรคเริ่มระบาดในแปลงปลูกเป็นหย่อม ๆ ให้ถอนต้นที่เป็นโรคทิ้งและใช้ ชีวภัณฑฑ์กำจัดเชื้อรา ไตรโค-แม็ก ผสมน้ำอัตรา 100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ราดบริเวณตรงจุดที่เกิน โรคและบริเวณต้นใกล้เคียงกับจุดที่เป็นโรคนั้นให้ทั่วในพื้นที่ที่โรคนี้ชอบ ระบาดเนื่องจากมีเชื้ออยู่ในดิน การราด ไตรโค-แม็กดังกล่าวในหลุมปลูกหลังจากย้ายปลูก 1-2 ครั้ง ก่อนมะเขือเทศออกดอกจะได้ผลดีกว่ารอให้พบว่ามีต้นตาย เพราะการป้องกันไว้ก่อนเป็นวิธีการที่ดีที่สุดจะสกัดกั้นความเสียหาย

การเก็บเกี่ยว
การเก็บเกี่ยวขึ้นอยู่กับพันธุ์ แต่โดยเฉลี่ยแล้วเมื่อปลูกได้ประมาณ 30-45 วัน มะเขือเทศจะเริ่มออกดอก และจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุประมาณ 70-90 วัน และจากเริ่มปลูกถึงเก็บเกี่ยวหมดประมาณ 4-5 เดือน (ในแปลงของเกษตรกรที่ใช้ไบโอเฟอร์ทิล เป็นประจำ จะเก็บเกี่ยวได้นานเพิ่มขึ้น เฉลี่ยประมาณ 1 เดือน)
การผลิตและเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์
พันธุ์มะเขือเทศที่ปลูก หากไม่ใช่เป็นพันธุ์ลูกผสมแล้ว เกษตรกรก็สามารถจะทำการเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เองต่อไปได้ โดยจะต้องคัดเลือกเก็บเมล็ดพันธุ์จากต้นซึ่งสมบูรณ์มีการเจริญเติบโตดี ปราศจากโรคและแมลงรบกวน มีผลดกซึ่งมีคุณภาพดีตรงตามพันธุ์ ถ้าในบริเวณเดียวกันนั้นมีการปลูกมะเขือเทศหลายพันธุ์ก็จำเป็นจะต้องเลือก เก็บพันธุ์จากต้นซึ่งอยู่กลางแถว ไม่ควรเก็บจากต้นซึ่งอยู่แถวนอก ทั้งนี้เนื่องจากในธรรมชาติมะเขือเทศจะเป็นพืชที่มีการผสมตัวเองก็ตามแต่ เปอร์เซ็นต์การผสมข้ามก็มีอยู่บ้าง โดยลมและแมลงเป็นสื่อช่วยผสม จะพบมากกับพันธุ์ที่มีก้านชูเกสรตัวเมียยืดยาวโผล่พ้นออกมาจากหมวกเกสรตัว ผู้
การเลือกต้นมะเขือเทศ สำหรับเก็บเมล็ดพันธุ์จะต้องคอยสังเกตทุกระยะการเจริญเติบโต เมื่อเลือกต้นได้แล้วควรหาไม้ปักต้นหรือทำเครื่องหมายที่ต้นเอาไว้เพื่อแสดง ว่าเป็นต้นที่จะเก็บเมล็ดพันธุ์แล้วปล่อยให้ผลสุกแดงคาต้น เมื่อเก็บผลมาแล้ว ทำการแยกเมล็ดออกจากผลถ้ามีจำนวนน้อยควรใช้วิธีใช้มือบีบเมล็ดออกจากผล หรือใช้มีดผ่าแคะเอาเมล็ดออกมา ถ้าต้องการพันธุ์จำนวนมาก ๆ ให้นำผลใส่กระสอบปุ๋ยแล้วใช้เหยียบผลให้แตกจากนั้นหมักเมล็ดไว้ 1 คืน และห้ามถูกน้ำโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้เมล็ดงอก รุ่งขึ้นนำเมล็ดที่หมักไว้นั้นไปล้างด้วยน้ำ โดยใช้ตะแกรงที่มีรูเล็ก ๆ หรือใช้ตาข่ายมุ้งลวดพลาสติกมาเย็บเป็นถุงใส่เมล็ดแล้วล้างด้วยน้ำประมาณ 2-3 ครั้ง จนสะอาดแล้วนำเมล็ดมาผึ่งบนเสื่อหรือกระด้ง ห้ามตากบนพื้นปูนหรือภาชนะโลหะเพราะทำให้เมล็ดร้อนเกินไปและตายได้ ขณะตากเมล็ดให้หมั่นเอามือกวนเมล็ดอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้เมล็ดติดกัน เมื่อเมล็ดแห้งดีแล้วควรทำความสะอาดเมล็ดเอาฝุ่นผงและสิ่งเจือปนออกให้หมด แล้วเก็บเมล็ดใส่กระป๋องหรือถุงพลาสติกแล้วเก็บไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิและ ความชื้นต่ำ มีการถ่ายเทอากาศดีหรือเก็บเมล็ดไว้ในตู้เย็นจะสามารถเก็บเมล็ดได้นานหลายปี
อนึ่ง ในการหมักเมล็ดหากต้องการความสะอาดรวดเร็วไม่ต้องหมักเมล็ดค้างคืนก็ได้ โดยนำเมล็ดซึ่งได้แยกเนื้อออกแล้วตามกรรมวิธีข้างต้นมาใส่ในถังพลาสติกหรือ ภาชนะอื่น ๆ ที่ไม่ใช่โลหะ ใส่กรดเกลือเข้มข้น ในอัตราเมล็ดประมาณ 1 กิโลกรัมต่อกรด 10 ซีซี. โดยค่อย ๆ หยดกรดลงไปแล้วคนอยู่ตลอดเวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง แล้วจึงนำมาล้างด้วยน้ำสะอาดให้หมดกรดแล้วผึ่งเมล็ดให้แห้งตามวิธีที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น