วันพุธที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เทคนิคการปลูกมันฝรั่ง

แผนการปฏิบัติงานเพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตที่มีคุณภาพ
สําหรับมันฝรั่งตั้งแต่การเริ่มปลูก-การทำผลผลิตคุณภาพ
 
การเตรียมดิน
ไถดินให้ลึกอย่างน้อย 20 เซนติเมตร ตากดินไว้ก่อนปลูกประมาณ 10-15 วัน หากดินแน่นแข็ง หรือดินเป็นกรดจัด ควรใช้สารปรับสภาพดิน ไดนาไมท์ ผสมน้ำฉีดพ่นหรือราดดินทั่วแปลง อัตรา 1 ลิตรต่อน้ำ 500 ลิตรต่อพื้นที่ 3-5 ไร่ จากนั้นไถพรวนอีกครั้งจึงยกร่องปลูก
ฤดูปลูก
ฤดูปลูกปกติ เริ่มปลูกปลายพฤศจิกายน-ต้นธันวาคม เก็บเกี่ยวประมาณปลายเดือนมีนาคม
-           นอกฤดู เริ่มปลูกเมษายน เก็บเกี่ยวประมาณสิงหาคม
-           ปลูกแบบแถวเดี่ยวไม่ยกร่อง คือ ขุดร่องยาวตามแนวแปลง ลึกประมาณ 1 หน้าจอบ ระยะระหว่างร่อง 75-90 เซนติเมตร วางหัวพันธุ์ในร่องห่างกัน 20-30 เซนติเมตร แล้วกลบดิน วิธีการนี้ช่วยประหยัดแรงงาน เป็นวิธีที่นิยมปลูกแถว อำเภอพบพระ จังหวัดตาก
-           ปลูกแบบแถวเดี่ยวยกร่อง คือ ขุดยกร่องให้สูงขึ้นสันร่องสูงประมาณ 20 เซนติเมตร ควรใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีรองก้นหลุมเหมือนวิธีการที่ 1
-           ยกแปลงปลูกแบบแถวคู่ คือ ยกแปลงปลูกขนาดกว้าง 1-12. เมตร ยาวตามพื้นที่ ขุดหลุมปลูกแถวคู่บนหลังแปลง ระยะระหว่างแถว 40-80 เซนติเมตร ระยะระหว่างหลุม 30-40 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยรองก้นหลุมและกลบดินเช่นกัน เกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่นิยมปลูกด้วยวิธีการเช่นนี้
การใส่ปุ๋ย  ควรใส่ทั้งปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยเคมี แบ่งใส่ 3 ครั้ง
ครั้งที่ 2 เมื่อมันฝรั่งอายุ 20-30 วัน ใส่ปุ๋ย ยักษ์เขียว สูตรเข้มข้น(แถบเขียว) อัตรา 40 กก./ไร่ + ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตรา 10 กก./ไร่ คลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำไปโรยข้างแถว แล้วพูนโคนกลบ
ครั้งที่ 3 เมื่อมันฝรั่งอายุ 60 วัน ใส่ ยักษ์เขียว สูตรเข้มข้น(แถบเขียว) อัตรา 40 กก./ไร่ + โปตัสเซี่ยมซัลเฟต(0-0-50) อัตรา 10 กก./ไร่ ใส่โรยข้างแถวแล้วพูนโคนกลบ
