การปลูกยางพาราในปัจจุบันนั้น สามารถสร้างกำไรให้เกษตรกรได้มากกว่าในอดีตหลายเท่าตัว แต่สิ่งสำคัญในการวางแผนหรือจัดการเรื่องการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ น้ำยางคุณภาพดี และให้ในปริมาณมากอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งบางแปลงใช้ปุ๋ยเคมีอย่างหนักเพื่อเร่งปริมาณน้ำยาง โดยหารู้ไม่ว่า ผลผลิตยางที่ได้จากการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว ถึงปริมาณน้ำยางมากแต่เปอร์เซ็นต์เนื้อยาง(ความหนาแน่น)ที่ได้ จะต่ำกว่าแปลงที่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ อีกทั้งต้นทุนยังสูงกว่าด้วย หรือเกษตรกรบางส่วนที่ยังขาดความรู้ โดนกระแสแรงโฆษณาตามสื่อต่าง ๆ รวมถึงการทำตลาดที่ผิดจรรยาบรรณ ทำให้เกษตรกรต้องแบกรับต้นทุนการตลาดของปุ๋ยแทนที่จะได้ปุ๋ยที่มีคุณภาพเต็มเม็ดเต็มหน่วย กลับได้ปุ๋ยที่มีคุณภาพแค่คำโฆษณา จนทำให้ต้นยางที่ปลูกมีปัญหาต่าง ๆ มากมาย ทั้งเรื่องรากเน่าโคนเน่า, หน้ายางตาย, น้ำยางไม่ได้คุณภาพ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบกับรายได้ของเกษตรกรโดยเฉพาะกลุ่มที่ตื่นกระแสโฆษณา ทำให้ผลผลิตที่ได้ลดต่ำลงเรื่อย ๆ จนสุดท้ายแล้วกลายเป็นกรีดยางส่งค่าปุ๋ย ได้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่า ดังนั้น การจะใช้สินค้าอะไรก็ตาม อดีตเกษตรกรอย่างนายยักษ์เขียว จะนึกถึงก่อนซื้อเสมอ คือ
1. คุณภาพเทียบกับราคาขาย
2.ต้นทุนที่มากับสินค้าที่เราจะใช้เสมอ ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของต้นทุนค่าโฆษณา ค่าบรรจุภัณฑ์ ฯลฯ (ซึ่ง ผู้ใช้คือผู้จ่าย)
3. ความจริงใจของผู้ขาย ว่าโฆษณาบนหลักของความจริงหรือไม่ (ประเภท "เขียวคามือ" อันนี้ได้มาจากเพื่อนเกษตรกรเล่าให้ฟัง)
4. ผลดีและผลเสียกับต้นไม้ที่ได้ในระยะยาวเมื่อใช้สินค้า ว่าคุ้มค่ากับเม็ดเงินที่เกษตรกรอย่างเราต้องตากแดดตัวดำหา มาหรือไม่
เอาแค่ 4 ข้อนี้ เราก็สามารถเลือกสิ่งดี ๆ ให้ต้นไม้ที่เราฟูมฟักได้แล้ว ตอนนี้มาเข้าเรื่องเทคนิคการลดต้นทุนเพิ่มผลผลิตในยางพาราเลยดีกว่า
(นายยักษ์เขียว)
ที่มา : www.phkaset.com |
1. การกำจัดวัชพืช
1. ไถและพรวนดินอย่างน้อย 2 ครั้งก่อนปลูก
2. ใช้แรงงาน ขุด ถาก ดาย หรือตัดวัชพืชที่ขึ้นในแถวยาง และควรทำก่อนวัชพืชออกดอก
3. ใช้วัสดุคลุมดิน โดยนำวัสดุเหลือใช้ต่าง ๆ เช่น เปลือกถั่ว ฟางข้าว ซังข้าวโพด หรือกระดาษหนังสือพิมพ์ เป็นต้น คลุมโคน ต้นยางเฉพาะต้น หรือตลอดแถว เว้นระยะพอควรไม่ชิดโคนต้นยาง
4. ปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่ว ได้แก่ คาโลโปโกเนียม เซนโตรซิมา เพอราเรีย และซีรูเลียม ห่างจากแถวยางประมาณ 2 เมตร
2. ใช้แรงงาน ขุด ถาก ดาย หรือตัดวัชพืชที่ขึ้นในแถวยาง และควรทำก่อนวัชพืชออกดอก
