วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต กับการปลูกลิ้นจี่

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

ดิน  ดินที่เหมาะสมแก่การเจริญเติบโตและให้ผลผลิต ของลิ้นจี่ควรเป็นดินที่มีหน้าดินลึก มีอินทรียวัตถุมาก ได้แก่ ดินร่วน ดินร่วนปนทราย มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ ถึงเป็นกลาง คือ มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง ระหว่าง 5-6 และต้องมีการระบายน้ำ ดีและควรมีระดับความสูงจากระดับน้ำ ทะเลมากกว่า 400 เมตร โดยเฉพาะพันธุ์ฮงฮวย โอวเฮียะ กิมเจ็ง และ พันธุ์จักรพรรดิ

อากาศ  อากาศที่เหมาะสมตอการเจริญเติบโตและออกดอกติดผลของลิ้นจี่ควรมีอากาศเย็นในฤดูหนาว และไมมีอากาศรอนจัดคืออุณหภูมิต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส และในช่วงก่อนดอกต้องการอุณหภูมิต่ำ กว่า 15 องศาเซลเซียส ไม่น้อยกว่า 50 ชั่วโมง หรือต่ำ กว่า 10 องศาเซลเซียส ไม่น้อยกว่า 50 ชั่วโมงเมื่อติดผลแล้วอุณหภูมิจะสูงขึ้นก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส จะทำ ให้ผลแห้งและแตกได้

ความชื้นในอากาศ  ความชื้นสัมพันธ์ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับลิ้นจี่ มี 2 ระยะ คือความชื้นในระยะก่อนออกดอกควรต่ำ กว่า 80 เปอร์เซ็นต์ และความชื้นในระยะติดผลจะอยู่ในช่วง 80-100 เปอร์เซ็นต์

การเตรียมพื้นที่ปลูก

พื้นที่ลุ่ม  พื้นที่ซึ่งเป็นที่ลุ่มจำเป็นต้องยกร่อง ควรยกแปลงให้มีความกว้างของแปลงอย่างน้อย 6 เมตร  ร่องลึก 1 เมตร กว้าง 2 เมตร เพื่อระบายน้ำ ให้ฤดูฝนและกักน้ำ ให้ฤดูแลง

พื้นที่ดอน  พื้นที่ดอน ควรจะปรับพื้นที่ให้เรียบเพื่อสะดวกต่อการปฏิบัติงานถ้าพื้นที่มีความลาดชันมาก ควรจัดทำ แนวชั้นบันได หรือปรับระดับบริเวณหลุมปลูก

ระยะปลูก  ลิ้นจี่ใช้ระยะปลูกระหว่าง 8X8 เมตร ถึง 10X10 เมตร ในพื้นที่ยกร่องขนาดของร่องจะบังคับระยะไว้ 8 เมตร ส่วนในพื้นที่ดอนระยะปลูกขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ดินเลวปลูกถี่  ดินดีปลูกหาง

วิธีการปลูก

การเตรียมหลุมปลูก  ในพื้นที่ลุ่มควรชุดหลุมในแนวตรงบนแปลงขนาด กว้าง ยาว ลึก ประมาณ 50-80 เซนติเมตร  โรยปุ๋ยอินทรีย์ ยักษ์เขียว สูตร 1 (แถบทอง)  อัตรา 0.5 กิโลกรัมต่อหลุม หรือประมาณ 2-3 กำมือ คลุกให้เข้ากันแล้วกลบลงหลุมโดยให้ดินบริเวณปากหลุมสูงกว่าดินเดิมประมาณ 15 เซนติเมตร ส่วนพื้นที่ดอนขุดหลุมในแนวตรง กว้าง ยาวและลึกประมาณ 50-80 เซนติเมตร และเตรียมหลุมเช่นเดียวกันกับการเตรียมหลุมในที่ลุ่ม

การเตรียมกิ่งพันธุ์   ควรจะเตรียมกิ่งตอนไวลวงหนาใหอยูในสภาพที่แข็งแรงตั้งตัวไดแลว โดยเลี้ยงไว้ในเรือนเพาะชำ ก่อนนำ ลงปลูก
การเตรียมไม้หลักพยุงและร่มเงา  ไม้หลักพยุง ใช้ไม้ไผ่รวกหรือไม้ที่แข็งแรงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 1.5 เซนติเมตร และยาวไม่น้อยกว่า 150 เซนติเมตร  ร่มเงา ใช้เพิงหรือกิ่งไม้ที่ใบไม่ร่วง เช่น ทางมะพร้าวบังแดดด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก

