วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

สารป้องกันและกำจัดโรคพืช ตอนที่ 16

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำ ชื่อสารเคมี(ชื่อสามัญ) ชนิดต่างๆ  มาเผยแพร่ให้เกษตรกร,ผู้สนใจ,ฯลฯ ได้รู้ถึงประโยชน์, อันตราย, และความเป็นพิษเพื่อจะได้เลือกใช้สารเคมีอย่างระมัดระวัง(ในกรณีที่จำเป็น) มิได้ต้องการส่งเสริมให้เกษตรกรหรือผู้อ่านใช้สารเคมีเพิ่มขึ้น เพียงแต่หากจำเป็นต้องใช้สารเคมี  ก็ควรใช้อย่างรู้คุณและโทษของมันอย่างถูกต้อง และได้ประโยชน์ คุ้มค่ากับเงินลงทุนที่เสียไปทุกบาททุกสตางค์ และไม่ทำให้ผู้บริโภครวมถึงตัวเกษตรกรและผู้ใช้เองต้องตกเป็นเหยื่อของพิษ ภัยจากการใช้สารเคมีโดยมิได้รู้แจ้ง ซึ่ง ทางผู้โพสหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรและบุคคลทั่วไปไม่มากก็น้อย  สำหรับท่านที่มีเพื่อน,มิตร,ญาติสนิท,ฯลฯ ที่ทำเกษตร หรือเกี่ยวข้องทางด้านนี้อยู่ ก็รบกวนช่วยนำไปเผยแพร่นะครับ ผมเองได้ข้อมูลมาตั้งแต่สมัยที่ยังทำการเกษตรอยู่ จาก หนังสือ "สารกำจัดศัตรูพืชในประเทศไทย"  เป็นหนังสือที่หาค่อนข้างยาก ปัจจุบันไม่ทราบว่ามีตีพิมพ์อีกหรือไม่ แต่ข้อมูลก็ยังสามารถใช้ได้ดีอยู่ จึงอยากนำมาเผยแพร่ให้คนรักต้นไม้,เกษตรกร,หรือคนที่เกี่ยวข้องได้ทราบกัน
 (นายยักษ์เขียว)

โปลี่อ๊อกซิน
(polyoxins)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดเชื้อรา  antibiotic  ประเภทดูดซึม  ออกฤทธิ์ให้ผลในทางป้องกันโรคพืช
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลัน  21,200  มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้        โรคกาบใบไหม้ของข้าว  โรคจุดดำ  โรคที่เกิดจากเชื้อ  Alternaria  และ  Botrytis  โรคเน่า  Sclerotinia  โรคใบจุด  โรคราแป้ง  และอื่น ๆแ
พืชที่ใช้                   ข้าว  มะเขือเทศ  พืชตระกูลแตง  สตรอเบอร์รี่  แครอท  ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม                  2.2ดับบลิวพี  10อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้        ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก  เมื่อมีโรคพืชปรากฏ  ฉีดพ่นซ้ำได้ทุก  10  วัน
การแก้พิษ                ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้                    - ห้ามผสมกับสารเคมีที่มีสภาพเป็นด่าง
                             - ผสมได้กับสารกำจัดศัตรูพืชอย่างอื่น

โปรคลอราซ
(prochloraz)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดเชื้อรา  imidazole  ออกฤทธิ์ให้ผลในทางป้องกันและกำจัดโรคพืช
ความ เป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  1,600  มก./กก.  ทางผิวหนัง  มากกว่า  3,000  มก./กก.  ทำให้ดวงตาและผิวหนังระคายเคือง
โรคพืชที่กำจัดได้       
โรคราแป้ง  Fusarium , Septoria  spp.  โรคสแคป  Botrytis , Alternaria , Sclerotina , Cercospora , Rice  blast , Penicillium  spp.  และโรคอื่น ๆ อีกจำนวนมาก
พืชที่ใช้                   ข้าวและธัญพืชทั่วไป  เห็ดและผักต่าง ๆ
สูตรผสม                  50ดับบลิวพี
อัตรา ใช้และวิธีใช้        ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก  ผสมน้ำแล้วฉีดพ่นที่ใบและต้นพืช  เมื่อพบเห็นว่าโรคพืชเริ่มปรากฏ  ใช้เป็นสารคลุกเมล็ดป้องกันโรคพืชได้ด้วย
การแก้พิษ                ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้                    - เป็นพิษต่อปลา  แต่ปลอดภัยสำหรับผึ้งและแมลงที่มีประโยชน์อื่น ๆ
                             - อาจใช้ผสมฉีดพ่นร่วมกับสารกำจัดศัตรูพืชอย่างอื่นได้

โปรไซมิโดน
(procymidone)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดเชื้อรา  dicarboximide  ประเภทดูดซึม  และออกฤทธิ์ในทางสัมผัส  ให้ผลในทางป้องกันและบำบัดรักษาโรคพืช
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  6,800  มก./กก.  ทางผิวหนัง  มากกว่า  2,500  มก./กก.  (หนู)
โรคพืชที่กำจัดได้        โรคที่เกิดจากเชื้อ  Botrytis , Sclerotinia , Helminthosporium  และ  Monillinia  spp.
พืชที่ใช้                   พืชผัก  ไม้ผลและพืชไร่  เช่น  ธัญพืช  ถั่ว  มันฝรั่ง  และอื่น ๆ
สูตรผสม                  50ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้        ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก  เมื่อปรากฏว่ามีโรคพืช  ใช้ซ้ำได้ตามกำหนด
การแก้พิษ                ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้                    - ห้ามผสมกับสารเคมีที่มีสภาพเป็นด่าง
                             - ค่อนข้างจะเป็นพิษต่อปลา
                             - ให้ผลดีในการกำจัดเชื้อโรคพืชที่มีความต้านทานต่อสารกำจัดเชื้อราโนมิลและธิโอฟาเนท  เม็ทธิล
                             - มีความคงตัวอยู่ได้นานมากกว่าหนึ่งอาทิตย์

โปรพาโมคาร์บ
(propamocarb)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดเชื้อรา  carbamate  ประเภทดูดซึม  ออกฤทธิ์ให้ผลในทางป้องกันโรคพืช  สามารถดูดซึมเข้าไปในต้นได้โดยทางรากและเคลื่อนย้ายไปอยู่ที่ใบพืช
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  7,860  มก./กก.  (หนู)  ทางผิวหนัง  มากกว่า  3,600  มก./กก.  (กระต่าย)
โรคพืชที่กำจัดได้        โรคเน่าคอดิน  โรค  Black  shank  โรคราน้ำค้าง  โรคราสนิม  และโรคที่เกิดจากเชื้อ  Pythium , Phytophthora , Bremia , Aphanomyces , Peronospora , Pseudoperonospora  และอื่น ๆ
พืชที่ใช้                   ยาสูบ  พืชผักและพืชอย่างอื่น
สูตรผสม                  72อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้        ปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลาก  ใช้ซ้ำได้ทุก  7-21  วัน
การแก้พิษ                ยาอะโทรปิน
ข้อควรรู้                    - ควรใช้เป็นสารป้องกันโรคพืช
                             - ควรใช้ร่วมกับสารกำจัดเชื้อราอย่างอื่นเพื่อเพิ่มขอบเขตการกำจัดโรคพืช
                             - ไม่เป็นพิษต่อปลาและสัตว์ป่า
                             - ออกฤทธิ์ตกค้างอยู่ได้  10-21  วัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น