ทางใบ  แนะนำให้ใช้ปุ๋ยและฮอร์โมนธรรมชาติ ไบโอเฟอร์ทิล สูตรบำรุงต้น ขับไล่แมลง อัตรา 30 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร+อาหารรองและเสริม คีเลท ฉีดพ่น ทุก ๆ 7-10 วัน เพื่อเพิ่มผลผลิต กรณีเริ่มลงหัว ให้ใช้ไบโอเฟอร์ทิล สูตรเร่งขนาดผล,หัว ฉีดพ่นในอัตรา 30 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร เดียวกัน
หมายเหตุ       เมื่อใช้ ยักษ์เขียว ทดแทนปุ๋ยเคมี จะทำให้ลดต้นทุนปุ๋ยได้ประมาณ 30-40 เปอร์เซ็นต์ ผลผลิตเพิ่มขึ้น มันฝรั่งหัวใหญ่ได้น้ำหนักดี และสภาพดินดีขึ้นเป็นลำดับ
                        ช่วงลงหัว อาจผสมโบวีรอน(ชนิดน้ำ) อัตรา 30 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 7-10 วัน เพื่อเพิ่มน้ำหนักและความแน่นของหัว
การให้น้ำ
มัน ฝรั่งเป็นพืชที่ต้องการน้ำสม่ำเสมอ ความถี่ของการให้น้ำจะผันแปรตามระยะการเจริญเติบโต ช่วงแรกปลูกควรให้น้ำปริมาณน้อยเพียงพอต่อการงอก หลังงอกแล้วให้น้ำปริมาณมากขึ้นและสม่ำเสมอ หลังจากลงหัวแล้วถ้าได้น้ำไม่สม่ำเสมอจะให้หัวที่มีลักษณะผิดปรกติ อย่าให้น้ำแฉะเกินไป หากแฉะเกินไปจะทำให้รูหายใจที่หัวมันฝรั่งขยายใหญ่ขึ้น ทำให้ผิวไม่สวย และมีโอกาสเน่าเสียได้ง่าย ใกล้ช่วงเวลาเก็บเกี่ยวควรงดให้น้ำประมาณ 2 สัปดาห์
 การเก็บเกี่ยว
ต้อง เก็บเกี่ยวหัวมันที่แก่เต็มที่ หรือมันฝรั่งมีอายุ 100-120 วัน หลังจากต้นตั้งตัว หรือสังเกตจากลำต้นล้มเอนลงระดับพื้นดินจึงให้ตัดต้นมันฝรั่งทิ้ง 7-10 วัน ก่อนขุดหัวขึ้นจากดิน การขุดควรทำอย่างระมัดระวังและไม่ควรทิ้งไว้กลางแดดเป็นเวลานาน จากนั้นให้นำหัวมันขึ้นผึ่งในร่มที่ระบายอากาศได้ดี ใช้เวลา 7-15 วัน แล้วนำเข้าเก็บในโรงเก็บที่แสงส่องไม่ถึง ระวังอย่าซ้อนทับหัวมันหลายชั้นและสิ่งสำคัญต้องให้มีการถ่ายเทอากาศได้ดี
โรคที่สำคัญและการป้องกันกำจัดมีดังนี้
โรคใบไหม้
สาเหตุ : โรคใบไหม้เกิดจากเชื้อราไฟทอปเทอรา
อาการ : ใบ เป็นจุดช้ำ คล้ายถูกน้ำร้อนลวก บริเวณแผลเป็นสีเขียวหม่น ถ้าอากาศเย็นและความชื้นสูง ด้านใต้ใบตรงจุดช้ำนี้จะมองเห็นคล้ายเป็นละอองน้ำเล็ก ๆ สีขาวใสติดอยู่ ต่อมาแผลจะค่อย ๆ แห้งกลายเป็นสีน้ำตาล และขนาดของแผลจะขยายใหญ่ขึ้นจนเกือบจะทั่วใบ จนใบแห้งไหม้เป็นสีน้ำตาล (ไหม้ แบบฉ่ำน้ำ) และจะลุกลามอย่างรวดเร็ว จึงมักมองเห็นการเกิดโรคกระจายเป็นหย่อม ๆ ทั้งลำต้นและกิ่ง และยังทำลายที่หัว ทำให้เกิดอาการหัวเน่าในภายหลัง
การป้องกันกำจัด
1.  ลด ความชื้นในแปลงปลูก โดยใช้ระยะปลูกที่ห่างออกไปอีกเล็กน้อย และอย่าให้น้ำมากเกินไป ควรหลีกเลี่ยงการให้น้ำในตอนเย็น เพราะอากาศเย็นจะทำให้เกิดโรคมากขึ้น
