วันเสาร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554

สารป้องกันและกำจัดโรคพืช ตอนที่ 13

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำชื่อสารเคมี(ชื่อสามัญ) ชนิดต่างๆ  มาเผยแพร่ให้เกษตรกร,ผู้สนใจ,ฯลฯ ได้รู้ถึงประโยชน์, อันตราย, และความเป็นพิษเพื่อจะได้เลือกใช้สารเคมีอย่างระมัดระวัง(ในกรณีที่จำเป็น) มิได้ต้องการส่งเสริมให้เกษตรกรหรือผู้อ่านใช้สารเคมีเพิ่มขึ้น เพียงแต่หากจำเป็นต้องใช้สารเคมี  ก็ควรใช้อย่างรู้คุณและโทษของมันอย่างถูกต้อง และได้ประโยชน์ คุ้มค่ากับเงินลงทุนที่เสียไปทุกบาททุกสตางค์ และไม่ทำให้ผู้บริโภครวมถึงตัวเกษตรกรและผู้ใช้เองต้องตกเป็นเหยื่อของพิษ ภัยจากการใช้สารเคมีโดยมิได้รู้แจ้ง ซึ่ง ทางผู้โพสหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรและบุคคลทั่วไปไม่มากก็น้อย  สำหรับท่านที่มีเพื่อน,มิตร,ญาติสนิท,ฯลฯ ที่ทำเกษตร หรือเกี่ยวข้องทางด้านนี้อยู่ ก็รบกวนช่วยนำไปเผยแพร่นะครับ ผมเองได้ข้อมูลมาตั้งแต่สมัยที่ยังทำการเกษตรอยู่ จาก หนังสือ "สารกำจัดศัตรูพืชในประเทศไทย"  เป็นหนังสือที่หาค่อนข้างยาก ปัจจุบันไม่ทราบว่ามีตีพิมพ์อีกหรือไม่ แต่ข้อมูลก็ยังสามารถใช้ได้ดีอยู่ จึงอยากนำมาเผยแพร่ให้คนรักต้นไม้,เกษตรกร,หรือคนที่เกี่ยวข้องได้ทราบกัน
 (นายยักษ์เขียว)


มาเน็บ
(maneb)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดเชื้อรา  dithiocarbabate  ออกฤทธิ์ให้ผลในทางป้องกันโรคพืชที่เกิดกับใบ
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  6,750  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (หนู)  มากกว่า  5,000  มก./กก.  อาจทำให้ผิวหนัง  ดวงตาและระบบหายใจเกิดอาการระคายเคือง
โรคพืชที่กำจัดได้        โรคใบไหม้ของมันฝรั่งและมะเขือเทศ  โรคใบจุด  (Leaf  spot)  โรคแอนแทรคโนสของแตงกวา  โรคใบม้วน  โรคเน่าดำขององุ่น  โรคใบจุด  Alternaria  โรคราน้ำค้าง  โรค  Purple  blotch  ของหอม  โรคไรสนิม  โรคเน่าสีน้ำตาล  และโรคอื่น ๆ ที่เกิดกับพืชไร่  พืชสวน  ผัก  ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป
พืชที่ใช้                   กล้วย  หน่อไม้ฝรั่ง  องุ่น  กล้วยไม้  มะเขือเทศ  ถั่วเหลือง  ถั่วลิสง  หอม  กระเทียม  ผักตระกูลกะหล่ำ  คะน้า  พืชตระกูลแตง  มันฝรั่ง  ข้าวโพด  ยาสูบ  กุหลาบ  มะละกอ  และพืชอื่น ๆ
สูตรผสม                  80ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้        ใช้อัตรา  35-50  กรัม  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  กวนให้ผสมกันดี  แล้วฉีดพ่นที่ใบให้ทั่วต้นพืช  ฉีดซ้ำได้ทุก  3-10  วัน  ตามความจำเป็น  ถ้าสภาพอากาศเหมาะสมกับการเจริญเติบโตและระบาดของโรค  Purple  blotch  ของหอม  โรคราสนิม  โรคเน่าสีน้ำตาล  โรคจุดดำกุหลาบและอื่น ๆ  แล้ว  ควรฉีดพ่นให้ถี่ขึ้นกว่าปกติ
ข้อควรรู้                    - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  7-14  วัน
                             - เมื่อถูกผิวหนังอาจจะทำให้เกิดอาการแพ้ได้
อาการเกิดพิษ            สำหรับผู้แพ้  เมื่อถูกผิวหนัง  และเยื่อบุต่าง ๆ  จะทำให้เกิดอาการอักเสบบวมแดง  ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไป  จะทำให้คลื่นไส้  อาเจียน  ท้องเสีย  และเซื่องซึม
การแก้พิษ                ถ้าถูกผิวหนังให้รีบล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ  ถ้ากลืนกินเข้าไป  ทำให้คนไข้อาเจียนแล้วล้างท้องด้วย  laxative  salt  รักษาตามอาการ  ห้ามให้ยาหรืออาหารที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่

