วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ข้อควรระวังในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช 1-5 (สำเนาจาก ยักษ์เขียว@bloggang)

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำชื่อสารเคมี(ชื่อสามัญ) ชนิดต่างๆ
มาเผยแพร่ให้เกษตรกร,ผู้สนใจ,ฯลฯ ได้รู้ถึงประโยชน์, อันตราย, และความเป็นพิษ
เพื่อจะได้เลือกใช้สารเคมีอย่างระมัดระวัง(ในกรณีที่จำเป็น) มิได้ต้องการส่งเสริมให้เกษตรกรหรือผู้อ่านใช้สารเคมีเพิ่มขึ้น เพียงแต่หากจำเป็นต้องใช้สารเคมี
ก็ควรใช้อย่างรู้คุณและโทษของมันอย่างถูกต้อง และได้ประโยชน์ คุ้มค่ากับเงินลงทุนที่เสียไปทุกบาททุกสตางค์ และไม่ทำให้ผู้บริโภครวมถึงตัวเกษตรกรและผู้ใช้เองต้องตกเป็นเหยื่อของพิษภัย
จากการใช้สารเคมีโดยมิได้รู้แจ้ง ซึ่ง ทางผู้โพสหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรและบุคคลทั่วไปไม่มากก็น้อย  สำหรับท่านที่มีเพื่อน,มิตร,ญาติสนิท,ฯลฯ ที่ทำเกษตร หรือเกี่ยวข้องทางด้านนี้อยู่ ก็รบกวนช่วยนำไปเผยแพร่นะครับ ผมเองได้ข้อมูลมา
ตั้งแต่สมัยที่ยังทำการเกษตรอยู่ จาก หนังสือ "สารกำจัดศัตรูพืชในประเทศไทย"  เป็นหนังสือที่หาค่อนข้างยาก ปัจจุบันไม่ทราบว่ามีตีพิมพ์อีกหรือไม่ แต่ข้อมูลก็ยังสามารถใช้ได้ดีอยู่ จึงอยากนำมาเผยแพร่ให้คนรักต้นไม้,เกษตรกร,หรือคนที่เกี่ยวข้องได้ทราบกัน


อะบาเม็คติน
(abamectin)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดไรและแมลงที่ประกอบด้วยสาร  macrocyclic  lactone  glycoside  ซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติจากการหมัก  (fermentation)  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัส
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลัน  (acute  oral  LD  50)  ทางปาก  10  มก./กก.  อาจทำให้ดวงตาเกิดอาการระคายเคืองได้เล็กน้อย
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        หนอนใยผัก  หนอนม้วนใบ  ไรสนิม  ไรแดงและไรอื่น ๆ  ด้วงมันฝรั่ง  มดคันไฟ  และแมลงอื่น ๆ
พืชที่ใช้                             ส้มเขียวหวาน  ส้มโอ  ฝ้าย  มันฝรั่ง  พืชผักและไม้ผล  ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม                  1.8%  อีซี
อัตราการใช้               กำจัดแมลงศัตรูผักใช้อัตรา  20  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร
                             กำจัดแมลงศัตรูส้ม  ใช้อัตรา  10  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร
                             กำจัดแมลงศัตรูพืชอื่น ๆให้ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากฉลาก
วิธีใช้                       ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดีแล้วฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช      เมื่อตรวจพบว่ามีศัตรูพืช  ฉีดซ้ำได้ตามความจำเป็น
อาการเกิดพิษ            จะมีอาการม่านตาหรี่  หายใจไม่ออก  ไม่ค่อยรู้สึกตัว  ในรายที่มีอาการรุนแรง  ผู้ป่วยอาจเซื่องซึม  กล้ามเนื้อกระตุกและเกิดอาการชัก
การแก้พิษ                ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาด  จำนวนมาก ๆ  ถ้าเข้าปากให้ผู้ป่วยดื่มน้ำ  1-2  แก้วทันทีและรีบทำให้อาเจียนด้วยการล้วงคอ  ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว  ห้ามทำให้อาเจียนหรือให้สิ่งของทางปาก  รีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์  สำหรับแพทย์ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  ต้องรักษาตามอาการที่ปรากฏ  หากผู้ป่วยกินวัตถุมีพิษเข้าไป  ทำให้อาเจียนภายใน  30  นาที  หลีกเลี่ยงการให้ยา  barbiturates,benzodiazepines,  และ  valproic  acid
ข้อควรรู้                    - เป็นพิษต่อปลาและผึ้ง
                             - เป็นสารที่ได้จากการหมักเชื้อจุลินทรีย์ในดิน  ชื่อ  Steptomyces  avermitilis
                             - ออกฤทธิ์ได้ช้า  ไรจะเคลื่อนไหวไม่ได้ภายหลังจากที่ถูกกับสารนี้
                             - มีความคงตัวและติดกับใบพืชได้แน่น