3. ใช้วัสดุคลุมดิน โดยนำวัสดุเหลือใช้ต่าง ๆ เช่น เปลือกถั่ว ฟางข้าว ซังข้าวโพด หรือกระดาษหนังสือพิมพ์ เป็นต้น คลุมโคน ต้นยางเฉพาะต้น หรือตลอดแถว เว้นระยะพอควรไม่ชิดโคนต้นยาง
4. ปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่ว ได้แก่ คาโลโปโกเนียม เซนโตรซิมา เพอราเรีย และซีรูเลียม ห่างจากแถวยางประมาณ 2 เมตร
2. การปลูกพืชคลุม
การปลูกพืชคลุมดินระหว่างแถวยางเป็นวิธีหนึ่งที่ควบคุมการเจริญเติบโตของวัชพืช และลดการชะล้างและพังทลายของ ดิน เพิ่มอินทรียวัตถุในดิน ตลอดจนสามารถปรับปรุงโครงสร้างและเพิ่มธาตุอาหารในดินด้วย ใน โดยช่วงแรกของการปลูกอาจปลูกพืชอื่นแทนพืชคลุมดิน อาทิ พืชผักหรือไม้ผลที่มีอายเก็บเกี่ยวสั้นระหว่างช่องว่างของต้นยางได้ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผักกินใบ เช่น ผักกาดหอม,หอมแบ่ง,ถั่ว,ฯลฯ หรือ ไม้้ผล เช่น กล้วยน้ำว้า,ฯลฯ แต่ต้องระมัดระวังหมั่นควบคุมป้องกันในเรื่องของแมลงศัตรูและโรค ซึ่งอาจกระทบกับยางพาราด้วย
3. การใช้ปุ๋ยในสวนยาง
การใส่ปุ๋ยยางพาราก่อนเปิดกรีด
ปุ๋ยยางพาราก่อนเปิดกรีด คือ ปุ๋ยที่ใส่ตั้งแต่เริ่มปลูกจนต้นยางได้ขนาดกรีด ปุ๋ยที่ใช้ ได้แก่ ปุ๋ยรองก้นหลุม และ ปุ๋ยบำรุง
ปุ๋ยรองก้นหลุม เป็นปุ๋ยที่เร่งให้รากงอกและแผ่ขยายเร็ว ปุ๋ยรองก้นหลุมที่แนะนำใช้ในสวนยางได้แก่ ปุ๋ยหินฟอสเฟต (0-3-0) ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ยักษ์เขียว(แถบเขียว) วิธีใส่ ปุ๋ยรองก้นหลุม โดยขุดดินแยกเป็น 2 ส่วนคือ ดินชั้นบนและดินชั้นล่าง ใช้ดินบนกลบลงในหลุมก่อน ส่วนดินล่างใช้คลุกกับปุ๋ยหิน ฟอสเฟต อัตรา 170 กรัมต่อหลุม + ปุ๋ยอินทรีย์ยักษ์เขียว สูตร 2 อัตรา 1 กิโลกรัม ผสมดินก้นหลุม ซึ่งจะมีผลทำให้ต้นยางมีอัตราการรอดตายสูงและการเจริญเติบโตในช่วงแรกดีขึ้น
ปุ๋ยบำรุง เป็นปุ๋ยที่ใส่เพื่อเร่งให้ต้นยางเจริญเติบโตเร็ว สามารถเปิดกรีดได้เร็วขึ้นและให้ผลผลิตสูง ปุ๋ยบำรุงที่แนะนำ ใช้ในสวนยางก่อนเปิดกรีด จำนวน 2 สูตร คือ
สูตร 20-8-20 สำหรับดินทุกชนิดในเขตปลูกยางเดิม
สูตร 20-10-12 สำหรับดินทุกชนิดในเขตปลูกยางใหม่
สูตร 20-8-20 สำหรับดินทุกชนิดในเขตปลูกยางเดิม
สูตร 20-10-12 สำหรับดินทุกชนิดในเขตปลูกยางใหม่
ในกรณีที่ต้องการลดต้นทุนปุ๋ยเคมี สามารถใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ตรายักษ์เขียว ทดแทนปุ๋ยเคมีได้ โดยใส่ในอัตราดังในตาราง จะช่วยลดต้นทุนปุ๋ยเคมีได้ประมาณ 20-50 เปอร์เซ็นต์ โดยจะทำให้สามารถให้น้ำยางได้ดีมากกว่าและอายุการให้น้ำยางของต้นนานกว่า ต้นไม่โทรม หมดปัญหาหน้ายางตาย เนื่องจากยักษ์เขียว มีธาตุอาหารที่ครบถ้วนกว่า และปลดปล่อยธาตุอาหารได้ต่อเนื่องและยาวนานกว่าปุ๋ยเคมี และยังทำให้สภาพดินดีขึ้น
สำหรับช่วงยางต้นเล็ก อาจฉีดพ่นด้วย ไบโอเฟอร์ทิล สูตรบำรุงต้น(ฝาแดงหรือฝาเขียว) เพื่อเร่งการเจริญเติบโต ทำให้ต้นแข็งแรงเจริญเติบโตได้ดี ทนแล้ง และยางสามารถเปิดกรีดได้เร็วขึ้น
