วันพุธที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2554

สารป้องกันและกำจัดโรคพืช ตอนที่ 5

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำชื่อสารเคมี(ชื่อสามัญ) ชนิดต่างๆ
มาเผยแพร่ให้เกษตรกร,ผู้สนใจ,ฯลฯ ได้รู้ถึงประโยชน์, อันตราย, และความเป็นพิษ
เพื่อจะได้เลือกใช้สารเคมีอย่างระมัดระวัง(ในกรณีที่จำเป็น) มิได้ต้องการส่งเสริมให้เกษตรกรหรือผู้อ่านใช้สารเคมีเพิ่มขึ้น เพียงแต่หากจำเป็นต้องใช้สารเคมี  ก็ควรใช้อย่างรู้คุณและโทษของมันอย่างถูกต้อง และได้ประโยชน์ คุ้มค่ากับเงินลงทุนที่เสียไปทุกบาททุกสตางค์ และไม่ทำให้ผู้บริโภครวมถึงตัวเกษตรกรและผู้ใช้เองต้องตกเป็นเหยื่อของพิษ ภัยจากการใช้สารเคมีโดยมิได้รู้แจ้ง ซึ่ง ทางผู้โพสหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรและบุคคลทั่วไปไม่มากก็น้อย  สำหรับท่านที่มีเพื่อน,มิตร,ญาติสนิท,ฯลฯ ที่ทำเกษตร หรือเกี่ยวข้องทางด้านนี้อยู่ ก็รบกวนช่วยนำไปเผยแพร่นะครับ ผมเองได้ข้อมูลมา
ตั้งแต่สมัยที่ยังทำการเกษตรอยู่ จาก หนังสือ "สารกำจัดศัตรูพืชในประเทศไทย"  เป็นหนังสือที่หาค่อนข้างยาก ปัจจุบันไม่ทราบว่ามีตีพิมพ์อีกหรือไม่ แต่ข้อมูลก็ยังสามารถใช้ได้ดีอยู่ จึงอยากนำมาเผยแพร่ให้คนรักต้นไม้,เกษตรกร,หรือคนที่เกี่ยวข้องได้ทราบกัน
 (นายยักษ์เขียว)


คอปเปอร์  ไฮดร๊อกไซด์
(copper  hydroxide)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดเชื้อราอนินทรีย์  (inorganic)  ออกฤทธิ์ให้ผลทางด้านป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  1,000  มก./กก.  อาจทำให้ผิวหนังเกิดอาการระคายเคือง
โรคพืชที่กำจัดได้        โรคใบจุดที่เกิดจากเชื้อ  Cercospora  spp.  โรคแบคทีเรียล  ไบล์ท  (Bacterial  blight)  โรคแอนแทรคโนส  โรคราน้ำค้าง  โรคใบม้วน  (Leaf  curl)  โรค  Late  blight  โรค  Angular  leaf  spot  โรค  Melanose  โรคสะแคป  (Scab)  และโรคอื่น ๆ
พืชที่ใช้                   กล้วย  ถั่วต่าง ๆ  บรอคโคลี่  กะหล่ำปลี  กะหล่ำดอก  โกโก้  แตงแคนตาลูป  แครอท  คื่นฉ่าย  เชอร์รี่  ส้ม  กาแฟ  แตงกวา  องุ่น  มะม่วง  พริกไทย  มะเขือ  ฟักทอง  สตรอเบอร์รี่  แอปเปิล  มะเขือเทศ  ผักกาดหอม  มันฝรั่ง  แตงโม  และข้าวสาลี
สูตรผสม                  35และ  77ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้        ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก  ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นที่ใบให้ทั่วต้นพืช  เมื่อพบว่ามีโรคพืชเริ่มระบาด  ใช้ซ้ำได้ทุก  10-14  วัน
อาการเกิดพิษ            ทำให้ผิวหนัง  ดวงตาและระบบหายใจเกิดอาการระคายเคือง
ข้อควรรู้                    - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  7  วัน
                             - เป็นพิษต่อปลา
                             - ผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอื่นได้เกือบทั้งหมด