อะซีเฟท
(acephate)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดแมลง  ออร์กาโนฟอสเฟท  ออกฤทธิ์ได้ในทางดูดซึม  (systemic)  และทางสัมผัส  (contact)
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลัน  (acute  oral  LD  50)  ทางปาก  (หนู)  866-945  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (กระต่าย)  มากกว่า  10,250  มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        หนอนกะหล่ำ  หนอนกระทู้หอม  หนอนใยผัก  หนอนกระทู้ผัก  หนอนเจาะสมอ-อเมริกัน  หนอนชอนใบ  หนอนเจาะผลมะเขือเทศ  หนอนเจาะฝักข้าวโพด  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยจักจั่น  เพลี้ยไฟ  แมลงหวี่ขาว  ไรแดงและไรสนิม
พืชที่ใช้                   ผักตระกูลกะหล่ำ  ผักตระกูลคึ่นใช่(celery)  ฝ้าย  ข้าวโพด  มะเขือเทศ  ยาสูบ  ส้ม  มันฝรั่ง  ถั่วแขก  ถั่วลันเตา  ถั่วเหลือง  ถั่วลิสง  ไม้ดอก  และไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม                  75%  เอส
อัตราการใช้และวิธีใช้    อัตราการใช้แตกต่างกันออกไป  ขึ้นอยู่กับชนิดของพืชที่จะใช้  โดยทั่วไปจะอยู่ในอัตรา  15-35  กรัม  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ฉีดให้ทั่วต้นพืช  เมื่อพบเห็นว่ามีแมลงศัตรูพืชระบาด
อาการเกิดพิษ            ถ้าเข้าตา  จะทำให้เกิดอาการระคายเคือง  ม่านตาหรี่และตาพร่ามัว  ถ้ากลืนกินเข้าไปหรือสูดดม  จะมีผลต่อระบบประสาท  มีน้ำลายและน้ำมูกออกมาก  เหงื่อออก  เป็นตะคริว  คลื่นไส้  อาเจียน  น้ำตาไหล  มีอาการสั่นและชัก  หากคนไข้รับพิษเข้าไปในปริมาณสูง  อาจทำให้เกิดอาการรุนแรงและถึงตายได้
การแก้พิษ                ถ้าเกิดพิษเนื่องจากกินเข้าไป  รีบทำให้คนไข้อาเจียนโดยให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น  (เกลือ  1  ช้อนโต๊ะ  ผสมกับน้ำอุ่น  1  แก้ว)  ถ้าสัมผัสผิวหนัง  ให้รีบล้างด้วยสบู่กับน้ำจำนวนมาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ  ยาแก้พิษคือ  อะโทรปินซัลเฟท  (atropine  sulphate)  โดยฉีดแบบ  IV  ขนาด  2  มก.และให้ฉีดซ้ำทุก ๆ  3-8  นาที  จนเกิดอาการ  atropinization  อาจให้ยาได้ถึง  12  ครั้งภายใน  2  ชั่วโมง  สำหรับยา  2-PAM  สามารถให้ร่วมกับอะโทรปินซัลเฟทได้
ข้อควรรู้                    - สารออกฤทธิ์อยู่ได้นาน  10-15  วัน
                             - รายละเอียดในการใช้อย่างอื่น  ควรดูจากฉลาก
                             - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  สำหรับพืชผัก  14  วัน  ฝ้ายให้ใช้ก่อน  21  วัน

ออลดิคาร์บ
(aldicarb)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดแมลง  ไรและไส้เดือนฝอย  คาร์บาเมท(carbamate)  ออกฤทธิ์ในทางดูดซึม  และเป็น  cholinesterase  inhibitor
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลัน  (acute  oral  LD  50)  ทางปาก  (หนู)  0.9  มก./กก.  ชนิด  10 %  จี
มีพิษเฉียบพลัน  (acute  oral  LD  50)  ทางปาก  (หนู)  7.0  มก./กก.  ทางผิวหนัง  2,100-3,970  มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยไฟ  เพลี้ยกระโดด  เพลี้ยจักจั่น  เพลี้ยหอย  เพลี้ยแป้ง  แมลงหวี่ขาวมวนต่างๆ  ไรแดง  แมลงเต่าทอง  หนอนม้วนใบและไส้เดือนฝอย
พืชที่ใช้                   ฝ้าย  อ้อย  มะเขือเทศในระยะเริ่มปลูก  ถั่วลิสง  ส้ม  ถั่วเขียว  ถั่วเหลือง  ข้าวฟ่าง  กาแฟและไม้ดอกไม้ประดับต่าง ๆ
สูตรผสม                  10 %  จี
อัตราการใช้และวิธีใช้    แตกต่างกันออกไปแล้วแต่ชนิดพืชและวิธีใช้  ควรศึกษาจากฉลากที่ติดข้างภาชนะบรรจุให้ละเอียดก่อนใช้ 
อาการเกิดพิษ            ผู้ได้รับพิษจะมีอาการปวดศีรษะ  วิงเวียน  ตื่นเต้น  ตาพร่า  อ่อนเพลีย  คลื่นไส้  อาเจียน  จุกแน่นหน้าอก  เหงื่อออกมาก  ม่านตาหรี่  น้ำตาและน้ำลายไหล  หายใจถี่  ลมหายใจจะค่อย ๆ อ่อนลง  กล้ามเนื้อกระตุก  ชักและหมดสติในที่สุด
การแก้พิษ                ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนังให้รีบล้างด้วยน้ำกับสบู่จำนวนมาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนานประมาณ  15  นาที  ถ้ากลืนกินเข้าไป  อย่าทำให้อาเจียน  ให้คนไข้รับประทานแอ็คติเวทเต็ด  ชาร์โคล  (activated  charcoal)  2-4  ช้อนโต๊ะ  ละลายกับน้ำ  1  แก้ว  แล้วนำผู้ป่วยส่งแพทย์
ข้อควรระวัง               - ถ้าต้องการปลูกพืชอาหารอย่างอื่นที่นอกเหนือจากคำแนะนำในฉลากบนพื้นที่ที่ได้ใช้สารกำจัดแมลงชนิดนี้แล้ว  ควรปลูกภายหลังจากใช้แล้วอย่างน้อย  8  สัปดาห์
                             - ทำให้เกิดอาการระคายเคืองดวงตา  ผิวหนัง  และระบบหายใจ
                             - เป็นอันตรายต่อปลา  อย่าให้ปนเปื้อนกับน้ำในสระ  บ่อ  คลอง  หรือแหล่งน้ำอื่น ๆ
                             - ให้ทำลายภาชนะบรรจุที่ใช้แล้วด้วยวิธีฝังหรือ  เผาและอยู่ห่างไกลจากควัน
                             - อย่านำภาชนะบรรจุที่ใช้หมดแล้วมาใช้ใหม่  ไม่ว่าจะเพื่อวัตถุประสงค์ใดก็ตาม
                             - เมื่อจะใช้ควรสวมใส่ถุงมือยางและเสื้อแขนยาว
- อย่าผสมออลดิคาร์บ  10 %  จี  กับน้ำ  เพราะจะได้สารละลายที่มีอันตรายสูงมากและอย่าใช้เครื่องมือบด

