แผนการปฏิบัติงานเพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตที่มีคุณภาพ
สําหรับสวนทุเรียนตั้งแต่การเริ่มปลูก-การทำผลผลิตคุณภาพ
การปลูกทุเรียนแบบขุดหลุมปลูก
- ขุดหลุมมีขนาดกว้างยาว และลึกด้านละ 50 เซนติเมตร
- ผสมวัสดุปรับปรุงดิน "ยักษ์เขียว"สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง) ประมาณ 1-2 กิโลกรัม และปุ๋ยหินฟอสเฟตครึ่งกิโลกรัม คลุกเคล้ากับดินที่ขุดขึ้นมา กลบกลับคืนไปในหลุมสูงประมาณ 2 ใน 3 ของหลุม
- เตรียมต้นกล้าที่แข็งแรงสมบูรณ์ ไม่เป็นโรค ไม่มีแมลงทำลาย และมีใบยอดคู่สุดท้ายแก่ ระบบรากแผ่กระจายดี ไม่ขดม้วนงออยู่ก้นถุง
- ใช้มีดกรีดก้นถุงออก ถ้าพบรากขดงออยู่ก้นถุงให้ตัดออก
- วาง ถุงต้นกล้าที่ตัดก้นถุงออกแล้ว วางลงตรงกลางหลุมจัดให้ตรงแนวกับต้นอื่นๆพร้อมทั้งปรับระดับสูงต่ำของต้น ทุเรียนให้รอยต่อระหว่างรากกับลำต้นหรือระดับดินปากถุงเดิมสูงกว่าระดับดิน ปากหลุมเล็กน้อย
- ใช้มีดกรีดด้านข้างถุงจากล่างขึ้นบนทั้งสองด้าน
- ดึงถุงพลาสติกออก ระมัดระวังอย่าให้ดินในถุงแตก
- กลบดินที่เหลือลงไปในหลุมอย่ากลบดินสูงถึงรอยเสียบยอดหรือรอยทาบ
- ปักไม้หลักข้างต้นทุเรียนที่ปลูกแล้ว พร้อมทั้งผูกเชือกยึดไว้เพื่อป้องกันลมพัดโยก
- กดดินบริเวณโคนต้น หาวัสดุคลุมโคนต้นแล้วรดน้ำตามให้โชก
- จัด ทำร่มเงาให้ต้นทุเรียนที่เพิ่งปลูก โดยใช้ทางมะพร้าวทางจาก แผงหญ้าคา ทางระกำหรือตาข่ายพรางแสง เมื่อทุเรียนตั้งตัวดีแล้วควรปลดออก หรืออาจปลูกไม้เพื่อให้ร่มเงา เช่น กล้วยก็จะช่วยเป็นร่มเงาและเพิ่มความชื้นในสวนทุเรียนได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งที่อากาศแห้งและมีแสงแดดจัด
- แกะผ้าพลาสติกที่พันรอยเสียบยอดหรือทาบออกเมื่อปลูกไปแล้วประมาณ 1-2 เดือน
การปลูกทุเรียนแบบไม่ขุดหลุม
1. โรยปุ๋ยหินฟอสเฟต 500 กรัม หรือประมาณหนึ่งกระป๋องนมครึ่ง ตรงตำแหน่งที่ต้องการปลูกกลบดินบาง ๆ
2. นำ ต้นพันธุ์มาวาง แล้วถากดินข้าง ๆ ขึ้นมาพูนกลบ แต่ถ้าหากเป็นดินร่วนปนทราย ดินทราย ดินจะไม่เกาะตัวกัน ควรใช้วิธีขุดหลุมปลูก หรือจะใช้วิธีดัดแปลง
3. วิธีดัดแปลง คือ นำหน้าดินจากแหล่งอื่นมากองตรงตำแหน่งที่จะปลูก กองดินควรมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เมตร สูง 15 เซนติเมตร แหวกกลางกองดินโรยปุ๋ยหินฟอสเฟตในช่องที่แหวกไว้กลบดินบาง ๆ วางต้นพันธุ์ดีลงตรงช่องที่แหวกไว้กลบดินทับ
4. การ แกะถุงออก ต้องระมัดระวังอย่าให้ดินแตก อาจทำได้โดยกรีดก้นถุงออกก่อน แล้วนำไปวางในตำแหน่งที่ปลูก กรีดถุงพลาสติกให้ขาดจากล่างขึ้นบน แล้วจึงค่อย ๆ ดึงถุงพลาสติกออกเบา ๆ
5. ระมัดระวังอย่ากลบดินให้สูงถึงรอยเสียบยอดหรือรอยทาบ
6. หาวัสดุคลุมโคน และจัดทำร่มเงาให้กับต้นทุเรียนเหมือนการปลูกโดยวิธีขุดหลุม
การปฏิบัติดูแลทุเรียนในช่วงก่อนให้ผลผลิต
เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ทุเรียนเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และให้ผลผลิตได้เร็วขึ้น
- ในระหว่างรอทุเรียนให้ผลผลิต ในช่วงแรกควรปลูกพืชแซมเสริมรายได้ โดยเลือกพืชให้ตรงกับความต้องการของตลาด
- เมื่อตรวจพบทุเรียนตายหลังปลูกให้ทำการปลูกซ่อม
- การ ให้น้ำ ช่วงเวลาหลังจากปลูกจะตรงกับฤดูฝน ถ้ามีฝนตกหนักควรทำทางระบายน้ำ และตรวจดูบริเวณหลุมปลูก ถ้าดินยุบตัวเป็นแอ่งมีน้ำขังต้องพูนดินเพิ่ม ถ้าฝนทิ้งช่วง ควรรดน้ำให้ดินมีความชื้นอยู่เสมอ ในปีต่อ ๆ ไป ควรดูแลรดน้ำให้ต้นไม้ผลอย่างสม่ำเสมอ และในช่วงฤดูแล้งควรใช้วัสดุคลุมดิน เพื่อช่วยรักษาความชื้นในดิน เช่น ฟางข้าว หญ้าแห้ง
- การตัดแต่งกิ่ง ปีที่ 1-2 ไม่ ควรตัดแต่ง ปล่อยให้ต้นทุเรียนเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ปีต่อ ๆ ไป ตัดแต่งกิ่งแห้ง กิ่งแขนง กิ่งกระโดงในทรงพุ่มกิ่งเป็นโรคออก เลี้ยงกิ่งแขนงที่สมบูรณ์ที่อยู่ในแนวขนานกับพื้น (กิ่งมุมกว้าง) ไว้ในปริมาณและทิศทางเหมาะสม โดยให้กิ่งล่างสุดอยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 80-100 เซนติเมตร
- การป้องกันกำจัด
ช่วงแตกใบอ่อน : ควรป้องกันกำจัดโรคใบติด เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยไฟ ไรแดง และแมลงศัตรูพืชด้วย ชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืช “เมทา-แม็ก”
ช่วงฤดูฝน:ป้องกันกำจัดโรครากเน่าโคนเน่าโดยให้ใช้ชีวภัณฑ์ควบคุมและกำจัดเชื้อรา “ไตรโค-แม็ก” อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นบริเวณโคนต้นและรอบทรงพุ่มเพื่อป้องกันโรค(2 ครั้งในช่วงต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน) และควบคุมวัชพืชโดยการปลูกพืชคลุมดินและอาจจะกำจัดโดยใช้แรงงานขุด ถากถอน ตัด พยายามหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชเพราะต้นทุเรียนยังเล็กอยู่ละออง สารเคมีอาจจะไปทำลายต้นและรากทุเรียน
6. การทำร่มเงา ในช่วงฤดูแล้ง แสงแดดจัดมาก ทำให้ทุเรียนใบไหม้ได้ ควรทำร่มเงาให้
7. การใส่ปุ๋ยควรทำดังนี้
- ใส่ปุ๋ยหลังจากตัดแต่งกิ่ง
- ใส่ปุ๋ยพร้อมกับการทำโคน คือถากวัชพืชบริเวณใต้ทรงพุ่มหว่านปุ๋ย และพรวนดินนอกชายพุ่มขึ้นมากลบใต้ทรงพุ่ม ให้มีลักษณะเป็นหลังเต่าและขยายขนาดของเนินดินให้กว้างขึ้นตามขนาดของทรง พุ่มหรือจะใส่ปุ๋ยโดยวิธีใช้ไม้ปลายแหลมแทงดินเป็นรูหยอดปุ๋ยใส่และปิดหลุม เป็นระยะให้ทั่วบริเวณใต้ทรงพุ่มวิธีหลังนี้แม้จะเปลืองแรงงานแต่ช่วยลดการ สูญเสียของปุ๋ยจากการระเหย หรือถูกน้ำชะพา
- ใส่ปุ๋ยหลังจากตัดแต่งกิ่ง
- ใส่ปุ๋ยพร้อมกับการทำโคน คือถากวัชพืชบริเวณใต้ทรงพุ่มหว่านปุ๋ย และพรวนดินนอกชายพุ่มขึ้นมากลบใต้ทรงพุ่ม ให้มีลักษณะเป็นหลังเต่าและขยายขนาดของเนินดินให้กว้างขึ้นตามขนาดของทรง พุ่มหรือจะใส่ปุ๋ยโดยวิธีใช้ไม้ปลายแหลมแทงดินเป็นรูหยอดปุ๋ยใส่และปิดหลุม เป็นระยะให้ทั่วบริเวณใต้ทรงพุ่มวิธีหลังนี้แม้จะเปลืองแรงงานแต่ช่วยลดการ สูญเสียของปุ๋ยจากการระเหย หรือถูกน้ำชะพา
