วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สารกำจัดวัชพืช(ยาฆ่าหญ้า) ตอนที่ 7

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำ ชื่อสารเคมี(ชื่อสามัญ) ชนิดต่างๆ  มาเผยแพร่ให้เกษตรกร,ผู้สนใจ,ฯลฯ ได้รู้ถึงประโยชน์, อันตราย, และความเป็นพิษเพื่อจะได้เลือกใช้สารเคมีอย่างระมัดระวัง(ในกรณีที่จำเป็น) มิได้ต้องการส่งเสริมให้เกษตรกรหรือผู้อ่านใช้สารเคมีเพิ่มขึ้น เพียงแต่หากจำเป็นต้องใช้สารเคมี  ก็ควรใช้อย่างรู้คุณและโทษของมันอย่างถูกต้อง และได้ประโยชน์ คุ้มค่ากับเงินลงทุนที่เสียไปทุกบาททุกสตางค์ และไม่ทำให้ผู้บริโภครวมถึงตัวเกษตรกรและผู้ใช้เองต้องตกเป็นเหยื่อของพิษ ภัยจากการใช้สารเคมีโดยมิได้รู้แจ้ง ซึ่ง ทางผู้โพสหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรและบุคคลทั่วไปไม่มากก็น้อย  สำหรับท่านที่มีเพื่อน,มิตร,ญาติสนิท,ฯลฯ ที่ทำเกษตร หรือเกี่ยวข้องทางด้านนี้อยู่ ก็รบกวนช่วยนำไปเผยแพร่นะครับ ผมเองได้ข้อมูลมาตั้งแต่สมัยที่ยังทำการเกษตรอยู่ จาก หนังสือ "สารกำจัดศัตรูพืชในประเทศไทย"  เป็นหนังสือที่หาค่อนข้างยาก ปัจจุบันไม่ทราบว่ามีตีพิมพ์อีกหรือไม่ แต่ข้อมูลก็ยังสามารถใช้ได้ดีอยู่ จึงอยากนำมาเผยแพร่ให้คนรักต้นไม้,เกษตรกร,หรือคนที่เกี่ยวข้องได้ทราบกัน
 (นายยักษ์เขียว)

คอปเปอร์  เอ็ทธิลลีนไดอะมีน
(copper  ethylenediamine)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดวัชพืชในน้ำ
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  1  มิลลิลิตร/กก.  ทางผิวหนัง  (กระต่าย)  8  มิลลิลิตร/กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        สำหรับเส้นด้าย  สำหรับข้าวเหนียว  สำหรับหางกะรอก  และวัชพืชน้ำอื่น ๆ
พืชที่ใช้                   ส้มเขียวหวาน  ส้มโอ  และพืชตระกูลส้มทั่วไป
สูตรผสม                  15.2เอเอส

คอปเปอร์  ไตรเอ็ทธาโนลามีน
(copper  triethanolamine)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดวัชพืชในน้ำ
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  470  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (กระต่าย)  8  กรัม/กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้       สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว  และวัชพืชน้ำอื่น ๆ
พืชที่ใช้                   ตามร่องน้ำในสวนผลไม้
สูตรผสม                  37.5เอเอส