ออลดริล
(aldrin)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดแมลง  chlorinated  hydrocarbon  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัส  กินตาย  และมีพิษทางหายใจ  มีฤทธิ์ตกค้างยาวนาน
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลัน  (acute  oral  LD  50)  ทางปาก  (หนู)  ประมาณ  67  มก./กก.  ทางผิวหนังมากกว่า  200  มก./กก.  มีอันตรายในทางสัมผัสที่เนื่องมาจากการใช้สูงมาก
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        มด  ปลวก  แมงกะชอน  จิ้งหรีด
พืชที่ใช้                             ในประเทศไทย  ห้ามใช้กับพืชทุกชนิด
สูตรผสม                  40%  ดับบลิวพี  และ  ชนิดน้ำมัน
อัตราการใช้และวิธีใช้    กำจัดปลวกและแมลงในดินทั่วไป  ใช้อัตรา  800-1,600  กรัม  ผสมกับน้ำแล้วราด  หรือพ่นให้ทั่วพื้นที่  1  ไร่
อาการเกิดพิษ            ผู้ได้รับพิษจะมีอาการปวดศีรษะ  คลื่นไส้  อาเจียน  อ่อนเพลียและวิงเวียน
การแก้พิษ                ถ้าพิษเกิดจากการสัมผัสที่ผิวหนัง  ให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่จำนวนมาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง  ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไป  ควรทำให้อาเจียนโดยเร็ว  ด้วยการใช้นิ้วล้วงคอหรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น  (เกลือ  1  ช้อนโต๊ะ  ผสมน้ำอุ่น  1  แก้ว)  แล้วนำผู้ป่วยส่งแพทย์ทันที
ข้อควรรู้                    ปัจจุบันทางราชการไม่อนุญาตให้นำเข้ามาใช้ทางการเกษตร  และถือเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่  4  ผู้มีไว้ในครอบครองจะมีความผิดตาม  พ.ร.บ.  วัตถุอันตราย  พ.ศ.  2535  มีบทลงโทษจำคุกไม่เกิน  10  ปี  หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ

อัลฟาไซเปอร์เมธริน
(alphacypermethrin)
การออกฤทธิ์             เป็นสารไพรีทรอยด์ที่ใช้กำจัดแมลง  ออกฤทธิ์ในทางถูกตัวตายและกินตาย
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลัน  (acute  oral  LD  50)  ทางปาก  79  มก./กก.  ทางผิวหนัง  มากกว่า  2,000  มก./กก.  อาจทำให้ดวงตาและผิวหนังมีอาการระคายเคือง
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        ด้วงงวง  แมลงเต่าทอง  หนอนชอนใบ  แมลงวันผลไม้  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยแป้ง  แมลงหวี่ขาว  เพลี้ยกระโดด  หนอนม้วนใบ  หนอนเจาะสมอ  หนอนกระทู้หนอนคืบ  เพลี้ยไฟและแมลงอื่น ๆ
พืชที่ใช้                             ส้ม  กาแฟ  ฝ้าย  ไม้ดอก  ไม้ผล  ผัก  ข้าว  ถั่วเหลือง  ชา  ยาสูบและพืชอื่น ๆ
สูตรผสม                  10%  อีซี
อัตราการใช้และวิธีใช้    ใช้อัตรา  15  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  พ่นให้ทั่วต้นพืช  เมื่อพบว่ามีแมลงศัตรูพืชระบาด
อาการเกิดพิษ            สำหรับผู้แพ้  ถ้าถูกผิวหนังจะมีอาการแสบร้อน  หรือหมดความรู้สึกบริเวณนั้น  อาการจะหายไปเองภายใน  2-3  ชั่วโมง  ถ้าเข้าทางปากจะมีอาการระคายเคืองตามเยื่อบุปาก  จมูก  ลำคอ  ไอ  จาม  คัดจมูก  หายใจขัด  ถ้ารับพิษมากจะมีอาการตัวสั่น  ชักกะตุก
การแก้พิษ                ถ้าถูกผิวหนัง  ต้องล้างด้วยน้ำกับสบู่จำนวนมาก ๆ  หากเข้าตา  ต้องล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง  หากกลืนกินเข้าไปห้ามทำให้อาเจียนรีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์ทันที  สำหรับแพทย์  ช่วยให้ผู้ป่วยหายใจสะดวก  ล้างท้องโดยใช้  endotracheal  tube  แล้วให้  activated  charcoal  ตามด้วยโซเดียมซัลเฟททางสายยาง  ระงับอาการตัวสั่น  ชักกระตุก  ด้วยยา  diazepam  รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้                    - ใช้กำจัดไรไม่ได้
                             - เป็นพิษต่อผึ้งและปลา
                             - ออกฤทธิ์ได้รวดเร็วและมีฤทธิ์ฆ่าไข่แมลงได้ด้วย

