วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เทคนิคการปลูกแตงกวา

เทคนิคการเพิ่มผลผลิตแตงกวา
แตงกวามีจำนวนโครโมโซม 2n = 14 เป็นพืชผสมข้ามตามธรรมชาติโดยอาศัยลมและแมลง แต่พบอัตราการผสมตัวเอง 1-47 เปอร์เซ็นต์ โดยธรรมชาติมีดอกเพศผู้และดอกเพศเมียแยกดอกแต่อยู่ภายในต้นเดียวกัน เป็นพืชฤดูเดียว เถาเลื้อยหรือขึ้นค้าง
ระบบรากเป็นระบบรากแก้ว (tap root system) รากแขนงเป็นจำนวนมาก รากสามารถแผ่ทางด้านกว้างและหยั่งลงได้ลึกถึง 1 เมตร
ลำต้นเป็นเถาเลื้อย เป็นเหลี่ยม มีขนขึ้นปกคลุมทั่วไป มีข้อยาว 10-20 ซม. มือเกาะเกิดออก มาตามข้อ โดยส่วนปลายของมือเกาะไม่มีการแตกแขนงเป็นหลายเส้น ใบมีก้านใบยาว 5-15 ซม. ใบหยาบมีขนใบมีมุมใบ 3-5 มุม ปลายใบแหลม ใบใหญ่แบบ palmate มีเส้นใบ 5-7 เส้น ดอกเพศเมียเป็นดอกเดี่ยวเกิดจากบริเวณมุม ใบหรือข้อมีกลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบ กลีบดอกสีเหลือง 5 กลีบ รังไข่มีลักษณะกลมยาว 2-5 ซม. มีปุ่มนูนของหนามและขนชัดเจน ส่วนของยอดเกสรตัวเมียมี 2-5 แฉก ส่วนดอกเพศผู้อาจเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกเหมือนดอกเพศเมีย ละอองเกสรตัวผู้ 3 อัน และมีก้านชูเกสรสั้น ๆ ดอกเพศเมียและดอกเพศผู้บานในตอนเช้าและพร้อมรับการผสมเกสรดอกจะหุบ ตอนบ่ายภายในวันเดียวกัน
การเกิดดอกตัวเมียนั้นขึ้นอยู่กับช่วง แสงและอุณหภูมิกล่าว คือ จะเกิดดอกตัวเมียมากกว่าดอกตัวผู้ ในสภาพช่วงแสงสั้นและมีอุณหภูมิกลางคืนต่ำ ซึ่งตรงกับฤดูหนาวของเมืองไทย
            ผลของแตงกวามีลักษณะกลมยาวทรงกระบอก ความยาวผลระหว่าง 5-40 ซม. มีไส้ภายในผล และในปัจจุบันพันธุ์การค้าในต่างประเทศมีการปรับปรุงพันธุ์ที่สามารถติดผลได้ โดยไม่ได้รับการผสมเกสร (parthenocarpic type) โดยภายในผลไม่มีไส้ เนื้อกรอบ และน้ำหนักต่อผลสูงนิยมทั้งบริโภคผลสดแปรรูป สีผลมีสีขาว เขียวอ่อน เขียว และเขียวเข้มดำ สีหนามสีขาว แดง น้ำตาล และดำ
การจำแนกแตงกวา
แตงกวาสามารถจำแนกได้ตามประโยชน์การใช้สอยดังนี้
1. พันธุ์สำหรับรับประทานสด เป็นพันธุ์ที่มีเนื้อบางและไส้ใหญ่ สีเปลือกเป็นสีเขียวอ่อน ผลมีน้ำมากเป็นพันธุ์ที่มีทั้งผลเล็กและผลใหญ่ เมื่อผลยังอ่อนอยู่จะมีหนามเต็มไปหมด แต่เมื่อโตเต็มที่หนามจะหลุดออกเอง พันธุ์รับประทานสดนี้ไม่เหมาะกับการนำไปดอง
แตงกวารับประทานสดแบ่งตามขนาดของผลนั้น แบ่งได้เป็น
1.1 แตงผลยาว (long cucumber) ที่รู้จักกันในชื่อของแตงร้านซึ่งมีความยาวผลอย่างน้อย 15 ซม. และมีความกว้างผลมากกว่า 2.5 ซม. ส่วนใหญ่จะมีเนื้อหนาไส้แคบ กรณีที่เป็นพันธุ์ของไทยนั้น จะมีสีผลสีเขียวแก่ตรงส่วนใกล้ขั้วผลประมาณ 1/3 - ผ ของผลที่เหลือมีจุดประสีเขียวอ่อนหรือขาว และเส้นสีขาวเป็นแถบเล็ก ๆ ตลอดความยาวไปถึงปลายผล ส่วนพันธุ์ของต่างประเทศนั้น จะมีสีเขียวเข้มสม่ำเสมอทั้งผล