คอปเปอร์  อ๊อกไซด์
(copper  oxide)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดเชื้อรา  (inorganic)  ออกฤทธิ์ในทางป้องกันโรคพืชและใช้คลุกเมล็ด
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  470  มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้        โรคสแคป  (Scab)  โรคสมัท  (Smuts)  โรคใบไหม้  (Blight)  โรคเน่าคอดิน  โรคเน่าสีน้ำตาลและสีดำ  โรคใบจุด  โรคราน้ำค้าง  และโรคอื่น ๆ
พืชที่ใช้                   กล้วย  ถั่ว  ข้าวโพด  บรอคโคลี  กะหล่ำปลี  แคนตาลูป  แครอท  กะหล่ำดอก  คื่นฉ่าย  ส้ม  โกโก้  กาแฟ  แตงกวา  มะเขือ  กระเทียม  องุ่น  คะน้า  หอม  พริกไทย  มันฝรั่ง  ฟักทอง  สตรอเบอร์รี่  มะเขือเทศ  ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม                  75%  ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้        ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก  ผสมน้ำกวนให้เข้ากันดีแล้วฉีดพ่นที่ใบให้ทั่วต้นพืชทุก  7-10  วัน
ข้อควรรู้                    - ไม่ผสมกับ  lime  sulfur  แต่ผสมได้กับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ
                             - ไม่เป็นอันตรายต่อผึ้ง

คอปเปอร์  อ๊อกซี่คลอไรด์
(copper  oxychloride)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดเชื้อราอนินทรีย์  (inorganic)  ออกฤทธิ์ให้ผลทางด้านป้องกันโรคพืชและแบคทีเรีย
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  1,440  มก./กก.  มีพิษต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมน้อยมาก
โรคพืชที่กำจัดได้        โรคราน้ำค้าง  โรคแอนแทรคโนส  โรคมีลาโนส  โรคสแคป  โรคใบจุด  โรคใบไหม้  โรคราสนิม  โรคผลเน่า  โรคแคงเคอร์
พืชที่ใช้                   องุ่น  ส้ม  มะม่วง  ถั่ว  กล้วย  มันฝรั่ง  มะเขือเทศ  ผักต่าง ๆ  มะเขือ  ชา  กาแฟ  ยาสูบ  พริก  มะนาว  พืชตระกูลแตง  หอม  สตรอเบอร์รี่  พริกไทย  ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม                  62และ  85ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้        ชนิด  85ใช้อัตรา  30-80  กรัม  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  กวนให้เข้ากันดีแล้วฉีดพ่นที่ใบให้ทั่วต้นพืช  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็นและเขย่าถังขณะฉีดพ่น
อาการเกิดพิษ            ถ้าถูกผิวหนังจะทำให้แสบร้อนและอักเสบ  ถ้าหายใจเอาละอองฝุ่นเข้าไปอาการจะเกิดขึ้นน้อยหรือมากขึ้นอยู่กับปริมาณและละอองฝุ่นที่สูดดมเข้าไป  ซึ่งอาจมีอาการแน่นหน้าอก  หายใจไม่สะดวก  มีรสโลหะอยู่ในปาก  ถ้าเข้าปากจะมีอาการแสบร้อนในปากและคอ  กระเพาะและลำไส้อักเสบ  อาเจียน  ท้องเสีย  ถ้ากลืนกินเข้าไปจะมีอาการปวดท้องรุนแรง  อาเจียน  ท้องเสีย  เลือดออกในกระเพาะและจะปนออกมากับอุจจาระ  ปัสสาวะจะมีลักษณะคล้ายเป็นโรคดีซ่าน  ตับโตและล้มเหลว
การแก้พิษ                ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ  ถ้ากลืนกินเข้าไป  ต้องรีบทำให้อาเจียน  ด้วยการล้วงคอหรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น  สำหรับแพทย์  ถ้าคนไข้กลืนกินเข้าไป  ให้คนไข้ดื่มน้ำนมแม๊กนีเซียแล้วตามด้วยน้ำเกลือจนคนไข้อาเจียนออกมาหมด  ล้างท้องคนไข้แล้วให้กินถ่านยาแอ๊คติเวทเต็ด  ซาร์โคล  กับ  Potassium  ferrocyamide  0.1%  แล้วให้คนไข้รับประทานยา  Penicillamine  ขนาด  0.3  กรัม  วันละ  3  ครั้ง  ก่อนอาหาร  ในรายที่มีอาการหนัก  ให้ฉีดด้วยยา  บีเอแอล  รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้                    - มีคุณสมบัติกัดกร่อนโลหะ
                             - ในการให้ได้ผลดีนั้น  จะต้องฉีดพ่นโดยละเอียดและทั่วถึง
                             - ถ้าน้ำใช้ผสมเป็นน้ำกระด้าง  จะทำให้ได้สารละลายที่ข้นแข็ง
                             - ห้ามผสมหรือใช้ร่วมกับ  ทีเอ็นทีดี  (TNTD)  สารประกอบปรอท  น้ำปูนขาว  (Lime  sulfur)  และสารกำจัดเชื้อรา  dithiocarbamate
                             - ผสมกับสารกำจัดเชื้อราชนิดอื่น ๆ ได้
                             - ไม่เป็นอันตรายต่อผึ้ง

