วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553

คู่มือการปลูกลำไย


1. การเตรียมแปลงปลูกและดินสำหรับการปลูก
1.    หากที่ดินแปลงปลูกมีขนาดใหญ่ ควรเริ่มปรับพื้นที่หรือเตรียมดินในฤดูแลง และควรจัดพื้นที่ขุดบ่อน้ำ  สำหรับกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง
2.    ไถดินเพื่อปรับสภาพแปลงปลูก รื้อสิ่งกรีดขวางออก เพื่อพื้นที่มีสภาพโล่ง
3.    วัดแนวเขตพื้นที่ (กว้าง-ยาว) และทำแผนที่ของดินแปลงที่ปลูก
4.    คำนวณจำนวนต้นและเลือกระยะปลูก ตามความต้องการ โดยยึดหลักดังนี้
ควรวาง แถวของต้น อยู่ในแนวทิศเหนือ-ใต้ 
มาตรฐานของการปลูก ระยะต้น*ระยะแถว คือ พื้นราบ 5.5*5.5หรือ 6*6 เมตร ร่องน้ำ 5*8 6*9 เมตร
คำนวณจำนวนกิ่งพันธุ์หรือต้นพันธุ์ที่ต้องการใช้ในการปลูก (ควร + เพิ่ม 2%)
กำหนดจำนวนแถว วางแนวและตำแหน่งของต้นที่จะปลูกในพื้นที่จริง
5.    ไถพรวนดิน ยกแนวปลูกให้เป็นร่องลูกฟูกหรือฟันดินพูนเป็นโขด (กระทะคว่ำ)ร่องลูกฟูกหรือโขดควรสูงจากพื้นดินเดิมอย่างน้อยประมาณ 50-75 ซม. 
6.    ย่อยดินตรงบริเวณที่จะปลูกให้ละเอียดเหมาะสมต่อการปลูกพืช
7.    ปรับปรุงสภาพดินของแนวรองปลูกหรือบริเวณโขดที่จะปลูกดวยปุยหมักหรือปุยคอกเกา
8.    ปักไม้รวก (ยาวประมาณ 50-60 ซม.) ตรงบริเวณจุดกำหนดหรือโขดที่จะปลูก ให้แต่ละจุดที่จะปลูกต้นในแต่ละแถวปลูก อยู่ในแนวที่ตรงกัน
9.    หากดินที่จะปลูกเป็นดินร่วนปนทราย ควรจัดเตรียมเศษพืชหรือฟางเพื่อการคลุมดิน รักษาความชื้น
10. เก็บตัวอย่างดินบริเวณที่จะปลูก ส่งหน่วยงานเพื่อวิเคราะห์ความเป็นกรดเป็นด่าง โครงสร้างของดิน ปริมาณอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารที่จำเป็น
2. การเตรียมต้นพันธุ์
1.               หากเลือกใช้ต้นพันธุ์เป็นกิ่งตอน ควรพิจารณาดังนี้
เป็นกิ่งตอนจากแหล่งหรือผู้ขายที่เชื่อถือได
            ต้นแม่ต้องแข็งแรง มีลักษณะที่ดีตรงตามสายพันธุ์
            ต้นแม่ควรมีอายุมากกว่า 8-9 ปีขึ้นไป
            กิ่งตอน ควรเป็นกิ่งที่ตั้งหรือตั้งตรงทีมีอายุ 1-1.5 ปี กิ่งแข็งแรง กลม -ไม่มีหนาม สี เขียวอมน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอมเขียว มีรากออกโดยรอบขวั้น
            ความสูงของกิ่งตอน 45-55 ซม. (ไม่ควรเกิน 60 ซม.)
            กิ่งตอนไม่ควรเพาะชำอยู่ในถุงนานเกิน 6 เดือน
2.               หากเลือกใช้ต้นพันธุ์เป็นต้นตอที่ติดตาหรือเสียบยอด ควรเลือกที่มีลักษณะดังนี้
            ต้นพันธุ์ได้จากแหล่งหรือผู้เชื่อถือได 
            ต้นพันธุ์แข็งแรงมีลักษณะที่ดีตรงตามสายพันธุ์
            ต้นพันธุ์ไม่ควรปลูกอยู่ในถุงเพาะชำ ภายหลังการติดตาหรือเสียบยอดเกินกว่า 1 ปี
3.  ระยะเวลาปลูกและวิธีการปลูกที่เหมาะสม