1.2 แตงผลสั้น (short cucumber) ที่รู้จักกันในชื่อของแตงกวา ซึ่งมีความยาวผล 8-12 ซม. และมีความกว้างผลมากกว่า 2.5 ซม. ส่วนใหญ่จะมีเนื้อน้อยไส้กว้าง
2. พันธุ์อุตสาหกรรม เป็นพันธุ์ที่มีเนื้อหนา ไส้เล็ก บางพันธุ์ก็ไม่มีไส้เลย เปลือกสีเขียวเข้ม เมื่อนำไปดองจะคงรูปร่างได้ดี ไม่ค่อยเหี่ยวย่น แตงกวาพันธุ์นี้มักจะเป็นลูกผสม ผลมักมีรูปร่างผอมยาว ซึ่งแบ่งตามขนาดได้ดังนี้
2.1 แตงผลยาว (long cucumber) เป็นแตงชนิดที่ใช้ทำแตงดองของญี่ปุ่นและจีนซึ่งจะต้องมีความยาวผล 20-30 ซม. และมีความกว้างผล 2-3 ซม. มีเนื้อหนาไส้แคบผิวสีเขียวเข้มตลอดความยาวของผล มักใช้ดองโดยมีการใช้น้ำปรุงรสด้วยส่วนผสมของซีอิ้ว
2.2 แตงผลสั้น (short cucumber) เป็นแตงชนิดที่ใช้ทำแตงดองของสหรัฐอเมริกาและยุโรป ซึ่งมีความยาว 8-12 ซม. และมีความกว้างผล 1.0-5.1 ซม. โดยทั่วไปจะมีอัตราส่วนความยาวต่อความกว้าง (L/D ratio) มีค่าอยู่ระหว่าง 2.8-3.1 มีเนื้อหนาและแน่น ไส้แคบ ผิวสีเขียวเข้มตลอดความยาวของผล มักใช้ดองทั้งผล ผ่าตามความยาวและหั่นเป็นชิ้น ๆ ตามความกว้างของผลมักดองโดยมีการใช้น้ำปรุงรสด้วยส่วนผสมของซีอิ้ว
 การเตรียมแปลง
          การเตรียมดินควรมีการยกร่องลูกฟูกความสูงประมาณ 20-30 เซนติเมตร เพื่อให้สะดวกในการระบายน้ำโดยเฉพาะฤดูฝน  และมีการคลุมฟางหน้าดิน เพื่อป้องกันผลแตงกวาสัมผัสพื้นดิน ซึ่งจะทำให้ผลมีสีเหลืองและไม่ได้ราคา
การปลูก
วิธีการปลูกแตง กวานั้น พบว่ามีการปลูกทั้งวิธีการหยอดเมล็ดโดยตรงและเพาะกล้าก่อนแล้วย้ายปลูก การหยอดเมล็ดโดยตรงนั้นอาจจะมีความสะดวกในการปลูก แต่มีข้อเสียคือสิ้นเปลืองเมล็ด หากใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมซึ่งมีราคาแพงแล้ว จะเกิดความสูญเสียเปล่าและเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต รวมทั้งวิธีการหยอดเมล็ดนี้จำเป็นที่จะต้องดูแลระยะเริ่มงอกในพื้นที่กว้าง ดังนั้นการใช้วิธีการเพาะกล้าก่อน จึงมีข้อดีหลายประการ อาทิเช่น ประหยัดเมล็ดพันธุ์ ดูแลรักษาง่าย ต้นกล้ามีความสม่ำเสมอ ประหยัดค่าแรงงานในระยะกล้า เป็นต้น
สำหรับการย้าย กล้าปลูกนั้น ให้ดำเนินการตามกระบวนการเพาะกล้าตามที่กล่าวแล้ว และเตรียมหลุมปลูกตามระยะที่กำหนด จากนั้นนำต้นกล้าย้ายปลูกลงในหลุม ตามระยะระหว่างต้นและระหว่างแถวตามที่ได้กำหนดไว้ โดยการฉีกถุงพลาสติกที่ใช้เพาะกล้าออกแล้วย้ายลงในหลุมปลูก ช่วงเวลาที่จะย้ายกล้านั้นควรย้ายช่วงประมาณเวลา 17.00. จะทำให้ปฏิบัติงานในไร่นาได้สะดวกและต้นกล้าสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดียิ่งขึ้น
การให้น้ำ
