(นายยักษ์เขียว)
อีทริไดอะโซล
(etridiazole)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา Thiadiazole ออกฤทธิ์ให้ผลในทางป้องกันและรักษาโรคพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 2,000 มก./กก. ทำให้ผิวหนังและดวงตาระคายเคือง
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคเน่าที่เกิดจากเชื้อไพเธียม (Pythium spp.) ไฟท๊อฟโธรา (Phythophthora spp.) ฟิวซาเรียม (Fusatium spp.) และ Rhizoctonia spp.
พืชที่ใช้ ขิง กล้าทุเรียน กล้าผักต่าง ๆ มะเขือเทศ พริกไทย พืชตระกูลแตง สตรอเบอร์รี่ ฝ้าย ถั่วเหลือง ข้าว ถั่วลิสง ถั่วลันเตา กาแฟ โกโก้ กล้วยไม้ ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม 24% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตรา 15 ซีซี ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ราดบริเวณโคนต้นหรือโดยฉีดพ่นให้ทั่วพื้นที่ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากฉลากก่อนใช้
อาการเกิดพิษ ผู้ได้รับพิษทางปากจะมีอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ถ้าได้รับพิษทางผิวหนังและเยื่อบุต่าง ๆ เช่น เยื่อบุบริเวณตาจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง
การแก้พิษ ถ้าถูกผิวหนังให้รีบล้างด้วยน้ำกับสบู่ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง ถ้าเข้าปากและผู้ป่วยยังมีสติอยู่ ให้ดื่มน้ำจำนวนมาก ๆ ห้ามทำให้อาเจียนหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่ รีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์ สำหรับแพทย์ ถ้ากินเข้าไปมากทำให้ท้องว่าง โดยใช้ endotracheal tube แล้วให้กินแอ๊คติเวทเต็ด ซาร์โคล ขนาด 30-50 กรัม ผสมกับน้ำ ตามด้วย โซเดียมซัลเฟท หรือ แม๊กนีเซียมซัลเฟท แล้วรักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว 3 วัน
- อย่าใช้ผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ หรือกับปุ๋ย
พีนามิโนซัลฟ์
(fenaminosulf)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา benzene diazosulphonate ใช้กำจัดเชื้อราที่เป็นกับเมล็ดและที่อยู่ในดิน
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 60 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 100 มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคพืชที่เกิดจากเชื้อ Phythium spp. , Aphanomyces spp. , Phytopthora spp. และ Anthracnose
พืชที่ใช้ ใช้กับเมล็ดที่กำลังงอก ต้นกล้า ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา แตง ฝ้าย สัปปะรด อ้อย ข้าวฟ่าง ไม้ดอกและไม้ประดับ
สูตรผสม 70% , 35% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ผสมกับน้ำ ราดตามร่องดิน หรือใช้แบบคลุกเมล็ดโดยไม่ต้องผสมน้ำ
การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการที่ปรากฏ
ข้อควรรู้ - ปัจจุบันไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย
- ใช้ทันทีเมื่อผสมน้ำเสร็จ มิฉะนั้นแล้วจะเกิดการสลายตัว
- ชนิดของเชื้อราที่กำจัดได้ อยู่ในวงจำกัด
ฟีนาริมอล
(fenarimol)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา pyrimidine ประเภทดูดซึมทางใบ ให้ผลในทางป้องกันรักษาและกำจัดโรคพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 2,500 มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้ โรค Fusarium blight โรคใบจุด โรคราแป้ง โรคราสนิม (Rust) โรคสแคป (Scab) โรคสมัท (Smut) และโรคอื่น ๆ
พืชที่ใช้ พืชตระกูลแตง องุ่น ถั่วลิสง สตรอเบอร์รี่ ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม 12% อีซี และ 50% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ฉีดพ่นที่ใบพืช ก่อนที่โรคจะปรากฏชัดเจน
ข้อควรรู้ - เป็นพิษต่อปลา
- เชื้อราจะหยุดการเจริญเติบโตเมื่อถูกกับตัวยา
- ตัวยาจะเคลื่อนที่ขึ้นส่วนบนของต้นพืช
เฟนทินอะซีเตท หรือ ไตรเฟนนิลทิน อะซีเตท
(fentin acetate or triphtnyltin acetate)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดเชื้อรา organotin ที่ให้ผลในทางป้องกันโรคพืช ออกฤทธิ์กำจัดตะไคร่น้ำและหอยทากได้ด้วย
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 125 มก./กก. ทางผิวหนัง (หนู) 450 มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้ โรคใบจุด โรค Late blight และโรคที่เกิดจากเชื้อ Cercospora spp. , Septoria spp. , Phytophthora palmivora , Monillia rorei , Pyricularia et Helminthosporiumoryzae.
พืชที่ใช้ มันฝรั่ง ถั่วลิสง กาแฟ พืชตระกูลคื่นฉ่าย โกโก้ ยาสูบ หอม ข้าว ถั่วลันเตา แครอท และพืชอื่น ๆ
สูตรผสม 60% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก ผสมกับน้ำแล้วฉีดพ่นที่ใบให้ทั่วต้นพืช ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น
อาการเกิดพิษ ทำให้ผิวหนัง ดวงตาและเยื่อบุจมูกระคายเคือง ดวงตาอักเสบ บวมแดง ถ้ากลืนกินเข้าไปจะมีอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย อ่อนเพลีย ม่านตาหรี่ หายใจหอบ เหงื่อออกมาก ชักและหมดสติ
การแก้พิษ ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่ ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดจำนวนมาก ๆ ถ้ากลืนกินเข้าไปและยังมีสติดีอยู่ ทำให้คนไข้อาเจียนด้วยการล้วงคอหรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น แล้วนำส่งแพทย์ สำหรับแพทย์ ทำการล้างท้องคนไข้แล้วให้กินยาแอ๊คติเวทเต็ด ซาร์โคล และโซเดียม ซัลเฟท ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ ห้ามมิให้ผู้ป่วยดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสมอย่างน้อย 3 สัปดาห์ และในระหว่างป่วยห้ามดื่มนมและอาหารที่มีไขมันผสมอยู่
ข้อควรรู้ - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว 7-14 วัน
- ห้ามผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชที่อยู่ในรูป อีซี (EC)
- ห้ามใช้ในแปลงกล้ากาแฟ ใช้ได้กับพืชที่แนะนำบนฉลากเท่านั้น
- เป็นพิษต่อปลาและหอย
- มีประสิทธิภาพดีกว่า copper 10-20 เท่า
- สลายตัวบนใบพืชเมื่อถูกแสงแดด
- เข้ากันได้กับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ ที่ใช้กันทั่วไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น