(นายยักษ์เขียว)
ฟธาไลด์
(fthalide)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา phthalide ใช้กำจัดโรคที่เกิดกับใบพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลัน 20,000 มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคบลาสของข้าว
พืชที่ใช้ ข้าว
สูตรผสม 2.5% ฝุ่น 50% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ฉีดพ่นให้ทั่วพื้นที่ปลูกข้าว
ข้อควรรู้ - ปลอดภัยต่อปลา
- อาจใช้ผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ ได้
- ยังไม่มีผู้นำเข้ามาจำหน่ายในประเทศ
กัวซาทีน อะซีเตท
(guazatine acetate)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อราที่มีสาร guanidine เป็นองค์ประกอบ ใช้เป็นสารคลุกเมล็ดและฉีดพ่นที่ใบเพื่อป้องกันและกำจัดโรคพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลัน 230 มก./กก. ทางผิวหนัง 1,176 มก./กก. อาจทำให้ดวงตาเกิดอาการระคายเคือง
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคพืชที่อยู่ในดิน โรคบลาสของข้าว โรคสัปปะรดของอ้อย
พืชที่ใช้ ข้าว ธัญพืช เมล็ดธัญพืช อ้อย รวมทั้งใช้ฉีดพ่นสัปปะรดและส้ม ภายหลังการเก็บเกี่ยว
สูตรผสม ชนิดผง 40% ชนิดน้ำ 60%
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ในกรณีใช้ฉีดพ่นที่ใบให้ใช้ก่อนที่โรคพืชจะปรากฏให้เห็น
ข้อควรรู้ - อย่านำเมล็ดที่คลุกด้วยสารกำจัดเชื้อราชนิดนี้ไปเป็นอาหารของคนและสัตว์
- เป็นพิษต่อปลา
- อย่าเก็บเมล็ดที่คลุกด้วยสารกำจัดเชื้อราชนิดนี้ไว้นานเกินกว่า 6 เดือน
- เข้ากับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ ได้
- เป็นสารขับไล่นก
- ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ไฮเม็กซาโซล
(hymexazol)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา isoxazole ประเภทดูดซึมโดยทางดิน
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 3,900 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 2,000 มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคพืชที่อยู่ในดิน เช่น โรคที่เกิดจากเชื้อ Phythium spp. โรคเน่าคอดิน (damping off) โรคที่เกิดจากเชื้อ Fusarium spp.
พืชที่ใช้ ข้าว พืชตระกูลแตง ผักต่าง ๆ ไม้ดอก ไม้ประดับและไม้ป่า
สูตรผสม 30% อีซี 4% ฝุ่น 70% เอสดี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก โดยการรดที่โคนต้น คลุกดินหรือคลุกกับเมล็ด
ข้อควรรู้ - มีพิษต่อปลาต่ำ
- ไม่มีประสิทธิภาพต่อเชื้อ Rhizoctonia spp.
- เร่งการเจริญเติบโตของรากข้าวและพืชอื่น ๆ
- ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
อิมาซาลิล
(imazalil)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อราประเภทดูดซึมที่มีสาร imidazole เป็นองค์ประกอบ ออกฤทธิ์ให้ผลในทางรักษาและป้องกันโรคพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 320 มก./กก. ทางผิวหนัง 4,200 มก./กก. (หนู) เป็นอันตรายต่อดวงตา
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคราแป้ง โรคราสีเทา โรคซิกาโตก้า โรคที่เกิดจากเชื้อ Pinicillium spp. , Diplodia spp. , Alternaria spp. , Fusarium spp. , Verticillium spp. , Botrytis spp. , Molinia spp. , Septoria spp.
พืชที่ใช้ ใช้ภายหลังเก็บเกี่ยวกับกล้วยและส้ม ใช้คลุกกับเมล็ดพืชขนาดเล็กและฝ้าย
สูตรผสม 50% อีซี 75% เอสพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก
ข้อควรรู้ - เป็นพิษต่อปลา
- กัดกร่อนโลหะ
- ชนิดผงละลายน้ำ (ดับบลิวพี) ไม่เข้ากับผลิตภัณฑ์ที่มีฤทธิ์เป็นด่าง
- ช่วยลดการเน่าของผลไม้ที่บรรจุในกล่อง
ไอโปรเบ็นฟอส หรือ ไอบีพี
(iprobenfos or IBP)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา organophosphorous ประเภทดูดซึม ออกฤทธิ์ให้ผลในทางป้องกันและรักษาโรคพืช รวมทั้งมีคุณสมบัติเป็นสารกำจัดแมลงได้ด้วย
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 490 มก./กก. ทางผิวหนัง 5,000 มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคบลาสของข้าว (Rice blast) โรคกาบใบแห้งของข้าว (Rice sheath blight) โรคลำต้นเน่า รวมทั้งหนอนเจาะลำต้น เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น
พืชที่ใช้ ข้าว
สูตรผสม 48% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตรา 20 ซีซี ผสมกับน้ำ 20 ลิตร กวนให้เข้ากันดีแล้วฉีดพ่นที่ใบให้ทั่วพื้นที่ในทันทีที่ตรวจพบว่ามีโรคบลาสในแปลงปลูก
อาการเกิดพิษ ถ้าได้รับพิษน้อยจะมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน น้ำลายออกมาก แน่นหน้าอก ท้องเสีย ปวดท้อง ม่านตาหรี่ อาจมีอาการกล้ามเนื้อกระตุก มองเห็นภาพไม่ชัดเจน ถ้าอาการรุนแรงจะมีอาการชัก ตาไม่มีปฏิกิริยาต่อแสง ปอดบวม ความดันโลหิตสูง กลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่อยู่
การแก้พิษ ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนัง ให้ล้างตาด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไป ให้รีบนำคนไข้ส่งแพทย์ สำหรับแพทย์ ยาแก้พิษคือ อะโทรปินซัลเฟท โดยใช้ขนาด 2 มก. ฉีดแบบ IM และฉีดซ้ำทุก 2-3 นาที จนกว่าจะเกิดอาการ atropinization ห้ามใช้ Morphine และ barbiturates กับคนไข้
ข้อควรรู้ - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว 21 วัน
- ใช้เป็นสารเสริมฤทธิ์ (synergist) ของสารกำจัดแมลงได้ โดยเฉพาะเมื่อผสมกับสารพวก ออร์กาโนฟอสโฟรัส และ ไพรีทรอยด์ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดเพลี้ยกระโดดและเพลี้ยจักจั่นที่มีความต้านทานต่อสารกำจัดแมลงอื่น ๆ ได้มากยิ่งขึ้น
- ห้ามใช้ร่วมกับสารที่มีฤทธิ์เป็นด่างหรือ ดีซีพีเอ (DCPA)
- เข้าได้กับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น