คอปเปอร์  ซัลเฟท
(copper  sulfate)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดเชื้อราอนินทรีย์  (inorganic)  ออกฤทธิ์ให้ผลในทางด้านป้องกันโรคพืช
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  300  มก./กก.  ทำให้ดวงตา  ผิวหนังและระบบทางเดินหายใจระคายเคือง
โรคพืชที่กำจัดได้        โรคใบไหม้  (Leaf  blight)  โรคใบจุด  (Cercospora  leaf  spot)  โรคแบ๊คทีเรียลไบล์ท  (Bacterial  blight)  โรคราน้ำค้าง  โรคใบม้วน  รวมทั้งใช้กำจัดสาหร่ายและตะไคร่น้ำ
พืชที่ใช้                   มันฝรั่ง  มะเขือเทศ  องุ่น  คื่นฉ่าย  แครอท  พริกไทย  สตรอเบอร์รี่และพืชอื่น ๆ
สูตรผสม                  10% , 20%  และ  25ฝุ่น
อัตราใช้และวิธีใช้        ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก  ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดีแล้วฉีดพ่นที่ใบให้ทั่วต้นพืช  ทุก  7-10  วัน
อาการเกิดพิษ            อาจกัดเนื้อเยื่อดวงตา  ผิวหนังและท่อทางเดินอาหาร  หากกลืนกินเข้าไปจะมีอาการคลื่นเหียน  อาเจียนและช๊อค
การแก้พิษ                ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดอย่างน้อย  15  นาที  ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้ากลืนกินเข้าไปต้องทำให้อาเจียน  ด้วยการให้ดื่มน้ำนมแม๊กนีเซีย  2  แก้ว  ทำให้อาเจียนซ้ำจนกว่าจะหมด  แล้วไปหาแพทย์  สำหรับแพทย์  ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้                    - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  7  วัน
                             - เป็นพิษต่อปลา
                             - ใช้สารนี้ในขณะที่มีน้ำค้างเกาะที่ใบจะได้ผลดีขึ้น
                             - สารนี้จะดูดความชื้นทันทีเมื่อถูกกับอากาศ
                             - ผสมกับสารกำจัดเชื้อราและสารกำจัดแมลงอื่น ๆ ได้
          - ในประเทศไทย  มีจำหน่ายในรูปผสมกับสารกำจัดเชื้อราอย่างอื่น  คือ  คอปเปอร์  ซัลเฟท + มาเน็บ + ซีเน็บ  (63 + 4 + 4 +%)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น