ระยะเวลา และอัตราการใส่ยักษ์เขียวที่ใช้กับต้นยางก่อนเปิดกรีด
ปีที่ | อายุต้นยาง (เดือน) | เขตปลูกยางเดิม | เขตปลูกยางใหม่ | ||
ปุ๋ยอินทรีย์ ยักษ์เขียว (กรัม/ต้น)** | ปุ๋ยอินทรีย์ ยักษ์เขียว (กรัม/ต้น)** | ||||
ดินร่วนเหนียว | ดินร่วนทราย | ดินทุกชนิด | |||
1 | 2 5 11 | 200 200 260 | 250 280 340 | 200 200 250 | |
2 | 14 16 23 | 300 300 300 | 400 400 400 | 250 250 300 | |
3 | 28 36 | 430 430 | 500 500 | 360 360 | |
4 | 40 47 | 500 500 | 650 650 | 440 440 | |
5 | 52 59 | 550 550 | 800 800 | 540 540 | |
6 | 64 71 | 800 800 | 1000 1000 | 700 700 |
**100 กรัม = 1 ขีด(1 กำมือ)
ในขณะที่ต้นยางยังเล็กควรใส่ปุ๋ยบริเวณรอบโคนต้นยางในรัศมีทรงพุ่มใบ (อาจฉีดเสริมด้วย ไบโอเฟอร์ทิล เพื่อเร่งการเจริญเติบโต ช่วยทำให้ต้นให้น้ำยางได้เร็วขึ้น) หลังจากนั้นเมื่อต้นยางอายุ 2 ปีขึ้นไป ใส่เป็นแถบ 2 ข้าง ในบริเวณระหว่างแถวยางตามแนวทรงพุ่มของต้นยาง โดยวิธีคราดกลบให้ปุ๋ยอยู่ใต้ผิวดิน หรือขุดหลุมลึกประมาณ 15-30 เซนติเมตร(1 หน้าจอบ) จากผิวดิน จำนวน 2 หลุมต่อต้น
ในขณะที่ต้นยางยังเล็กควรใส่ปุ๋ยบริเวณรอบโคนต้นยางในรัศมีทรงพุ่มใบ (อาจฉีดเสริมด้วย ไบโอเฟอร์ทิล เพื่อเร่งการเจริญเติบโต ช่วยทำให้ต้นให้น้ำยางได้เร็วขึ้น) หลังจากนั้นเมื่อต้นยางอายุ 2 ปีขึ้นไป ใส่เป็นแถบ 2 ข้าง ในบริเวณระหว่างแถวยางตามแนวทรงพุ่มของต้นยาง โดยวิธีคราดกลบให้ปุ๋ยอยู่ใต้ผิวดิน หรือขุดหลุมลึกประมาณ 15-30 เซนติเมตร(1 หน้าจอบ) จากผิวดิน จำนวน 2 หลุมต่อต้น
การใส่ปุ๋ยยางพาราหลังเปิดกรีด
การใส่ปุ๋ยให้แก่ต้นยางที่เปิดกรีดแล้ว แนะนำให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ยักษ์เขียว อัตรา 2-4 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี แบ่งใส่ 2 ครั้ง ๆ ละ 1-2 กิโลกรัมต่อต้น ครั้งแรกใส่ในต้นฤดูฝนหลังจากยางผลัดใบ ขณะที่ใบเพสลาด คือ ประมาณปลายเดือนเมษายน - พฤษภาคม และครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ย ประมาณเดือนสิงหาคม -กันยายน โดยหว่านปุ๋ยในบริเวณห่างจากโคนต้นยางประมาณ 3 เมตร หรือบริเวณกึ่งกลางระหว่างแถวยาง คราดกลบให้ปุ๋ยอยู่ใต้ผิวดินที่ ระดับความลึกประมาณ 5 – 10 เซนติเมตร โดยในช่วงก่อนเปิดกรีดประมาณ 7-10 วัน ให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 20-8-20 หรือ 16-16-16 ทับหน้าบาง ๆ ในอัตรา 200 กรัมต่อต้น(2 กำมือ) ก็จะทำให้ได้ผลผลิตน้ำยางมากและสม่ำเสมอตลอดช่วงการเปิดกรีด
เทคนิคการเพิ่มน้ำยางและการทำให้หน้ายางนิ่ม
ในการกรีดยางนั้น หากต้องการน้ำยางเพิ่ม และรักษาให้หน้ายางนิ่มอยู่เสมอ แนะนำให้ใช้ ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรไล่แมลง หรือ สูตรเร่งขนาดผล,หัว) ปริมาณ 6 ส่วนผสมน้ำ อีก 4 ส่วน ฉีดพ่นบริเวณที่เปิดกรีด ทุก ๆ 3-5 วัน จะทำให้ได้น้ำยางมากขึ้น หน้ายางนิ่ม กรีดง่าย
