เทคนิคการปลูกกล้วยไข่(ส่งออก)
การปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มผลผลิตที่มีคุณภาพ
สำหรับกล้วยไข่ตั้งแต่การเริ่มปลูก-การทำผลผลิตคุณภาพ
กล้วย ไข่ เป็นผลไม้ที่นิยมผู้บริโภคกันทั่วไป เนื่องจากมีรสชาติดี ลักษณะการเรียงตัวของผลและสีผลสวยสะดุดตา ปัจจุบันส่งออกจำหน่ายต่างประเทศมากขึ้น ตลาดที่สำคัญ คือ จีน และฮ่องกง
การบรรจุกล้วยไข่เพื่อส่งออก
กล้วย ไข่เป็นพืชที่สามารถปลูกได้แทบทุกภาคของประเทศ ในพื้นที่ปลูกที่มีการจัดการการผลิตเพื่อให้ได้ทั้งปริมาณ และผลผลิตตรงตามมาตรฐานคุณภาพ ตลาดต้องการ ปัญหาสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพของผลผลิตคือ การปนเปื้อนของ สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาต่อสุขอนามัยของผู้บริโภค ตลอดจนการปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อมใน ระยะยาว ดังนั้น กระบวนการผลิตจึงต้องมีการปฏิบัติอย่างถูกต้องและเหมาะสม
สภาพพื้นที่
1. พื้นที่ดอน หรือพื้นที่ราบ ไม่มีน้ำท่วมขัง
2. ความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,200 เมตร
3. มีแหล่งน้ำธรรมชาติ หรืออยู่ในเขตชลประทาน
4. การคมนาคมสะดวก
ลักษณะดิน
ดินร่วน, ดิน ร่วนเหนียว หรือดินร่วนปนทราย - มีความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำดี - ระดับน้ำใต้ดินลึกมากกว่า 75 เซนติเมตร - ค่าความเป็นกรดด่างของดินระหว่าง 5.0-7.0
สภาพภูมิอากาศ
1. อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ระหว่าง 25-35 องศาเซลเซียส
2. ปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 1,200 มิลลิเมตรต่อปี
3. ไม่มีลมแรงพัดผ่านเป็นประจำ
4. มีแสงแดดจัด
แหล่งน้ำ
1. มีน้ำใช้เพียงพอตลอดฤดูปลูก
2. เป็นแหล่งน้ำสะอาด ค่าความเป็นกรดด่างของน้ำระหว่าง 5.0-9.0
พันธุ์
กล้วย ไข่มี 2 สายพันธุ์ คือ กล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร และกล้วยไข่พระตระบอง พันธุ์ที่นิยมปลูกเป็นการค้าคือ กล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร
1. กล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร
ลักษณะ กาบใบเป็นสีน้ำตาลหรือช๊อกโกแลต ร่องก้านใบเปิดและขอบก้านใบขยายออก ใบมีสีเหลืองอ่อน ไม่มีนวล ก้านเครือมีขนขนาดเล็ก ผิวเปลือกผลบาง ผลเล็ก เนื้อมีสีเหลือง รสชาติหวาน
2.กล้วยไข่พระตะบอง
ลักษณะ กาบใบเป็นสีน้ำตาลปนดำ สีของใบเข้มกว่าสายพันธุ์กำแพงเพชร รสชาดจะออกหวานอมเปรี้ยว และผลมีขนาดใหญ่กว่ากล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร
การเตรียมดิน
1. วิเคราะห์ดิน เพื่อประเมินค่าความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารพืชในดิน และความเป็นกรดด่างของดิน ปรับสภาพดินตามคำแนะนำก่อนปลูก
2. ไถพรวน ตากดินทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน เพื่อลดการระบาดของศัตรูพืช คราดเก็บเศษวัชพืชออกจากแปลง