อลูมิเนียมฟอสไฟต์
(aluminium  phosphide  or  phostoxin)
การออกฤทธิ์             เป็นสารรมควันพิษกำจัดแมลงศัตรูพืชในโรงเก็บ
ความเป็นพิษ             เป็นอันตรายถึงชีวิตทันทีเมื่อหายใจเอาอากาศที่มี  ไฮโดรเจน  ฟอสไฟต์  (hydrogen  phosphide)  อยู่  2  ส่วนในล้านส่วนเข้าไปในร่างกาย
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        ไข่  ตัวอ่อน  ดักแด้  และ  ตัวแก่ของแมลงศัตรูพืชในโรงเก็บ  เช่น  ด้วงงวงข้าว  มอดข้าวเปลือก  มอดแป้งมอดยาสูบ  มอดฟันเลื่อย  ด้วงงวงข้าวโพด  ด้วงถั่วเขียว  ด้วงถั่วเหลือง  ด้วงกาแฟ  ด้วงขาแดง  ด้วงหนังสัตว์  ผีเสื้อข้าวเปลือก  ผีเสื้อข้าวสารและผีเสื้อข้าวโพด
พืชที่ใช้                   เมล็ดธัญพืชทุกชนิด  เมล็ดฝ้าย  เมล็ดถั่ว  เมล็ดดอกไม้  เมล็ดทานตะวัน  แป้งต่าง ๆ
สูตรผสม                  59%  และ  57%  (เมล็ดกลมและแบน)
อัตราการใช้และวิธีใช้    ชนิดเม็ด  ใช้  6  เม็ดต่อน้ำหนักผลิตผล  1  ตัน  ชนิด  pellet  ใช้  10  เม็ดต่อน้ำหนักผลิตผล  1  ตัน  โดยการหยอดเม็ดยาลงไปในแถวของผลิตผลด้วยมือ  หรือถ้าเป็นไซโลอาจใช้เครื่องหยอดเม็ดอัตโนมัติก็ได้
อาการเกิดพิษ            ถ้าได้รับแก๊สเข้าไปเพียงเล็กน้อยจะมีอาการอ่อนเพลีย  หูอื้อ  คลื่นไส้  แน่นหน้าอก  กระสับกระส่าย  เมื่อได้รับอากาศบริสุทธิ์  อาการเหล่านี้จะหายไป  ถ้าได้รับแก๊สมากขึ้น  นอกจากแสดงอาการดังกล่าวแล้ว  จะมีอาการอาเจียน  ปวดท้อง  ท้องร่วง  เจ็บหน้าอกและหายใจลำบาก  เนื้อเขียว  ทรงตัวไม่อยู่  โลหิตขาดออกซิเจน  หมดสติและตายทันที
การแก้พิษ                ให้รีบนำผู้ป่วยไปอยู่ในที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ทันที  พร้อมกับให้นอนนิ่ง ๆ  และให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย  ให้ยาขับเสมหะและยาแก้ไอ
ข้อควรรู้                    - ฟอสต๊อกซินจะปล่อยแก๊ส  แอมโมเนียและคาร์บอนได้  อ๊อกไซด์  ออกมาพร้อมกับ  hydrogen  phosphide
                             - แก๊ส  hydrogen  phosphide  เป็นแก๊สไวไฟ
                             - แก๊สนี้กัดกร่อนทองแดงและโลหะอื่นบางชนิด
                             - ออกฤทธิ์ช้า  แมลงจะตายหมดภายใน  2-3  วัน
                             - เป็นพิษอย่างแรงเมื่อหายใจหรือกลืนกินเข้าไป
                             - ใส่ถุงมือยางหรือพีวีซี  เมื่อจะใช้
                             - อย่าเปิดภาชนะบรรจุ  ยกเว้นเมื่อต้องการใช้ทันที  ควรเปิดในที่โล่งแจ้งเท่านั้น
                             - เก็บห่างไกลจากความชื้น  น้ำ  และเป็นที่เย็น-แห้ง  อากาศถ่ายเทได้ดี  ห่างไกลจากไฟและความร้อน
                             - ก่อนใช้ควรดูบริเวณที่จะใช้ให้แน่ใจว่า  ไม่มีคนหรือ  สัตว์อยู่ในบริเวณใกล้เคียง

อะมิโนคาร์บ
(aminocarb)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดแมลงที่อยู่ในกลุ่มสารคาร์บาเมทออกฤทธิ์ในทางกินตายและถูกตัวตาย
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลัน  (acute oral LD 50)  ทางปาก  (หนู)  30  มก./กก.  ทางผิวหนัง  275  มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        หนอนผีเสื้อต่าง ๆ  และแมลงกัดกินใบ
พืชที่ใช้                             ฝ้าย  ยาสูบ  ไม้ผล  และไม้ประดับ
สูตรผสม                  50%  และ  75%  ดับบลิวพี
อัตราการใช้และวิธีใช้    ใช้ฉีดพ่นเมื่อพบเห็นแมลงครั้งแรก  ให้ทั่วต้นพืช  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น
การแก้พิษ                ใช้ยา  อาโทรปินซัลเฟท
ข้อควรรู้                    - เป็นอันตรายต่อผึ้ง

อะมิทราช
(amitraz)
การออกฤทธิ์             เป็นสาร  formamidine  ที่ออกฤทธิ์กำจัดได้ทั้งไรและแมลง  ไม่ออกฤทธิ์ในทางดูดซึม  กำจัดไรได้ทุกระยะของการเจริญเติบโต
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลัน  (acute  oral  LD  50)  ทางปาก  (หนู)  800  มก./กก.  ทางผิวหนังมากกว่า  1,600  มก./กก.  มีพิษกับผึ้งน้อยมาก
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        ไรแมงมุมแดงและไรอื่น ๆ  เพลี้ยอ่อน  แมลงหวี่ขาวฝ้าย  เพลี้ยหอย  หนอนม้วนใบ  ไข่  และหนอนผีเสื้อระยะแรก  ตัวเบียฬภายนอกของสัตว์เลี้ยง  รวมทั้งเห็บ  เหาและไร
พืชที่ใช้                             ส้ม  สวนผลไม้  ไม้ดอก-ไม้ประดับ  สตรอเบอร์รี่  ฝ้าย  และพืชตระกูลแตง
สัตว์ที่ใช้                  วัว  ควาย  หมู  แกะ  แพะและสุนัข
สูตรผสม                  20%  และ  12.5%  อีซี
อัตราการใช้และวิธีใช้    ชนิด  20%  อีซี  ใช้  80  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช  เมื่อพบเห็นว่า  มีแมลงศัตรูพืชรบกวน  สำหรับสัตว์  ใช้ได้ทั้งแบบพ่นบนตัวสัตว์และแบบจุ่ม  โดยให้น้ำยามีความเข้มข้น  0.025-0.05%  สารออกฤทธิ์
การแก้พิษ                ถ้ามีอาการเป็นพิษเกิดที่ผิวหนัง  ให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตา  ให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ  สำหรับยาแก้พิษโดยเฉพาะยังไม่มี  รักษาตามอาการที่ปรากฏ
ข้อควรรู้                    - เป็นอันตรายต่อปลา
                             - ไม่เข้ากับสารเคมีที่มีฤทธิ์เป็นด่าง
                             - ปลอดภัยต่อแมลงที่เป็นประโยชน์ทั้งหมด
                             - จะใช้ได้ผลดีเมื่อสภาพอากาศแห้ง  อย่าใช้  ถ้ามีฝน
                             - มีอันตรายเมื่อถูกผิวหนังและกลืนกินเข้าไป
                             - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  2-7  สัปดาห์

