วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

เทคนิคการปลูกมะเขือ

แผนการปฏิบัติงานเพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตที่มีคุณภาพ
สำหรับแปลงมะเขือตั้งแต่การเริ่มปลูก-การทำผลผลิตคุณภาพ
 
การปลูก
แปลงปลูกควรไถพรวนและปรับระดับดินให้เรียบสม่ำเสมอกันแล้วยกแปลงให้สูงประมาณ 30 เซนติเมตร กว้าง 100 เซนติเมตร ปลูกเป็นแถวคู่ระยะระหว่างแถว 70 เซนติเมตร ระหว่างต้น 50 เซนติเมตร รองก้นหลุมปลูกด้วย ปุ๋ยอินทรีย์ เกรด AAA ตรา ยักษ์เขียว สูตรเข้มข้น(แถบเขียว)  1 กระป๋องนมต่อหลุม คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วจึงย้ายกล้าลงหลุมปลูกหลุมละ 1-2 ต้น กลบดินให้เสมอระดับผิวดินอย่าให้เป็นแอ่งหรือเป็นหลุม เพราะจะทำให้น้ำขังและต้นกล้าเน่าตายได้ ถ้าปลูกขณะที่ฤดูฝนยังไม่สิ้นสุด แต่ถ้าปลูกในฤดูหนาวหรือฤดูแล้งควรจะกลบดินให้ต่ำกว่าระดับหลุมเล็กน้อย
สำหรับการย้ายกล้าลงแปลงปลูกนี้ต้องเลือกต้นกล้าที่มีลักษณะดี มียอดและปราศจากโรคและแมลงรบกวน ถ้าเป็นการย้ายกล้าจากแปลงเพาะหรือแปลงชำมาลงปลูกโดยตรง ควรย้ายปลูกในเวลาที่อากาศไม่ร้อนคือในตอนบ่ายหรือตอนเย็น เมื่อย้ายเสร็จให้รีบรดน้ำตามทันทีจะทำให้กล้าตั้งตัวได้เร็วขึ้น และเปอร์เซ็นต์การตายน้อยลง แต่ถ้าเป็นการย้ายกล้าที่ชำในถุงพลาสติก สามารถย้ายลงแปลงได้ทุกเวลา กล้าจะตั้งตัวได้เร็วและรอดตายเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์
หลังจากย้ายกล้าแล้วรดน้ำกล้าให้ชุ่มทุกเช้า-เย็น เมื่อกล้าตั้งตัวดีแล้ว จึงควรรดน้ำเพียงวันละครั้งในบางแห่งอาจจะให้น้ำแบบเข้าตามร่องแปลงจนชุ่มแล้ว ปล่อยน้ำออก
การพรวนดินกลบโคนต้น
เมื่อต้นกล้าตั้งตัวได้แล้วควรพรวนดินกลบโคนต้น โดยเปิดเป็นร่องระหว่างแถว เพื่อให้การให้น้ำทำได้สะดวก น้ำไม่ขัง และทำให้รากมะเขือเกิดมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ต้นแข็งแรงมากขึ้น และการพรวนดินกลบโคนก็เป็นการกำจัดวัชพืชไปในตัวด้วย หลังจากพรวนดินกลบโคนครั้งแรกแล้ว หลังจากนั้นอีก 1 เดือนให้ทำการกลบโคนอีกครั้งหนึ่ง

การให้ปุ๋ย

          ทางดิน
สามารถใส่  ปุ๋ยอินทรีย์ เกรด AAA ตรา ยักษ์เขียว สูตรเข้มข้น(แถบเขียว)  เพื่อปรับสภาพดิน และกระตุ้นการทำงานของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน  รวมถึงช่วยให้รากพืชดูดซึมปุ๋ยได้ดีขึ้น  โดยอาจผสมกับปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 หรือ 15-15-15 ในอัตรา ยักษ์เขียว(2 ส่วน) ต่อ ปุ๋ยเคมี 1 ส่วน ซึ่งในปุ๋ย จะมีธาตุอาหารหลัก,รอง,และเสริม ค่อนข้างครบถ้วน ทำให้ช่วยลดต้นทุนธาตุอาหารเสริมทางใบได้ส่วนหนึ่ง