ฤดูปลูก
ช่วงเวลาการปลูก ในเขตภาคเหนือตอนล่าง ประมาณเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน
วิธีการปลูก
1. ปลูกด้วยหน่อใบแคบที่มีความสมบูรณ์ดี
2. เตรียมหลุมปลูกขนาด 50x50x50 เซนติเมตร
3. รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยอินทรีย์ ยักษ์เขียว สูตร 2 (แถบเขียว) อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อหลุม คลุกเคล้ากับหน้าดินรองก้นหลุมปลูกถ้ามีการไว้หน่อ (Ratoon) เพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตต่อไปอีก 1-2 รุ่น ควรรองก้นหลุมด้วยหินฟอสเฟต อัตรา 100-200 กรัม/หลุม
4. ระยะปลูก (1.5-1.75) x2 เมตร เป็นการปลูกเพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตเพียงครั้งเดียว แล้วรื้อปลูกใหม่ 2x2 เมตรเป็นการปลูกสำหรับไว้ตอหรือหน่อ (Ratoon) เพื่อที่จะเก็บเกี่ยวผลผลิตของหน่อ (Ratoon) อีก 1-2 รุ่น
5. การ ปลูก วางหน่อพันธุ์ที่หลุมปลูกให้ลึก 25-30 เซนติเมตร โดยจัดวางหน่อพันธุ์ให้ด้านที่ติดกับต้นแม่อยู่ในทิศทางเดียวกัน กลบดินลงหลุมปลูกและกดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น แล้วรดน้ำให้ชุ่ม
การปฏิบัติดูแลรักษา
การพรวนดิน ภายหลังปลูกกล้วยไข่ประมาณ 1 เดือนควรรีบทำการพลิกดินให้ทั่วทั้งแปลงปลูก เพื่อให้ดินเก็บความชื้นจากน้ำฝนไว้ให้มากที่สุด และเป็นการกำจัดวัชพืชไปด้วย ขณะที่รากกล้วยยังขยายไปไม่มากนัก
การกำจัดวัชพืช
ควรกำจัดวัชพืชปีละ 3 ครั้ง ครั้งแรกพร้อม ๆ กับการพลิกดิน ส่วนครั้งที่ 2 และ 3 ให้พิจารณา จากปริมาณวัชพืช แต่จะทำก่อนที่ต้นกล้วยตกเครือ
การให้ปุ๋ย(เทคนิคเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุน)
ครั้งแรก ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ยักษ์เขียว สูตร 2 (แถบเขียว) อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อหลุม ก่อนปลูก
ครั้งที่ 2 (หลังจากปลูก 1 เดือน) ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 150 กรัมต่อต้น
ครั้งที่ 3 (หลังจากปลูก 3 เดือน) ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ยักษ์เขียว สูตร 2 (แถบเขียว) อัตรา 0.5 กิโลกรัมต่อต้น
ครั้งที่ 4 (หลังจากปลูก 5 เดือน) ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ยักษ์เขียว สูตร 2 (แถบเขียว) อัตรา 0.5 กิโลกรัมต่อต้น+ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 อัตรา 100 กรัมต่อต้น
ครั้งที่ 5 (หลังจากปลูก 7 เดือน) ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ยักษ์เขียว สูตร 2 (แถบเขียว) อัตรา 0.5 กิโลกรัมต่อต้น+ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 อัตรา 100 กรัมต่อต้น
วิธีการใส่
ใส่ปุ๋ยโดยโรยห่างจากต้นประมาณ 30 เซนติเมตร หรือใส่ลงในหลุมลึกประมาณ 10 เซนติเมตร 4 ด้าน แล้วพรวนดินกลบ
การให้น้ำ