วิธีการปลูก

นำกิ่งพันธุ์ที่เตรียมไว้ลงปลูกกลางหลุม หากภาชนะที่ใช้เพาะสลายตัวยาก เช่น ถุงพลาสติก หรือกระถาง ต้องนำกิ่งพันธุ์ออกจากภาชนะก่อนปลูก การปลูกควรให้ระดับดินบนภาชนะเพาะชำอยู่เท่ากับระดับดินในแปลง กลบดินโดยรอบ กดให้แน่น หลังจากนั้นให้ไม้หลักที่เตรียมไว้ปักใกล้ ๆ กับกิ่งพันธุ์และผูกเชือกพยุงตัวไว้เพื่อให้ต้นตั้งตรงบังด้วยร่มเงา รดน้ำ

การปฏิบัติดูแลรักษาหลังปลูก

การให้น้ำ  ช่วงเวลาหลังจากปลูกจะตรงกับฤดูฝน ถ้าฝนตกหนักควรทำทางระบายน้ำ และตรวจดูบริเวณหลุมปลูก ถ้าดินยุบตัวเป็นแอ่งมีน้ำขังต้องพูนดินเพิ่ม แต่ถ้าหากฝนทิ้งช่วงควรรดน้ำให้ดินมีความชื้นอยู่เสมอ
การป้องกันกำจัดโรคและแมลง
ในช่วงที่แตกใบอ่อน ควรตรวจสอบ และฉีดสารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลงที่ทำลายใบอ่อน

การควบคุมวัชพืช

ควบคุมวัชพืชโดยใช้วิธีขุด ถาก ถอน หรือ ตัด งดการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช  เพราะจะกระทบกระเทือนกับรากลิ้นจี่ อีกทั้งละอองสารเคมีอาจจะไปทำลายต้นลิ้นจี่ ทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต และให้ผลผลิตต่ำ

การตัดแตงกิ่ง

ควรเลี้ยงให้มีลำต้นกลางเพียงต้นเดียวและไว้กิ่งแรกสูงจากพื้นดินประมาณ 40-80 เซนติเมตร และตัดแต่งกิ่งแห้ง กิ่งเป็นโรค กิ่งน้ำค้าง กิ่งแขนงเล็ก ๆ  ด้านในทรงพุม กิ่งไขว้ ตลอดจนกิ่งที่ทำมุมแคบออกและควรทารอยแผลที่ตัดด้วยปูนแดงกินกับหมาก
การปลูกไม้บังลม
ในแหล่งที่มีลมแรงควรเตรียมการปลูกไม้บังลมไว้ก่อนโดยพิจารณาถึง
1.    ทิศทางลม
2.    ชนิดไม้บังลมที่จะปลูกควรโตเร็ว กิ่งก้านน้อย ทรงสูง ทนทานต่อสภาพแวดล้อมโดยเฉพาะต้านทานลมได้ดี เช่น ไม้ไผ่รวก
3.    ปลูกให้ห่างจากแถวลิ้นจี่ อย่างน้อย 6 เมตร
4.    การปลูกไม้บังลม ปลูก 2 แถวสลับฟันปลา และควรปลูกไม้บังลมก่อนปลูกลิ้นจี่ 1 ปี เป็นอย่างน้อย ไม้บังลมจะมีกี่แนวขึ้นอยู่กับระยะความยาวของสวนกับความสูงของไม้บังลม