- หว่านวัสดุปรับปรุงดินยักษ์เขียวก่อนและตามด้วยปุ๋ยเคมี
- ควรใส่ปุ๋ยในบริเวณใต้ทรงพุ่มโดยรอบ และให้ห่างจากโคนต้นประมาณ 20-30 เซนติเมตรขึ้นไป ขึ้นกับขนาดทรงพุ่ม
ปริมาณและเวลาใส่ปุ๋ยตั้งแต่เริ่มปลูก(ต้นยังไม่ให้ผลผลิต)
ทางดิน
ใส่ปุ๋ยและทำโคน 4 ครั้ง (เดือนเว้นเดือน)
ครั้งที่ 1-3 ใส่วัสดุปรับปรุงดินเกรด AAA ตรายักษ์เขียว สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง) อัตรา 0.5-1 กิโลกรัมต่อต้น
ครั้งที่ 4 ใส่วัสดุปรับปรุงดินเกรด AAA ตรายักษ์เขียว สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง)อัตรา 0.5-1 กิโลกรัมต่อต้น + ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ประมาณ 100 กรัมต่อต้น (ครึ่งกระป๋องนมข้น)
ปริมาณ ยักษ์เขียว ที่ใส่ในแต่ละครั้งขึ้นกับขนาดของทรงพุ่ม โดยยึดหลักว่าวัดจากโคนต้นมายังชายพุ่มเป็นเมตรได้เท่าไร คือจำนวนปุ๋ยเคมีที่ใส่เป็นกิโลกรัม เช่น
ระยะจากโคนต้นถึงชายพุ่ม 1-2 เมตร (หรือต้นที่อายุ 1-7 ปี) ใส่ปุ๋ย 0.5-1 กิโลกรัม
ระยะจากโคนต้นถึงชายพุ่ม 2-3 เมตร(หรือต้นที่อายุ 7-12 ปี) ใส่ปุ๋ย 1-2 กิโลกรัม
ระยะจากโคนต้นถึงชายพุ่ม 3 เมตรขึ้นไป(หรือต้นที่อายุมากกว่า 12 ปี) ใส่ปุ๋ย 2-3 กิโลกรัม
ทางใบ ใช้ ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง)ฉีดพ่นอัตรา 30-50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 30-45 วัน เพื่อเสริมสร้างต้น ทำให้ทุเรียนฟื้นตัวเร็วและทำให้เริ่มให้ผลผลิตได้เร็วขึ้น
การตัดแต่งผล เป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อให้ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพดี
การปฏิบัติดูแลทุเรียนในช่วงให้ผลผลิตแล้ว
เป็น สิ่งสำคัญที่จะทำให้ทุเรียนออกดอกติดผลมาก และให้ผลผลิตคุณภาพดี การเตรียมต้นให้พร้อมที่จะออกดอก คือการเตรียมให้ต้นทุเรียนมีความสมบูรณ์ มีอาหารสะสมเพียงพอ เมื่อทุเรียนมีใบแก่ทั้งต้น และสภาพแวดล้อมเหมาะสม ฝนแล้ง ดินมีความชื้นต่ำ อากาศเย็นลงเล็กน้อยทุเรียนก็จะออกดอก ขั้นตอนต่าง ๆ จะต้องรีบดำเนินการภายหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิต ดังนี้
1. หลังเก็บเกี่ยว ให้รีบตัดแต่งกิ่งแห้ง กิ่งเป็นโรค กิ่งแขนงด้านในทรงพุ่มออกโดยเร็ว ทารอยแผลที่ตัดด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา หรือปูนแดงกินกับหมาก
2. หลังตัดแต่งกิ่ง ให้กำจัดวัชพืชและใส่ปุ๋ยทันที
- ทางดิน ครั้งแรก ใส่ ยักษ์เขียว สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง) อัตรา 1-1.5 กิโลกรัมต่อต้น
1. หลังเก็บเกี่ยว ให้รีบตัดแต่งกิ่งแห้ง กิ่งเป็นโรค กิ่งแขนงด้านในทรงพุ่มออกโดยเร็ว ทารอยแผลที่ตัดด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา หรือปูนแดงกินกับหมาก
2. หลังตัดแต่งกิ่ง ให้กำจัดวัชพืชและใส่ปุ๋ยทันที