- ในฤดูฝน เมื่อฝนทิ้งช่วง เมื่อสังเกตหน้าดินแห้งและเริ่มแตก ควรรีบให้น้ำ
- ในฤดูแล้ง เริ่มให้น้ำตั้งแต่หมดฝน ประมาณปลายเดือนมกราคม-พฤษภาคม
เทคนิคที่ควรทราบ
การพูนโคน
โดย การโกยดินเข้าสุมโคนกล้วย ช่วยลดปัญหาการโค่นล้มของต้นกล้วยเมื่อมีลมแรง โดยเฉพาะต้นตอที่เกิดขึ้นระยะหลังโคนจะลอยขึ้นทำให้กล้วยโค่นล้มลงได้ง่าย
การแต่งหน่อ
เครื่องมือที่ใช้ในการแต่งหน่อ คือ มีดยาวปลายขอ ชาวบ้านเรียกว่า มีดขอ การแต่งหน่อทุกครั้ง โดยเฉือนเฉียงตัดขวางลำต้นเอียงทำมุม45 องศากับลำต้นโดยครั้งแรก เฉือนให้รอบเฉือนด้านล่างอยู่สูงจากโคนต้นประมาณ 4-5 นิ้ว หลังจากนั้นอีกประมาณ20-30 วัน จึงเฉือนหน่อครั้งที่2 ให้รอบเฉือนครั้งใหม่อยู่ทิศทางตรงข้าม กับรอยเฉือนครั้งก่อน และให้รอยเฉือน มุมล่างสุดครั้งใหม่อยู่สูงจากรอยเฉือนมุมบนครั้งก่อน 4-5 นิ้ว ทำการแต่งหน่อเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่า จะถึงเวลาที่เหมาะสม(เมื่อหน่อหลักอายุประมาณ 8-9 เดือน) ก็จะปล่อยหน่อรองให้เจริญเติบโตเป็นกล้วยตอต่อไป หรืออาจขุดหน่อไว้สำหรับปลูกใหม่หรือขายก็ตาม
การตัดแต่งและการไว้ใบ
การไว้ใบกล้วยไข่ในระยะต่าง ๆ มีผลอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโต การปฏิบัติดูแลรักษาปัญหาโรค และแมลง ตลอดจนผลผลิต และคุณภาพผล
- ในช่วงแรกระยะการเจริญเติบโต ควรไว้จำนวน 12 ใบ ถ้ามากกว่านี้ จะมีปัญหาทำให้การปฏิบัติดูแลรักษาทำได้ยากลำบาก โรคแมลงจะมากขึ้นเกิดการ แย่งแสงแดด ลำต้น จะสูงบอบบางไม่แข็งแรง เกิดการหักล้มได้ง่าย ในทางตรงข้ามถ้าจำนวนใบ มีน้อยเกินไปจะทำให้การเจริญเติบโต ไม่ดี ลำต้นไม่สมบูรณ์ ดินสูญเสียความชื้นได้เร็ว ปัญหาวัชพืชจะมากขึ้นภายหลัง
- กล้วยตกเครือ แล้วควรตัดแต่งใบออก เหลือไว้เพียงต้นละ 9 ใบ ก็พอ ถ้าเหลือใบไว้มากจะทำให้ต้นกล้วยรับน้ำหนักมาก จะทำให้เกิดการหักล้มได้ง่าย
- ระยะ กล้วยมีน้ำหนักเครือ มากขึ้น และถ้าหากตัดแต่งใบออกมากเกินไป เหลือจำนวนใบไว้น้อย จะทำให้บริเวณคอเครือและผลกล้วยถูกแสงแดดเผา เป็นเหตุให้กล้วยหักพับบริเวณ คอเครือก่อนเก็บเกี่ยว และผลเสียหายไม่สามารถนำไปขายได้
การห่อเครือสำหรับกล้วยไข่ส่งออก
เมื่อกล้วยเริ่มติดเครือ ประมาณ 2-3 หวี ให้นำถุงพลาสติดห่อ เพื่อป้องกันแสงแดดเผา และป้องกันเชื้อรา ที่มักเข้าทำลายผิวในช่วงหน้าฝน หรือในสวนที่มีการรดน้ำขึ้นยอด ก่อนการห่อให้โน้มใบกล้วยประมาณ 1 ใบ มา ปิดแล้วจึงสวมด้วยถุงพสาติก ก่อนห่อควรฉีดพ่นสารชีวภัณฑ์ป้องกันและกำจัดโรครา(ไตรโคแม็ก) บริเวณผลให้ทั่ว เพื่อรักษาคุณภาพผิวให้ดี มัดด้านบนให้เรียบร้อย หลังจากนั้นเมื่อกล้วยติดจนสุดแล้ว จึงตัดปลีทิ้ง
ลักษณะภายในถุงห่อหลังห่อเครือกล้วย
การค้ำเครือ
เมื่อกล้วยตกเครือจะมีน้ำหนักมาก จึงควรมีการป้องกันลำต้นหักล้ม ซึ่งกระทำได้โดยการปักหลัก ผูกยึดติดกับลำต้น
