วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554

สารป้องกันและกำจัดโรคพืช ตอนที่ 17

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำ ชื่อสารเคมี(ชื่อสามัญ) ชนิดต่างๆ  มาเผยแพร่ให้เกษตรกร,ผู้สนใจ,ฯลฯ ได้รู้ถึงประโยชน์, อันตราย, และความเป็นพิษเพื่อจะได้เลือกใช้สารเคมีอย่างระมัดระวัง(ในกรณีที่จำเป็น) มิได้ต้องการส่งเสริมให้เกษตรกรหรือผู้อ่านใช้สารเคมีเพิ่มขึ้น เพียงแต่หากจำเป็นต้องใช้สารเคมี  ก็ควรใช้อย่างรู้คุณและโทษของมันอย่างถูกต้อง และได้ประโยชน์ คุ้มค่ากับเงินลงทุนที่เสียไปทุกบาททุกสตางค์ และไม่ทำให้ผู้บริโภครวมถึงตัวเกษตรกรและผู้ใช้เองต้องตกเป็นเหยื่อของพิษ ภัยจากการใช้สารเคมีโดยมิได้รู้แจ้ง ซึ่ง ทางผู้โพสหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรและบุคคลทั่วไปไม่มากก็น้อย  สำหรับท่านที่มีเพื่อน,มิตร,ญาติสนิท,ฯลฯ ที่ทำเกษตร หรือเกี่ยวข้องทางด้านนี้อยู่ ก็รบกวนช่วยนำไปเผยแพร่นะครับ ผมเองได้ข้อมูลมาตั้งแต่สมัยที่ยังทำการเกษตรอยู่ จาก หนังสือ "สารกำจัดศัตรูพืชในประเทศไทย"  เป็นหนังสือที่หาค่อนข้างยาก ปัจจุบันไม่ทราบว่ามีตีพิมพ์อีกหรือไม่ แต่ข้อมูลก็ยังสามารถใช้ได้ดีอยู่ จึงอยากนำมาเผยแพร่ให้คนรักต้นไม้,เกษตรกร,หรือคนที่เกี่ยวข้องได้ทราบกัน
 (นายยักษ์เขียว)

โปรฟิโคนาโซล
(propiconazole)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดเชื้อรา  triazole  ประเภทดูดซึม  ออกฤทธิ์ให้ผลในทางบำบัดรักษาและป้องกันโรคพืช  ใช้กับโรคที่เป็นกับใบพืชโดยเฉพาะ
ความ เป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  1,517  มก./กก.  ทางผิวหนัง  มากกว่า  4,000  มก./กก.  (หนู)  อาจทำให้ผิวหนัง  ดวงตาและระบบทางเดินหายใจเกิดอาการระคายเคือง
โรคพืชที่กำจัดได้        โรคที่เกิดจากเชื้อ  Erysiphe  spp.  โรค  dollar  spot  โรค  brown  patch  โรคราน้ำค้าง  โรคราสนิม  โรคสมัท  (smut)  และโรคอื่น ๆ ที่เกิดจากเชื้อ  Puccinia  spp , Septoria  spp , Rhynochosporium  spp.  และเชื้อ  Pseudocercosporella  spp.
พืชที่ใช้                   ถั่วลิสง  ข้าวสาลี  ข้าวบาเลย์  ข้าวโอ๊ท  และธัญพืชอื่น ๆ  ดอกเบญจมาศ  ยางพารา  กาแฟ  อ้อย
สูตรผสม                  25ดับบลิวพี  12.5อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้        ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก  เมื่อตรวจพบว่ามีโรคพืชเกิดขึ้น  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น
การแก้พิษ                ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้                    - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  4-5  สัปดาห์
                             - ให้ผลในการควบคุมโรคพืชได้นาน  3-6  อาทิตย์
                             - เพื่อเพิ่มขอบเขตความสามารถในการกำจัดโรคพืชให้กว้างขวางยิ่งขึ้น  อาจใช้ร่วมกับสารกำจัดเชื้อราอย่างอื่นได้
                             - ในทางปฏิบัติ  เป็นพิษต่อปลา

