(นายยักษ์เขียว)
ไธแรม
(thiram)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา dithiocarbamate ออกฤทธิ์ให้ผลในทางป้องกันโรคพืชและเป็นสารขับไล่สัตว์บางชนิด
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 780 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 1,000 มก./กก. ทำให้ดวงตา ผิวหนังและระบบทางเดินหายใจเกิดอาการระคายเคือง
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคเน่าคอดิน โรคเมล็ดเน่า โรค Seedling blights โรค Brown patch Dollar spot โรคสแคป โรคราสนิม โรคเน่าดำ โรค Sooth blotch โรค Rhizocpus rot , Botrytisfruit rot โรคใบจุด มะเขือเทศ โรค Late blight และอื่น ๆ
พืชที่ใช้ กล้วย แอปเปิล คื่นฉ่าย มะเขือเทศ สตรอเบอร์รี่ ฝ้าย หอม มันฝรั่ง พืชหัวต่าง ๆ ใช้คลุกเมล็ด ถั่วต่าง ๆ คะน้า มะเขือ พริกไทย ฟักทอง แตงโม กะหล่ำปลี แคนตาลูป กะหล่ำดอก ฝ้าย ข้าว มะเขือเทศและข้าวสาลี
สูตรผสม 75% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ถ้าคลุกเมล็ด ใช้อัตรา 2.5-5 กรัมต่อเมล็ด 1 กก. ถ้าฉีดพ่น ใช้อัตรา 30-50 กรัม ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช
อาการเกิดพิษ ถ้าถูกผิวหนังและมีอาการแพ้ จะมีอาการคัน เป็นผื่นแดง ถ้าสูดดมเข้าไปจะเกิดอาการไอ หายใจไม่สะดวก ถ้ากลืนกินเข้าไปจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องร่วง เหงื่อออก ถ้าพิษรุนแรงจะมีอาการชักและหมดสติ
การแก้พิษ ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนานประมาณ 10-15 นาที ถ้ากลืนกินเข้าไป ทำให้คนไข้อาเจียนด้วยการล้วงคอหรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น แล้วนำผู้ป่วยส่งแพทย์ สำหรับแพทย์ ถ้าผู้ป่วยมีสติดีอยู่ ช่วยทำให้คนไข้อาเจียนโดยใช้ยา syrup of ipecac แล้วตามด้วยน้ำ 1-2 ถ้วย ถ้าไม่อาเจียน ทำให้ท้องว่างด้วย Intubation , Aspiration และ Lavage แล้วรักษาตามอาการ ห้ามมิให้คนไข้ดื่มหรือรับประทานอาหารที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่เป็นเวลา 3 สัปดาห์
- อย่าจับต้องเมล็ดที่คลุกสารชนิดนี้ด้วยมือเปล่า
- เข้ากับสารกำจัดแมลงและสารกำจัดเชื้อราทั่ว ๆ ไปได้
โทลโคลฟอส เม็ทธิล
(tolclofos methyl)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา organophosphate ประเภทไม่ดูดซึม ออกฤทธิ์เมื่อสัมผัสถูกและให้ผลในทางป้องกันโรคพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 5,000 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 5,000 มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้ ใช้กำจัดโรคพืชที่เกิดอยู่ในดิน เชื้อ Rhizoctonia , Sclerotinium และ Typhula spp. ซึ่งทำให้เกิดโรคเน่าคอดิน โรคลำต้นเน่าและอื่น ๆ
พืชที่ใช้ มันฝรั่ง ฝ้าย ถั่วลิสง พืชตระกูลแตง ข้าวสาลี ผักกาดหอม และต้นกล้าของไม้ดอก ไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม 50% ดับบลิวพี 20% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้ได้หลายวิธีคือ คลุกเมล็ด ใช้จุ่มพืชหัว ใช้ราดโคนต้น และใช้ฉีดพ่นที่ใบ โดยมีอัตราการใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก
การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ - เป็นพิษต่อปลา
- ห้ามผสมกับสารอื่นที่มีฤทธิ์เป็นด่าง
- มีความคงตัวเมื่ออยู่ในดิน
ไตรอะไดมีฟอน
(triadimefon)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา triazole ประเภทดูดซึม ออกฤทธิ์ให้ผลในทางป้องกัน และบำบัดรักษาโรคพืช ดูดซึมเข้าลำต้นได้ทั้งทางใบและราก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 602 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 2,000 มก./กก. อาจทำให้ดวงตาและผิวหนังระคายเคือง
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคราสนิม โรคราแป้ง โรคกลิ่นสัปปะรด โรคแส้ดำ Cercospora โรคเน่าสีน้ำตาล Fusarium , Puccinia , Ustilago , Uromyces , Cladosporium , Venturia โรคสแคป โรคสมัทและอื่น ๆ
พืชที่ใช้ อ้อย กาแฟ ถั่วเหลือง เงาะ ข้าวสาลี องุ่น สัปปะรด แอปเปิล พืชตระกูลแตง กุหลาบ ไม้ผลและอื่น ๆ
สูตรผสม 25% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ถ้าใช้ฉีดพ่น ใช้อัตรา 10-20 กรัม ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช ถ้าใช้แช่ท่อนพันธุ์ ใช้อัตรา 40-50 กรัม ผสมกับน้ำ 20 ลิตร แช่ท่อนพันธุ์นาน 30 นาที จึงนำไปปลูก
อาการเกิดพิษ จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เซื่องซึมและตี่นเต้น
การแก้พิษ ถ้าถูกผิวหนังหรือเข้าตา ให้ล้างด้วยน้ำสะอาดจำนวนมาก ๆ ถ้ากลืนกินเข้าไปต้องทำให้อาเจียนโดยเร็ว ด้วยการล้วงคอหรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น แล้วนำส่งแพทย์ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว 14-21 วัน
- ผสมได้เฉพาะกับสารกำจัดศัตรูพืชอื่นที่อยู่ในรูปดับบลิวพี (WP)
- เป็นพิษต่อปลา ไม่เป็นพิษต่อผึ้ง
- ใช้ผสมในขณะฉีดพ่นร่วมกับสารกำจัดศัตรูพืชอย่างอื่นได้
ไตรไซคลาโซล
(tricyclazole)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา triazolobenzothiazole ประเภทดูดซึม
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนูอัลปิโน) 250 มก./กก. (หนู) 305 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 2,000 มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคใบไหม้ ที่เกิดจากเชื้อ Pyricularia oryzae และโรคจุดสีน้ำตาล ที่เกิดจากเชื้อ Drechslera spp.
พืชที่ใช้ ข้าว ข้าวบาร์เลย์
สูตรผสม 75% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ถ้าฉีดพ่นใช้อัตรา 10-16 กรัม ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ถ้าคลุกเมล็ด ใช้อัตรา 2 กรัม ต่อเมล็ดหนัก 1 กก. คลุกเมล็ดก่อนปลูก
อาการเกิดพิษ ถ้าเข้าตาจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง
การแก้พิษ ถ้าถูกผิวหนังหรือดวงตาให้ล้างด้วยน้ำสะอาดจำนวนมาก ๆ ถ้ากลืนกินเข้าไปให้คนไข้ดื่มน้ำ 1-2 แก้ว แล้วทำให้อาเจียนด้วยการล้วงคอ หรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น แล้วนำส่งแพทย์ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ - เป็นพิษต่อปลา
- ในขณะฉีดพ่น ให้เขย่าถังฉีดอยู่เสมอ
- ดูดซึมและเคลื่อนย้ายในต้นพืชได้อย่างรวดเร็ว
- อาจใช้ผสมในขณะฉีดพ่นกับสารกำจัดศัตรูพืชชนิดอื่น ๆ ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น