            สามารถเลือกเวลาปลูกเมื่อใดก็ได ถ้าแปลงปลูกมีการติดตั้งระบบน้ำชลประทาน
            ควรปลูกในเดือนกรกฎาคม ถึง เดือนตุลาคม หากอาศัยน้ำฝนโดยไม่มีแหล่งน้ำ
            กิ่งหรือต้นพันธุ์ที่จะนำลงปลูกควรเป็นระยะใบแก่ (ไม่ควรมีใบอ่อน) หากเป็นกิ่งตอนควร ให้ปลายรากมีสีเหลืองหรือสีนวล
            ต้นพันธุ์ที่มีรากขดงอโดยเฉพาะรากใหญ่ หากไม่สามารถจัดระบบรากได้ ไม่ควรนำลงปลูก
            อย่าปลูกต้นพันธุ์ลึก ควรปลูกและกลบหน้าดินให้เสมอขั้วบนของกิ่งตอน หรือเสมอระดับ หน้าดินเดิมของถุงเพาะชำ
            ควรปลูกโดยจัดให้ลําต้นหลักของต้นพันธุ์ตั้งตรงระวังอย่าให้ต้นลำไยโยกคลอน ปักหลักไม้รวกและผูกยึดต้นให้แน่น
            ควรหาฟางข้าวหรือเศษพืชคลุมดินบริเวณโขดที่ปลูก โดยเฉพาะในดินร่วนหรือดินปนทราย
4.  การดูแลและการทำงาน (หลังปลูก -ต้นอายุ 1 ปี)
            ผูกยึดตนใหแนนกับหลักไมรวกที่ปกไวเพื่อปองกันไมใหตนโยกคลอน
            มีการจัดร่มเงาให้ต้นลำไย  ในระยะแรกโดยอาจใช้ทางมะพร้าวปักพรางแสง เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นได้รับแดดจัดเกินไปในช่วงแรก
            ต้องให้น้ำแก่ต้นที่ปลูกใหม่อย่างสม่ำเสมอและเพียงพอ ระวังอย่าให้ต้นขาดน้ำ
            หากต้องการให้ปุ๋ยทางดินแก่ต้น ควรเลือกใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ตรายักษ์เขียว อัตรา 3-5 ขีด(300-500 กรัม) ใส่ทุก ๆ 30 วัน
            ควรให้ปุ๋ยไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) พ่นทางใบให้กับต้นลำไย เดือนละ 1-2 ครั้ง
            ในฤดูแล้ง ควบคุมบริเวณทรงพุ่มด้วยเศษพืช ฟางข้าว ต้นถั่ว เปลือกถั่ว
            ระวังการทำลายของแมลงค่อมทอง หนอนต่าง ๆ  และเพลี้ยในระยะยอดและใบออน
            ตั้งแต่ต้นอายุ 12 เดือนขึ้นไป ควรตัดแต่งกิ่งกระโดง กิ่งแห้งและกิ่งเป็นโรค
            ห้ามอย่าฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดวัชพืชใกล้บริเวณโคนต้นหรือทรงพุ่ม
            ระวังการทำลายของโรคราดำในฤดูฝน
            ควรใช้วัสดุปรับปรุงคุณภาพของดิน เช่น อินทรียวัตถุ ปูน ให้เหมาะสมกับชนิดของดิน
            ปลูกซ่อมแซมต้นที่ตายหรือไม่แข็งแรง โดยใช้พันธุ์ที่สมบูรณ์แข็งแรง
            หากแปลงปลูกอยู่ในสภาพที่โล่ง ใกล้นาข้าว ที่รกร้าง ควรรีบปลูกพืชล้อมที่หรือพืชกำบังลม ภายหลังจากที่ปลูกแล้ว
            หากต้องการปลูกต้นไม้อื่นเป็นพืชเสริมรายได้ ให้เลือกชนิดที่เหมาะสมกับลำไยที่ปลูก
5.  การดูแลและการทำงาน (ต้นอายุ 1-3 ปี)
            ให้เริ่มสร้างทรงพุ่ม โดยมีลำต้นหลักเพียงลำต้นเดียวและมีกิ่งใหญ่ 4-5 กิ่ง
            ควบคุมให้แตกยอดอ่อนเป็นรุ่นหรือเป็นชุดพร้อม ๆ กันตั้งแต่ต้นลำไยอายุ 1 1/2  ปี