สำหรับปุ๋ยเคมีควรมีการใส่เสริมด้วย เพื่อให้คุณภาพและผลผลิตของมะเขือสูงขึ้น สำหรับปุ๋ยเคมีที่จะใช้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพของดินแต่ละแห่ง เช่น ถ้าดินเป็นดินเหนียว ปุ๋ยเคมีที่ใช้ควรมีไนโตรเจนและโปแตสเซี่ยมเท่ากัน ส่วนฟอสฟอรัสให้มีอัตราสูง เช่น สูตร 12-24-12 หรือ 15-30-15 ถ้าเป็นดินร่วนควรให้ปุ๋ยที่มีโปแตสเซี่ยมสูงขึ้น แต่ไม่สูงกว่าฟอสฟอรัส เช่นสูตร 10-20-15 ส่วนดินทรายเป็นดินที่ไม่ค่อยจะมีโปแตสเซี่ยม จึงควรให้ปุ๋ยที่มีธาตุโปแตสเซี่ยมสูงกว่าตัวอื่น เช่นสูตร 15-20-20, 13-13-21 และ 12-12-17 เป็นต้น แต่ถ้าเป็นการปลูกมะเขือนอกฤดูจะต้องใช้ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูง เนื่องจากมะเขือจะใช้ปุ๋ยไนโตรเจนมากถ้าหากอุณหภูมิของอากาศสูง โดยในแต่ละช่วงของการใส่ให้ผสมปุ๋ยอินทรีย์ ยักษ์เขียว ในอัตรา ยักษ์เขียว(2 ส่วน) ต่อ ปุ๋ยเคมี 1 ส่วน เพื่อปรับสภาพดินและกระตุ้นการทำงานของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน  ทำให้พืชตอบสนองต่อปุ๋ยเคมีได้ดีขึ้น  โดยการแบ่งใส่ 3 ครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ 1 หลังจากย้ายปลูก 7 วัน ใส่ปุ๋ย ยักษ์เขียว(2 ส่วน) + เคมี (1 ส่วน)   อัตรา  50 กิโลกรัมต่อไร่
ครั้งที่ 2 หลังจากครั้งที่หนึ่ง 15 วัน ใส่ปุ๋ย ยักษ์เขียว(2 ส่วน) + เคมี (1 ส่วน)   อัตรา  50 กิโลกรัมต่อไร่
ครั้งที่ 3 หลังจากครั้งที่สอง 20 วัน หรือช่วงที่เริ่มติดผลเป็นเม็ดแล้ว ใส่ปุ๋ย ยักษ์เขียว(2 ส่วน) + เคมี(1 ส่วน)   อัตรา  75 กิโลกรัมต่อไร่
หมายเหตุ      1.  ในพื้นที่ที่มีการปลูกซ้ำที่เป็นประจำทุกปี  ควรมีการนำดินตัวอย่างไปวิเคราะห์ ซึ่งหากพบว่าในดินมีการสะสมของฟอสฟอรัส ค่อนข้างสูง  ในฤดูการถัดไป  อาจใช้ปุ๋ยเคมีที่มีสัดส่วนฟอสฟอรัส ต่ำลงมา และเน้นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ยักษ์เขียว ซึ่งสารอินทรีย์ในเนื้อปุ๋ยจะกระตุ้นให้จุลินทรีย์ในดินที่เป็นประโยชน์ ช่วยย่อยธาตุอาหารที่ตกค้างจากปุ๋ยเคมี ทำให้สภาพดินสมดุล และช่วยลดโอกาสเกิดโรคเน่าทางดิน
2.    แนะนำให้มีการสุ่มตรวจ วิเคราะห์ดินก่อนเพาะปลูก เพื่อเป็นแนวทางการใช้ปุ๋ยเคมี  เนื่องจากพื้นที่ ๆ ปลูกซ้ำทุก ๆ ปี  จะมีการสะสมของธาตุอาหารส่วนเกินที่ตกค้างและหลงเหลือจากการที่พืชนำไปใช้ไม่หมด ซึ่งหากมีปริมาณมากเกินไปอาจทำให้เป็นพิษกับพืช หรือเกิดกักธาตุอาหารซึ่งกันและกัน ทำให้พืชไม่สามารถดูดซึมไปใช้ได้  ทำให้ผลผลิตลดลง  และต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น
