ขณะที่รัฐบาลมาเลเซียได้ตระหนักถึงอันตรายของสารเคมีกำจัดวัชพืชพาราควอท (Paraquat) หรือที่เกษตรกรบ้านเรารู้จักกันเป็นอย่างดีในชื่อกรัมม็อกโซน ที่มีอันตรายต่อชีวิตของเกษตรกรและสิ่งแวดล้อมในประเทศเขา จึงได้ประกาศห้ามผลิต ห้ามจำหน่าย ห้ามใช้ ห้ามนำเข้าประเทศมาเลเซีย (BANNED) ซึ่งมีผลบังคับใช้ทันที เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2545 ด้วยเหตุผลที่ว่ามีสารเคมีกำจัด วัชพืชอีกหลายชนิดที่มีคุณภาพดีกว่า และปลอดภัยกว่าพาราควอท ซึ่งไม่มีสารแก้พิษ หากผู้ใดได้รับพิษของพาราควอทเข้าไปจะเจ็บป่วยและตายสถานเดียว มาเลเซียจึงเป็นประเทศแรกในกลุ่มอาเซียนที่ยกเลิกการใช้และห้ามนำเข้าพาราควอทเช่นเดียวกับประเทศในยุโรปหลายประเทศที่ได้ห้ามการใช้แล้วเช่นกัน
สิ่งที่น่าเป็นห่วงในลำดับแรกจากพิษภัยของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชคือสุขภาพของเกษตรกรและสมาชิกในครอบครัว หรือแม้แต่ผู้ที่อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงกับพื้นที่ ๆ มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช หญิงตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์ สัตว์เลี้ยง สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ในชุมชน เช่นสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ แหล่งน้ำและอาหาร และแน่นอนที่สุด คือผู้บริโภคผลผลิตทางการเกษตรที่มีสารเคมีตกค้างหรือปนเปื้อน บริษัทผู้ผลิตสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมักกล่าวว่าการใช้สารเคมีอย่างถูกต้องจะปลอดภัย หรือโฆษณาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชว่าไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม คำกล่าวอ้างเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ผิด แท้จริงแล้วสารเคมีเป็นพิษและไม่มีทางที่จะปลอดภัยจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้เลย
การได้รับพิษ และผลกระทบของสารเคมีการเกษตร
สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเข้าสู่ทางร่างกายได้อย่างไร 1. การเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนัง มีการศึกษาพบว่าร้อยละ90 ของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางผิวหนังโดยตรง เช่นเมื่อเกษตรกรสัมผัสกับพืชผลที่เพิ่งจะฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือเมื่อสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสัมผัสผิวหนัง หรือเสื้อผ้าที่เปียกชุ่มด้วยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือเมื่อเกษตรกรผสมสารเคมีกำจัดศัตรูพืชด้วยมือเปล่า หรือเมื่อสมาชิกในครอบครัวซักเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชแผลไหม้ เกิดจากเกษตรกรฉีดพ่นสารเคมีโดยไม่สวมรองเท้าบู๊ทป้องกัน
ภาพ: โครงการ IPM DANIDA กรมวิชาการเกษตร
3. การเข้าสู่ร่างกายโดยการกลืนกิน เกิดขึ้นได้เมื่อคนเราดื่มกินสารพิษโดยบังเอิญหรือโดยเจตนา เช่นเมื่อคนเรากินอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเข้าไป
แผลที่ปากและลิ้น ที่เกิดจากการดื่มกิน พาราควอท หรือกรัมม็อกโซน โดยอุบัติเหตุ
ภาพ : What’s your poison?. Environment Justice Foundation
1. พิษเฉียบพลัน เกิดขึ้นเมื่อได้รับพิษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชทันทีทันใด ตัวอย่างเช่น ปวดศรีษะ มึนงง คลื่นไส้ อาเจียน เจ็บหน้าอก ปวดกล้ามเนื้อ เหงื่อออกมาก ท้องร่วง เป็นตะคริว หายใจติดขัด มองเห็นไม่ชัดเจน หรือตาย