            บังคับการแตกยอดอ่อนให้มีการแตกตาข้างมากกว่าการแตกตายอด (โดยการตัดแต่ง)
            การ แตกยอดสามารถบังคับให้เกิดได้ ทุก ๆ 45-60 วันโดยอาศัยวิธีการให้น้ำเป็นระยะ ๆ และฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) ทุก ๆ 45-60 วัน หรือตามที่เอกสารแนะนำ 
            ขนาดของใบควรได้มาตรฐาน ใบหนา สีเขียวเข้ม เป็นมันเงา ไม่บิดงอ ไม่แสดงอาการขาดธาตุอาหาร
            การให้ปุ๋ยทางดินควรเริ่มปรับเป็นการให้ 30-45 วัน/ครั้ง และอาจให้สลับระหว่างปุ๋ยเคมี สูตร 25-7-7และ ปุ๋ยอินทรียตรายักษ์เขียว อัตรา ½ - 1 กิโลกรัม หรือใส่ร่วมกันในอัตรา 1:1  ส่วนปริมาณมากน้อยขึ้นอยู่กับขนาดทรงพุ่ม
            เริ่ม ไว้ผลครั้งแรกเมื่อต้นอายุประมาณ 36-48 เดือน โดยในช่วงฤดูหนาว เมื่ออากาศหนาวติดต่อกันประมาณ 3 อาทิตย์ ลำไยจะเริ่มแทงยอดอ่อน ให้ใช้ไบโอเฟอร์ทิล (สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) ฉีดพ่นตามอัตราที่แนะนำ  3-4 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน ลำไยจะติดดอกได้ดี  เมื่อติดผลครั้งแรก ควรปลิดช่อผลทิ้งบ้างกะประมาณให้เหลือไว้ถึงตอนเก็บผลแค่ 10-15  กิโลกรัม/ต้น เพื่อไม่ให้ต้นโทรมเร็ว
            ในการกระตุ้นดอก เมื่อต้นลำไยเริ่มแทงช่อดอก ให้ค่อย ๆ เพิ่มการรดน้ำจนสู่ระดับปกติ  และรดน้ำอย่างเพียงพอ
6.  การดูแลการทำงานต้นลำไยที่เริ่มให้ผลผลิตแล้ว
            การ ตัดแต่งกิ่งให้ตัดแต่งกิ่งกระโดงที่ยาวและมีหนาม กิ่งแห้ง กิ่งบิดไขว้ กิ่งเป็นโรคหรือถูกแมลงทำลาย ควรเริ่มตัดแต่งได้หลังจากเก็บเกี่ยวเสร็จ  
            หลังเก็บเกี่ยว ควรบำรุงให้ลำไยแตกใบใหม่ประมาณ 3 ชุด จึงจะสามารถทำผลผลิตชุดใหม่ได้
            บังคับ ให้ต้นลำไยแตกยอดใบอ่อนเป็นชุดพร้อม ๆกัน โดยการใช้ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) ฉีดพ่นทางใบตามคำแนะนำ ส่วนทางดิน ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ตรายักษ์เขียว ร่วมกับปุ๋ยเคมี สูตร 25-7-7 ในอัตราส่วน 1:1  
            ก่อนการบังคับการออกดอก(ในฤดู) หรือก่อนราดสารคลอเรทประมาณ 1 เดือน  ให้ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบสูตร 0-52-34 อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร อย่างน้อย 2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน เพื่อยับยั้งใบอ่อน ทำให้ต้นสะสมอาหารพร้อมออกดอก
            การราดสารคลอเรทเพื่อทำลำไยยอกฤดูนั้น ไม่ควรทำในต้นลำไยที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นลำไยโทรมเร็ว(โรคหงอย)
       การราดสารคลอเรทนั้น ไม่แนะนำให้เพิ่มสารในปริมาณที่มากเกินไป เพราะจะทำให้ลำไยเป็นโรคหงอยหรือโทรมเร็ว  การราดสารให้เทียบตามอายุดังนี้
             