หลังจากย้ายกล้า ปลูกแล้ว ต้องให้น้ำทันที ระบบการให้น้ำนั้นอาจจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ แต่ระบบที่เหมาะสมกับแตงกวา คือการให้น้ำตามร่อง เพราะว่าจะไม่ทำให้ลำต้น และใบไม่ชื้น ลดการลุกลามของโรคพืชทางใบ โดยช่วงแรกให้ผสม ปุ๋ยและฮอร์โมนธรรมชาติ ไบโอเฟอร์ทิลฝาแดง(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) ไปกับน้ำที่ให้ในอัตรา 1 ส่วนต่อน้ำ 200 ส่วน เพื่อให้ต้นเจริญเติบโตได้ดีขึ้น และสร้างภูมิป้องกันโรคราให้ต้น ช่วงเวลาการให้น้ำในระยะแรกควรให้ 1-3 วันต่อครั้ง โดยให้ในช่วงเช้าที่แดดยังไม่จัด และให้สังเกตจากผิวดินร่วมด้วย โดยไม่ให้ดินแฉะหรือแห้งจนเกินไป  เมื่อ ต้นแตงกวา เริ่มเจริญเติบโตแล้วจึงปรับช่วงเวลาการให้น้ำให้นานขึ้น ข้อควรคำนึงสำหรับการให้น้ำนั้น คือ ต้องกระจายในพื้นที่สม่ำเสมอตลอดแปลง และตรวจดูความชื้นในดินไม่ให้สูงเกินไปจนกลายเป็นแฉะ เพราะจะทำให้รากเน่าได้
การใส่ปุ๋ย
การใส่ปุ๋ยในแตงกวานั้น อาจแบ่งเป็นระยะต่าง ๆ ดังนี้
1. ระยะเตรียมดิน หลังจากพรวนดินช่วงแรกใช้ สารปรับสภาพดิน ไดนาไมท์ ผสมน้ำ ในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 100 ส่วน ราดผิวดินแล้วตากดินทิ้งไว้ 7-10 วัน  เพื่อปรับสภาพกรดในดิน และกำจัดโรคพืชทางดินก่อนเพาะปลูก
2. ใส่  ยักษ์เขียว เกรด AAA สูตรเข้มข้น (แถบเขียว) อัตราประมาณ 20-30 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ หลุมละ 1 ช้อนแกง
2. หลังย้ายลงปลูกหรือหว่านเมล็ดแล้วประมาณ 7 วัน ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล บาง ๆ บริเวณผิวดินรอบต้น อัตราส่วน  100 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร และ ใส่ยักษ์เขียว เกรด AAA สูตรเข้มข้น (แถบเขียว) ในอัตราประมาณ 20-30 กิโลกรัมต่อไร่
3. ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง(ฝาแดง)อัตรา 30-40 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร + อาหารเสริมรวม สูตรเข้มข้นพิเศษ คีเลท อัตรา 5-10 กรัม ทุก ๆ  7-10 วัน (สังเกตเมื่อแตงกวาออกดอก ๆ จะติดดีและดก  รวมถึงสามารถยืดช่วงเวลาการใช้สารกำจัดแมลงได้ นานขึ้นกว่าเท่าตัว)
4. ระยะแตงกวาออกดอก ซึ่งจะใช้ระยะเวลาประมาณ 25 วัน หลังจากย้ายกล้า ใส่ยักษ์เขียว เกรด AAA สูตรเข้มข้น (แถบเขียว)  อัตรา ประมาณ 30-50 กิโลกรัมต่อไร่ ในพื้นที่ดินทราย อาจเสริมด้วย ปุ๋ยเคมีสูตร 25-7-7 อัตรา 5 กก.ต่อไร่ เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ให้ดิน
***หลังใส่ปุ๋ยทางดินทุกครั้งให้พรวนดินหรือกลับดินกลบปุ๋ยที่หว่านเพื่อให้ธาตุอาหารไม่สูญเสียไป และพืชสามารถดูดซึมได้เต็มที่
เทคนิคเพิ่มเติม
1.    การปลูกแตงกวา ควรปลูกพร้อมกันเที่ยวเดียวเต็มพื้นที่  เนื่องจากหากมีการปลูกลักหลั่นวัน เมื่อแตงกวาจะหมดอายุการเก็บเกี่ยวพร้อม ๆ กันทั้งแปลง