2. พิษเรื้อรัง เกิดขึ้นเมื่อได้รับพิษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชแล้วแสดงผลช้า ใช้เวลานาน อาการอาจใช้เวลาเป็นเดือน เป็นปีภายหลังจากการได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืช จึงจะแสดงออกมาให้เห็น เช่น การเป็นหมัน การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ การเป็นอัมพฤต อัมพาต และมะเร็ง เป็นต้น
หนึ่งในเด็กหลายคน ในเมืองเคราลา ประเทศอินเดียคนป่วยเป็นมะเร็ง เนื่องมาจากอยู่อาศัยในพื้นที่
ที่มีการใช้สารเคมี เอ็นโดซัลแฟน (ENDOSULFAN) เป็นระยะเวลาที่ยาวนานติดต่อกัน
ภาพ : What’s your poison?. Environment Justice Foundation
ที่มีการใช้สารเคมี เอ็นโดซัลแฟน (ENDOSULFAN) เป็นระยะเวลาที่ยาวนานติดต่อกัน
ภาพ : What’s your poison?. Environment Justice Foundation
ผลกระทบเฉพาะส่วนของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่เป็นพิษเฉียบพลัน
ผลกระทบที่รุนแรงเฉพาะส่วน คือผลกระทบที่มีผลเพียงบางส่วนของร่างกายในส่วนที่สัมผัสกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยตรง เช่นทำให้ระคายเคืองได้แก่ผิวหนังแห้งไหม้ รอยแดง ด่าง ระคายเคืองจมูกตากคอน้ำตาไหลและไอ เล็บมือ เล็บเท้า เปลี่ยนสีเป็นสีฟ้า สีดำ และที่แย่ไปกว่านั้น คือเล็บหลุดร่อนออกไปเล็บมือหลุดร่อนเนื่องมาจากพิษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
ภาพ : What’s your poison?. Environment Justice Foundation
ผลกระทบของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีพิษเรื้อรังต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกาย
1. ระบบประสาท สารเคมีกำจัดศัตรูพืชจำนวนมากมีอันตรายต่อระบบสมองและประสาทมาก อาการบางอย่างของโรคเนื้อเยื่อทางสมองที่มีสาเหตุมากจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชก่อให้เกิดปัญหาทางด้านความทรงจำอย่างรุนแรง สมาธิสั้นและทำสมาธิยาก บุคลิกภาพเปลี่ยนไป การเป็นอัมพฤต อัมพาต เป็นลม หมดสติ และอาจมีอาการสาหัส2. ระบบตับ ร่างกายใช้ตับในการขจัดสารพิษที่เข้าสู่ร่างกายให้มีพิษน้อยลง ดังนั้นตับต้องทำหน้าที่อย่างหนักในการขจัดสารพิษ หากร่างกายได้รับสารพิษเข้าไป และเป็นประจำก็สามารถทำอันตรายต่อตับในระยะยาวจนอาจเป็นตับอักเสบและมะเร็งในที่สุด
3. ระบบกระเพาะอาหาร การอาเจียน ปวดท้อง ท้องเสียเป็นอาการทั่วไปของการได้รับพิษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช การได้รับพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเป็นระยะเวลานาน อาจจะมีผลต่อกระเพาะอาหารที่รุนแรงมากขึ้น หลายคนที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชติดต่อกันเป็นเวลานานหลายปี มักกินอาหารลำบาก แม้ว่าจะเป็นอาหารปกติทั่วไป โดยเฉพาะคนที่กินสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเข้าไปไม่ว่าจะโดยบังเอิญหรือตั้งใจ กระเพาะอาหารจะถูกทำลายเป็นอย่างมากและสารเคมีจะซึมผ่านผนังกระเพาะอาหารเข้าสู่ส่วนอื่น ๆ ของร่างกายต่อไปด้วย
4. ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ปฏิกริยาของอาการแพ้จะไปรบกวนการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันโรค ซึ่งเป็นปฏิกิริยาปกติของร่างกายอันหนึ่งที่มีต่อสารที่แปลกปลอม สารเคมีกำจัดศัตรูพืชแต่ละชนิดมีโอกาสที่จะก่อให้เกิดอาการแพ้ที่แตกต่างกันไป ซึ่งร่างกายของแต่ละคนมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อระดับการได้รับสารพิษที่แตกต่างกันด้วย
สารเคมีกำจัดศัตรูพืชบางชนิด รบกวน ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเป็นอย่างมาก และบางชนิดทำให้ความสามารถในการต่อสู้กับการติดเชื้อโรคของร่างกายอ่อนแอลง ทำให้การติดเชื้อได้ง่ายขึ้น หรือหากมีการติดเชื้ออยู่แล้วอาการเจ็บป่วยดังกล่าวจะยิ่งซับซ้อนและยากต่อการรักษา
5. ระบบความสมดุลยกับฮอร์โมนในร่างกาย มีผลของการศึกษาทดลองในสัตว์ พบว่า สารเคมีกำจัดศัตรูพืชมีผลกระทบต่อการผลิตฮอร์โมนของร่างกาย ฮอร์โมนเป็นสารเคมีที่ถูกผลิตจากต่อมไร้ท่อ และอวัยวะต่าง ๆ เช่น สมอง ต่อมไทรอยด์ ไต ต่อมหมวกไต ลูกอัณฑะ และรังไข่ เพื่อควบคุมการทำงานส่วนที่สำคัญของร่างกาย สารเคมีกำจัดศัตรูพืชบางชนิดมีผลกระทบต่อฮอร์โมนการสืบพันธุ์ ส่งผลให้เกิดความผิดปกติต่าง ๆ เช่น การผลิตอสุจิมีจำนวนลดลงในเพศผู้ และมีความผิดปกติในการผลิตไข่ในเพศเมีย นอกจากนี้แล้วสารเคมีกำจัดศัตรูพืชบางประเภทยังทำให้ต่อมไทรอยด์โตใหญ่ และเป็นมะเร็งในที่สุด และจากผลการทดลองยังพบว่าสัตว์ทดลองมีการแท้งลูก มีการคลอดลูกก่อนกำหนด มีทารกตายในครรภ์ และเป็นไปได้มากว่าจะเกิดอาการลักษณะเช่นเดียวกันนี้ กับสิ่งมีชีวิตที่เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ โดยเฉพาะมนุษย์ด้วย
เด็กหญิงคนนี้พิการเพราะสารเคมีเอ็นโดซัลแฟน (ENDOSULFAN)
ยาฆ่าหอยเชอรี่ยอดฮิตของชาวนา ที่มารดาได้รับขณะตั้งครรภ์
ภาพ : What’s your poison?. Environment Justice Foundation
งานวิจัยหลายเรื่อง เกี่ยวกับผลกระทบของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชต่อ สุขภาพของคน แสดงให้เห็นว่าเป็นไปได้ที่ทารกในครรภ์จะได้รับพิษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ผ่านทางมารดา โดยอาจมาจากการสัมผัสกับสารเคมี หรือฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของมารดา การได้รับพิษของสารเคมีของทารกในครรภ์จะได้รับผ่านทางรก และมีผลกระทบต่อการเติบโตของทารกในครรภ์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ได้รับพิษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ในช่วง 3 เดือนแรก ของการตั้งครรภ์ เนื่องจากในระยะนี้อวัยวะต่าง ๆ ของทารกเริ่มก่อตัวขึ้น ถึงแม้ว่ามารดาจะได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเข้าไปและอาจเป็นสาเหตุของการเกิดความผิดปกติในการคลอดบุตร แต่ไม่ได้หมายความว่าเด็กจะผิดปกติหรือพิการในการเกิดเสมอไป แต่จะหมายถึงว่าโอกาสที่เด็กจะเกิดความผิดปกติหรือพิการมีสูงขึ้น เรายังไม่ทราบว่าพ่อแม่ที่ได้รับพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืชก่อนการปฏิสนธิจะเป็นสาเหตุของการผิดปกติในการเกิดหรือความพิการของทารกหรือไม่ อย่างไรก็ตามทารกที่ดื่มนมจากแม่ที่ได้รับพิษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะได้รับสารพิษต่อจากแม่อย่างแน่นอน
เด็กคนนี้พิการและเสียชีวิตในเวลาไม่นาน
เนื่องจากพิษของสารเคมีเอ็นโดซัลแฟน
(ENDOSULFAN) ที่มารดาได้รับขณะตั้งครรภ์
ภาพ : What’s your poison?. Environment Justice Foundation
ที่มา กรมส่งเสริมการเกษตร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น