อายุต้นลำไย(ปี)
อัตราการใช้สารคลอเรท(กรัม)
5-10 ปี
250 500
10-15 ปี
500 1000
15 ปีขึ้นไป
1000 1500 
   
    การราดสารนั้นให้ผสมกับน้ำ และราดบริเวณทรงพุ่มเป็นวงกว้างประมาณ 0.5 เมตรโดยรอบ  ห้ามราดบริเวณโคนต้น การราดให้ราดห่างจากโคนต้น ประมาณ 1 เมตร ราดเป็นวงอย่าให้ซ้ำพื้นที่กันโดยให้สลับวงทุก ๆ ปี  ราดในช่วงดินแห้ง หลังราดสารให้รดน้ำตามปกติ โดยให้ไม่แห้งและไม่แฉะเกินไป เพื่อให้รากดูดซึมสารได้อย่างเต็มที่


หมายเหตุ ช่วงของการราดสารที่ ต้องคำนึงถึงขนาดทรงพุ่ม,สภาพอากาศและปัจจัยแวดล้อมอื่นเพิ่มเติมด้วย เช่น หากราดแล้วมีฝนตกซ้ำ จะทำให้การราดบังคับไม่ได้ผล เพราะสารส่วนใหญ่ถูกน้ำฝนชะล้างไป  อาจต้องพักไปซักระยะ ค่อยราดต้นที่ไม่ออกช่อใหม่, ฯลฯ
          ปัจจุบันมีบางพื้นที่การประยุกต์ใช้สารคลอเรท ฉีดพ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับการติดดอก  โดยสามารถฉีดพ่นไปพร้อมกับการราดสารทางดิน โดยอาจลดปริมาณสารที่ใช้ทางดินลงประมาณ 10-20%  การ ฉีดพ่นสารคลอเรททางใบ แนะนำให้ใช้อย่างระมัดระวังและผสมในปริมาณความเข้มข้นที่ต่ำ เพราะหากผสมเข้มข้นเกินไป จะทำให้ใบลำไยไหม้ ต้นลำไยตายได้ในทันที
หลังราดสารประมาณ 30 วัน ลำไยจะเริ่มแทงช่อดอก ให้ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง)ทางใบเพื่อกระตุ้นดอก อัตรา 30 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นตามคำแนะนำ ก็จะได้ช่อดอกยาว ขั้วดอกเหนียว ติดผลมาก  และเมื่อติดผลขนาดเท่าหัวไม้ขีด ให้ผสมไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตรา 1 ลิตรต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นบริเวณผิวดินที่ได้ทำการราดสาร และใส่ปุ๋ยคอกเพื่อปรับสภาพดิน จะช่วยล้างสารคลอเรทได้รวดเร็ว และรากฟื้นตัวเร็ว สามารถดูดซึมปุ๋ยทางดินได้ดีขึ้น และยังทำให้สามารถราดสารได้ผลดีติดต่อกันทุก ๆ ปี
7.  การดูแลผลผลิต
    หาก ต้นลำไยได้รับการดูแลปฏิบัติตามข้อ 6 แล้ว ต้นจะสมบูรณ์มากทำให้มีดอกและผลติดมาก เมื่อผลอายุได้ 1-2 เดือน ให้ซอยหรือตัดผลที่เบี้ยว เป็นแผล และมีแมลงเข้าทำลายออก และหากติดดกมากให้ตัดปลายช่อออกบ้างเพื่อให้ผลมีขนาดใหญ่เสมอกัน  และฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล(สูตรเร่งขนาดผล) ทุก 10-15 วัน โดยปกติจะกะประมาณให้ต้นลำไยมีผลผลิต(ตอนเก็บเกี่ยว) 150 - 300 กิโลกรัมขึ้นอยู่กับอายุและขนาดของต้นลำไย
การรักษาคุณภาพที่ดีของผลและต้นลำไย
1.  ระมัด ระวังการทำลายของหนอนกินดอก ไรลำไย มวนลำไย แมลงค่อมทองและเพลี้ยตั้งแต่ระยะเริ่มผลดอก ระยะดอกอ่อน -ดอกตูม -กลีบ ดอกโรย ถึงระยะผลอ่อนอายุ 2 เดือน ช่วงนี้แนะนำให้ฉีดพ่น เมทา-แม็ก เพื่อควบคุมและกำจัดเป็นประจำ
2.  ระวังการทำลายของโรคราดำ (โดยเฉพาะในฤดูฝน)และโรคพุ่มไม้กวาด ทุกช่วงของลำไย
3.  ระวังการทำลายของหนอนม้วนใบ,หนอนกินใต้ผิวเปลือก ในช่วงแตกใบอ่อน
4.  ระวังการทำลายของ เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง ในช่วงอากาศแห้ง
5. อย่าปล่อยให้ผลติดต่อช่อมากเกินไป เพราะจะทำให้ผลลำไยมีขนาดเล็กและขนาดผลไม่สม่ำเสมอ  โดยแนะนำให้ตัดแต่งช่อโดยเฉพาะช่วงปลายช่อ ซึ่งผลมักจะมีขนาดเล็ก