- ทางดิน ครั้งแรก ใส่ ยักษ์เขียว สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง) อัตรา 1-1.5 กิโลกรัมต่อต้น
ครั้งที่ 2 (ใส่ห่างจากครั้งแรก 30-40 วัน) ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 25-7-7 อัตรา 0.5-1 กิโลกรัมต่อต้น
- ทางใบ ใช้ ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง)ฉีดพ่นอัตรา 30-50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 7-14 วัน
3. ในช่วงฤดูฝน
- ถ้าฝนตกหนัก จัดการระบายน้ำออกจากแปลงปลูก
- ถ้าฝนทิ้งช่วง ให้รดน้ำแก่ต้นทุเรียน
- ควบคุมวัชพืช โดยการตัดและ งดการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชเนื่องจากจะกระทบกับรากทุเรียน ทำให้ชะงักการเจริญเติบโต
- ป้องกันกำจัดโรคแมลง เช่น โรครากเน่าโคนเน่า โรคใบติด โรคแอนแทรกโนส เพลี้ยไก่แจ้ ไรแดงและเพลี้ยไฟ
4. ในช่วงปลายฤดูฝน
- ช่วงปลายฝน ให้ใส่ ยักษ์เขียว สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง) อัตรา 1-2 กก.ต่อต้น อีก 1 ครั้ง เพื่อช่วยบำรุงต้นและสะสมอาหารสำหรับการออกดอก
- ให้กำจัดวัชพืชใต้ทรงพุ่ม กวาดเศษหญ้า และใบทุเรียนออกจากโคนต้น เพื่อให้ดินแห้งเร็วขึ้น
- ถ้าฝนตกหนัก จัดการระบายน้ำออกจากแปลงปลูก
- ถ้าฝนทิ้งช่วง ให้รดน้ำแก่ต้นทุเรียน
- ควบคุมวัชพืช โดยการตัดและ งดการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชเนื่องจากจะกระทบกับรากทุเรียน ทำให้ชะงักการเจริญเติบโต
- ป้องกันกำจัดโรคแมลง เช่น โรครากเน่าโคนเน่า โรคใบติด โรคแอนแทรกโนส เพลี้ยไก่แจ้ ไรแดงและเพลี้ยไฟ
4. ในช่วงปลายฤดูฝน
- ช่วงปลายฝน ให้ใส่ ยักษ์เขียว สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง) อัตรา 1-2 กก.ต่อต้น อีก 1 ครั้ง เพื่อช่วยบำรุงต้นและสะสมอาหารสำหรับการออกดอก
- ให้กำจัดวัชพืชใต้ทรงพุ่ม กวาดเศษหญ้า และใบทุเรียนออกจากโคนต้น เพื่อให้ดินแห้งเร็วขึ้น
- ฉีดพ่น ปุ๋ยทางใบ สูตร 0-52-34 อัตรา 50-100 กรัมต่อปี๊บ ประมาณ 2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน ก่อนเข้าช่วงการงดน้ำ
- งดการให้น้ำ 10-14 วันเมื่อสังเกตเห็นใบทุเรียนเริ่มสลดลงต้องเริ่มให้น้ำทีละน้อยเพื่อกระตุ้นให้ตามดอกเจริญอย่าปล่อย
ให้ขาดน้ำนานจนใบเหลืองใบตกเพราะตาดอกจะไม่เจริญ และระวังอย่าให้น้ำมากเกินไป เพราะช่อดอกอาจเปลี่ยนเป็นใบได้
วิธีให้น้ำที่เหมาะสม คือ ให้น้ำแบบโชย ๆ แล้วเว้นระยะ สังเกตอาการของใบและดอก เมื่อเห็นดอกระยะไข่ปลามากพอแล้ว ก็เพิ่มปริมาณให้มากขึ้นเรื่อย ๆ จนสู่สภาวะปกติ
- งดการให้น้ำ 10-14 วันเมื่อสังเกตเห็นใบทุเรียนเริ่มสลดลงต้องเริ่มให้น้ำทีละน้อยเพื่อกระตุ้นให้ตามดอกเจริญอย่าปล่อย
ให้ขาดน้ำนานจนใบเหลืองใบตกเพราะตาดอกจะไม่เจริญ และระวังอย่าให้น้ำมากเกินไป เพราะช่อดอกอาจเปลี่ยนเป็นใบได้