3.    สำหรับ ฮอร์โมนทางใบ ให้ฉีดพ่น ไบโอเฟอร์ทิล (สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง)  อัตรา 30 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร เพื่อกระตุ้นตาดอก ทำให้ขั้วเหนียว ติดดอก ผล มาก และช่วยป้องกันแมลงเข้าทำลาย

การให้ปุ๋ยและฮอร์โมนทางใบ

1.    ใช้ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตรา 30-40  ซีซี/น้ำ 20 ลิตร  ฉีดพ่นเป็นประจำ ทุก ๆ 7-10 วัน
2.    สลับใช้ ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรเร่งขนาดผล) อัตรา 20-30 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร  ในช่วงที่ต้นมีผลผลิตจำนวนมาก
3.    ฉีดพ่นเสริมด้วย อาหารเสริมรวม คีเลท อัตรา 10 กรัม/น้ำ 20 ลิตรทางใบในช่วงที่ต้นมีผลผลิตมาก 

แมลงและการป้องกันกำจัด

หนอนเจาะผลมะเขือ หรือหนอนเจาะยอดมะเขือ
ลักษณะการทำลาย
หนอนเจาะชนิดนี้ทำความเสียหายให้แก่ยอดมะเขือ โดยเจาะบริเวณปลายยอดกัดกินเนื้อเยื่อภายใน ทำให้ยอดเหี่ยวเนื่องจากขาดน้ำและอาหาร นอกจากนี้ยังเจาะผลทำให้ผลเสียคุณภาพส่งขายไม่ได้
การป้องกันกำจัด
1. วิธีกล เก็บยอดและผลที่ถูกทำลายไปเผาไฟ
2. ใช้ศัตรูธรรมชาติ ได้แก่ แตนเบียน 2 ชนิดคือ Thratata sp. และ Eriborus sp.
3. ฉีดพ่นด้วย ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) เป็นประจำ จะป้องกันการระบาดได้ดี
4. การใช้ยาเชื้อ(ปลอดสารพิษ) ใช้ ชีวภัณฑ์กำจัดหนอนศัตรูพืช บาร์ท๊อป อัตรา 40-80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นซ้ำ 2 ครั้งห่างกัน 3-5 วัน
5. หากใช้สารฆ่าแมลง ให้ใช้  โพรไทโอฟอส (prothiofos) หรือ อิมิดาโคลพริด (imidacloprid) ฉีดพ่นซ้ำ 2 ครั้ง อัตราตามที่ระบุในฉลาก
เพลี้ยจั๊กจั่นฝอย
ตัวเต็มวัยเป็นเพลี้ยจักจั่นสีเขียวขนาดเล็ก และบอบบางมาก มีขนาด 2.5 มม. บริเวณหัวสีแดงเข้ม มีจุดสีดำ 2 จุดระหว่างตา แผ่นหลัง (pronotum) แดงเข้ม มีจุดสีดำ และขาวกระจายอยู่ทั่วไป ปีกใสสีเขียวอมเหลือง บริเวณใกล้ปลายปีกมีจุดสีแดงเข้มตัวเต็มวัยวางไข่สีเหลืองใส โดยวางฟองเดี่ยว ๆ บริเวณเส้นกลางใบของใบอ่อนมะม่วงด้านใต้ใบ ไข่มีลักษณะกลมรี รูปไข่ ยาว 0.6 มม. กว้าง 0.2 มม. อายุไข่ 4 วัน ตัวอ่อนอายุ 7 - 10 วัน
ลักษณะการทำลายและความสำคัญ
ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะเกาะอยู่ใต้ใบอ่อนดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ขอบใบหงิกงอ ขอบใบแห้งกรอบเป็นรอยไหม้ ไม่สามารถผลิตช่อดอกได้ ใบอ่อนที่ถูกทำลายจะมีอาการโค้งงอทางด้านใต้ใบและปลายใบจะแห้งหดสั้น ใบอ่อนที่ยังไม่ถึงระยะเพสลาดจะร่วงหล่นเสียหายมาก อาการปลายใบจะคล้ายการทำลายของเพลี้ยไฟ แต่ปลายใบที่ถูกทำลายโดยเพลี้ยจักจั่นฝอยจะแห้งและโค้งงอลงทางด้านใต้ใบ
การป้องกันกำจัด
1. หมั่นสำรวจในระยะที่ใบอ่อน ถ้าพบเพลี้ยจักจั่นฝอยปริมาณน้อยให้ตัดส่วนที่ถูกทำลายไปเผาทิ้ง
2.  ป้องกันโดยการใช้ ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) เป็นประจำ
3. การใช้ยาเชื้อ(ปลอดสารพิษ) ใช้ ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช เมทาแม็ก อัตรา 40-80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นซ้ำ 2 ครั้งห่างกัน 3-5 วัน
4. การใช้สารเคมีเมื่อสำรวจพบปริมาณเพลี้ยจักจั่นฝอยทำลายยอดอ่อนเกินกว่า 50% ของทั้งหมด
          - ฉีดพ่นไซเปอร์เมทริน 25% EC อัตรา 30 - 40 มล./น้ำ 20 ลิตร
          - คาร์บาริล 85% WP 45 - 60 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
สำหรับแมลงอื่นที่เป็นปัญหาต่อการปลูกการดูแลรักษามะเขือที่สำคัญคือแมลงปากดูด เช่น แมลงหวี่ขาว เพลี้ยอ่อน ซึ่งเป็นตัวนำเชื้อโรคไวรัสมาสู่มะเขือ ทำให้เกิดอาการได้หลายอย่าง เช่น ใบหงิก ยอดหด ปลายยอดแหลมเรียวเล็ก สีใบซีดด่าง ซึ่งเมื่อเกิดอาการเหล่านี้ขึ้นแล้วก็ไม่มีทางที่จะแก้ไขได้ จึงควรหาทางป้องกันไว้ก่อน โดยหากใช้ไบโอเฟอร์ทิล (สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) ตามคำแนะนำแล้ว จะป้องกันแมลงเหล่านี้เข้าทำลายได้ดี  หากในพื้นที่มีการปลูกมะเขือมาก  และเคยมีการระบาดอย่างรุนแรง  แนะนำให้ผสมไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น  ไล่แมลง)ร่วมกับ ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช พีแม็ก และ เมทาแม็ก ผสมร่วมกันเพื่อฉีดพ่นเมื่อพบการระบาด โดยฉีดพ่นซ้ำ 2-3 ครั้ง ขึ้นอยู่กับจำนวนและความรุนแรงของการระบาด  หลังจากนั้นครั้งต่อ ๆ ไป จนถึงเก็บเกี่ยว ก็สามารถใช้ ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) เพียงอย่างเดียว โดยฉีดพ่นทุก ๆ  5-10 วัน เพื่อบำรุงต้น กระตุ้นดอก และป้องกันแมลงศัตรูพืชเข้าทำลายในแปลง  (ระยะเวลาการเว้นช่วงการใช้แต่ละครั้ง ขึ้นอยู่กับผลผลิตและความเสี่ยงในการระบาดของแมลงในพื้นที่นั้น ๆ)    โดยหมั่นสังเกตแมลงศัตรูที่เล็ดลอดเข้ามาในแปลง  การป้องกันแต่เนิ่น ๆ จะทำให้ประหยัดต้นทุนการใช้สารเคมีลง 20-50%)
