วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554

สารป้องกันและกำจัดโรคพืช ตอนที่ 18

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำ ชื่อสารเคมี(ชื่อสามัญ) ชนิดต่างๆ  มาเผยแพร่ให้เกษตรกร,ผู้สนใจ,ฯลฯ ได้รู้ถึงประโยชน์, อันตราย, และความเป็นพิษเพื่อจะได้เลือกใช้สารเคมีอย่างระมัดระวัง(ในกรณีที่จำเป็น) มิได้ต้องการส่งเสริมให้เกษตรกรหรือผู้อ่านใช้สารเคมีเพิ่มขึ้น เพียงแต่หากจำเป็นต้องใช้สารเคมี  ก็ควรใช้อย่างรู้คุณและโทษของมันอย่างถูกต้อง และได้ประโยชน์ คุ้มค่ากับเงินลงทุนที่เสียไปทุกบาททุกสตางค์ และไม่ทำให้ผู้บริโภครวมถึงตัวเกษตรกรและผู้ใช้เองต้องตกเป็นเหยื่อของพิษ ภัยจากการใช้สารเคมีโดยมิได้รู้แจ้ง ซึ่ง ทางผู้โพสหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรและบุคคลทั่วไปไม่มากก็น้อย  สำหรับท่านที่มีเพื่อน,มิตร,ญาติสนิท,ฯลฯ ที่ทำเกษตร หรือเกี่ยวข้องทางด้านนี้อยู่ ก็รบกวนช่วยนำไปเผยแพร่นะครับ ผมเองได้ข้อมูลมาตั้งแต่สมัยที่ยังทำการเกษตรอยู่ จาก หนังสือ "สารกำจัดศัตรูพืชในประเทศไทย"  เป็นหนังสือที่หาค่อนข้างยาก ปัจจุบันไม่ทราบว่ามีตีพิมพ์อีกหรือไม่ แต่ข้อมูลก็ยังสามารถใช้ได้ดีอยู่ จึงอยากนำมาเผยแพร่ให้คนรักต้นไม้,เกษตรกร,หรือคนที่เกี่ยวข้องได้ทราบกัน
 (นายยักษ์เขียว)


ไพราโซฟอส
(pyrazophos)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดเชื้อรา  organophosphate  pyrimidine  ประเภทดูดซึมออกฤทธิ์ให้ผลในทางป้องกันและบำบัดรักษาโรคพืช
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  415-778  มก./กก.  ทางผิวหนัง  มากกว่า  2,000  มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้        โรคราแป้ง  และโรคที่เกิดจากเชื้อ  Helminthosporium  spp.
พืชที่ใช้                   องุ่น  พืชตระกูลแตง  ฟักทอง  สตรอเบอร์รี่  ธัญพืช  ยาสูบ  ผักต่าง ๆ  และไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม                  30อีซี
อัตรา ใช้และวิธีใช้        ใช้อัตรา  6-10  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  กวนให้ผสมกันดี  แล้วฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช  ใช้ซ้ำได้ทุก  7-14  วัน
อาการ เกิดพิษ            อาจทำให้ดวงตาและผิวหนังเกิดอาการระคายเคือง  ถ้าเข้าปาก  จะมีอาการมึนงง  ปวดศีรษะ  อ่อนเพลีย  กระวนกระวาย  อาการสั่นที่ปลายลิ้นและเปลือกตา  ม่านตาหรี่  คลื่นไส้  อาเจียน  เหงื่อออกมาก  ปวดท้องเกร็ง  ชีพจรเต้นช้า  กล้ามเนื้อเกร็ง  ในกรณีที่รับพิษเข้าไปมากระบบประสาทจะถูกทำลายและกล้ามเนื้ออ่อนเปลี้ย
การ แก้พิษ                ถ้าถูกผิวหนังหรือดวงตา  ให้ล้างด้วยน้ำมาก ๆ  ถ้าเข้าปาก  ห้ามทำให้อาเจียน  สำหรับแพทย์  ให้คนไข้ด้วยยา  liquid  paraffin  ขนาด  200  มิลลิลิตร  แล้วล้างท้องโดยใช้น้ำ  4  ลิตร  ระวังอย่าให้สารพิษหลงเข้าไปในระบบทางเดินหายใจ  เมื่อล้างท้องเสร็จแล้วให้คนไข้รับประทานแอ๊คติเวทเต็ด ซาร์โคล  และ  โซเดียมซัลเฟท  ให้  อะโทรปินซัลเฟท  2  มิลลิกรัม  ฉีดเข้าทางเส้นเลือดดำและฉีดซ้ำทุก  15  นาที  และให้  Toxogonin  250  มิลลิลิตร  หรือฉีด  2-0.5-1  กรัม  ทางเส้นเลือดดำช้า ๆ 
ข้อควรรู้                    - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  14  วัน
                             - เป็นอันตรายกับผึ้ง  ไม่ควรใช้ในระยะที่พืชกำลังออกดอก
                             - เป็นอันตรายต่อปลา
                             - ไม่เหมาะที่จะใช้เป็นสารคลุกเมล็ดหรือราดดิน
                             - เข้ากับสารกำจัดศัตรูพืชอื่นได้