การแก้ปัญหารากเน่า โคนเน่า
เรื่องที่สำคัญซึ่งเป็นผลพวงจากการใช้ปุ๋ยเคมีมากเกินไป หรือการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ปลอม(ที่ใช้เคมีมาผสม) บ่อย ๆ ก็ คือ ปัญหาเรื่องดินเสื่อมสภาพ ทำให้รากดูดซึมปุ๋ยได้น้อย ให้ผลผลิตน้อย และเกิดปัญหารากเน่าตามมา เนื่องจากดินเสียสภาพไปจากเดิมที่เคยเป็น ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเกิดกับพื้นที่ที่ปลูกยางมานาน โดยขาดการดูแลรักษาที่ถูกต้อง ใส่แต่ปุ๋ยเคมี ก็จะประสบปัญหานี้มาก ซึ่งหากต้นเป็นโรคแล้วต้องรีบแก้ไขทันที เพราะโรคนี้สามารถระบาดในแปลงได้รวดเร็ว
การแก้ไขเฉพาะหน้า(เร่งด่วน) สำหรับต้นที่เป็นโรคแล้วทำได้โดย ใช้ เมธาแล็กซิล + แมนโคเซป อัตรา 40+40 กรัมผสมน้ำ 5-10 ลิตร ราดบริเวณรากโดยรอบของต้นให้ทั่ว โดยใช้ติดต่อกันประมาณ 2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน จากนั้นประมาณ 15 วันให้ใช้ ชีวภัณฑ์กำจัดโรคพืช “ไตรโคแม็ก” อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ราดบาง ๆ บริเวณรากหรือทั่วพื้นที่ ทุก ๆ 3 เดือน โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน เพื่อป้องกันการเข้าทำลายและกลับมาเป็นซ้ำ
การป้องกันที่ต้นเหตุ(สำหรับทั้งพื้นที่ใหม่และเก่ารวมถึงพื้นที่ ที่ประสบปัญหา) สาเหตุหลัก ๆ ซึ่งเกิดในทุกพื้นที่ ก็คือ การใช้ปุ๋ยเคมีบ่อยเกินไป โดยขาดการใส่ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อบำรุงต้น ซึ่งปุ๋ยเคมีนั้น โดยคุณสมบัติจะช่วยกระตุ้นและเป็นแหล่งอาหารให้พืชก็จริงอยู่ แต่ก็มีผลเสียเช่นกัน โดยเมื่อใส่เป็นประจำ จะทำให้ดินมีสภาพเป็นกรดจัด มีเกลือสะสมมาก จนเป็นสาเหตุให้ดินเสื่อมสภาพ กระด้าง จนรากพืชไม่สามารถดูดซึมอาหารและเนื้อปุ๋ยไปใช้ได้และหากตกค้างมากก็ยังเป็นพิษกับรากพืชอีกด้วย ดังนั้น การใส่ปุ๋ยให้ต้นยาง จึงควรเน้นที่ปุ๋ยอินทรีย์แท้(ไม่ปนเคมี) เป็นหลักแล้วเสริมปุ๋ยเคมีเพื่อกระตุ้นในบางช่วงก็เป็นการเพียงพอแล้ว ดังแนวทางที่กล่าวไว้ในข้อ 1 ก็จะทำให้ต้นยางมีสภาพสมบูรณ์ ปัญหาเรื่องโรคน้อย และยังเป็นการประหยัดต้นทุนลงจากเดิมได้อีกด้วย
การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช สำหรับยางเล็กที่ยังไม่เปิดกรีด ช่วงแรกอาจพบมีการระบาดของแมลงศัตรูพืช และในต้นที่เปิดกรีดแล้ว(โดยเฉพาะปลวก) แนะนำให้ใช้ ชีวภัณฑ์ป้องกันและกำจัดแมลง "เมทา-แม็ก" ซึ่งสามารถป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูได้หลายชนิด(ดูรายละเอียดตามฉลาก) ผสมน้ำในอัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 10-15 วัน หรือฉีดพ่นเมื่อพบมีว่ามีการเข้าทำลาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น