โรคและการป้องกันกำจัด  สำหรับโรคซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญในการปลูกมะเขือ หากใช้ไบโอเฟอร์ทิล เป็นประจำ จะสังเกตเห็นได้ชัดเจนว่า มะเขือจะมีเปอร์เซ็นต์การถูกทำลายจากโรคซึ่งเกิดจากเชื้อรา และแบคทีเรียลดลง ลดต้นทุนการใช้ยากำจัดโรค และผลผลิตเพิ่มขึ้นประมาณ 30-40 %   โดยข้อมูลรายละเอียดและการแก้ไขของโรคมีดังนี้
โรคผลเน่าแห้งสีดำหรือปลายผลดำ
ลักษณะอาการ ผลมะเขือในที่บางแห่งมีอาการทั้งผลอ่อนเน่าที่ก้นหรือปลายผล อาการเน่าแบบแห้งเป็นสีน้ำตาล เนื้อเยื่อบุ๋มลึกลงไปต่ำกว่าระดับเดิมเล็กน้อย ขนาดของแผลขยายใหญ่ออกไปเรื่อย ๆ บางผลเน่าประมาณ 1 ใน 3 ของผลทำให้ผลร่วง
สาเหตุของโรค
1. ขาดธาตุแคลเซี่ยม
2. ความชื้นในดินที่ปลูกแห้งมาก
การป้องกันกำจัด
1. ใส่หินปูนหรือปูนขาวรองก้นหลุมปลูก 1-2 ช้อนแกงพูนต่อหลุม
2. ควรให้น้ำทุกวันโดยสม่ำเสมอและไม่มากหรือน้อยเกินไป
3. ใช้ อาหารเสริม แคลแม็ก อัตรา 20-30 ซีซีผสมน้ำ 20 ลิตร  ฉีดพ่นทุก ๆ 10-15 วัน เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของเซลล์ผล ตลอดช่วงอายุการเก็บเกี่ยว
โรคใบแห้ง
ลักษณะอาการ มะเขือจะแสดงอาการของโรคได้ทุกส่วนของต้น เช่น ใบเริ่มมีจุดฉ่ำน้ำ สีเขียวหม่น เนื้อเยื่อรอบ ๆ แผลมีสีเหลืองเล็กน้อย ส่วนมากแผลเกิดขึ้นที่จุดหนึ่งบนขอบใบก่อนแล้วขยายใหญ่กว้างออกไปจนเกือบหมด ทั้งใบ ด้านท้องใบมีเส้นใยของเชื้อราเกิดขึ้น มีลักษณะเป็นผงสีขาว เป็นวงกลมตามแผล 2-3 ชั้น แผลจะแห้งเป็นสีน้ำตาลภายในเวลาอันรวดเร็ว ตามก้านใบ ลำต้น ก็มีแผลแบบเดียวกัน ทำให้ส่วนนั้น ๆ เหี่ยวแห้งตายไป ผลมะเขือที่เป็นโรคนี้จะมีแผลสีน้ำตาลเช่นกัน และทำให้ผลสุก มีผิวแตกและมีเชื้อราขึ้นตรงรอยแตกเห็นได้ชัดเจนจัดเป็นโรคที่สำคัญทางภาคเหนือ
สาเหตุของโรค เกิดจากเชื้อรา
การป้องกันกำจัด
1. ใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไดเทนเอ็ม 45 ฉีดพ่นทุก 7 วัน (หรือเร็วกว่านี้) ควรพ่นสารเคมีกันไว้ก่อนเพราะโรคนี้ระบาดแล้วเสียหายรุนแรงมาก หรือใช้ริโดมิลเอ็มแซดหรือพิวริเคอร์ ฉีดพ่นตามอัตราส่วนที่แนะนำข้างภาชนะบรรจุ
โรคเหี่ยวเหลืองตาย
ลักษณะอาการ จะเริ่มเกิดจากใบที่อยู่ตอนล่าง ๆ ก่อน โดยใบล่างจะเหลืองแล้วค่อยลุกลามขึ้นมาบนต้นในเวลากลางวันที่มีอากาศร้อนจัด ต้นจะแสดงอาการเหี่ยว เวลากลางคืนก็กลับปกติ อาการเหี่ยวค่อย ๆ มากขึ้นจนในที่สุดยอดเหี่ยวตาย เมื่อถอนรากขึ้นมาตรวจดูเนื้อเยื่อซึ่งเป็นท่อทางเดินอาหารและน้ำมีสีน้ำตาลดำ โคนต้นและรากผุเปื่อยมักจะมีราเป็นผงสีขาวอมชมพูบางๆ ขึ้นตรงส่วนที่เป็นสีน้ำตาล
สาเหตุของโรค เกิดจากเชื้อรา
การป้องกันและกำจัด
