วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

สารป้องกันและกำจัดโรคพืช ตอนที่ 15

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำ ชื่อสารเคมี(ชื่อสามัญ) ชนิดต่างๆ  มาเผยแพร่ให้เกษตรกร,ผู้สนใจ,ฯลฯ ได้รู้ถึงประโยชน์, อันตราย, และความเป็นพิษเพื่อจะได้เลือกใช้สารเคมีอย่างระมัดระวัง(ในกรณีที่จำเป็น) มิได้ต้องการส่งเสริมให้เกษตรกรหรือผู้อ่านใช้สารเคมีเพิ่มขึ้น เพียงแต่หากจำเป็นต้องใช้สารเคมี  ก็ควรใช้อย่างรู้คุณและโทษของมันอย่างถูกต้อง และได้ประโยชน์ คุ้มค่ากับเงินลงทุนที่เสียไปทุกบาททุกสตางค์ และไม่ทำให้ผู้บริโภครวมถึงตัวเกษตรกรและผู้ใช้เองต้องตกเป็นเหยื่อของพิษ ภัยจากการใช้สารเคมีโดยมิได้รู้แจ้ง ซึ่ง ทางผู้โพสหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรและบุคคลทั่วไปไม่มากก็น้อย  สำหรับท่านที่มีเพื่อน,มิตร,ญาติสนิท,ฯลฯ ที่ทำเกษตร หรือเกี่ยวข้องทางด้านนี้อยู่ ก็รบกวนช่วยนำไปเผยแพร่นะครับ ผมเองได้ข้อมูลมาตั้งแต่สมัยที่ยังทำการเกษตรอยู่ จาก หนังสือ "สารกำจัดศัตรูพืชในประเทศไทย"  เป็นหนังสือที่หาค่อนข้างยาก ปัจจุบันไม่ทราบว่ามีตีพิมพ์อีกหรือไม่ แต่ข้อมูลก็ยังสามารถใช้ได้ดีอยู่ จึงอยากนำมาเผยแพร่ให้คนรักต้นไม้,เกษตรกร,หรือคนที่เกี่ยวข้องได้ทราบกัน
 (นายยักษ์เขียว)

อ๊อกซี่คาร์บ๊อกซิน
(oxycarboxin)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดเชื้อรา  anilide  หรือ  oxathiin  ประเภทดูดซึม  ออกฤทธิ์ให้ผลในทางป้องกันและรักษาโรคพืช  ซึมผ่านทางใบและรากเข้าสู่ลำต้น
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  2,000  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (กระต่าย)  มากกว่า  16,000  มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้        โรคราสนิม  (rust)
พืชที่ใช้                   กาแฟ  ธัญพืช  ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม                  20เอสแอล
อัตราใช้และวิธีใช้        ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก
การแก้พิษ                ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้                    - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  21  วัน
                             - เป็นอันตราย  เมื่อกลืนกินเข้าไป  ทำให้ดวงตา  ผิวหนัง  และระบบทางเดินหายใจเกิดอาการระคายเคือง
                             - เป็นอันตรายต่อปลา
                             - อย่าใช้กับพืชอาหารคนและสัตว์
                             - อย่าผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอย่างอื่น

เพ็นไซคูรอน
(pencycuron)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดเชื้อรา  phenylurea  ประเภทไม่ดูดซึม  ออกฤทธิ์เมื่อสัมผัสถูก  และ  ให้ผลในทางป้องกันมิให้เกิดโรคพืช
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  5,000  มก./กก.  ทางผิวหนัง  มากกว่า  2,000  มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้        โรคที่เกิดจากเชื้อ  Rhizoctonia  spp.  และ  Pellicularia  spp.  โรคเน่าคอดิน  โรคกาบใบไหม้และอื่น ๆ
พืชที่ใช้                   มันฝรั่ง  ข้าว  ไม้ดอก  ไม้ประดับและพืชอื่น ๆ
สูตรผสม                  25ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้        ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก
การแก้พิษ                ยาแก้พิษโดยเฉพาะยังไม่เป็นที่ทราบกัน  รักษาตามอาการที่ปรากฏ
ข้อควรรู้                    - ถ้าใช้ตามคำแนะนำจะไม่เป็นพิษต่อต้นพืช
                             - เป็นพิษต่อปลา
                             - ไม่กำจัดโรคที่เกิดจากเชื้อ  Pythium  spp.  และ  Fusarium  spp.
                             - ผสมกับสารกำจัดเชื้อราอย่างอื่นได้เพื่อให้สามารถกำจัดโรคพืชได้กว้างขวางยิ่งขึ้น