อะซาเม็ทธิฟอส
(azamethiphos)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดแมลง  organophosphate  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลัน  (acute  oral  LD  50)  ทางปาก  1,180  มก./กก.  อาจทำให้ดวงตาเกิดอาการระเคืองเล็กน้อย
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        ไร  เห็บ  เหา  หมัด  ยุง  แมลงวัน  แมงมุม  แมงป่องและด้วง
สถานที่ใช้                 คอกไก่  และฟาร์มปศุสัตว์
สูตรผสม                  50%  ดับบลิวพี , 10%  ดับบลิวพี , 1%  Bait
อัตราการใช้และวิธีใช้    สำหรับสูตร  50%  ใช้อัตรา  50  กรัมผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ฉีดพ่นบนตัวสัตว์หรือบริเวณผนัง  หลังคา  ทากรงหรือคอกสัตว์  อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจากฉลากก่อนใช้
อาการเกิดพิษ            ถ้าเข้าตาจะทำให้ระคายเคืองเล็กน้อย  ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไปจำนวนมาก ๆ  จะทำให้  cholinesterase  enzyme  ลดต่ำลง  ผู้ป่วยอาจมีอาการวิงเวียนศีรษะ  ปวดท้อง  หายใจไม่สะดวก  ม่านตาหรี่  เหงื่อออกมาก  อาการจะทุเลาลงไปได้เองถ้าไม่ได้รับพิษยาเพิ่มขึ้น
การแก้พิษ                ถ้าถูกผิวหนังหรือเข้าตาให้ล้างด้วยน้ำจำนวนมาก ๆ  ถ้ากลืนกินเข้าไป  ทำให้คนไข้อาเจียนด้วยการล้างคอ  หรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น ๆ  แล้วนำผู้ป่วยส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ยาแก้พิษคือ  atropine  sulfate  รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้                    อาจผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอย่างอื่นได้ในขณะที่จะฉีดพ่น

อะซินฟอส-เอ็ทธิล
(azinphos  ethyl)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดแมลง  ออร์กาโนฟอสเฟท  ประเภทถูกตัวตายและกินตาย  เป็น  cholinesterase  inhibitor  มีฤทธิ์ตกค้างยาวนาน  และสามารถกำจัดไข่ได้ด้วย
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลัน  (acute  oral  LD  50)  ทางปาก  (หนู)  ประมาณ  17.5  มก./กก.  ทางผิวหนัง  ประมาณ  250  มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        หนอนหลอดหอม  หนอนคืบกะหล่ำ  หนอนเจาะสมอสีชมพู  หนอนชอนใบ  หนอนใยผัก  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยแป้ง  เพลี้ยจักจั่น  ไรแดง  ไรสนิม  เพลี้ยไฟ  มวนเขียว  มวนดอกรัก  แมลงหวี่ขาว  แมลงปีกแข็งและด้วงต่าง ๆ
พืชที่ใช้                             ส้ม  ฝ้าย  องุ่น  สตรอเบอร์รี่  มันฝรั่ง  ข้าว  ไม้ผล  ผักต่าง ๆ  ยาสูบ  กาแฟ  และพืชอื่น ๆ
สูตรผสม                  40%  อี.ซี.
อัตราการใช้               อัตราการใช้แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับชนิดของพืช  โดยทั่วไปจะใช้อยู่ในระหว่าง  15-40  ซีซี.  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ควรศึกษาจากฉลากให้แน่นอนก่อนใช้
วิธีใช้                       ใช้ก่อนที่แมลงศัตรูจะระบาดหรือทำลายพืชผล  โดยการฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช  ใช้ซ้ำเมื่อจำเป็น
อาการเกิดพิษ            ผู้ที่ได้รับพิษจะมีอาการ  ชีพจรเต้นช้า  เหงื่อออกมาก  ม่านตาหรี่  เวียนศีรษะ  เมื่อยตัว  อาเจียน  ท้องร่วง  ปัสสาวะบ่อยครั้ง  ถ้าได้รับพิษมาก ๆ  หัวใจจะหยุดเต้นและเสียชีวิต
การแก้พิษ                ถ้าถูกผิวหนังและมีอาการเป็นพิษ  ให้รีบล้างด้วยน้ำกับสบู่หลาย ๆ  ครั้ง  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำที่สะอาดมาก ๆ  ถ้ากลืนกินเข้าไป  ให้ผู้ป่วยกินยา  อะโทรปินซัลเฟท  ขนาด  1/100  เกรน  2  เม็ด  แล้วรีบนำส่งแพทย์ทันที
ข้อควรรู้                    - เป็นพิษต่อผึ้งและปลา  มีฤทธิ์ตกค้างยาวนาน  และออกฤทธิ์ได้กว้างขวาง
                             - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  สำหรับสตรอเบอร์รี่และองุ่น  ใช้ก่อน  5-10  วัน
                             - ผัก  มันฝรั่ง  และอื่น ๆ  ใช้ก่อน  15-21  วัน

