ไส้เดือนฝอยรากปมศัตรูพืชเศรษฐกิจ กับการป้องกันและกำจัด
| |
โรคราก ปมที่เกิดจากไส้เดือนฝอย เป็นโรคหนึ่งที่มีความสำคัญทำให้ผลผลิตของพืชเศรษฐกิจชนิดต่าง ๆ ปัจจุบันที่พบมีการระบาดอย่างมาก ในเกือบทุกพื้นที่ของประเทศไทย ทั้งใน ผัก(พริกไทย, ข่า, ขิง, พริก, มะเขือ, มะเขือเทศ, แตงต่าง ๆ, ผักชี, กระเจี๊ยบเขียว, ผักกาดหอม, ผักคะน้า, ผักกวางตุ้ง,ฯลฯ) ,ไม้ผล(ฝรั่ง, ลองกอง, ลางสาด, ลำไย, มะละกอ, ฯลฯ) ,ข้าวและพืชไร่(อ้อย,ปอ,ข้าวโพด,ถั่วเขียว,ฯลฯ) รวมถึงไม้ดอก-ไม้ประดับ(เยอบีร่า, ปทุมมา, กล้วยไม้ ดีปลี,ฯลฯ) ซึ่งแทบจะเรียกได้ว่า พืชส่วนใหญ่กว่า 80 เปอร์เซ็นต์ มีความเสี่ยงต่อการเข้าทำลายและการระบาดของไส้เดือนฝอยรากปม ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกษตรกร ต้องขาดทุน หรือมีต้นทุนที่สูงขึ้น ในการจัดการและป้องกัน รวมถึงการกำจัดเมื่อมีการเข้าทำลาย
รากต้นเยอบีร่า ถูกไส้เดือนฝอยรากปมเข้าทำลาย | ไส้เดือนฝอยรากปมทำลายรากต้นข้าว ในนาข้าว |
เชื้อสาเหตุ
เกิดจากไส้เดือนฝอย Meloidogyne incognita (Kajoid & White) Chitwood
เกิดจากไส้เดือนฝอย Meloidogyne incognita (Kajoid & White) Chitwood
ไส้เดือนฝอย Meloidogyne incognita
ลักษณะการทำลาย
พืช จะแสดงอาการเหี่ยวเฉาในเวลากลางวัน แคระแกรน ใบเหลือง ซึ่งเป็นอาการคล้ายกับการขาดน้ำ หรือขาดธาตุอาหาร เมื่อขุดดูส่วนรากจะเห็นรากเป็นปม เกิดจากการที่ตัวอ่อนไส้เดือนฝอยที่มีอยู่ในดินจะเข้าไปอยู่ในรากพืชดูดกิน น้ำเลี้ยงและ เจริญเติบโตอยู่ภายในรากพืช ทำให้รากส่วนนั้นพองตัวขึ้นเห็นเป็นปม ถ้าดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณปลายรากจะทำให้เกิดอาการรากกุด รากพืชไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้ ต้นพืชก็จะเหลืองตายในที่สุด
พืช จะแสดงอาการเหี่ยวเฉาในเวลากลางวัน แคระแกรน ใบเหลือง ซึ่งเป็นอาการคล้ายกับการขาดน้ำ หรือขาดธาตุอาหาร เมื่อขุดดูส่วนรากจะเห็นรากเป็นปม เกิดจากการที่ตัวอ่อนไส้เดือนฝอยที่มีอยู่ในดินจะเข้าไปอยู่ในรากพืชดูดกิน น้ำเลี้ยงและ เจริญเติบโตอยู่ภายในรากพืช ทำให้รากส่วนนั้นพองตัวขึ้นเห็นเป็นปม ถ้าดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณปลายรากจะทำให้เกิดอาการรากกุด รากพืชไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้ ต้นพืชก็จะเหลืองตายในที่สุด
รากพริก ถูกไส้เดือนฝอยรากปมเข้าทำลาย | รากมันฝรั่ง ถูกไส้เดือนฝอยรากปมเข้าทำลาย |
การแพร่ระบาด
ไส้เดือนฝอยรากปมสามารถแพร่กระจายไปได้โดยติดไปกับดินที่นำมาเพาะชำ หรือ ดินที่ติดไปตามเครื่องมือการเกษตร เช่น ไถ จอบ เป็นต้น รวม ถึงสามารถระบาดทางน้ำได้ ในกรณีที่ใช้น้ำจากแหล่งชลประทานเดียวกัน เช่น หากสวนที่มีการระบาด ถ่ายเทน้ำลงสู่คลองชลประทาน ไส้เดือนฝอยส่วนหนึ่งจะพักตัวอยู่กับวัชพืช ในและริมคลองชลประทาน เมื่อสวนปลายน้ำดูดน้ำเข้าไปใช้ ไข่และตัวไส้เดือนฝอยรากปม ก็สามารถแพร่ระบาดได้ต่อเนื่องเป็นลูกโซ่
ไส้เดือนฝอยรากปมสามารถแพร่กระจายไปได้โดยติดไปกับดินที่นำมาเพาะชำ หรือ ดินที่ติดไปตามเครื่องมือการเกษตร เช่น ไถ จอบ เป็นต้น รวม ถึงสามารถระบาดทางน้ำได้ ในกรณีที่ใช้น้ำจากแหล่งชลประทานเดียวกัน เช่น หากสวนที่มีการระบาด ถ่ายเทน้ำลงสู่คลองชลประทาน ไส้เดือนฝอยส่วนหนึ่งจะพักตัวอยู่กับวัชพืช ในและริมคลองชลประทาน เมื่อสวนปลายน้ำดูดน้ำเข้าไปใช้ ไข่และตัวไส้เดือนฝอยรากปม ก็สามารถแพร่ระบาดได้ต่อเนื่องเป็นลูกโซ่