การปฏิบัติดูแลรักษา

การให้น้ำ
1.    ลิ้นจี่อายุ 1-3 ปี ในฤดูแล้งให้น้ำสม่ำเสมออย่างน้อยเดือนละ 2-3 ครั้ง(ตามสภาพอากาศ)
2.    ลิ้นจี่ต้นที่ให้ผลผลิตแล้วในฤดูแล้งต้องให้น้ำสม่ำเสมออย่างน้อยเดือนละ 3-4 ครั้ง แต่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ก่อนออกดอกควรงดการให้น้ำ หากมีฝนตกต้องทำทางระบายน้ำออกจากแปลง  โดยเน้นบริเวณโคนต้นให้โปร่งเพราะต้องการความชื้นน้อย เพื่อเพิ่มความเครียดให้ต้นลิ้นจี่(ช่วยให้ออกดอกได้ง่ายขึ้น)ในระยะก่อนการออกดอก หลังจากสังเกตเห็นเริ่มแทงช่อดอกลักษณะเป็นเขี้ยวเล็ก ๆ ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ ควรเริ่มให้น้ำ  โดยเริ่มให้ในปริมาณที่น้อยและให้บริเวณรอบนอกของทรงพุ่มต่อจากนั้นค่อย ๆ เพิ่มปริมาณน้ำและให้น้ำในทรงพุ่มมากขึ้น โดยให้ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ และควรงดให้น้ำก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิต 7-10 วัน
3.    ปริมาณน้ำที่ให้แต่ละครั้งขึ้นอยู่กับชนิดของเนื้อดินขนาดของทรงพุ่มและวิธีการใหน้ำ
วิธีการให้น้ำ 
3.1 การให้น้ำทางใต้ผิวดิน  เป็นการให้น้ำโดยยกระดับน้ำใต้ดินให้สูงขึ้นจนถึงระดับที่รากสามารถดูดไปใช้ได้ เช่น การยกร่องปลูก ฯลฯ  วิธีนี้เหมาะสำหรับ พื้นที่ลุ่ม ที่เป็นดินร่วนค่อนข้างเหนียวใกล้แหล่งชลประทาน(คลอง,แม่น้ำ)
3.2 การให้น้ำทางผิวดิน คือ ปล่อยให้น้ำขังหรือปล่อยให้ไหลไปตามผิวดิน การให้น้ำแบบนี้จะต้องปรับพื้นที่ให้เรียบและมีความลาดเทเล็กน้อย (ประมาณ 2%) รดน้ำโดยการใชสายยาง สูบน้ำจากแหล่งน้ำและลากสายยางรดตามต้น  วิธีนี้จะสิ้นเปลืองน้ำมาก ไม่เหมาะกับพื้นที่ที่มีน้ำชลประทานน้อย
3.3 การให้น้ำแบบฉีดฝอย(สปริงเกอร์) เป็นการให้น้ำโดยผ่านทางท่อด้วยแรงดันและให้น้ำพ่นเป็นฝอยทางหัวฉีดบริเวณทรงพุม วิธีนี้จะประหยัดน้ำกว่าการให้น้ำแบบที่ 3.2 ทำได้รวดเร็วสม่ำเสมอและใช้แรงงานน้อย แต่การลงทุนครั้งแรกค่อนข้างสูง

การให้ปุ๋ย
1.    การให้ปุ๋ยลิ้นจี่ที่ยังไม่ให้ผลผลิต (อายุ 1-3 ปี)