อะซินฟอส-เมทธิน
(azinphos-methyl)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดแมลงออร์กาโนฟอสเฟท  ประเภทถูกตัวตายและกินตาย
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลัน  (acute  oral  LD  50)  ทางปาก  (หนู)  5-20  มก./กก.  ทางผิวหนัง  220  มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยหอย  เพลี้ยแป้ง  เพลี้ยไฟ  เพลี้ยจักจั่น  แมลงหวี่ขาว  มวนต่าง ๆ
พืชที่ใช้                   ส้ม  องุ่น  สตรอเบอร์รี่  ฝ้าย  ผักต่าง ๆ  แตงโม  แตงกวา  ถั่ว  ยาสูบ  มะเขือเทศ  มันฝรั่ง  หอม  มะเขือ  อ้อย  ไม้ผล  ไม้ดอกและไม้ประดับ
สูตรผสม                  40%  อีซี
อัตราการใช้และวิธีใช้    โดยทั่วไปใช้ในอัตรา  15-40  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  (ควรศึกษารายละเอียดก่อนใช้)  ใช้ในอัตราที่สม่ำเสมอ  ฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืชอย่างละเอียด  และฉีดซ้ำได้ตามความจำเป็น
อาการเกิดพิษ            ผู้ได้รับพิษจะมีอาการตาพร่ามัว  ชีพจรเต้นช้า  อ่อนเพลีย  วิงเวียนคลื่นไส้  อาเจียน  ท้องเดิน  ปวดเกร็งในช่องท้อง  เหงื่อและน้ำตาออกมาก  ปวดปัสสาวะอย่างฉับพลันและมากกว่าปกติ  แน่นหน้าอก  หายใจขัด  กระตุกตามปลายนิ้วมือและเท้า  ถ้าได้รับพิษมาก ๆ  หัวใจจะหยุดเต้นและตาย
การแก้พิษ                ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยสบู่กับน้ำมาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดมาก ๆ  ถ้าผู้ป่วยเกิดพิษเนื่องจากกลืนกินเข้าไปและมีอาการดังกล่าวปรากฏให้เห็น  ให้ใช้ยาถ่ายพวกซาไลน์  เช่น  ดีเกลือ  (Epsom  salt)  พร้อมกับให้กินยาอะโทรปินซัลเฟท  ขนาด  1/100  เกรน  2  เม็ด  แล้วนำส่งแพทย์ทันที  สำหรับยา  ท๊อกโซโกนิน  (Toxogonin)  เป็นยาแก้พิษที่สามารถใช้รักษาร่วมกับอะโทรปินซัลเฟทได้
ข้อควรรู้                    - อย่าให้สัตว์กินพืชที่ใช้สารกำจัดแมลงชนิดนี้
                             - เป็นพิษต่อปลาและสัตว์ปีกสูงมาก  มีอันตรายต่อผึ้ง
                             - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  5-10  วัน  (ส้ม  องุ่น  สตรอเบอร์รี่)

อะโซไซโคลติน
(azocyclotin)
การออกฤทธิ์             เป็นสารประกอบของ  heterocyclic  tin  ที่ใช้ในการกำจัดไร  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัส
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลัน  (acute  oral  LD  50)  ทางปาก  90  มก./กก.  ทางผิวหนังประมาณ  1,000  มก./กก.  อาจทำให้ดวงตาและผิวหนังระคายเคือง
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        ไรชนิดต่าง ๆ
พืชที่ใช้                   องุ่น  ส้ม  ไม้ผล  และพืชผัก
สูตรผสม                  25%-50%  ดับบลิวพี
อัตราการใช้และวิธีใช้    ใช้อัตราตามที่กำหนดบนฉลาก  ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นที่ใบให้ทั่วต้น  เมื่อตรวจพบว่ามีไรกำลังทำลายพืช  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น
ข้อควรรู้                    - เป็นพิษต่อปลา  ไม่เป็นอันตรายต่อผึ้ง
                             - กำจัดไรได้ทั้งในระยะตัวอ่อนและตัวแก่
                             - มีฤทธิ์ในการกำจัดแมลงอย่างอื่น
                             - ผสมได้กับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ

บาซิลลัส  ธูริงกิเอ็นซิส
(Bacillus  thuringiensis)
การออกฤทธิ์             เป็นแบคทีเรีย  (bacteria)  ชนิดหนึ่งที่ทำให้หนอนและแมลงบางชนิดเป็นโรค  และตายในท้ายที่สุด  ออกฤทธิ์โดยการทำให้กระเพาะและไส้ของหนอนเป็นอัมพาตและหยุดกินอาหาร
ความเป็นพิษ             ไม่เป็นอันตรายต่อคน  สัตว์เลี้ยงและแมลงที่เป็นประโยชน์  ปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อม
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        หนอนกระทู้  หนอนคืบกะหล่ำปลี  หนอนหงอนยาสูบ  หนอนใยผัก  และหนอนผีเสื้ออื่น ๆ
พืชที่ใช้                   กะหล่ำปลี  กะหล่ำดอก  บร็อคโคลี่  คื่นฉ่ายและผักอื่น ๆ  ฝ้าย  พืชตระกูลแตง  มะเขือ  หอม  กระเทียม  องุ่น  ส้ม  ถั่วต่าง ๆ  มันฝรั่ง  ฟักทอง  สตรอเบอร์รี่
สูตรผสม                  ชนิดดับบลิวพี.เอฟ  (F)  และชนิดน้ำ  (aqueous)
อัตราการใช้               ศึกษาจากฉลากที่ปิดข้างภาชนะบรรจุ  จะแตกต่างกันออกไปตามชนิดของสูตรผสม
วิธีใช้                       ใช้เมื่อพบเห็นว่ามีแมลงศัตรูพืชครั้งแรก  ให้ใช้ซ้ำทุกอาทิตย์เท่าที่จะจำเป็น  โดยการฉีดพ่นให้ทั่วพื้นที่  ควรใช้ในช่วงตอนเย็นขณะที่มีอากาศร้อน แห้ง
ข้อควรรู้                    - สารกำจัดแมลงชนิดนี้  จะมีประสิทธิภาพและออกฤทธิ์ต่อเมื่อหนอนกินเข้าไป  หนอนจะไม่ตายทันทีและยังคงเกาะอยู่บนต้นพืช  หยุดกินอาหารและจะตายภายใน  2-3  วัน
                             - อย่าปล่อยให้สารละลายที่ใช้ฉีดพ่นอยู่ในถังนานเกินกว่า  12  ชั่วโมง
                             - อย่าเก็บไว้ในที่มีความร้อนสูงกว่า  90  องศาฟาเรนไฮ