2.    ใน ฤดูฝน สามารถปลูกแตงกวาได้แต่ควรมีการยกร่องลูกฟูกสูงประมาณ 30 เซนติเมตร เพื่อให้ดินมีการระบายน้ำได้ดี และควรระมัดระวังการให้น้ำไม่ให้ดินแฉะจนเกินไป เพราะจะทำให้ต้นแตงกวารากเน่าได้
3.    ระมัดระวังไม่ให้ผลแตงกวาสัมผัสดิน เพราะความร้อนในช่วงกลางวันจะทำให้ผลมีสีเหลืองและเสียหายทำให้ราคาตก  อาจป้องกันโดยการคลุมพลาสติกหรือฟางรองพื้นไว้ชั้นหนึ่ง
4.    เมื่อใช้ไบโอเฟอร์ทิล แตงกวาจะติดผลดกมาก และเก็บเกี่ยวได้นาน  ดังนั้นปุ๋ยทางดิน ควรเพิ่มให้ตามสัดส่วนที่พอเหมาะ เพื่อให้ผลได้ขนาดและได้ราคา
แมลงศัตรูแตงกวา
ในแตงกวานั้นมีศัตรูที่ทำลายแตงกวาแบ่งได้ คือ
แมลงศัตรูแตง แตงกวานั้นเป็นพืชผักชนิดหนึ่งที่มี แมลงศัตรูเข้าทำลายมาก และที่พบบ่อยและทำความเสียหายกับแตงกวามาก ได้แก่
1. เพลี้ยไฟ (Thrips : Haplothrips floricola)
ลักษณะ เป็นแมลงขนาดเล็ก ตัวสีน้ำตาลอ่อนถึงน้ำตาลแก่ พบตามยอดใบอ่อน ดอก และผลอ่อน
การทำลาย ดูดน้ำเลี้ยงที่ใบ ดอกอ่อน และยอดอ่อน ทำให้ใบม้วนหงิกงอ รูปร่างผิดปกติเป็นกระจุก มีสีสลับเขียวเป็นทาง ระบาดมากในช่วงที่มีอากาศแห้งแล้งฝนทิ้งช่วง นับเป็นแมลงที่เป็นปัญหาสำคัญที่สุดในการปลูกแตงกวา
การป้องกันกำจัด
ให้น้ำเพิ่มความชื้นในแปลงปลูก โดยให้น้ำเป็นฝอยตอนเช้าและตอนเย็น จะช่วยลดปัญหาของเพลี้ยไฟได้
วิธีชีวภาพปลอดสารพิษ : ใช้ ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช เมทาแม็ก อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 7-10 วัน เพื่อป้องกันและกำจัด  หากพบการระบาดรุนแรง ใช้ เมทาแม็ก อัตรา 80 กรัม ฉีดพ่นทุก ๆ 3-5 วัน(ประมาณ 3-4 ครั้ง ) เพื่อกำจัด
วิธีเคมี : ใช้สารฆ่าแมลง คือ สารคาร์โบฟูราน 1 ช้อนชาต่อหลุม ใส่พร้อมกับการหยอดเมล็ด จะป้องกันได้ประมาณ 2 สัปดาห์
กรณีที่เริ่มมีการระบาดให้ใช้สารฆ่าแมลง ได้แก่ เมโธมิล,อิมิดาโคลพริด,ฟิโปรนิล เป็นต้น
2. เพลี้ยอ่อน (Alphids: Aphids gossypii)
ลักษณะ เป็นแมลงขนาดเล็ก ลำตัวคล้ายผลฝรั่ง มีท่อเล็ก ๆ ยื่นยาวออกไปทางส่วนท้ายของลำตัว 2 ท่อน เป็นแมลงปากดูด ตัวอ่อนสีเขียว ตัวแก่สีดำและมีปีก
การทำลาย ดูดน้ำเลี้ยงที่ใบและยอดอ่อน ทำให้ใบม้วน ต้นแคระแกร็น และยังเป็นพาหนะนำไวรัสด้วย มักระบาดมากในช่วงอากาศร้อนและแห้งซึ่งเป็นตอนที่พืชขาดน้ำ โดยมีมดเป็นตัวนำหรือการบินย้ายที่ของตัวแก่
การป้องกันกำจัด
วิธีชีวภาพปลอดสารพิษ : ใช้ ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช เมทาแม็ก อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 7-10 วัน เพื่อป้องกันและกำจัด  หากพบการระบาดรุนแรง ใช้ เมทาแม็ก อัตรา 80 กรัม ฉีดพ่นทุก ๆ 3-5 วัน(ประมาณ 3-4 ครั้ง ) เพื่อกำจัด
วิธีเคมี : ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงเช่นเดียวกับการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ
3. ไรแดง (Red spider mites: Tetranychus spp.)