วิธีให้น้ำที่เหมาะสม คือ ให้น้ำแบบโชย ๆ แล้วเว้นระยะ สังเกตอาการของใบและดอก เมื่อเห็นดอกระยะไข่ปลามากพอแล้ว ก็เพิ่มปริมาณให้มากขึ้นเรื่อย ๆ จนสู่สภาวะปกติ
- ช่วงกระตุ้นดอก(ทั้งช่วงในฤดูและนอกฤดู) เมื่อต้นเริ่มเห็นตาดอกให้ฉีดพ่นด้วย ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง)ฉีดพ่นอัตรา 30-50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร+ อาหารเสริมรวม “คีเลท” ทุก ๆ 7-10 วัน(กระทั่งดอกบาน) จะทำให้ทุเรียนติดดอกสมบูรณ์ดี ติดดอกมากกว่า ขั้วดอกเหนียว ป้องกันการเข้าทำลายของแมลงศัตรูพืชในช่วงนี้ได้ดีกว่า
การบำรุงต้นทุเรียนอย่างถูกวิธี ย่อมได้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพ
การดูแลในช่วงติดผลแล้ว
1. ตัดแต่งผล
ครั้งที่ 1 หลังดอกบาน 3-4 สัปดาห์ ตัดแต่งผลที่มีรูปทรงบิดเบี้ยว ผลขนาดเล็กหรือผลต่างรุ่น ผลที่อยู่ในตำแหน่งไม่เหมาะสม เช่น ปลายกิ่ง ด้านข้างของกิ่ง และผลที่ติดเป็นกระจุกใหญ่ ๆ ออกเหลือผลที่ดีไว้มากกว่าที่ต้องการจริง 50 %
ครั้งที่ 2 หลังดอกบาน 6-8 สัปดาห์ ตัดผลที่มีขนาดเล็กกว่าผลอื่นในรุ่นเดียวกัน ผลบิดเบี้ยว ผลที่มีอาการหนามแดง
ครั้งที่ 3 ตัดแต่งครั้งสุด ท้ายตัดผลขนาดเล็ก ผลบิดเบี้ยวผลก้นจีบออก จะเหลือผลที่มีขนาดและรูปทรงสม่ำเสมอ ในปริมาณเท่ากับที่ต้องการจริงเมื่อตัดแต่งผลครั้งสุดท้ายเสร็จควรโยงกิ่ง เพื่อป้องกันกิ่งหักจากน้ำหนักผลที่มากขึ้น หรือโยงผลป้องกันผลร่วงในพื้นที่มีลมแรง
ครั้งที่ 2 หลังดอกบาน 6-8 สัปดาห์ ตัดผลที่มีขนาดเล็กกว่าผลอื่นในรุ่นเดียวกัน ผลบิดเบี้ยว ผลที่มีอาการหนามแดง
ครั้งที่ 3 ตัดแต่งครั้งสุด ท้ายตัดผลขนาดเล็ก ผลบิดเบี้ยวผลก้นจีบออก จะเหลือผลที่มีขนาดและรูปทรงสม่ำเสมอ ในปริมาณเท่ากับที่ต้องการจริงเมื่อตัดแต่งผลครั้งสุดท้ายเสร็จควรโยงกิ่ง เพื่อป้องกันกิ่งหักจากน้ำหนักผลที่มากขึ้น หรือโยงผลป้องกันผลร่วงในพื้นที่มีลมแรง
2. การใส่ปุ๋ย
ทางดิน
- หลังจากติดผลแล้ว 2-3 สัปดาห์ ให้ใส่ ยักษ์เขียว อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น(1 ครั้ง) เพื่อเร่งการเจริญของผล
- หลังจากติดผลแล้ว 7-8 สัปดาห์ ให้ใส่ ยักษ์เขียว อัตรา 2-3 กิโลกรัมต่อต้น+ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 ประมาณ 1 กิโลกรัม เพื่อเพิ่มคุณภาพเนื้อและเพิ่มความเข้มของสีเนื้อ
หมายเหตุ การใส่ปุ๋ย ควรเฉลี่ยใส่เป็นช่วง ๆ เพื่อให้ได้ต้นได้รับปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอ เช่น อาจแบ่งใส่ทุก ๆ 25-30 วัน ในอัตรา ต้นละ 0.5-1.5 กิโลกรัม แทนที่จะใส่ครั้งเดียว
การใส่ปุ๋ย สามารถผสม วัสดุปรับปรุงดินเกรด AAA ตรายักษ์เขียว ร่วมกับปุ๋ยเคมีที่แนะนำ ในสัดส่วน 2:1 ใส่ พร้อมกันในอัตราที่แนะนำ จะช่วยลดการสูญเสียของปุ๋ยเคมี ทำให้รากทุเรียนดูดซึมธาตุอาหารได้ดียิ่งขึ้น ผลผลิตได้คุณภาพกว่า และเติบโตต่อเนื่องยาวนานกว่า
ทางใบ