การ ปักหลักต้องปักลงไปในดินให้แน่นทิศทางตรงข้ามกับเครือกล้วยให้แนบชิดกับลำ ต้นกล้วยมาก ที่สุดเท่าที่จะทำได้ ผูกยึดลำต้นกล้วยให้ตรึงกับไม้หลักสัก 3 ช่วง ดังนี้ คือบริเวณช่วงโคนต้น กลางต้น และคอเครือโดยใช้ปอกล้วยหรือปอฟางก็ได้ ถ้าใช้ไม้รวกสำหรับค้ำเครือควรจะนำไปแช่น้ำ 15-20 วัน เสียก่อนแล้วนำมาตากแดดให้แห้งจึงค่อยนำไปใช้ โดยทั่วไปหากบำรุงปุ๋ยต้นกล้วยตามคำแนะนำแล้ว ลำต้นจะอวบสูง ตกเครือใหญ่ ได้จำนวนหวีมาก แนะนำให้ใช้ ไม้ไผ่ขนาดยาว 9 ศอก ในการค้ำ จะสามารถรับน้ำหนักและป้องกันการหักโค่นได้ดี
การตัดปลี
ขนาดของผลที่มีความสมบูรณ์ เมื่อได้รับการบำรุงอย่างถูกต้อง
กล้วยไข่ที่มีการเจริญเติบโตและสมบูรณ์ หลังจากปลูก 7-8 เดือน ก็จะแทงปลีแต่ถ้าการเจริญเติบโต และความสมบูรณ์ไม่ดี การแทงปลีก็จะช้าออกไปอีก ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มแทงปลีจนถึงปลีคล้อยตัวลง มาสุดจะ ใช้เวลาประมาณ 7 วัน หลังจากนั้นปลีจะบาน ระยะเวลาตั้งแต่ปลีเริ่มบานหวีแรกจนสุด หวีสุดท้ายจะใช้เวลาอีกประมาณ 7 วัน รวมระยะเวลาตั้งแต่ออกปลี จนสามารถตัดปลีทิ้งประมาณ 15 วัน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้นกล้วยและช่วงฤดูที่กล้วยตกปลี
การขนถ่ายหลังเก็บเกี่ยว ในร่องสวน
การเก็บเกี่ยว
ปกติหลังจากตัดปลีแล้วประมาณ 45 วัน เป็นเวลาที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยว
ถ้า ปล่อยไว้นานกว่านี้ผลกล้วยอาจแตก และสุกคาต้น หรือที่ชาวสวนเรียกว่ากล้วยสุกลม รสชาติไม่อร่อย สีของผิวกระด้างไม่นวลสวยเหมือนที่นำไปบ่ม
กล้วยไข่ที่ตกเครือในช่วงฤดูหนาว ซึ่งผลจะแก่ช้ามีผลทำให้อายุการเก็บเกี่ยวต้องยาวนาน ออกไปถึง 50-55 วัน หลังตัดปลี
การเก็บเกี่ยวต้องมีการรองวัสดุเพื่อป้องกันการกระแทก ไม่ให้กล้วยช้ำ เพื่อคุณภาพที่ดี ก่อนถึงมือผู้บริโภค
กล้วยไข่ที่จัดการเรียบร้อย พร้อมบรรจุลงกล่อง เพื่อการส่งออกไปฮ่องกง
ข้อเปรียบเทียบหลังจากใช้ผลิตภัณฑ์ ตามคำแนะนำเป็นประจำ
1. กล้วยไข่จะเจริญเติบโตได้ดี ติดผลมาก จำนวนหวีต่อเครือมาก น้ำหนักดี ผลไม่แตกง่าย
2. การใช้ ปุ๋ยอินทรีย์ ตรายักษ์เขียว ร่วมกับปุ๋ยเคมี จะสามารถลดต้นทุน การใช้ปุ๋ยลงอีกประมาณ 20-50% และผลผลิตที่ได้มีคุณภาพดีกว่า
3. การใช้ ปุ๋ยอินทรีย์ “ยักษ์เขียว” ร่วมด้วยเป็นประจำ จะทำให้ต้นทุนปุ๋ยและสารทางดินต่อชุดการผลิต ลดลงได้ประมาณ 30-50 % โดยที่ผลผลิตที่ได้ยังเป็นปกติหรือดีกว่าเดิม และสังเกตได้ว่าสารอินทรีย์ในเนื้อปุ๋ยทำให้สภาพดินดีขึ้น ดินโปร่ง อุ้มน้ำได้ดี ต้นทนแล้งได้ดีขึ้น และพืชตอบสนองต่อการให้ปุ๋ยทางดินดีกว่าเดิม ในระยะยาวปัญหาเรื่องโรคทางดินน้อยกว่าแปลงข้างเคียงที่ไม่ได้ใช้ ผลในทางอ้อม เนื่อง จาก ยักษ์เขียว เป็นสารอินทรีย์แท้ จึงกระตุ้นจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ให้ย่อยปุ๋ย(เคมี)ที่ตกค้างในดินทำให้ รากพืชสามารถดูดซึมกลับไปใช้ได้ ธาตุอาหารในดินจะสมดุลมากกว่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น