ลักษณะ ไม่ได้เป็นแมลงแต่เป็นสัตว์ที่มีขา 8 ขา มีขนาดเล็กมาก มองเห็นเป็นจุดสีแดง
การทำลาย ดูดน้ำเลี้ยงที่ใบและหยอดอ่อนทำให้ใบเป็นจุดด่างมีสีซีด โดยจะอยู่ใต้ใบเข้าทำลายร่วมกับเพลี้ยไฟ และเพลี้ยอ่อน มักระบาดมากในช่วงอากาศร้อนและแห้งซึ่งเป็นตอนที่พืชขาดน้ำ
การป้องกันกำจัด
วิธีชีวภาพปลอดสารพิษ : ใช้ ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช เมทาแม็ก อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 7-10 วัน เพื่อป้องกันและกำจัด  หากพบการระบาดรุนแรง ใช้ เมทาแม็ก อัตรา 80 กรัม ฉีดพ่นทุก ๆ 3-5 วัน(ประมาณ 3-4 ครั้ง ) เพื่อกำจัด
ใช้สารเคมีกำจัดไร ได้แก่ อิมิดาโคลพริด,ปิโตรเลียมออล์ย,ไวท์ออล์ย เป็นต้น
4. เต่าแตงแดง (Red cucurbit beetle: Aulacophora simills) และเต่าแตงดำ (Black cucurbit beetle: A. frontalis)
ลักษณะ เป็นแมลงปีกแข็ง ปีกมีสีส้มแดงและสีดำเข้ม ตัวมีขนาดเล็กยาวประมาณ 0.5-0.8 ซม. อาศัยอยู่ตามกอข้าวที่เกี่ยวแล้วในนา หรือตามกอหญ้า
การทำลาย กัดกินใบตั้งแต่ระยะใบเลี้ยงจนกระทั่งต้นโต ทำให้เป็นแผลและเป็นพาหะของโรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียด้วย ตัวเมียวางไข่บริเวณโคนต้น ตัวหนอนกัดกินราก
การป้องกันกำจัด
ควรทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของแมลง รวมทั้งเศษซากแตงหลังการเก็บเกี่ยว
วิธีชีวภาพปลอดสารพิษ : ใช้ ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช เมทาแม็ก อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 7-10 วัน เพื่อป้องกันและกำจัด  หากพบการระบาดรุนแรง ใช้ เมทาแม็ก อัตรา 80 กรัม ฉีดพ่นทุก ๆ 3-5 วัน(ประมาณ 3-4 ครั้ง ) เพื่อกำจัด
วิธีเคมี : ใช้สารเคมีฉีดพ่น ได้แก่ เอ็นโดซัลแฟน,ไซเปอร์เมธริน,อะบาเม็คติน เป็นต้น
5. หนอนกินใบแตง (Leaf eating caterpilla: Palpita indica) และหนอนไถเปลือกหรือหนอนเจาะผล (Fruit boring caterpillar: Helicoverpa armigera)
ลักษณะ หนอนกัดกินใบแตง มีรูปร่างเรียวยาวประมาณ 2 ซม. สีเขียวอ่อน ตรงกลางสันหลังมีเส้นแถบสีขาวตามยาว 2 เส้น หนอนตัวโตเต็มวัยเป็นผีเสื้อที่มีปีกโปร่งใสตรงกลาง ส่วนหนอนเจาะผลมีขนาดใหญ่กว่า ลำตัวยาวสีเขียวอ่อนถึงสีน้ำตาลดำ มีรอยต่อปล้องชัดเจน
การทำลาย กัดกินใบ ไถเปลือกเป็นแผลและเจาะผลเป็นสาเหตุให้โรคอื่น ๆ เข้าทำลายต่อได้ เช่น โรคผลเน่า
การป้องกันกำจัด
วิธีชีวภาพปลอดสารพิษ : ใช้ ชีวภัณฑ์กำจัดหนอนศัตรูพืช บาร์ท๊อป อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 7-10 วัน เพื่อป้องกันและกำจัด  เมื่อพบการเข้าทำลาย
วิธีเคมี : ใช้สารเคมีฉีดพ่น ได้แก่ เอ็นโดซัลแฟน,อะบาเม็คติน,ไซเปอร์เมธริน เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น