การกำจัดปลวก ศัตรูสำคัญในสวนยางพาราและบ้านพักอาศัย
ปัจจุบันนี้ภาครัฐได้ส่งเสริมการปลูกยางพาราทั่วทุกภาคของประเทศ จึงทำให้มีพืชอาหารชั้นดี ของปลวกอยู่ทั่วประเทศเช่นเดียวกัน แม้ ว่าการปลูกยางพาราจะไม่ใช่เรื่องยาก แต่เราควรจะปฏิบัติหรือจัดการต่อสวนยางพาราอย่างไรเพื่อให้มีต้นทุนการผลิต ที่ต่ำและได้รับผลตอบแทนอย่างคุ้มค่าที่สุด ย่อมเป็นสิ่งที่ท้าทายทั้งมือเก่ารุ่นลายครามและมือใหม่หัดปลูก และ ต้องยอมรับว่าสิ่งใหม่ๆ ความรู้ใหม่ๆ เกิดขึ้นได้ทุกวัน ควบคู่ไปกับปัญหาใหม่ๆ ที่คอยติดตามทดสอบภูมิปัญญาของผู้คนทุกกลุ่มอาชีพ การมีความรู้ การสร้างสังคมแห่งความรู้ การเชื่อมต่อถึงกันบนพื้นฐานของการมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกันของ ผู้คนที่มีอาชีพที่เกี่ยวกับยางพารา เช่น ปัญหาปลวกกัดกินรากยางพาราที่ลงปลูกใหม่ เชื่อได้ว่าปัญหาดังกล่าวสามารถพบเจอทุกภาคส่วนของประเทศ ฉะนั้นจะแก้อย่างไรให้ปลอดภัย ง่าย ลดต้นทุนได้ผลประโยชน์สูงสุด จะกล่าวถึงวิธีแก้ปัญหาเรามารู้จักกับปลวกกันก่อน
เรา มักพบเห็นจอมปลวก ขนาดเล็กบ้างใหญ่บ้างกระจายอยู่ทั่วไป เคยสงสัยไหมว่าปลวกมีวงจรชีวิตเช่นใดภายในกองดินอันแข็งแกร่ง จอมปลวกหรือรังของปลวกถือเป็นอาณาจักรของแมลงที่มีขนาดใหญ่และซับซ้อนมากที่ สุด รังปลวกบางพันธุ์ในทวีปแอฟริกามีความสูงเหนือพื้นดินถึง 6 เมตร มีอุโมงค์เชื่อมต่อใต้ดินครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 5 ไร่ และมีปลวกอาศัยอยู่รวมกันประมาณ 5 ล้านตัว รังของปลวกที่มีลักษณะเป็นกองดินขนาดใหญ่ในบ้านเรามักเป็นปลวกในสกุล Macrotemes ปัจจุบันทั่วโลกค้นพบปลวกแล้วไม่ต่ำกว่า 1,800 ชนิด 200 สกุล สำหรับประเทศไทยพบว่ามีปลวกอยู่นับร้อยชนิด ซึ่งปลวกแต่ละชนิดต่างมีกลวิธีและรูปแบบในการสร้างรังไม่เหมือนกัน แต่ไม่ว่าจะมีขนาดมหึมาราวหอคอยหรือเล็กเพียงแค่เนินดิน ปลวกจำนวนมากมายในแต่ละรังจะแบ่งออกได้เป็น 3 วรรณะคือ
การใช้สารเคมีกำจัดนั้น ได้ผลเพียงในระยะสั้น(2-3 อาทิตย์) เมื่อสารเคมีหมดฤทธิ์ ปลวกก็จะเข้าทำลายใหม่ อีกทั้งยังเป็นการสิ้นเปลือง เพิ่มต้นทุนให้เกษตรกรอย่างมาก ดังนั้นวิธีที่แนะนำ และสามารถการควบคุมและกำจัดประชากรของปลวก ได้ผลดีในระยะยาวที่สุด ก็คือ การใช้จุลินทรีย์ เมทา-แม็ก (เชื้อรา)กำจัดปลวก คลุกผสมกับปุ๋ยคอก (มูลโค มูลไก่ ฯลฯ ) และแกลบสุกในอัตรา 1 กก. ต่อ 50 กก. ต่อ 20 กก. ตามลำดับ ระหว่างผสมให้ฉีดพรมน้ำเพิ่มความชื้น(ให้ความชื้นประมาณ 40-50%) เพื่อกระตุ้นการขยายของเชื้อให้เพิ่มปริมาณ มากขึ้น หมักหรือห่มทิ้งไว้ประมาณ 1 วัน (24 ชั่วโมง) ก่อนนำไปหว่านหรือใส่ถุงกระดาษหรือกระบอกไม้ไผ่แห้งแล้วนำไปฝังดินไว้เป็น จุด ๆ รอบบริเวณโคนต้นยางพารา โดยขุดหลุมให้ลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตร แล้วกลบด้วยดินที่ขุดขึ้นมาอย่างหลวม ๆ (ไม่กดดินจนแน่น) ตัวปลวกที่อยู่ในดินจะออกมากินถุงกระดาษและราเขียวที่อยู่ในถุง ทำให้เชื้อราเขียวติดไปกับตัวปลวกเข้าสู่ภายในรังปลวกและสามารถเข้าทำลายตัว ปลวกให้ตายหมดทั้งรัง การใช้ราเขียวจำเป็นต้องหยุดสารเคมีหรือเคมีที่มีฤทธิ์ทำลายเชื้อรา ในระยะแรก ๆ ยังเห็นผลไม่ชัดเจน ควรกระทำซ้ำๆ 2-3 ครั้ง ห่างกันประมาณ 2-3 สัปดาห์ครั้ง หลังจากนั้นก็สามารถลดการใช้เหลือเพียงกาใช้ เมทา-แม็ก ควบคุมทุก ๆ 6 เดือน- 1 ปี
เมทา-แม็ก ยังสามารถใช้ผสมน้ำ ฉีดพ่นโดยตรงที่ตัวปลวกหรือที่รังปลวกได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น