รากขิง ถูกไส้เดือนฝอยรากปมเข้าทำลาย
การป้องกันกำจัด วิธี ที่ดีที่สุดและประหยัดที่สุด คือ การควบคุมและป้องกันก่อนที่จะถูกเข้าทำลาย เพราะเกษตรกรโดยส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ ชะล่าใจ โดยมักสังเกตพบเมื่อพืชมีอาการต้นเหลืองโทรมแล้ว ซึ่งอาการนี้ จะสังเกตเห็นเมื่อ มีการเข้าทำลายระบบรากอย่างหนักแล้ว ทำให้บางครั้งการกำจัดไม่สามารถได้ หรือ ทำไม่ได้ทันท่วงเวลา รากพืชที่ถูกทำลายเสียหายเกินจะฟื้นฟู ผลผลิตเสียหาย 100 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะกลุ่มพืชอายุสั้น เช่น ผัก, ไม้ดอกและไม้ประดับ, พืชอายุเก็บเกี่ยวสั้นอื่น ๆ ดังนั้นหากเราได้พบหรือได้ทราบข่าวการระบาดของไส้เดือนฝอยในแปลงใกล้เคียง ก็ควรรีบป้องกันไว้แต่เนิ่น ๆ เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการระบาดมายังแปลงของเรา
1. การเขตกรรม
1. การเขตกรรม
1.1 การ ไถพรวน การใช้ผานไถลึกทำให้ดินไม่แน่น เมื่อปทุมมาสร้างหัวในดินที่มีการระบายน้ำดีทำให้ไส้เดือนฝอยถูกพาไปกับน้ำ จะช่วยลดปริมาณไส้เดือนฝอย ให้ไม่มารวมกันอยู่ที่บริเวณหัว
1.2 การไขน้ำท่วมแปลง กรณีเป็นที่ลุ่มการปล่อยให้น้ำขังนาน ๆ ปริมาณ ไส้เดือนฝอยจะน้อยลง
1.3 การกำจัดวัชพืช โดยเฉพาะพวกใบกว้าง ในขณะที่พืชตระกูลหญ้าส่วนใหญ่เป็นพืชอาศัย
1.4 การ ใส่ปุ๋ยอินทรีย์วัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยพืชสด ทำให้คุณสมบัติดินดีขึ้น และเพิ่มจุลินทรีย์ที่เป็นศัตรูธรรมชาติของไส้เดือนฝอย
1.5 การเก็บรากและหัวที่มีไส้เดือนฝอยฝังตัวอยู่ออกนอกแปลงไปเผาทิ้ง
ใช้ชีวภัณฑ์กำจัดไส้เดือนฝอยรากปม พีแม็ก ฉีดพ่นผิวดินบริเวณเพาะปลูกหรือดินบริเวณรอบทรงพุ่ม เพื่อกำจัดไข่และตัวไส้เดือนฝอยรากปมในพื้นที่ ตามกรรมวิธีดังนี้ คือ
การใช้ พีแม็ก ควบคุมและกำจัดไส้เดือนฝอยรากปม
กรณีควบคุมและป้องกัน ใช้อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมราดหรือฉีดพ่นผิวดิน หรือดินบริเวณรอบทรงพุ่ม ทุก ๆ 3 เดือน
กรณีมีการระบาดใช้กำจัด ใช้อัตรา 80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมราดหรือฉีดพ่นผิวดิน(หลังรดน้ำพืช)รอบทรงพุ่ม 2 ครั้ง ห่างกัน 15 วัน
แนะนำให้ใช้ร่วมกับไตรโคแม็ก(ป้องกันรากเน่า) และไบโอเฟอร์ทิล เพื่อฟื้นฟูสภาพต้น กระตุ้นการแตกรากใหม่เร่งด่วน
หมายเหตุ ไม่แนะนำให้ใช้สารเคมีในการฉีดพ่น โรย หรือจุ่มท่อนหรือหัวพันธุ์เพื่อกำจัด เนื่องจาก การระบาดของไส้เดือนฝอยรากปม เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แต่การใช้สารเคมีนั้นสามารถควบคุมได้เพียงแค่ระยะเวลาหนึ่ง(ประมาณ 2-4 อาทิตย์) เท่านั้น อีกทั้งสารเคมียังสามารถป้องกันกำจัดไส้เดือนฝอยได้แค่รากเดิมและต้นเท่า นั้น แต่ไส้เดือนฝอยในบริเวณดินโดยรอบจะไม่ถูกทำลายไปด้วย ดังนั้นเมื่อสารเคมีหมดฤทธิ์ ก็จะมีการเข้าทำลายซ้ำ และระบาดต่อเนื่องไปอีก และหากใช้สารเคมีบางชนิดเข้มข้นเกินไป ยังทำลายและยับยั้งการแตกรากใหม่ของพืชทำให้รากเน่าหรือเฉาอีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น