ไซอานาซีน
(cyanazine)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดวัชพืช  triazine  ประเภทเจาะจงพืช  กำจัดวัชพืชก่อนงอกหรือในระยะเริ่มงอก  ดูดซึมเข้าไปในลำต้นได้โดยผ่านทางราก  เป็นตัวขัดขวางขบวนการสังเคราะห์แสง  (photosynthesis  inhibitor)
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู)  288  มก./กก. ทางผิวหนัง (กระต่าย)  มากกว่า  2,000  มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้        
วัชพืชใบแคบตระกูลหญ้าและวัชพืชใบกว้างที่มีอายุสั้นหรือประเภทล้มลุก
พืชที่ใช้                   ใช้กำจัดวัชพืชในไร่ข้าวโพด  ถั่วเหลือง  ฝ้าย  สัปปะรด  ข้าวสาลี  มันฝรั่ง  อ้อย  ถั่วลันเตา  แอสพารากัส  และเมล็ดธัญพืช
สูตรผสม                  50ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้        เพื่อคุมวัชพืช  ใช้อัตรา  1.5  กก.  ผสมกับน้ำ  100  ลิตร  ฉีดพ่นคลุกพื้นที่  1  ไร่  ถ้าใช้ปราบวัชพืชในระยะเริ่มงอกให้ใช้อัตรา  650-800  กรัม ผสมกับน้ำ  100  ลิตรฉีดพ่นให้ทั่วพื้นที่  1  ไร่
อาการเกิดพิษ            จะมีอาการคลื่นไส้  อาเจียน  มวนท้อง  ท้องเสีย  เกิดอาการระคายเคืองตามทางเดินอาหารและเยื่อบุต่าง ๆ  เช่น  ดวงตา  บางรายอาจมีอาการเซื่องซึม  หายใจแรง-เร็ว  เส้นเลือดขยายตัวทำให้ความดันโลหิตต่ำ
การแก้พิษ                ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนัง  ให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ  ถ้ากลืนกินเข้าไป  รีบทำให้คนไข้อาเจียนด้วยการล้วงคอหรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น  สำหรับแพทย์  ให้คนไข้กินถ่านยาแอ็คติเวทเต็ด  ซาร์โคล  ขนาด  30-60  กรัม  ผสมกับน้ำ  5-10  ออนซ์  และกินซ้ำทุก  4  ชม.  ถ้าท้องไม่เสีย  ให้คนไข้ถ่ายท้องด้วยยาโซเดียมซัลเฟท  ตามขนาดการใช้  แล้วรักษาตามอาการต่อไป
ข้อควรรู้                    - ในขณะใช้ควรเขย่าถังพ่นอยู่เสมอ
                             - อย่าใช้กับดินทรายหรือดินร่วนปนทรายที่มีอินทรีย์วัตถุต่ำกว่า  1%
                             - เมื่อผสมกับปุ๋ย  ห้ามใช้ฉีดพ่นภายหลังงอก
                             - ออกฤทธิ์โดยผ่านทางรากเป็นส่วนใหญ่
                             - อาจใช้สารกำจัดศัตรูพืชอย่างอื่นผสมได้  เพื่อเพิ่มฤทธิ์ในการกำจัดวัชพืช
                             - อาจใช้สารกำจัดวัชพืชอย่างอื่นผสมได้  เพื่อเพิ่มฤทธิ์ในการกำจัดให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น
                             - ให้ผลในการควบคุมวัชพืชได้นาน  10-12  สัปดาห์

ไซโคลเอท
(cycloate)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดวัชพืช  thiocarbamate  ประเภทเจาะจงพืช
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  3,160  มก./กก.  (ชนิด  6  อี)  4,640  มก./กก.  (ชนิด  10  จี)  และ  2,000-4,100  มก./กก.  (ชนิด )
วัชพืชที่กำจัดได้         กำจัดวัชพืชตระกูลหญ้าประเภทล้มลุก  หญ้ายืนต้นบางชนิด  และวัชพืชใบกว้างหลายอย่าง
พืชที่ใช้                   ใช้กำจัดวัชพืชในไร่  sugar  beets , table  beets , spinach
สูตรผสม                  6อีซี  ,  10%  จี
อัตราใช้และวิธีใช้        ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก  โดยวิธีคลุกดินให้ลึก  2-3  นิ้ว  ก่อนปลูกพืช
ข้อควรรู้                    - ห้ามผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอย่างอื่น
                             - เป็นพิษต่อปลา
                             - ปลูกพืชทันทีที่คลุกดินเรียบร้อยแล้ว
                             - เพื่อให้ผสมกับดินได้อย่างทั่วถึง  จึงควรคลุกในขณะที่ดินแห้ง
                             - ให้ผลในการควบคุมวัชพืชได้  6-12  อาทิตย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น