ตารางสรุปการให้ปุ๋ยในลำไย(แบบอินทรีย์+เคมี)
ช่วงเวลา
ทางดิน
ทางใบ
หลังเก็บเกี่ยวและตัดแต่งกิ่งแล้ว
ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ยักษ์เขียวสูตร 1 (แถบทอง) 2 ส่วน+ ปุ๋ยเคมี 1 ส่วน ผสมเข้ากัน ใส่อัตรา 0.3-1 กิโลกรัมต่อต้น ตามขนาดของทรงพุ่ม
ในช่วงนี้อาจเสริมด้วยปุ๋ยคอก เช่น ขี้หมู ด้วยก็ได้
ไบโอเฟอร์ทิล สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง อัตรา 30 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร(0.3 ลิตรต่อน้ำ 200 ลิตร)+อาหารเสริม ออล-วัน100” อัตรา 10 ซีซีฉีดพ่นทุก ๆ 10-14 วัน ประมาณ 5-6 ครั้ง
เตรียมต้นสะสมอาหาร(ก่อนราดสารหรือก่อนฤดูหนาว)

ปุ๋ยสูตร 0-52-34  อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 2 ครั้ง ห่างกัน 10-14 วัน ช่วยบังคับต้นให้สะสมอาหาร ไม่ให้แตกใบอ่อน
เริ่มแทงช่อดอก เร่งช่อยาว

ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง อัตรา 30 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร(0.3 ลิตรต่อน้ำ 200 ลิตร)ฉีดพ่นทุก ๆ 7-10 วัน ประมาณ 4-6 ครั้ง
เริ่มติดผล(เม็ดดำ) จนถึงเก็บเกี่ยว
-      ใส่ปุ๋ยยักษ์เขียว สูตร 1 (แถบทอง) 2 ส่วน+ ปุ๋ยเคมี 1 ส่วน ผสมเข้ากัน ใส่อัตรา 0.5-1 กิโลกรัมต่อต้น ตามขนาดของทรงพุ่ม ใส่เป็นประจำ ทุก ๆ 30-40 วัน
ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล สูตรเร่งขนาดผล อัตรา 30-50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 10-14 วัน จนถึงเก็บเกี่ยว
ช่วงก่อนเก็บเกี่ยวประมาณ 1 เดือน ฉีดพ่นเสริมด้วยแคลเซียมโบรอน แคล-แม็ก อัตรา 20-30 ซีซี+อาหารเสริม คีเลทอัตรา 5 กรัมหรือ ออลวัน 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ทำให้ผลสีสวย และเปลือกหนา ไม่แตกง่าย

การป้องกันโรคและแมลง
เพลี้ยหอย  ชื่อวิทยาศาสตร์ Coccus hesperidium Linnaeus, Parlatonia riziphus Lucus, Aonidiella aurantii Haskell,Lepidosaphes sp  เพลี้ย หอยมีรูปร่างเป็นรูปไข่ แบน ดูคล้ายเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีสันตามความยาวของลำตัว 2-3 สัน ในเพศผู้มีความยาว 1 มม. มีสีดำ และขาว รูปร่างยาวจนเกือบกลม
ลักษณะการทำลาย
การ ทำลายทั่วไปนอกจากจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบ กิ่ง ผล ถ้าระบาดรุนแรงกิ่งจะแห้งตาย ใบร่วง และเพลี้ยหอย,เพลี้ยแป้งจะถ่ายมูลออกมาทำให้เกิดราดำปกคลุม เป็นอุปสรรคต่อการสังเคราะห์แสงของใบ และถ้าปกคลุมที่ผลทำให้คุณภาพด้อยลงขายไม่ได้ราคา
ศัตรูธรรมชาติ
1. หนอนผีเสื้อ Antoba coccidiphaga
2. ด้วงเต่า Menochilus sexmaculatus,Coccinella transversalio
การป้องกันกำจัด
วิธีกล ตัดแต่ง กิ่ง ผล ใบ ที่มีเพลี้ยหอยหนาแน่นทิ้ง
ชีววิธี อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ ใช้ เมทา-แม็ก ผสม white oil 30 ซีซี และสารจับใบ ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นเพื่อกำจัดในช่วงเวลาเย็นเพื่อกำจัด