- เมื่อทุเรียนติดผล 2-3 สัปดาห์ ให้ฉีดพ่นด้วย ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรเร่งขนาดผล) อัตรา 30-50 ซีซี+ คีเลท อัตรา 5-10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 10-14 วันจนถึงเก็บเกี่ยว จะทำให้ได้ผลทุเรียนคุณภาพสูง มีขนาดใหญ่สม่ำเสมอทั้งต้น หมดปัญหาเรื่องผลร่วง รสชาติดี และสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็วขึ้น
3. การ ควบคุมไม่ให้ทุเรียนแตกใบอ่อน ถ้าทุเรียนแตกใบอ่อนในช่วงติดผล หากให้ปุ๋ยไม่เพียงพอหรือไม่ถูกช่วง จะทำให้ใบอ่อนและผลทุเรียนจะแย่งอาหารกันและเกิดผลเสียดังนี้
ช่วงทุเรียนแตกใบอ่อน | ผลที่เกิดขึ้น |
สัปดาห์ที่ 3-5 หลังดอกบาน | ผลอ่อนร่วง |
สัปดาห์ที่ 5-8 หลังดอกบาน | รูปทรงบิดเบี้ยว |
สัปดาห์ที่ 10-12 หลังดอกบาน | เนื้อด้อยคุณภาพ เนื้อแกน |
เต่าเผา เนื้อสามสี |
- ถ้าพบว่าทุเรียนจะแตกใบอ่อน โดยสังเกตเห็นเยื่อหุ้มตาเริ่มเจริญหรือเรียกระยะหางปลา ให้ยับยั้งด้วยการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ สูตร 0-52-34 อัตรา 30-50 กรัม+ คีเลท อัตรา 5-10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร และถ้ายังพบว่ายอดทุเรียนยังพัฒนาต่อ ควรฉีดพ่นซ้ำอีกครั้งหลังจากครั้งแรก 1-2 สัปดาห์ หรืออาจป้องกันได้ง่าย ๆ คือการควบคุมค่า (C/N) ด้วยการควบคุมการใช้ปุ๋ยเคมีที่มีไนโตรเจนสูง เช่น ลดปริมาณการใส่ต่อครั้ง ให้ไม่มากจนเกินไป ในปุ๋ยที่มีอัตราส่วน ไนโตรเจนสูง เช่น 25-7-7 รวมถึง 13-13-21 โดยอาจเพียงใส่ครั้งละ 0.5 กก.ต่อต้น
- ถ้าพบทุเรียนแตกใบอ่อนในขณะที่ผลโตแล้ว ให้ฉีดพ่นแคลเซียมโบรอน “แคลแม็ก” อัตรา 20-30 ซีซี + หัวอาหารรองและเสริม "คีเลท" อัตรา 5-10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อป้องกันการดูดธาตุอาหารกลับ ทำให้ผลทุเรียนสมบูรณ์ขึ้น
- ถ้าพบทุเรียนแตกใบอ่อนในขณะที่ผลโตแล้ว ให้ฉีดพ่นแคลเซียมโบรอน “แคลแม็ก” อัตรา 20-30 ซีซี + หัวอาหารรองและเสริม "คีเลท" อัตรา 5-10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อป้องกันการดูดธาตุอาหารกลับ ทำให้ผลทุเรียนสมบูรณ์ขึ้น
4. การให้น้ำ ดูแลให้น้ำสม่ำเสมอ ตลอดช่วงที่กำลังติดผล
5. จดบันทึกวันดอกบาน ของแต่ละรุ่น แต่ละต้นไว้ พร้อมกับทำเครื่องหมายไว้โดยใช้เชือกสีที่แตกต่างกันในการโยงกิ่งที่ติดผล แต่ละรุ่น เพื่อความสะดวกในการเก็บเกี่ยว และการวางแผนด้านตลาด
6. การป้องกันกำจัดโรคแมลง ตรวจสอบและป้องกันกำจัดโรคผลเน่า หนอนเจาะผล หนอนกินเมล็ดทุเรียน ไรแดง เพลี้ยไฟ
เพลี้ยแป้ง และเพลี้ยหอย
5. จดบันทึกวันดอกบาน ของแต่ละรุ่น แต่ละต้นไว้ พร้อมกับทำเครื่องหมายไว้โดยใช้เชือกสีที่แตกต่างกันในการโยงกิ่งที่ติดผล แต่ละรุ่น เพื่อความสะดวกในการเก็บเกี่ยว และการวางแผนด้านตลาด
6. การป้องกันกำจัดโรคแมลง ตรวจสอบและป้องกันกำจัดโรคผลเน่า หนอนเจาะผล หนอนกินเมล็ดทุเรียน ไรแดง เพลี้ยไฟ
เพลี้ยแป้ง และเพลี้ยหอย