เบ็นดิโอคาร์บ
(bendiocarb)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดแมลงคาร์บาเมท  ที่ออกฤทธิ์ในทางถูกตัวตายและกินตาย  เป็น  cholinesterase  inhibitor
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลัน  (acute  oral  LD  50)  ทางปาก  (หนู)  40-120  มก./กก.  ทางผิวหนังมากกว่า  1,000  มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยไฟ  แมลงหวี่ขาว  หนอนใยผัก  ผีเสื้อมันฝรั่ง  มวนต่าง ๆ  ตัวอ่อนแมลงเต่าทอง  ด้วง  ด้วงงวง  ไร  แมลงสาบ  แมลงสามง่าม  ปลวก  แตน  หมัด  ยุง  ศัตรูพืชอื่น ๆ  และศัตรูปศุสัตว์
พืชที่ใช้                   มันฝรั่ง  กะหล่ำ  แตงโม  พืชสวนต่าง ๆ  ไม้ดอกไม้ประดับ  รวมทั้งใช้กำจัดแมลงศัตรูในบ้านเรือน
สูตรผสม                  20% , 80%  ดับบลิวพี , 10%  จี
อัตราการใช้และวิธีใช้    กำจัดแมลงทั่วไปใช้ในอัตรา  15-25  กรัม  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ควรอ่านรายละเอียดในฉลากเพิ่มเติมก่อนใช้  ใช้เมื่อปรากฏว่ามีแมลงศัตรูพืช  โดยฉีดพ่นน้ำยาผสมให้ทั่วต้นพืช  ฉีดซ้ำได้ตามความจำเป็น
อาการเกิดพิษ            ผู้ที่ได้รับพิษจะมีอาการปวดศีรษะ  มึนงง  คลื่นเหียนอาเจียน  ตาพร่า  น้ำลายฟูมปาก  เหงื่อออกมาก  อ่อนเพลีย  เจ็บหน้าอก  เป็นตะคริว  ท้องร่วง  ตัวสั่น  กล้ามเนื้อกระตุก  ถ้าได้รับพิษมาก ๆ  จะหายใจไม่ค่อยออก  ปอดบวม  เกิดอาการกระตุกที่ปลายนิ้วมือและเท้า  และอาจตายเนื่องจากระบบหายใจล้มเหลว
การแก้พิษ                ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยสบู่กับน้ำมาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดมาก ๆ  ถ้าพิษเกิดจากการกลืนกินเข้าไปและมีอาการดังกล่าวข้างต้น  ควรให้ยาพวกซาไลน์  เช่น  ดีเกลือ  (epsom  salt)  แก่คนไข้  พร้อมกับให้กินยาอะโทรปินซัลเฟท  ขนาด  1/100  เกรน  2  เม็ด  แล้วนำส่งแพทย์ทันที  สำหรับแพทย์ถ้าคนไข้มีอาการ  ได้รับพิษสูงและรุนแรง  อาจใช้อะโทรปิน  ซัลเฟท  ขนาด  1-2  มก.  ฉีดแบบ  IM  ทุก  15  นาที  จนกว่าอาการ  atropinization  จะปรากฏให้เห็น
ข้อควรรู้                    - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยวกับพืชอาหาร  ทิ้งระยะเก็บอย่างน้อย  14  วัน 
                             - เป็นพิษต่อปลาสูง
                             - ออกฤทธิ์น๊อคหนอนได้เร็ว  และมีฤทธิ์ตกค้างอยู่ได้นานเกือบ  10  อาทิตย์

เบ็นฟูราคาร์บ
(benfuracarb)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดแมลงคาร์บาเมท  ออกฤทธิ์ในทางถูกตัวตายและกินตาย  มีฤทธิ์ในทางดูดซึม  โดยผ่านทางรากพืช  เป็น  cholinesterase  inhibitor
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลัน  (acute  oral  LD  50)  ทางปาก  (หนู)  138  มก./กก.  (สุนัข)  300  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (หนู)  มากกว่า  2,000  มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด  เพลี้ยกระโดด  เพลี้ยอ่อน  หนอนกระทู้  หนอนกอ  บั่ว  เพลี้ยจักจั่น  หนอนม้วนใบ  หนอนแมลงวัน  ด้วง  หนอนใบกะหล่ำ  เพลี้ยไฟ  เพลี้ยหอย  และไส้เดือนฝอย
พืชที่ใช้                   ข้าว  อ้อย  มันฝรั่ง  ถั่วเหลืองข้าวฟ่าง  ส้ม  ฝ้าย  ข้าวโพด  ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป 
สูตรผสม                  20%  และ  30%  อีซี , 3%  G
อัตราการใช้และวิธีใช้    แตกต่างกันออกไปตามพืชที่ใช้  ควรศึกษาให้ละเอียดก่อนใช้  ใช้ผสมน้ำแล้วฉีดพ่นให้ทั่วใบพืช
อาการเกิดพิษ            ทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนัง  ดวงตา  เมื่อสัมผัสถูก  ถ้ากลืนกินเข้าไปจะมีอาการปวดศีรษะ  คลื่นเหียนอาเจียน  น้ำลายไหลฟูมปาก  เหงื่อออกมาก  กล้ามเนื้อบิดเกร็งกระตุก  ตัวสั่นและหายใจลำบาก
การแก้พิษ                ในกรณีที่เกิดพิษที่ผิวหนังให้ล้างด้วยสบู่กับน้ำมาก ๆ  ถ้ากลืนกินเข้าไปให้รีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์  ให้ดื่มน้ำก่อน  1-2  แก้ว  แล้วทำให้อาเจียนด้วยการใช้นิ้วล้วงคอ  ถ้าคนไข้หมดสติอย่าทำให้คนไข้อาเจียนหรือให้สิ่งของใด ๆ  ทางปากคนไข้  ถ้าหายใจเอาละอองไอเข้าไป  ให้ย้ายคนไข้ไปอยู่ในที่มีอากาศบริสุทธิ์  สำหรับแพทย์  ห้ามใช้ยาพวกอ๊อกไซม์  (oximes)  เช่น  2-PAM  แต่ให้ใช้อะโทรปินซัลเฟท  ขนาด  2  มก.  ฉีดเข้าทางเส้นเลือด  (IV)  หรือฉีดใต้ผิวหนังก็ได้
ข้อควรรู้                    - ไม่มีการจำหน่ายในอเมริกา
                             - เป็นอันตรายต่อปลาสูง  อย่าปล่อยให้ปะปนกับน้ำในแม่น้ำลำคลอง
                             - เป็นอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง

เบนซัลแท็พ
(bensultap)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดแมลง  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลัน  (acute  oral  LD  50)  ทางปาก  (หนูตัวผู้)  1,105  มก./กก. 
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        ด้วงมันฝรั่ง  หนอนกอข้าว  หนอนกระทู้  หนอนใยผัก  หนอนชอนใบ  ด้วงงวงเจาะสมอ  เพลี้ยไฟ  เพลี้ยอ่อน  และแมลงอื่น ๆ
พืชที่ใช้                   ข้าว  ฝ้าย  องุ่น  ข้าวโพด  มันฝรั่ง  ไม้ผล  พืชผักและพืชอื่น ๆ
สูตรผสม                  50%  ดับบลิวพี  และ  4%  จี
อัตราการใช้และวิธีใช้    ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก  ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดีแล้วฉีดพ่นที่ใบให้ทั่วทั้งต้นเมื่อตรวจพบว่ามีแมลงศัตรูพืชกำลังทำลายพืชเพาะปลูก  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น
ข้อควรรู้                    - อาจทำให้ดวงตาและผิวหนังเกิดอาการระคายเคืองได้
                             - อย่าผสมกับสารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง
                             - ค่อนข้างจะปลอดภัยต่อปลา
                             - ไม่เป็น  cholinesterase  inhibitor
                             - หนอนที่ถูกตัวยาจะเคลื่อนไหวได้เชื่องช้าและหยุดกินอาหารและตายในเวลาต่อมา
                             - ออกฤทธิ์ได้ช้า
เบ็นโซเมท
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดไรที่ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและมีฤทธิ์ตกค้าง
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลัน  (acute  oral  LD  50)  ทางปาก   15,000  มก./กก. 
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        ไรชนิดต่าง ๆ ทั้งในระยะที่เป็นไข่และตัวแก่
พืชที่ใช้                   ส้ม  องุ่น  และไม้ผลทั่วไป
สูตรผสม                  20% อีจี
อัตราการใช้และวิธีใช้    ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก  ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดีแล้วฉีดพ่นที่ใบให้ทั่วทั้งต้นเมื่อตรวจพบว่ามีไรรบกวนพืชที่ปลูก  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น
ข้อควรรู้                    - ค่อนข้างจะเป็นพิษต่อปลา  แต่ไม่เป็นอันตรายต่อแมลงที่มีประโยชน์
                             - อย่าผสมกับ EPN  หรือ  Bordeaux
                             - ผสมได้กับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ

ไบเฟนธริน
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดแมลงและไร
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลัน  ทางปาก  (หนู)  375  มก./กก. 
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        หนอนชอนใบ  หนอนใยผัก  หนอนเจาะสมอสีชมพู  หนอนเจาะสมอฝ้าย  ไรแดง  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยจักจั่น  เพลี้ยไฟ  เพลี้ยไก่ฟ้า  แมลงหวี่ขาว
พืชที่ใช้                   ส้ม  ฝ้าย  มะเขือเทศมะเขืออื่นๆ  กระถิน
สูตรผสม                  10%  อีซี
อัตราการใช้และวิธีใช้    10-30  ซีซี  ผสมน้ำ  20 ลิตร
อาการเกิดพิษ            ถ้าถูกผิวหนัง  ดวงตา จะก่อให้เกิดอาการระคายเคือง ถ้าสูดดมเขาไปจะมีอาการวิงเวียน คลื่นไส้ ตาพร่า และระบบหายใจระคายเคือง ถ้าได้รับปริมาณมากอาจมีอาการชักกระตุก หมดสติและเสียชีวิต
การแก้พิษ                หากถูกผิวหนังต้องล้างด้วยน้ำกับสบู่ หากเข้าตาต้องล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง แล้วไปพบแพทย์ ถ้ากลืนกินเข้าไป ห้ามทำให้อาเจียน รีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์ทันที พร้อมด้วยฉลากวัตถุมีพิษ  สำหรับแพทย์ ช่วยทำให้ผู้ป่วยหายใจสะดวก โดยการดูแสมหะและให้ออกซิเจน ทำการ้างท้องโดยใช้ endotracheal tube เพื่อป้องกัน  chemical  pneumonia  และตามด้วย activated charcoal และยาถ่ายโซเดียมซัลเฟททางสายยาง  หากผู้ป่วยมีอาการชักให้ใช้ยา diazepam 2-5 มก./IV  หรือ IM รักษาตามอาการ

ไบนาพาคริล
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดไรประเภทดูดซึมและมีประสิทธิภาพในการกำจัดโรคราแป้งได้ด้วย
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลัน  ทางปาก (หนู)  421  มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        ตัวเต็มวัยและไข่ของไรชนิดต่าง ๆ
พืชที่ใช้                   ฝ้าย ปอกะเจา ข้าวฟ่าง ถั่ว พริก แตง มะเขือ มะเขือเทศ ชา องุ่น มะม่วง  ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม                  40 %  อีซี
อัตราการใช้และวิธีใช้    ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ผสมกับน้ำแล้วฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช
อาการเกิดพิษ            อาจเกิดขึ้นภายหลังจากรับพิษโดยทางสัมผัส  สูดดมหรือกินเข้าไป ทางปากเป็นเวลา 2 วัน โดยในระยะแรกจะมีอาการเป็นไข้  ความร้อนสูง  เหนื่อยและไม่มีแรง กระหายน้ำ คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออกมาก หายใจลำบาก ในระยะหลังจะมีอาการมึนงง ตัวเขียวคล้ำเพราะขาดออกซิเจน กล้ามเนื้อตามตัวจะสั่นกระตุกและหมดสติ บางรายอาจมีอาการปัสสาวะเป็นเลือด ตับไตเป็นแผล พร้อมกับมีอาการดีซ่านตามมา
การแก้พิษ                ถ้าเป็นพิษที่เกิดจากการสัมผัส  ให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ หรือจะใช้น้ำยาล้างตาไอโวโทนิคก็ได้ ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไปให้ล้างท้องคนไข้ทันทีด้วยการใช้ยาโซเดียมไบคาร์โบเนท 5% ถ้ายังล้างท้องไม่ได้ต้องทำให้คนไข้อาเจียนด้วยการใช้ยา syrup of IPECAC และถ่ายท้องโดยใช้ยา saline cathartics แล้วรักษาด้วยยา Phenobarbitol หรือรักษาตามอาการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น