ทางดิน

-          ปีแรก-ปีที่ ให้ใช้ ยักษ์เขียว สูตร 1 (แถบทอง) อัตราประมาณ  200-300 กรัม/ต้น(ประมาณ 1-2 กำมือ) ใส่สลับกับการใช้ปุ๋ย สูตร 25-7-7 หรือ สูตรเสมอ 15-15-15  (ใส่ในสัดส่วน ยักษ์เขียว 2 ครั้ง สลับปุ๋ยเคมี 1 ครั้ง ใน 1 ปี จะใส่ปุ๋ยรวมทั้งหมดประมาณ 8-9 ครั้ง) โดยระยะเวลาใส่ปุ๋ยให้ห่างกันประมาณ 30-45 วัน  สำหรับปริมาณการใส่มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับขนาดทรงพุ่ม และระยะเวลา  เมื่อปฎิบัติตามข้างต้น เกษตรกรก็จะได้ต้นลิ้นจี่ที่มีสภาพสมบูรณ์มาก และสามารถไว้ผลผลิตได้เร็ว
ทางใบ 
-  ตั้งแต่เริ่มปลูก(1-3 ปี)  ฉีดพ่น ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตรา 50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 15-30 วันหรือทุกช่วงที่ต้องการให้ลิ้นจี่แตกใบอ่อน  จะทำให้ต้นลิ้นจี่มีการแตกทรงพุ่มดี ใบใหม่ที่ได้มีคุณภาพ และป้องกันแมลงศัตรูพืชเข้าทำลาย
2.    การให้ปุ๋ยลิ้นจี่ที่ให้ผลผลิตแล้ว (อายุ 4 ปีขึ้นไป)
ระยะที่ 1 หลังการเก็บเกี่ยวผลแล้วต้องตัดแต่งกิ่งและให้ปุ๋ยในเดือนมิถุนายน เพื่อฟื้นฟูสภาพต้น และบำรุงต้นให้เจริญเติบโตสมบูรณ์ โดย
ทางดิน  แบ่งใส่เป็น 3  ครั้ง ดังนี้
ครั้งแรก   หลังตัดแต่งกิ่งแล้ว ใส่ ยักษ์เขียว สูตร 1 (แถบทอง) อัตรา 1-1.5 กิโลกรัมต่อต้น เพื่อฟื้นฟูต้นหลังเก็บเกี่ยว และให้ต้นสร้างใบชุดใหม่
ครั้งที่ 2    หลังจากนั้น 30 วัน ใส่ ยักษ์เขียว สูตร 1 (แถบทอง)  อัตรา 1-1.5 กิโลกรัมต่อต้น อีกหนึ่งครั้ง
ครั้งที่ 3    ช่วงปลายฤดูฝน สำหรับต้นลิ้นจี่ ที่มีการติดผลดกในฤดูกาลที่ผ่านมา แนะนำให้ใส่เสริมด้วยปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ 15-15-15 อัตรา 0.5 กิโลกรัมต่อต้น อีกหนึ่งครั้ง  เพื่อให้ต้นลิ้นจี่มีสภาพสมบูรณ์เต็มที่พร้อมจะให้ดอกติดผลได้ดี
ทางใบ   หลังจากตัดแต่งกิ่งเสร็จ  ให้ฉีดพ่น ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตรา 50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 7-14 วัน จนกระทั่งใบใหม่ที่ได้เพสลาด จะทำให้ได้ใบใหม่ที่มีคุณภาพ ป้องกันแมลงรบกวน  พร้อมสำหรับการเตรียมต้นในระยะต่อไป
ระยะที่ 2 การใหปุยในระยะนี้มีวัตถุประสงคเพื่อเปนการเตรียมตนลิ้นจี่ใหพรอมที่จะออกดอกในฤดูกาล (ประมาณเดือนตุลาคม-ธันวาคม)
ทางดิน  ก่อนช่วงติดดอกของทุกปี ประมาณ 30 วัน  ให้ใส่ปุ๋ยสะสม เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ให้ต้น โดยใช้  หรือ สูตร 8-24-24  อัตรา ต้นละ 0.5  กิโลกรัม(2-3 กำมือ) แล้วรดน้ำ ตาม 1-2 ครั้ง เพื่อให้เนื้อปุ๋ยละลาย แล้วจึงเริ่มงดน้ำ
ระยะที่ 3 เมื่อลิ้นจี่เริ่มแทงตาปลายาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร)
ทางใบ  ให้ฉีดพ่น ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตรา 30-50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 7-10 วัน ประมาณ  3-4 ครั้ง จนกระทั่งดอกบาน  จะทำให้ ช่อยาว ขั้วเหนียว  เปอร์เซ็นต์การติดผลดี  และยังช่วยป้องกันแมลงเข้าทำลายช่อดอกได้
ระยะที่ 4  การให้ปุ๋ยในระยะติดผล เพื่อเร่งขนาดผล สร้างเนื้อ  ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพดี  โดยเริ่มให้ปุ๋ย เมื่อลิ้นจี่ติดผลโตขนาด 5 มิลลิเมตร(เท่าเม็ดข้าวโพด)
ทางดิน 
ครั้งแรก  ใส่ ยักษ์เขียว สูตร 1 (แถบทอง) อัตรา 1-1.5 กิโลกรัมต่อต้น
ครั้งที่สอง  หลังจากครั้งแรก 30-45 วันหรือเมื่อเมล็ดเริ่มแก่ ใส่ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ 15-15-15 อัตรา 0.5-1 กิโลกรัมต่อต้น
ครั้งที่สาม  หากลิ้นจี่ติดผลดกมาก  แนะนำให้เสริมด้วยการใส่ ยักษ์เขียว สูตร 1 (แถบทอง) อัตรากิโลกรัมต่อต้น ก่อนเก็บเกี่ยว ประมาณ 20-30 วัน อีกครั้งหนึ่ง
ทางใบ 
ฉีดพ่น ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรเร่งขนาดผล) เมื่อผลโตเท่าเม็ดข้าวโพด  อัตรา  50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ร่วมกับ อาหารเสริมรวม คีเลท อัตรา 5 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 10-14 วัน ทำให้ผลที่ได้มีขนาดใหญ่สม่ำเสมอกัน เนื้อแน่น ทนต่อการขนส่ง และเก็บรักษา
หมายเหตุ ช่วงแทงช่อดอก และช่วงติดผลจนถึงก่อนเก็บเกี่ยวประมาณ 1 เดือน ให้ใช้ แคลเซียมโบรอน “แคล-แม็ก”  อัตรา 20  ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 7-10 วัน เพื่อป้องกันการแตก ในช่วงใกล้เก็บเกี่ยว
การบังคับให้ลิ้นจี่ออกดอกโดยการควั่นกิ่ง
การควั่นกิ่งมีวัตถุประสงคเพื่อชวยใหกิ่งมีการเก็บสะสมอาหารมากขึ้น  ระยะที่เหมาะสมในการควั่นกิ่ง คือ ช่วงที่ลิ้นจี่แตกใบอ่อน ครั้งที่ 2 (ช่วงเดือนตุลาคม)
กิ่งที่ควั่น ควรเปนกิ่งที่มีสวนกลมมากที่สุดการเลือกขนาดกิ่งจะเลือกตามอายุลิ้นจี่ ดังนี้
1. อายุ 4-6 ปี เลือกกิ่งที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 / 2 – 2 นิ้ว
2. อายุ 7-10 ปี เลือกกิ่งที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 นิ้ว
3. อายุ 11-15 ปี เลือกกิ่งที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-8 นิ้ว

