บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำ ชื่อสารเคมี(ชื่อสามัญ) ชนิดต่างๆ มาเผยแพร่ให้เกษตรกร,ผู้สนใจ,ฯลฯ ได้รู้ถึงประโยชน์, อันตราย, และความเป็นพิษเพื่อจะได้เลือกใช้สารเคมีอย่างระมัดระวัง(ในกรณีที่จำเป็น) มิได้ต้องการส่งเสริมให้เกษตรกรหรือผู้อ่านใช้สารเคมีเพิ่มขึ้น เพียงแต่หากจำเป็นต้องใช้สารเคมี ก็ควรใช้อย่างรู้คุณและโทษของมันอย่างถูกต้อง และได้ประโยชน์ คุ้มค่ากับเงินลงทุนที่เสียไปทุกบาททุกสตางค์ และไม่ทำให้ผู้บริโภครวมถึงตัวเกษตรกรและผู้ใช้เองต้องตกเป็นเหยื่อของพิษ ภัยจากการใช้สารเคมีโดยมิได้รู้แจ้ง ซึ่ง ทางผู้โพสหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรและบุคคลทั่วไปไม่มากก็น้อย สำหรับท่านที่มีเพื่อน,มิตร,ญาติสนิท,ฯลฯ ที่ทำเกษตร หรือเกี่ยวข้องทางด้านนี้อยู่ ก็รบกวนช่วยนำไปเผยแพร่นะครับ ผมเองได้ข้อมูลมาตั้งแต่สมัยที่ยังทำการเกษตรอยู่ จาก หนังสือ "สารกำจัดศัตรูพืชในประเทศไทย" เป็นหนังสือที่หาค่อนข้างยาก ปัจจุบันไม่ทราบว่ามีตีพิมพ์อีกหรือไม่ แต่ข้อมูลก็ยังสามารถใช้ได้ดีอยู่ จึงอยากนำมาเผยแพร่ให้คนรักต้นไม้,เกษตรกร,หรือคนที่เกี่ยวข้องได้ทราบกัน
(นายยักษ์เขียว)
ไซโคลซีดิม
(cycloxydim)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืชประเภทเจาะจง สำหรับพืชใบกว้างและกำจัดแบบ ภายหลังงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) มากกว่า 5,000 มก./กก. ทางผิวหนังมากกว่า 2,000 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชตระกูลหญ้าทั้งประเภทล้มลุกและยืนต้น
พืชที่ใช้ ฝ้าย หอม มันฝรั่ง ถั่วเหลือง ทานตะวันและผักต่าง ๆ
สูตรผสม 20% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ตามคำแนะนำบนฉลาก
ดาลาพอน
(dalapon)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช organochlorine ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชก่อนปลูกและหลังปลูก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 9,330 มก./กก. (sodium salt) ทางผิวหนัง มากกว่า 2,000 มก./กก. ทำให้ผิวหนังและดวงตาของผู้แพ้เกิดอาการระคายเคือง
วัชพืชที่กำจัดได้ หญ้าคา หญ้าพง หญ้าขน หญ้าล้มลุกและหญ้ายืนต้นอื่น ๆ
พืชที่ใช้ กาแฟ ฝ้าย ส้ม อ้อย มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน ยางพารา มะพร้าว กล้วย แอสพารากัส องุ่นและสวนป่า
สูตรผสม 85% เอสพี
อัตราใช้และวิธีใช้ กำจัดวัชพืชในสวนยางพารา ใช้อัตรา 1.8 กก.ผสมกับน้ำ 80-100 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วพื้นที่ 1 ไร่ สำหรับพืชอื่น ๆ ใช้อัตรา 125-360 กรัม ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นเป็นจุด ๆ หรือทั่วแปลง แล้วแต่ความเหมาะสม
การแก้พิษ ถ้ามีอาการระคายเคืองที่ผิวหนังและดวงตาให้ล้างด้วยน้ำจำนวนมาก ๆ ถ้าคนไข้กลืนกินเข้าไป ต้องทำให้คนไข้อาเจียนและหลีกเลี่ยงการดื่มหรือกินอาหารที่มีไขมัน หรือแอลกอฮอล์ผสมอยู่ สำหรับแพทย์ รักษาตามอาการ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ
ข้อควรรู้ - กัดกร่อน โลหะ ไม่ระเหยและไม่ติดไฟ
- คงตัวอยู่ในดินและยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชได้นาน 60 วัน หรือมากกว่า โดยเฉพาะในสภาพอากาศที่แห้งและเย็น
- อาจใช้ร่วมกับสารกำจัดวัชพืชอย่างอื่น เช่น อะทราซีน ได้
ไดแคมบา
(dicamba)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช benzoic ประเภทเจาะจงพืช กำจัดวัชพืชได้ทั้งก่อนงอกและภายหลังงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 2,900 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 2,000 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ วัชพืชใบกว้างประเภทล้มลุกและยืนต้น
พืชที่ใช้ ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าวบาเลย์ ข้าวโอ๊ต หญ้าต่าง ๆ อ้อย และกำจัดวัชพืชในพื้นที่ ๆ ไม่ได้ทำการเพาะปลูก
สูตรผสม 40.6% อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก
การแก้พิษ ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ ถ้ากลืนกินเข้าไป ให้คนไข้ดื่มน้ำมาก ๆ แล้วทำให้อาเจียน รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ - ดูดซึมเข้าลำต้นได้โดยผ่านทางใบ
- ถั่วเหลืองและถั่วลันเตาอ่อนแอต่อสารชนิดนี้มาก
- ใช้ผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ ได้เป็นส่วนมาก
- ฤทธิ์สารกำจัดวัชพืชจะอยู่ในดินได้หลายสัปดาห์ หรือเป็นเดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ
- ฆ่าวัชพืชเมื่องอกออกมาแล้ว
ไดคลอร์พรอพ - พี
(dichlorprop - P)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืชที่มีความใกล้เคียงกับ 2,4-ดี
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) มากกว่า 825 มก./กก. แต่น้อยกว่า 1,000 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 4,000 มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้ กำจัดวัชพืชใบกว้าง ไม้พุ่มและวัชพืชน้ำ
พืชที่ใช้ ใช้กำจัดวัชพืชในไร่ธัญพืช ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์และตามไหล่ทาง-ถนน
สูตรผสม 60% เอเอส
การแก้พิษ ยาแก้พิษโดยเฉพาะยังไม่เป็นที่ทราบกัน ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนานมาก ๆ แล้วไปพบแพทย์ ถ้ากลืนกินเข้าไป ทำให้คนไข้อาเจียนแล้วรักษาตามอาการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น