7. ในช่วงต้นฤดูฝน ใช้ ชีวภัณฑ์ควบคุมและกำจัดเชื้อรา “ไตรโค-แม็ก” อัตรา 50-100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นบริเวณโคนต้นและผิวดินในทรงพุ่ม ทุก ๆ 2-3 เดือนเพื่อป้องกันโรครากเน่า โคนเน่า(การป้องกันเป็นวิธีที่ประหยัดกว่าการรักษาและกำจัดเมื่อต้นเป็นโรคแล้ว
8. หากพบการระบาดของหนอนศัตรู(หนอนกินใบ,หนอนเจาะผล,ฯลฯ)ในช่วงแตกใบอ่อน และช่วงติดผล ใช้ ชีวภัณฑ์ควบคุมและกำจัดเชื้อรา “บาร์ท๊อป” อัตรา 50-100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นเพื่อควบคุมและกำจัด ทุก ๆ 7-10 วัน จนหนอนหยุดการระบาด
ผลผลิตคุณภาพดี ขนาดใหญ่เสมอกัน น้ำหนักต่อลูก 4 กก.ขึ้นไป
ตารางสรุปเทคนิคการลดต้นทุน
(ปริมาณที่ใส่ขึ้นกับอายุและขนาดของต้น)
ปีที่ 1 | ทางดิน ยักษ์เขียว(สูตรเข้มข้นพิเศษแถบทอง) อัตรา 0.5 กิโลกรัม/ต้น ทุก 30-45 วัน ทางใบ ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง อัตรา 30-50 ซีซี+ คีเลท อัตรา 5-10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก เดือน เดือนละ 1 ครั้ง |
ปีต่อ ๆ ไป (ยังไม่ให้ผลผลิต) | ทางดิน ยักษ์เขียว(สูตรเข้มข้นพิเศษแถบทอง)อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ทุก ๆ 30 วัน สลับกับปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ สูตรเสมอ อัตรา 0.5 กก./ต่อต้น ทุก ๆ 45-60 วัน ทางใบ ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง อัตรา 30-50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร+ คีเลท อัตรา 5-10 กรัม ทุก ๆ เดือน เดือนละ 1 ครั้ง หรืออาจใช้เฉพาะในช่วงที่แตกใบอ่อน ห่างกัน 7-10 วัน(ประมาณ 4 ครั้ง) เพื่อให้ใบและกิ่งที่แทงออกมาสมบูรณ์ และป้องกันแมลงเข้าทำลาย |
หลังเก็บถึงก่อนบังคับออกดอก ประมาณ 2-3เดือน | ทางดิน ครั้งแรกใส่ยักษ์เขียว(สูตรเข้มข้นพิเศษแถบทอง)อัตรา 1-1.5 กก./ต้น ครั้งที่สองห่างกัน 30-40 วัน สลับใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 25-7-7 อัตรา 0.5-1 กก./ต้น 1 ครั้ง ครั้งที่สาม ก่อนงดน้ำบังคับดอก ประมาณ 1-2 อาทิตย์ ใส่ยักษ์เขียว(สูตรเข้มข้นพิเศษแถบทอง)อัตรา 1-1.5 กก./ต้น ทางใบ ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง อัตรา 30-50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร+ธาตุอาหารรองและเสริม คีเลท อัตรา 5-10 กรัม ทุก ๆ 7-10 วัน จนถึงก่อนบังคับน้ำประมาณ 2-3 อาทิตย์ ก่อนการบังคับน้ำ ประมาณ 2-3 อาทิตย์ ให้ฉีดพ่นปุ๋ยเกล็ดสูตร 0-52-34 หรือ 10-52-17 อัตรา 2-3 ช้อนแกง(50-100 กรัม)/ น้ำ 20 ลิตร ห่างกัน 7 วัน ประมาณ 2-3 ครั้ง |
ระยะเริ่มแทงช่อดอก(ขึ้นน้ำ) | ทางใบ ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง อัตรา 30-50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 7-10 วัน ประมาณ 4 ครั้ง จะได้ช่อดอกที่สมบูรณ์ ติดผลได้ดี ดกมาก (ไบโอเฟอร์ทิล สามารถฉีดได้แม้ในช่วงดอกเริ่มบาน เพราะไม่มีผลเสียใด ๆ และทำให้ขั้วดอกเหนียวไม่ร่วงง่ายอีกด้วย) |