เมตาแล๊กซิล
(metalaxyl)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดเชื้อรา  acylalanine  ประเภทดูดซึม  ออกฤทธิ์ให้ผลในทางป้องกันและรักษาโรคพืช
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  669  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (หนู)  มากกว่า  3,100  มก./กก.  อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองที่ผิวหนัง
โรคพืชที่กำจัดได้        โรครากเน่า  โรคโคนเน่า  โรคลำต้นดำ  โรคราน้ำค้าง  โรคอื่น ๆ  ที่เกิดจากเชื้อ  Pythium  spp. , Phytophthora  spp.  และ  Phycomycetes  spp.
พืชที่ใช้                   ทุเรียน  ส้ม  ยาสูบ  พริกไทย  พลู  เผือก  พริก  ข้าวฟ่าง  ข้าวโพด  พืชตระกูลแตง  หอม  มะเขือเทศ  มันฝรั่ง  ถั่วลันเตา  และใช้คลุกเมล็ด  ถั่วเหลือง  ฝ้าย  และเมล็ดพืชอื่น ๆ
สูตรผสม                  5จี  25ดับบลิวพี  35%  เอสดี
อัตราใช้และวิธีใช้        ชนิดฉีดพ่น  อัตราที่ใช้แตกต่างกันออกไป  ขึ้นอยู่กับชนิดพืชที่ใช้และวิธีที่จะใช้  ถ้าใช้ทาต้น  จะใช้ในอัตรา  80-100  กรัม  ผสมกับน้ำ  1  ลิตร  ถ้าฉีดพ่นใช้อัตรา  20-40  กรัม  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  สำหรับชนิดคลุกเมล็ด  ใช้อัตรา  7-10  กรัม  ต่อเมล็ดหนัก  1  กก.  และชนิดหยอดหลุมหรือโรยหน้าดิน  ใช้อัตรา  20-40  กรัม  ต่อตารางเมตร
อาการเกิดพิษ            เมื่อเกิดมีพิษจะมีอาการเหงื่อออกมาก  ซึม  กล้ามเนื้อกระตุก-สั่น  เคลื่อนไหวตัวลำบากและหายใจขัด
การแก้พิษ                ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนัง  ให้รีบล้างน้ำจำนวนมาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนานอย่างน้อย  15  นาที  ถ้ากลืนกินเข้าไป  ทำให้คนไข้อาเจียนด้วยการล้วงคอ  หรือดื่มถ่านยาแอ๊คติเวทเต็ด  ซาร์โคล  แล้วรักษาตามอาการ
ข้อควรรู้                    - ห้ามใช้ฉีดพ่นใบยาสูบ
                             - ใช้ผสมฉีดพ่นร่วมกับสารกำจัดเชื้อราและสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ ได้
                             - ออกฤทธิ์ได้ยาวนาน  สำหรับในดินอยู่ได้  70-90  วัน
                             - การใช้ยานี้ซ้ำอย่างเดียวนาน ๆ  อาจทำให้เชื้อราเกิดพันธุ์ต้านทานขึ้นมาได้

เม็ททิแรม
(metiram)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดเชื้อรา  dithiocarbamate  ที่ออกฤทธิ์ในทางป้องกันโรคพืชที่เกิดกับใบพืช
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  มากกว่า  10,000  มก./กก.  ทางผิวหนัง  มากกว่า  2,000  มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้        โรคใบไหม้  (Early  and  late  blight)  โรคราสนิม  โรคจุดดำ  (Black  spot)  โรคเน่าดำ  โรคเน่าสีน้ำตาล  (Brown  rot)  โรคสแคป  โรคใบจุด  Cercospora  โรคราน้ำค้าง  โรคเน่าคอดิน  โรคแอนแทรคโนส  และโรคอื่น ๆ
พืชที่ใช้                   มันฝรั่ง  องุ่น  หน่อไม้ฝรั่ง  ผักตระกูลคื่นฉ่าย  แตง  ถั่วลันเตา  ยาสูบ  มะเขือเทศ  ข้าวโพด  กุหลาบ  ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม                  80ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้        ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก  ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นที่ใบทุก  7-10  วัน  ตลอดฤดูการปลูก
ข้อควรรู้                    - ห้ามผสมกับพาราไธออน  หรือสารอื่นที่มีความเป็นด่างสูง
                             - เป็นพิษต่อปลา
                             - พิษตกค้างมีอายุยาวนาน
                             - เข้ากับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ ได้เกือบทั้งหมด

มีโปรนิล
(mepronil)
การออกฤทธิ์             เป็นสารประกอบ  benzanilide  ที่กำจัดเชื้อราที่เกิดกับใบพืช
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  10,000  มก./กก.  ทางผิวหนัง  มากกว่า  10,000  มก./กก.  ทำให้ดวงตาเกิดอาการระคายเคือง
โรคพืชที่กำจัดได้        โรคกาบใบไหม้  โรคราสนิม  โรคเน่าคอดิน  และโรคอื่น ๆ
พืชที่ใช้                   ข้าว  ไม้ผล  ผักต่าง ๆ  และไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม                  75ดับบลิวพี  และ  3ฝุ่น
วิธีใช้                       ใช้ฉีดพ่นที่ใบ  ใช้ซ้ำตามความจำเป็น
หมายเหตุ                 ไม่มีจำหน่ายในประเทศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น