2.  ควรถอนต้นที่เป็นโรคทิ้ง และเผาทำลายทันที เพื่อลดการขยายพันธุ์ และลดการแพร่ระบาดของเชื้อต่อไป
3.  ควรหลีกเลี่ยงการปลูกมันฝรั่งในบริเวณที่เคยปลูกมะเขือเทศมาก่อน หรือไม่ควรปลูกมันฝรั่งซ้ำในบริเวณที่เคยเป็นโรคนี้มาก่อน
4.  ฉีดพ่นด้วย ไตรโคแม็ก อัตรา 50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หลังจากปลูกได้ 15 วัน เพื่อป้องกันการระบาด
หมายเหตุ  โรคนี้เข้าทำลายพืชได้ในสภาพแวดล้อมที่ค่อนข้างจำกัด ถ้าความชื้นต่ำ โรคจะระบาดช้าลง หรืออุณหภูมิสูงขึ้นกว่า 22 องศาเซลเซียส โรคจะน้อยลงเช่นกัน ควรสังเกตสภาพแวดล้อมให้ดี จะทำให้การป้องกันกำจัดได้ผลดียิ่งขึ้น
โรคใบจุด
สาเหตุ : โรคใบจุด เกิดจากเชื้อราออลเทอนาเรีย
อาการ : บริเวณ แผลที่เป็นจุดบนใบจะมีลักษณะเป็นวงซ้อน ๆ กัน แผลจะเป็นจุดสีน้ำตาลขนาดเล็ก และค่อย ๆ ลุกลามขยายใหญ่ออก จะมีจำนวนจุดมากขึ้นจนคล้ายกับใบไหม้ แบบแห้งกรอบ
โรค นี้จะระบาดในสภาพที่มีความชื้นสูงและอากาศไม่เย็นนัก เชื้อราจะแพร่กระจายโดยปลิวไปตามลม และสามารถอาศัยอยู่ข้ามฤดูได้ในเศษซากพืชที่ตกค้างอยู่ในดิน
การป้องกันกำจัด
1.  อย่ารดน้ำให้ชุมโชกจนเกินไป
2.  ตัดใบที่เป็นโรค เก็บเผาทำลาย
3.  ถ้าจำเป็นต้องใช้สารเคมี สารที่แนะนำคือ ไอโปรไดโอน ควรใช้สลับกับ แมนโคเซป เพื่อป้องกันการดื้อยา
โรคเหี่ยวเขียว
สาเหตุ : โรคเหี่ยวเขียว เกิดจากเชื้อแบคทีเรียซูโดโมแนส
อาการ : ใบสลดลู่ลง เหมือนการขาดน้ำ หลังจากนั้น 2-3 วัน จะแสดงอาการเหี่ยวอย่างเห็นได้ชัดเจน โดยที่ใบยังคงเขียวอยู่ และต้นจะตายในที่สุด
เชื้อ นี้อยู่ในดินและในน้ำ การแพร่กระจายจะแพร่ไปทางน้ำเป็นส่วนมาก ทำให้มองเห็นว่าเกิดโรคเป็นหย่อม ๆ และขยายวงกว้างออกไปเรื่อย ๆ ถ้าความชื้นสูงโรคจะระบาดอย่างรวดเร็ว
การป้องกันกำจัด
1.  เลือกที่ปลูก โดยปลูกในบริเวณที่ไม่เคยปลูกมันฝรั่งหรือมะเขือเทศมาก่อน
2.  ลดความชื้นในแปลงปลูก อย่าให้น้ำขังแฉะนาน ๆ
3.  ถอนต้นที่เป็นโรคออกไป แล้วเผาทำลาย พยายามเปิดดินบริเวณนั้นให้ดินแห้ง และอย่าให้น้ำไหลจากแปลงปลูกที่เป็นโรคไปยังแปลงข้างเคียง
4.  ฉีดพ่นด้วย ไตรโคแม็กอัตรา 50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หลังจากปลูกได้ 15 วัน เพื่อป้องกันการระบาด
 โรคขี้กลาก
สาเหตุ : โรคขี้กลาก (สแคป) เกิดจากเชื้อราสเตร็ปโตไมซีส