ฟีนาซิน อ๊อกไซด์
(phenazin  oxide)
การออกฤทธิ์             กำจัดเชื้อรา
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  3,310  มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้        โรคใบไหม้ของข้าวที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย  (bacteria)
พืชที่ใช้                   ข้าว
สูตรผสม                  10ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้       
ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก
การแก้พิษ                ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  ในกรณีที่กินเข้าไป  ต้องทำให้อาเจียน  แล้วรักษาตามอาการ  ในกรณีที่เกิดพิษเนื่องจากการสัมผัสที่ผิวหนังและดวงตา  ให้ล้างด้วยน้ำมาก ๆ  นานอย่างน้อย  15  นาที

ฟอสโฟรัส  แอซิค
(phosphorous  acid)
การออกฤทธิ์             เป็นสารป้องกันกำจัดโรคพืชประเภทดูดซึม  (systemic)  และสามารถเคลื่อนย้ายภายในต้นพืชได้อย่างดี
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  11,800  มก./กก.  ทางผิวหนัง  มากกว่า  13,400  มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้        โรคโคนเน่า  หรือรากเน่าที่เกิดจาก  Phytophthora  sp.
พืชที่ใช้                   ส้มต่าง ๆ  สัปปะรด  และทุเรียน
สูตรผสม                  40%  W/V  A5
อัตราการใช้               ใช้โดยวิธีอัดฉีดเข้าต้นพืช  ใช้ผสมกับน้ำกลั่นในอัตรา  1:1  ถ้าใช้วิธีราดโคนต้นหรือฉีดพ่นใบ  ใช้อัตรา  100  ซีซี  ผสมน้ำ  20  ลิตร  แล้วฉีดที่ใบหรือราดโคนต้นในอัตราต้นละ  5  ลิตร  ทุกระยะ  30  วัน
อาการเกิดพิษ            ทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนังและดวงตา  สำหรับผู้แพ้  หากกลืนกินเข้าไป  อาจทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย  หัวใจเต้นเร็วและอาเจียน
การแก้พิษ                รีบนำผู้ป่วยออกจากบริเวณที่มีการใช้วัตถุมีพิษ  ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำสะอาดจำนวนมาก ๆ  หากเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง  หากเข้าปากให้รีบล้างปากด้วยน้ำสะอาด  ถ้ากลืนกินและยังไม่หมดสติ  ทำให้อาเจียนโดยการล้วงคอหรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น  ถ้าหายใจติดขัดให้ช่วยผายปอดแล้วนำผู้ป่วยส่งแพทย์  รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้                    ควรพ่นก่อนหรือหลังฝนตก  4-6  ชั่วโมง

พีเอ็มเอ  หรือ  ซีรีแซน
(PMA  or  Ceresan)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดเชื้อราที่มี  mercury  เป็นองค์ประกอบ  มีประสิทธิภาพในการกำจัดโรคพืชที่เกิดตามใบและใช้คลุกเมล็ดป้องกันโรคพืช
ความเป็นพิษ             ชนิด  20มีพิษเฉียบพลันทางปาก  100  มก./กก.  ชนิด  Technical  grade  มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  22-44  มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้        โรคที่เกิดจากเมล็ด  (seed  born)  โรค  dollar  spot  โรค  copper  spot  โรค  brown  และ  pink  patch  โรคที่เกิดจากเชื้อ  Helminthosporium  spp.  และโรคอื่น ๆ
พืชที่ใช้                   ใช้คลุกเมล็ดฝ้าย  ข้าว  ข้าวฟ่าง  และข้าวสาลี
สูตรผสม                  1-22ดับบลิวพี
ข้อควรรู้                    ปัจจุบันไม่มียาชนิดนี้จำหน่ายในประเทศและถูกห้ามใช้ในอีกหลาย ๆ ประเทศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น