ระยะติดผลอายุ 2-3 สัปดาห์ | ทางดิน ยักษ์เขียว(สูตรเข้มข้นพิเศษแถบทอง)อัตรา 1-1.5 กก./ต้น 1 ครั้ง ทางใบ ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล สูตรเร่งขนาดผล อัตรา 50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 10-14 วัน จะทำให้ผลขยายขนาดได้ดี มีขนาดเสมอกัน ขั้วเหนียว |
ระยะติดผลอายุ 8 สัปดาห์ เดือน จนถึงเก็บเกี่ยว | ทางดิน ยักษ์เขียว(สูตรเข้มข้นพิเศษแถบทอง)อัตรา 1-1.5 กก./ต้น ทุกๆ 30 วัน สลับกับการให้ปุ๋ยสูตร 13-13-21 หรือ 24-4-24 หรือสูตรที่มีตัวหน้าเล็กน้อยและเน้นตัวหลัง เพื่อเน้นเนื้อผล อัตรา 0.5-1 กก./ต่อต้น เที่ยวเว้นเที่ยว ทางใบ ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล สูตรเร่งขนาดผล อัตรา 50 ซีซี+ คีเลท อัตรา 5-10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 10-14 วันจะกระตุ้นผลขยายขนาดได้ดี มีขนาดใหญ่เสมอกัน ขั้วเหนียว หมายเหตุ เสริมด้วยการฉีดพ่นด้วยแคลเซียมโบรอน “แคล-แม็ก” อัตรา 10-20 ซีซี ช่วยให้ผลผลิตมีคุณภาพดียิ่งขึ้น |
ข้อเปรียบเทียบหลังจากใช้ตามคำแนะนำเป็นประจำ
1. ทุเรียนจะบังคับดอกง่าย ขั้วดอก,ผล เหนียว ต้นไม่โทรมแม้แบกผลผลิตมาก
2. แมลง ศัตรูพืชที่เข้ามารบกวนลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะจำพวกผีเสื้อกลางคืนซึ่งเป็นตัวแม่ของหนอนชนิดต่าง ๆ รวมถึงแมลงวันทอง,หนอนเจาะลำต้น และด้วงกัดกินใบ ทำให้ประหยัดต้นทุนปุ๋ยทางใบและยากำจัดศัตรูพืชลงได้ประมาณ 30-50% และลดความเสียหายจากศัตรูพืชได้ดีกว่า (ในพื้นที่ที่มีการระบาดมาก หากใช้ไบโอเฟอร์ทิล ฉีดร่วมกับยากำจัดศัตรูพืช ก็จะทำให้สามารถคุมและป้องกันการเข้าทำลาย ได้นานขึ้น)
3. ต้นให้ผลผลิตมากอย่างสม่ำเสมอทุกปี อายุการให้ผลผลิตของต้นทุเรียนจะมากกว่าแปลงที่ไม่ได้ใช้อย่างเห็นได้ชัด
4. เนื้อผลทุเรียนมีรสชาติดี เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค
5. สุขภาพผู้ปลูกดีขึ้น เนื่องจาก สัมผัสหรือจับต้องสารเคมีน้อยลง
6. การใช้ วัสดุปรับปรุงดิน “ยักษ์เขียว” ร่วมด้วยเป็นประจำ จะทำให้ต้นทุนปุ๋ยและสารทางดินต่อชุดการผลิต ลดลงได้ประมาณ 30-50 % โดยที่ผลผลิตที่ได้ยังเป็นปกติหรือดีกว่าเดิม และสังเกตได้ว่าสารอินทรีย์ในเนื้อปุ๋ยทำให้สภาพดินดีขึ้น ดินโปร่ง อุ้มน้ำได้ดี ต้นทนแล้งได้ดีขึ้น และพืชตอบสนองต่อการให้ปุ๋ยทางดินดีกว่าเดิม ในระยะยาวปัญหาเรื่องโรคทางดินน้อยกว่าแปลงข้างเคียงที่ไม่ได้ใช้ ผลในทางอ้อม เนื่อง จาก ยักษ์เขียว ช่วยกระตุ้นจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ให้ย่อยปุ๋ย(เคมี)ที่ตกค้างในดินทำให้ รากพืชสามารถดูดซึมกลับไปใช้ได้ ธาตุอาหารในดินจะสมดุลมากกว่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น