อาการ : แสดง อาการที่หัว โดยหัวมันฝรั่งที่เป็นโรคจะเป็นสะเก็ดแห้ง ๆ สีน้ำตาล มีขอบแผลนูนเป็นสีน้ำตาล กลางแผลยุบลงไปเล็กน้อย แผลเหล่านี้จะอยู่ติดกันเป็นแผ่น เกิดเป็นสะเก็ดคล้ายขี้กลาก ทำให้ราคาหัวมันฝรั่งตกต่ำ
โรค นี้มักระบาดในบริเวณปลูกที่อยู่เชิงเขาหินปูน และดินที่มีสภาพค่อนข้างเป็นด่าง การแพร่ระบาดจากแหล่งปลูกหนึ่งไปยังแหล่งอื่น ๆ โดยติดไปกับหัวพันธุ์
การป้องกันกำจัด
1.  หลีกเลี่ยงการปลูกมันฝรั่งในบริเวณใกล้กับภูเขาหินปูน
2.  คัดเลือกหัวพันธุ์ที่ไม่เป็นโรคมาปลูก
3.  เพิ่มอินทรีย์วัตถุในดิน เช่น ปุ๋ยหมัก, ปุ๋ย คอก หรือปุ๋ยพืชสด เพื่อปรับสภาพดิน และทำให้มีการแข่งขันกันระหว่างจุลินทรีย์ในดินสูงขึ้น สำหรับแปลงที่มีการใช้วัสดุปรับปรุงดิน เกรด AAA ตรายักษ์เขียว ตามคำแนะนำ จะช่วยป้องกันโรคได้ดี

แมลงและศัตรูพืชของมันฝรั่ง
ไส้เดือนฝอยรากปม
 
เกิดจากไส้เดือนฝอย(Meloidogyne incognita)ชนิดศัตรูพืช เข้าทำลายแย่งอาหารทางรากพืช อาการจะสังเกตเห็นได้ที่ใบและต้น  ใบและต้นจะเหลือง แกร็น เหมือนขาดปุ๋ย  เมื่อขุดดูรากจะพบว่ารากเป็นปมคล้ายเม็ดถั่ว
การป้องกันกำจัด
1.    ใช้ ชีวภัณฑ์กำจัดไส้เดือนฝอย พีแม็ก ผสมน้ำอัตรา 50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นบริเวณหลุมปลูกก่อนลงหัวพันธุ์ 
2.    เนื่อง จากไส้เดือนฝอยรากปม สามารถติดมากับดินที่ติดอุปกรณ์เพาะปลูก หรือมากับแหล่งน้ำธรรมชาติ(คู,คลอง) ได้ ดังนั้น จึงควรหมั่นสังเกตอาการของต้นแต่เนิ่น ๆ จะทำให้แก้ไขได้ง่าย
3.    การใช้สารเคมี สามารถป้องกันได้แค่ในช่วงที่สารเคมีออกฤทธิ์อยู่ เมื่อสารเคมีเสื่อมสภาพ ไส้เดือนฝอยที่อยู่ในดินก็จะเข้าทำลายซ้ำ
เพลี้ยไฟ
แมลง ชนิดนี้มีขนาดเล็กมาก ใช้ปากดูดกินน้ำเลี้ยงที่ใบหรือยอดอ่อน ทำให้ใบหงิกงอ แห้งกร้านเป็นสีน้ำตาล ต้นชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตต่ำลง ตัวเต็มวัยมีปีก 2 คู่ ลำตัวมีสีเหลือง ปีกมีสีน้ำตาล เพศเมียวางไข่ได้โดยไม่จำเป็นต้องผสมพันธุ์กับเพศผู้ก็สามารถฟักออกเป็นตัวได้
การป้องกันกำจัด
  หากระบาดไม่รุนแรงให้ฉีดพ่นด้วยน้ำเพิ่มความชื้นในบรรยากาศให้สูงขึ้น การระบาดจะหมดไป แต่หากเกิดการระบาดอย่างรุนแรง ให้ฉีดพ่นด้วย  ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช(ปลอดสารพิษ) เมทาแม็ก  อัตรา 50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 2 ครั้ง ทุก 7-10 วัน การระบาดจะหมดไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น