โปรพิเน็บ
(propineb)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดเชื้อรา  carbamate  ออกฤทธิ์ให้ผลทางด้านป้องกันโรคพืชที่เกิดตามใบ  สารตกค้างออกฤทธิ์อยู่ได้นานและกำจัดไรได้ด้วย
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  8,500  มก./กก.  ทางผิวหนัง  มากกว่า  1,000  มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้        โรคที่เกิดจากเชื้อ  Septoria  spp.  โรค  Sigatoka  โรคราน้ำค้าง  โรค  Earty  and  late  blight  โรคที่เกิดจากเชื้อ  Botrytis  spp , Cercospora  spp , Phytophthora  spp , Alternaria  spp.  และโรคราแป้ง
พืช ที่ใช้                   กล้วย  ส้ม  ฝ้าย  องุ่น  มันฝรั่ง  ข้าว  ชา  มะเขือเทศ  ยาสูบ  ผักต่าง ๆ  หอม  กระเทียม  หน่อไม้ฝรั่ง  ไม้ผล  ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม                  70ดับบลิวพี
อัตรา ใช้และวิธีใช้        โดยทั่วไปใช้อัตรา  30-40  กรัม  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  กวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืชทุก  7-10  วัน
อาการ เกิดพิษ            ถ้าเข้าตา  จมูกหรือถูกผิวหนัง  จะมีอาการคัน  เป็นผื่นแดง  ถ้ากินเข้าไปจะปวดศีรษะ  เซื่องซึม  คลื่นเหียน  อาเจียน  ท้องร่วง  อ่อนเพลีย
การ แก้พิษ                ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง  ถ้ากลืนกินเข้าไป  รีบทำให้คนไข้อาเจียนด้วยการล้วงคอ  หรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น  แล้วนำส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ล้างท้องคนไข้แล้วตามด้วยยา  Lacative  salt  สูดดม  Camomile  แล้วรักษาตามอาการ  ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  ห้ามให้ยา  หรืออาหารที่มีแอลกอฮอล์  ไขมัน  และน้ำมันผสมอยู่
ข้อควรรู้                    - อย่าใช้ฉีดพ่นก่อนหรือหลังที่ใช้สารกำจัดเชื้อราที่มี  copper  ประกอบอยู่ 
                             - เมื่อผสมกับสารที่มีสภาพเป็นด่าง  ให้รีบฉีดพ่นทันที  อย่าปล่อยทิ้งไว้
                             - ผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอย่างอื่นได้
                             - ไม่เป็นอันตรายต่อผึ้ง

โปรธิโอคาร์บ
(prothiocarb)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดเชื้อราและคลุกเมล็ดป้องกันโรคพืช
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  1,300  มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้        โรคพืชที่เกิดจากเชื้อ  Pythium  spp , Peronospora  spp , Bremia  spp , Phytophthora  spp.  และเชื้อ  Peronosporales
พืชที่ใช้                   ใช้คลุกเมล็ด
สูตรผสม                  70แอลซี
อัตราใช้และวิธีใช้        ใช้คลุกเมล็ด  หยอดตามร่องปลูกและร่องหว่านหรือฉีดพ่นทั้งก่อนและหลังงอก

ไพราคาร์โบลิด
(pyracarbolid)
การออกฤทธิ์             กำจัดเชื้อราประเภทดูดซึม
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  มากกว่า  15,000  มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้        โรคราสนิม  โรคสมัท  โรครากเน่าและโรคโคนเน่า
พืชที่ใช้                   ข้าว  ธัญพืช  ชา  กาแฟ  ไม้ประดับ  เมล็ดฝ้ายและธัญพืชต่าง ๆ
สูตรผสม                  50ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้        ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น