ไพโรควิลอน
(pyroquilon)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดเชื้อรา  pyrroloquinoline  ประเภทดูดซึม
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  320  มก./กก.  ทางผิวหนัง  มากกว่า  3,100  มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้        กำจัดเชื้อ  Pyricularia  oryzae  ของข้าว
พืชที่ใช้                   ข้าว
สูตรผสม                  2.7จี
อัตราใช้และวิธีใช้        ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก

ควินโตซีน  หรือ  พีซีเอ็นบี
(quintozene  or  PCNB)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดเชื้อรา  organochlorine  ออกฤทธิ์ให้ผลในทางป้องกัน  โรคพืชที่อยู่ในดินและใช้คลุกเมล็ด
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  15,000  มก./กก.  อาจทำให้ผิวหนังระคายเคือง
โรคพืชที่กำจัดได้        โรคเน่าดำของกะหล่ำปลี  โรครากเน่าของฝ้าย  โรคสแคปของกะหล่ำปม  โรคที่เกิดจากเชื้อ  Rhizoctonia  spp.  และ  Sclerotinia  spp.  โรคต้นเน่าและรากเน่าของถั่วเหลือง  โรคใบไหม้ของมะเขือเทศและพริกไทย  โรคเน่าของกระเทียมและโรคอื่น ๆ อีกมาก
พืช ที่ใช้                   กะหล่ำปลี  กะหล่ำดอก  กะหล่ำปม  ถั่วต่าง ๆ  ข้าว  ข้าวโพด  ฝ้าย  กระเทียม  พริกไทย  มันฝรั่ง  ข้าวฟ่าง  มะเขือเทศ  ข้าวสาลี  กล้วย  ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม                  75ดับบลิวพี  24อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้        ชนิด  75ใช้คลุกเมล็ดหรือคลุกดินตามอัตราที่กำหนดบนฉลาก  หรืออาจจะใช้อัตราที่กำหนดผสมกับน้ำ  แล้วราดบริเวณโคนต้นก็ได้
อาการ เกิดพิษ            ถ้าถูกผิวหนังจะเกิดอาการระคายเคือง  หรือมีอาการแพ้  ถ้าเข้าตาจะทำให้ดวงตาอักเสบ  ถ้าสูดดมจะทำให้ทางเดินหายใจระคายเคืองและอักเสบ  ถ้ากลืนกินเข้าไปจะปวดศีรษะ  คลื่นไส้  อาเจียน  มีพิษต่อระบบประสาทส่วนกลาง  หัวใจ  กล้ามเนื้อเรียบ  ตับและไต
การ แก้พิษ                ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาด  ถ้ากลืนกินเข้าไป  ต้องนำคนไข้ส่งแพทย์ทันที  ห้ามทำให้อาเจียน  รักษาตามอาการไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ
ข้อควรรู้                    - ไม่มีประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อ  Fusarium  และ  Pythium  spp.
                             - ห้ามนำเมล็ดที่คลุกด้วยสารชนิดนี้ไปเป็นอาหารคนและสัตว์
                             - ผสมได้กับสารกำจัดเชื้อราและสารกำจัดแมลงอื่น  ยกเว้นพวกที่จะมีปฏิกริยาออกฤทธิ์เป็นด่าง

ซัลเฟอร์
(sulphur)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดเชื้อรา  inorganic  ออกฤทธิ์ให้ผลในทางป้องกันโรคพืช  กำจัดไรและแมลงบางชนิดได้
ความ เป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  มากกว่า  3,000  มก./กก.  ไม่เป็นพิษต่อคนและสัตว์  แต่อาจทำให้ดวงตาและผิวหนังระคายเคือง
โรค พืชที่กำจัดได้        โรคสแคป  โรคใบจุด  โรคเน่าสีน้ำตาล  โรคราแป้งและราน้ำค้าง  โรคราสนิม  รวมทั้งกำจัดไร  เพลี้ยหอยและเพลี้ยไฟได้
พืช ที่ใช้                   กล้วย  องุ่น  สตรอเบอร์รี่  ส้ม  ฝ้าย  ถั่วต่าง ๆ  มะม่วง  แอสพารากัส  ผักต่าง ๆ  มะเขือ  หอม  กระเทียม  พริกไทย  มันฝรั่ง  ฟักทอง  มะเขือเทศ  ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม                  80ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้        ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก  ผสมกับน้ำฉีดพ่นให้ทั่วอย่างสม่ำเสมอ 
การแก้พิษ                ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้                    - อย่าใช้ในขณะที่อากาศร้อนเกินกว่า  32  องศาเซลเซียส
                             - ห้ามใช้ร่วมกับสารที่เป็นน้ำมัน  หรือภายหลังจากฉีดพ่นสารกำจัดศัตรูพืชที่เป็นน้ำมันทันที
                             - เข้ากับสารกำจัดเชื้อราและสารกำจัดแมลงอื่น ๆ ได้
                             - ไม่มีอันตรายต่อผึ้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น