1. ต้องแก้ไขปรับปรุงดินโดยการใส่ปูนขาว และกากพืชหรืออินทรียวัตถุให้เพียงพอ
2. ใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ให้น้อยลง โดยสามารถใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ยักษ์เขียว ใส่ทดแทนได้สม่ำเสมอ
3. ปลูกพืชหมุนเวียนอย่างอื่นสลับ
โรคเกิดจากการขาดธาตุอาหาร
ลักษณะอาการ การขาดธาตุอาหารที่ปรากฏในมะเขือมักจะรุนแรงมากกว่าพืชชนิดอื่น ๆ ลักษณะที่เห็นชัดเจนก็คือใบสีม่วงแดงขอบใบม้วนงอและชะงักการเจริญเติบโต ใบเล็กและหดสั้นบางต้น ใบยอดเนื้อใบซีดขาดตัดกับสีเขียวของเส้นใบชัดเจนและมีขนาดเล็กลง ไม่เจริญเติบโตไปตามปกติและเมื่อเป็นมาก ๆ ยอดแห้งตาย ฯลฯ
สาเหตุของโรค ขาดธาตุต่าง ๆ เช่น ฟอสฟอรัส เหล็ก แมงกานีส โบรอน สังกะสี แมกนีเซี่ยม ฯลฯ บางต้นมีอาการซับซ้อนเนื่องจากขาดธาตุรวมกันจนแยกอาการไม่ออก
การป้องกันจำจัด
1. ควรจะปรับสภาพของดินให้เหมาะสม คือมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ประมาณ 6-6.5 จะเป็นดินที่ธาตุอาหารต่าง ๆ ละลายได้มากและเป็นประโยชน์ต่อพืชมาก
2. ควรใส่ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารครบถ้วน หรือใช้ อาหารเสริมรวม คีเลท  อัตรา 5-10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทางใบทุก  2 สัปดาห์
โรคเหี่ยวเฉาตาย
ลักษณะอาการ มะเขือบางพันธุ์มีอาการเหี่ยวเฉาตายในเวลาอันรวดเร็ว เมื่อถอนรากมาตรวจพบว่าลำต้นใต้ระดับดินและรากเน่าเปื่อย ถ้าตัดลำต้นตามขวางแล้วเอาไปแช่ในน้ำ จะปรากฏสีขาวข้นคล้ายยางเหนียวปูดออกมาตรงรอยแผลตัด ซึ่งเป็นน้ำเชื้อแบคที่เรีย
สาเหตุของโรค เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
การป้องกันและกำจัด เชื้อโรคชนิดนี้ชอบดินที่เป็นด่าง อุณหภูมิสูง ความชื้นสูงและในดินที่ขาดไนโตรเจนเชื้อแบคทีเรียจะถูกทำลายโดยกำมะถัน ดังนั้น การแก้ไขป้องกันกำจัดโรคนี้ควรทำดังต่อไปนี้
1. ปลูกพืชหมุนเวียนสลับ
2. ในดินที่เป็นโรคใช้ สารปรับสภาพดิน ไดนาไมท์ อัตรา 1 ลิตรต่อน้ำ 200 ลิตร ผสมไปกับระบบน้ำ รดให้ชุ่ม หลังจากตากดิน จะทำให้โรคลดลงไปมาก
3. กรณีใช้การให้น้ำระบบท่อ ใช้ สารปรับสภาพดิน ไดนาไมท์ ในอัตรา 500 ซีซีต่อพื้นที่ 2 ไร่ ให้ผสมในบ่อพักน้ำและปล่อยไปกับการให้น้ำตามปกติ  หรือ อาจผสมฉีดพ่นผิวดินในอัตรา 500 ซีซีต่อน้ำ 100 ลิตร แล้วให้น้ำมะเขือตามปกติ
โรคราแป้ง
ลักษณะอาการ ใบจะมีสีเหลืองไม่สม่ำเสมอกัน ใบที่มีสีเหลืองมาก ๆ จะร่วงหล่นได้ง่าย เชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคจะจับเป็นผงหรือขุยสีขาวคล้ายผงแป้ง ผงสีขาวนี้คือเส้นใยและสปอร์ของเชื้อราที่ขึ้นเป็นกลุ่ม กระจัดกระจายทั่วไปทางด้านท้องใบ เนื้อเยื่อด้านบนที่อยู่ตรงข้ามกันจะมีสีเหลือง