วิธีการควั่นกิ่ง

ใช้เลื่อยโค้งเล็กขนาด 1 มิลลิเมตร เลื่อยให้ทะลุเปลือกตัดเยื่อเจริญโดยรอบแล้วใช้ลวดทองแดงที่มีขนาดเสนผาศูนยกลาง 1.5 มิลลิเมตรรัด แล้วใช้คีมดึงขันลวดให้แน่นสนิทกับรอยเลื่อย หลังจากนั้น ประมาณ 30-40 วัน สังเกตดูจะเห็นส่วนบนของรอยควั่นจะโตกว่าส่วนล่างเล็กน้อยจึงแก้ลวดมัดออก
ตำแหน่งกิ่งที่ไม่ควรควั่น
- ตำแหน่งลำต้น
- ตำแหน่งกิ่งใหญ่
ข้อเสียของการควั่นกิ่งที่ไม่ถูกวิธี
1. ควั่นกิ่งที่โต หรือลำต้น ทำให้กิ่งหรือต้นตายได้
2. ควั่นโดยใช้เลื่อยโต ผิดขนาดแผลใหญ่ ทำให้แผลหายไม่สนิทหลังติดผลต้นจะโทรม
3. ใช้ลวดโตเกินไป ทำให้เกิดบาดแผลลึก ต้นจะโทรม
4. ช่วงระยะเวลาบังคับนานเกินไป ทำให้แผลมีขนาดใหญ่
5. ควั่นกิ่งขณะที่แตกใบอ่อน ทำให้ใบไม่สมบูรณ์เป็นโรคง่าย

การห่อผล
เมื่อผลลิ้นจี่เริ่มเปลี่ยนสีจากเขียวเป็นแดงเรื่อๆ หรือเริ่มจะแก่หรือก่อนเก็บเกี่ยว  20-25 วัน ควรห่อผลใช้ถุงกระดาษหรือถุงพลาสติก (ตัดปลายถุง) ห่อทั้งช่อผล ผูกปากถุงกับโคนก้านช่อให้แน่น ให้ผลทั้งช่ออยู่ในถุง

วิธีการสังเกตผลแก

เมื่อผลลิ้นจี่แก่ คือ หลังจากดอกบานประมาณ 4 เดือน หรือสังเกตจากขนาดผลโตเต็มที่ สีของผลจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีชมพูปนแดง ไหล่ผลกว้างออก ฐานของหนามที่เปลือกจะขยายออกปลายหนามแหลม ร่องหนามถ่างออกเห็นได้ชัด เนื้อแห้ง กลิ่นหอม รสหวาน เมล็ดมีสีน้ำตาลเข้มเป็นมัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น