เพลี้ยแป้ง ชื่อวิทยาศาสตร์ Pseudococcus sp.
รูปร่างลักษณะ    เพลี้ย แป้งตัวเต็มวัยตัวเมียมีขนาดลำตัวยาวประมาณ 3 มม. สีเหลืองอ่อน ลักษณะอ้วนสั้นมีผงสีขาวปกคลุมลำตัว วางไข่เป็นกลุ่ม ๆ ละ 100-200 ฟองบนผล กิ่ง และใบ ตัวเมียหนึ่งตัวสามารถวางไข่ได้ 600-800 ฟอง ในเวลา 14 วัน ไข่จะฟักอยู่ในถุงใต้ท้องตัวเมียประมาณ 6 - 10 วัน จึงจะออกเป็นตัวอ่อน ตัวอ่อนที่ฟักออกจากไข่ใหม่ ๆ มีสีเหลืองและไม่มีผงสีขาว จะคลานออกจากกลุ่มไข่หาที่เหมาะสมที่จะกินอยู่ ตัวเมียจะมีการลอกคราบจำนวน 3 ครั้ง ด้วยกันและไม่มีปีก ส่วนตัวผู้จะลอกคราบ 4 ครั้ง มีปีกและมีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย ตัวเมียจะวางไข่ภายหลังจากการลอกคราบครั้งที่ 3 ภายในเวลา 1 ปี เพลี้ยแป้งสามารถขยายพันธุ์ได้ 2 - 3 รุ่น ในระยะที่ไม่มีพืชอาหารหลัก เพลี้ยแป้งจะอาศัยอยู่ใต้ดินตามรากพืช เช่น รากหญ้าแห้วหมู โดยมีมดซึ่งอาศัยกินสิ่งขับถ่ายของเพลี้ยแป้งเป็นพาหะนำไป
ลักษณะการทำลาย  เพลี้ย แป้งดูดกินน้ำเลี้ยงจากบริเวณกิ่ง ใบ ช่อดอก ผลอ่อน ผลแก่ มีมดเป็นพาหะช่วยพาไปตามส่วนต่าง ๆ ของพืช ส่วนของพืชที่ถูกทำลายจะแคระแกรนและเกิดราสีดำ
การแพร่กระจายและฤดูกาลระบาด  ปัจจุบันพบการระบาดตลอดทั้งปี
ศัตรูธรรมชาติ

แตนเบียนเพลี้ยแป้ง Unidentified sp. ด้วงเต่าปีกลายหยัก Menochilus sexmaculatus ด้วงเต่าโรโดเลีย Rodolia sp. ด้วงเต่าสคิมนัส Scymnus sp. ด้วงเต่าฮอร์โมเนีย Harmonia octomaculata ด้วงเต่าสีส้ม Micraspis sp. แมลงช้างปีกใส Chrysopa sp. แมลงช้างปีกใสแปดจุด Ankylopteryx octopunctata แมลงช้างปีกสีน้ำตาล Hemerobius sp. ต่อหลวง ต่อรัง Vespidae
การป้องกันและกำจัด
ชีววิธี
อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติไว้ควบคุมเพลี้ยแป้งตามธรรมชาติ :
ใช้ เมทา-แม็ก ผสม white oil 30 ซีซี และสารจับใบ ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นเพื่อกำจัดในช่วงเวลาเย็นเพื่อกำจัด

เพลี้ยไฟ  ชื่อวิทยาศาสตร์ Scirtothirps dorsalis, Thrips hawaiiensis  มักพบการระบาดในช่วงอากาศแห้ง โดยเฉพาะช่วงเดือน พฤศจิกายน ถึง เมษายน
ลักษณะการทำลาย
ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อน ดอก และผล การทำลายรุนแรงอยู่ในระยะติดช่อดอกจนถึงผลอ่อน
ศัตรูธรรมชาติ
1. แมงมุม
2. เพลี้ยไฟตัวห้ำ
การป้องกันกำจัด
วิธีกล ฉีดพ่นน้ำล้างบริเวณช่อดอกช่อใบในช่วงเวลาเย็น
ชีววิธี อนุรักษ์ธรรมชาติ  หากพบการระบาดให้ใช้ เมทา-แม็ก ผสม white oil 30 ซีซี และสารจับใบ ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นเพื่อกำจัดในช่วงเวลาเย็นเพื่อกำจัด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น