มาเผยแพร่ให้เกษตรกร,ผู้สนใจ,ฯลฯ ได้รู้ถึงประโยชน์, อันตราย, และความเป็นพิษ
เพื่อ จะได้เลือกใช้สารเคมีอย่างระมัดระวัง(ในกรณีที่จำเป็น) มิได้ต้องการส่งเสริมให้เกษตรกรหรือผู้อ่านใช้สารเคมีเพิ่มขึ้น เพียงแต่หากจำเป็นต้องใช้สารเคมี ก็ควรใช้อย่างรู้คุณและโทษของมันอย่างถูกต้อง และได้ประโยชน์ คุ้มค่ากับเงินลงทุนที่เสียไปทุกบาททุกสตางค์ และไม่ทำให้ผู้บริโภครวมถึงตัวเกษตรกรและผู้ใช้เองต้องตกเป็นเหยื่อของพิษ ภัยจากการใช้สารเคมีโดยมิได้รู้แจ้ง ซึ่ง ทางผู้โพสหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรและบุคคลทั่วไปไม่มากก็น้อย สำหรับท่านที่มีเพื่อน,มิตร,ญาติสนิท,ฯลฯ ที่ทำเกษตร หรือเกี่ยวข้องทางด้านนี้อยู่ ก็รบกวนช่วยนำไปเผยแพร่นะครับ ผมเองได้ข้อมูลมาตั้งแต่สมัยที่ยังทำการเกษตรอยู่ จาก หนังสือ "สารกำจัดศัตรูพืชในประเทศไทย" เป็นหนังสือที่หาค่อนข้างยาก ปัจจุบันไม่ทราบว่ามีตีพิมพ์อีกหรือไม่ แต่ข้อมูลก็ยังสามารถใช้ได้ดีอยู่ จึงอยากนำมาเผยแพร่ให้คนรักต้นไม้,เกษตรกร,หรือคนที่เกี่ยวข้องได้ทราบกัน
(นายยักษ์เขียว)
บิเทอร์ทาโนล
(bitertanol)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อราที่เป็นสารประกอบของ triazine ออกฤทธิ์ในทางดูดซึม
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 5,000 มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคราแป้ง โรคราสนิม (rusts) โรคสะแคป โรคเซอร์โคสปอรร์รา โรคใบจุด โรคเน่าสีน้ำตาลและโรคอื่น ๆ
พืชที่ใช้ ฝ้าย ถั่วลิสง สตรอเบอร์รี่ กล้วย ถั่วเหลือง และผักต่าง ๆ
สูตรผสม 25% และ 50% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ฉีดพ่นที่ใบพืชก่อนที่โรคจะปรากฏ ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น
ข้อควรรู้ - เป็นพิษต่อปลา
- ใช้ผสมฉีดพ่นร่วมกับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ ได้
- ยังไม่มีจำหน่ายในประเทศ
บลาสติซิดิน – เอส
(blasticidin – S)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อราปฏิชีวนะ (antibiotic fungicide) ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและให้ผลในเชิงป้องกันและรักษาโรคพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 56.8 มก./กก. ทางผิวหนัง (หนู) 3,100 มก./กก. ทำให้ดวงตาระคายเคือง
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคบลาสของข้าว (Pyricularia oryzae)
พืชที่ใช้ ข้าว
สูตรผสม 2% อีซี
อัตรา ใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดีแล้วฉีดพ่นที่ใบให้ทั่ว เมื่อตรวจพบว่ามีโรคบลาสเกิดขึ้นในนาข้าว ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น
การ แก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ ในกรณีที่เข้าปาก ต้องทำให้คนไข้อาเจียนแล้วรักษาตามอาการ ในกรณีที่รับพิษโดยการสัมผัส ถ้าเป็นที่ผิวหนังต้องล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ ถ้าเข้าตาต้องล้างตาด้วยน้ำสะอาดนานอย่างน้อย 15 นาที
ข้อควรรู้ - หลีกเลี่ยงอย่าให้ละอองสารนี้ถูกกับผิวหนัง
- การใช้อัตราสูงกว่าที่แนะนำบนฉลากอาจทำให้ใบเป็นจุด
- เป็นพิษต่อปลาเล็กน้อย
- ห้ามผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชที่มีฤทธิ์เป็นด่าง
- เมื่อผสมกับน้ำควรใช้ทันที
บอร์โดมิกซ์เจอร์
(Bordeaux mixture)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อราอนินทรีย์ (inorganic) ที่ได้จากการผสมระหว่างทองแดง (coppen) กับ ปูนขาว (lime) ให้ผลในทางป้องกันโรคพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก มากกว่า 4,000 มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคราน้ำค้าง โรคสะแคป โรคใบไหม้ โรคราสนิม โรคใบจุด โรคเน่าดำ โรคมีลาโนส (melanose) โรคแอนแทรคโนสและโรคอื่น ๆ
พืช ที่ใช้ ไม้ผล ผักต่าง ๆ ธัญพืช ยาสูบ ยางพารา กล้วย ถั่ว ส้ม แตง มะเขือ องุ่น หอม พริกไทย มันฝรั่ง สตรอเบอร์รี่ มะเขือเทศ ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม 50% , 60% ดับบลิวพี
อัตรา ใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก เมื่อผสมกับน้ำแล้วให้ใช้ทันที ใช้ก่อนที่โรคพืชจะเกิดระบาดรุนแรงและใช้ซ้ำตามความจำเป็น ในการฉีดพ่นที่ใบ ควรฉีดพ่นให้ทั่วถึง โดยเฉพาะกับใบที่เกิดใหม่
ข้อควรรู้ - อย่าเก็บไว้ในภาชนะที่เป็นโลหะ
- อย่าปล่อยให้สารผสมอยู่ในถังฉีดพ่นเป็นเวลานาน ๆ
- ไม่เข้ากับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ เกือบทุกชนิด
- ขณะผสมและฉีดพ่นต้องคอยกวนหรือเขย่าให้ทั่วอยู่เสมอ
- เป็นสารขับไล่แมลงได้หลายชนิด
บรูโนลินัม พลานทาเรียม
(Brunolinum planetarium)
การออกฤทธิ์ กำจัดเชื้อรา
ความ เป็นพิษ ทำให้ผิวหนัง ดวงตาและทางหายใจ เกิดอาการระคายเคือง เมื่อถูกผิวหนังโดยตรงจะทำให้ผิวหนังไหม้ ถ้ากลืนกินเข้าไปจะทำให้มีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน และปวดท้อง ตับและไตจะถูกทำลาย
ประโยชน์ ใช้ทาหรือพ่นเพื่อป้องกันและกำจัดโรคพืชที่เกิดกับยางพารา และส่วนที่ถูกกรีดเพื่อเอาน้ำยาง
การ แก้พิษ ในกรณีเกิดพิษที่เนื่องจากหายใจเข้าไป ให้ย้ายคนไข้ไปอยู่ในพื้นที่ ๆ มีอากาศบริสุทธิ์ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน 15 นาที ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ แล้วไปหาแพทย์ ถ้ากลืนกินเข้าไป อย่าทำให้คนไข้อาเจียน ให้ดื่มน้ำหรือนมสดมาก ๆ แล้วไปหาแพทย์ สำหรับแพทย์ ควรล้างท้องคนไข้ซ้ำหลาย ๆ ครั้งด้วยน้ำยาแม็กนีเซียมหรือโซเดียม ซัลเฟท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น