สาเหตุของโรค เกิดจากเชื้อรา
การ ป้องกันกำจัด สารป้องกันกำจัดเชื้อราที่ใช้ต้องมีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดโรคนี้โดย ตรง เช่น กำมะถันผงชนิดละลายน้ำ คาลาเทน เบนเลท ฯลฯ ให้เลือกใช้ชนิดใดชนิดหนึ่งเท่านั้น สำหรับกำมะถันควรจะฉีดพ่นในเวลาเช้ามืดที่มีอากาศเย็นหรือในตอนเย็น ไม่ควรฉีดพ่นในเวลาที่มีแดดร้อนจัด เพราะจะทำให้เกิดอาการใบไหม้ได้
โรคยอดหงิก
ลักษณะอาการ มะเขือมีลำต้นแคระแกร็น ใบยอดด่างและหงิก ไม่ออกดอกออกผล
สาเหตุของโรค เกิดจากเชื้อไวรัส
การป้องกันกำจัด
1. บริเวณเพาะกล้าต้องสะอาดปราศจากวัชพืชและฉีดยากำจัดแมลงพวกปากดูด เช่น แมลงหวี่ขาว โดยใช้สารเคมีประเภทดูดซึม
2. ให้ถอนทำลายต้นที่เป็นโรคทิ้ง
3. ใช้ ไบโอเฟอร์ทิล (สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) เป็นประจำ จะช่วยลดอัตราความเสี่ยงของการระบาดได้
4. ไม่ควรสูบบุหรี่หรือจับต้นที่เป็นโรคแล้วไปจับต้นที่ดี จะทำให้โรคระบาดติดต่อกันได้
โรคโคนเน่า
ลักษณะอาการ ระยะกล้า โคนต้นกล้ามะเขือจะเกิดแผลสีน้ำตาล ลำต้นหักพับลง ระยะเริ่มติดดอก มะเขือจะแสดงอาการเหี่ยวเฉาตาย บริเวณโคนต้นระดับผิวดินจะเกิดเป็นแผลยุบลงไป บริเวณแผลจะมีเส้นใยสีขาวของเชื้อราเกิดขึ้น ในกลุ่มเส้นใยนั้นจะเกิดเม็ดขยายพันธุ์ของเชื้อราเล็ก ๆ สีขาวต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและดำ มีขนาดเท่าเมล็ดผักกาด บางครั้งจึงเรียกโรคนี้ว่า "โรคราเมล็ดผักกาด"
สาเหตุของโรค เกิดจากเชื้อรา
การป้องกันและกำจัด
1. ไถดินตากแดดไว้สักระยะหนึ่ง
2. เน้นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในทุกระยะของการปลูก จะช่วยลดปัญหาได้
3. ใช้ ชีวภัณฑ์กำจัดโรคราพืช ไตรโคแม็ก อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นเพื่อป้องกันและกำจัดทุก ๆ 30 วัน
4. ถ้ามีการระบาดแล้วให้ถอนต้นที่เป็นโรคทิ้งและใช้สารฆ่า เชื้อราในดิน เช่น ไวตาแว้กซ์ บลาสซิโคล เทอร์ราโซล เทอร์ราคลอ ชนิดใดชนิดหนึ่ง ราดดินตรงจุดที่เกิดโรคและบริเวณต้นใกล้เคียงกับจุดที่เป็นโรคนั้นให้ทั่วใน พื้นที่ที่โรคนี้ชอบระบาดเนื่องจากมีเชื้ออยู่ในดิน การราดด้วย ไตรโคแม็ก หลังจากย้ายปลูก 1-2 ครั้ง ก่อนมะเขือออกดอกจะได้ผลดีกว่ารอให้พบว่ามีต้นตาย เพราะการป้องกันไว้ก่อนเป็นวิธีการที่ดีที่สุดจะสกัดกั้นความเสียหาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น