(นายยักษ์เขียว)
ไตรดีมอร์ฟ
(tridemorph)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา morpholine ประเภทดูดซึม ออกฤทธิ์ให้ผลในทางป้องกันและปราบโรคพืชให้หมดไป ดูดซึมได้ทั้งทางใบและราก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 650 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 4,000 มก./กก. (หนู) อาจทำให้ผิวหนังและดวงตาระคายเคือง
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคราแป้ง โรคซิกาโตก้า โรค Eye Spot ของกาแฟและโรคสีชมพูของชาและกาแฟ
พืชที่ใช้ ข้าว ข้าวสาลี ธัญพืชอื่น ๆ กาแฟ กล้วย พืชตระกูลแตง ต้นยางพารา มะม่วง ไม้ผล และผักทั่วไป
สูตรผสม 75% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ผสมน้ำฉีดพ่นทุก 14-21 วัน ควรศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมก่อนใช้
การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว 2-4 อาทิตย์
- เป็นพิษต่อปลา
- ใช้กับธัญพืชจะมีประสิทธิภาพอยู่ได้นาน 3-4 อาทิตย์
- เข้ากับสารกำจัดศัตรูพืชชนิดอื่น ๆ ได้
ไตรฟลูมาโซล
(triflumazole)
การออกฤทธิ์ เป็นสารป้องกันและกำจัดโรคพืช
ความเป็นพิษ
ศัตรูพืชที่กำจัดได้ โรคใบจุดของสตรอเบอร์รี่ ที่เกิดจากเชื้อ Ramularia tulasnei และโรคพืชอื่น ๆ
สูตรผสม 30% WP
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตรา 6 กรัม ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช เมื่อตรวจพบว่ามีอาการของโรคระบาดและควรพ่นทุก 7 วัน
อาการเกิดพิษ อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนัง ถ้าเข้าปากจำนวนมาก จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ
การแก้พิษ ถ้าเป็นพิษที่ผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ ถ้าเข้าปากรีบทำให้คนไข้อาเจียนด้วยการล้วงคอ และรีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์ สำหรับแพทย์ ถ้าคนไข้ยังมีสติดีทำให้อาเจียน ถ้าผู้ป่วยหมดสติ ให้ดื่มน้ำ 1-2 แก้ว แล้วใช้น้ำล้างคอ เพื่อทำให้อาเจียน แล้วรักษาตามอาการ
ไตรโฟรีน
(triforine)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา piperazine ประเภทดูดซึม ออกฤทธิ์ให้ผลในทางป้องกันและบำบัดรักษาโรคพืช ดูดซึมได้ทั้งทางใบและราก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 16,000 มก./กก. ทางผิวหนัง (กระต่าย) มากกว่า 10,000 มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคราแป้ง โรคใบไหม้ โรคเน่าคอดิน โรคราสนิม โรคแอนแทรคโนส โรคเน่าดำ โรคใบจุดและอื่น ๆ
พืชที่ใช้ ข้าว ธัญพืช องุ่น กุหลาบ แอปเปิล พืชตระกูลแตง ถั่วเหลือง บวบ ฝ้าย ยาสูบ ผักบางชนิดและพืชอื่น ๆ
สูตรผสม 19% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ อัตราการใช้แตกต่างกันไปตามชนิดของพืช โดยทั่ว ๆ ไปใช้ 15-20 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นใบ ใช้ซ้ำได้ทุก 1-2 อาทิตย์ต่อครั้ง ศึกษารายละเอียดวิธีการใช้เพิ่มเติมจากฉลากก่อนใช้
อาการเกิดพิษ ถ้าถูกผิวหนังหรือเข้าตา อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองได้ ถ้ากินเข้าไปอาจทำให้หายใจไม่ออกและชัก
การแก้พิษ ถ้าถูกผิวหนังหรือเข้าตา ให้ล้างด้วยน้ำจำนวนมาก ๆ ถ้ากลืนกินเข้าไป ห้ามทำให้คนไข้อาเจียน นำผู้ป่วยส่งแพทย์ สำหรับแพทย์ ล้างท้องคนไข้ แล้วให้กินถ่านยาแอ๊คติเวทเต็ด ซาร์โคล รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว 7-14 วัน
- ห้ามผสมกับ wetting agent , spreader , sticker or adjuvants
- ไม่มีความคงตัวเมื่ออยู่ในดิน มีอายุอยู่ได้ประมาณ 3 อาทิตย์
- ไม่เป็นพิษกับปลา
- ใช้ปราบไรแมงมุมได้
- ผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ ได้
วาลิดามัยซิน
(validamycin)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อราปฏิชีวนะ (antibiotic) ประเภทดูดซึม
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) มากกว่า 20,000 มก./กก. ทางผิวหนัง (หนู) มากกว่า 5,000 มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคใบไหม้ของข้าว โรคโคนเน่า รากเน่า ที่เกิดจากเชื้อ Basidiomyceres spp. และ Rhizotonia spp. และอื่น ๆ
พืชที่ใช้ ข้าว ส้ม มันฝรั่ง กาแฟ โกโก้ พืชผักตระกูลต่าง ๆ และพืชไร่
สูตรผสม 3% อีซี 5% เอสพี 0.3% ฝุ่น
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้ฉีดพ่นที่ใบ ราดโคนต้น คลุกดินและใช้เป็นสารคลุกเมล็ด โดยใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ถ้าฉีดพ่นที่ใบ ใช้ซ้ำได้ทุก 7-10 วัน
การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ - เข้าได้กับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ
- ให้ผลดีที่สุดในการกำจัดโรคที่เกิดจากดิน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น