วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การกู้สวนจากสภาวะน้ำท่วม


การกู้สวนจากภาวะน้ำท่วม


อุทกภัย
การแก้ไขภัยธรรมชาติที่เกษตรกรไม่อยากให้เกิดกับการกู้สวนจากภาวะน้ำท่วม

ช่วงนี้เป็นช่วงที่ชาวสวนหลายๆ ท่าน ประสบปัญหาเรื่องของฝน และปัญหาน้ำท่วมอย่างรุนแรงในหลายพื้นที่  ทางภควัตฯ มีข้อแนะนำดี ๆ ในการฟื้นฟูพื้นที่เกษตรต่าง ๆ  หลังน้ำลดมาแนะนำกัน  โดยจะกล่าวถึงปัญหาที่ตามมาหลังน้ำลดและวิธีปรับปรุงแก้ไข พื้นที่ภายในสวน,ไร่นา ให้กลับสู่สภาวะปกติอีกครั้ง  ซึ่ง สวนของเกษตรกรมักเกิดปัญหาน้ำท่วมขังระบายไม่ทัน ส่งผลถึงการดูดน้ำและอาหารจนพืชไม่สามารถนำไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้ ซึ่งจะ ถึงผลเสียหายต่อเกษตรกรเป็นอย่างมาก หากเกษตรกรประสบปัญหาดังกล่าว ควรรีบดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพื่อให้มีผลกระทบกับพืชน้อยที่สุด  โดยเริ่มเป็นขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
1.    ให้รีบ ทำการสูบน้ำออกโดยเร็ว เพราะรากพืชที่จมอยู่ใต้น้ำจะขาดออกซิเจน โดยหากในสวนใดที่มีอุปกรณ์เครื่องจักรพร้อมให้รีบเสริมคันกันน้ำในส่วนที่ ชำรุดหรือเพิ่มความสูงของคันดินกั้นน้ำ ร่วมกับการสูบน้ำออก  แต่ ถ้าไม่ทันก็มีอีกทางเลือกหนึ่งคือเพิ่มออกซิเจนในน้ำให้ด้วยการพ่นน้ำ หรือใช้กังหันตีน้ำให้เกิดการไหลเวียน ก็จะลดจำนวนการตายของพืชได้ระดับหนึ่ง      หมายเหตุ ในข้อนี้หากพิจารณาแล้วไม่สามารถกระทำได้ทันการณ์ หรือยังมีปริมาณน้ำไหลเข้าอย่างต่อเนื่อง ก็ให้ยกเว้นเสีย เพราะเมื่อแก้ไขไปก็จะเป็นการเปล่าประโยชน์
2.    ในกรณี ที่กู้สวนไม่ทัน ให้นำเรือเข้าไปตัดผลผลิตที่ค้างอยู่บนต้นออกมาให้หมด เพื่อลดภาระของต้น ทำให้เปอร์เซ็นต์รอดตายของต้นเพิ่มขึ้น
3.    เมื่อ สภาวะน้ำท่วมเริ่มกลับสู่ภาวะปกติ ภายหลังจากพ้นสภาวะน้ำท่วมและได้กู้สวนจนเข้าสู่สภาพปกติแล้วไม่ได้เดินเข้า ภายในพื้นที่ทันที ดินจะเปียกชุ่มมาก ห้ามลงไปเหยียบย่ำ เพราะจะทำให้ดินอัดตัว แน่นจนขาดออกซิเจน และน้ำหนักของเกษตรกรที่เหยียบลงไปอาจทำให้รากพืช ขาดได้ จึงควรรอสักประมาณ 1-2 สัปดาห์ ให้ดินแห้งก่อนแล้วค่อยสำรวจความเสียหาย โดยการ ตรวจอาการของต้นไม้เป็นรายต้นซึ่งจุดที่สังเกตง่ายที่สุดคือ " ใบ " ที่จะเหี่ยวก่อน เพราะดูดน้ำไม่ได้ ในเบื้องต้นรีบช่วยเหลือด้วยการตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง เพื่อลดการ คายน้ำและแสงแดดส่องได้ทั่วถึง อาการแทรกซ้อนจากโรคและแมลงจะได้ไม่ ตามมา สำหรับหญ้าและพืชคลุมดินให้รื้อออกเพื่อให้ดินแห้งเร็วยิ่งขึ้น
4.    เมื่อดินแห้ง เริ่มการให้น้ำโดยค่อย ๆ เพิ่มจนเท่ากับการให้ปกติ ภายในหนึ่งสัปดาห์
5.    เริ่มการฟื้นฟูต้น  โดยการป้องกันและรักษาโรครากเน่าโคนเน่าด้วยการใช้  ชีวภัณฑ์กำจัดเชื้อโรค ไตรโคแม็ก อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นห่างกัน 3-5 วันประมาณ 2 ครั้ง (ในช่วงนี้ การใช้สารเคมีจะไม่ได้ผลเท่าที่ควร เนื่องจากพื้นดินและรากพืชจมน้ำนาน ทำให้เชื้อโรคมีอยู่ทั่วพื้นที่ในดิน) ฉีดพ่นให้ทั่วบริเวณทรงพุ่ม เพื่อป้องกันและกำจัดเชื้อรากเน่าโคนเน่า
6.    เริ่มให้อาหารเสริมทางใบ เพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูต้น  โดยให้ใช้  ไบโอเฟอร์ทิล (สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตรา 30-50 ซีซี + ธาตุอาหารเสริมรวม “คีเลท” อัตรา 5 กรัมผสมกับน้ำ 20 ลิตร  ฉีดพ่นอย่างต่อเนื่อง ทุก ๆ 7 วัน ประมาณ 1-2 เดือน ต้นที่รอดแต่ทรุดโทรมก็จะฟื้นกลับสู่สภาพปกติ หมายเหตุ การฉีดพ่นให้ฉีดพ่นใบตามทรงพุ่ม รวมถึงบริเวณผิวดินรอบทรงพุ่มด้วย เพื่อกระตุ้นการแตกรากและใบใหม่อย่างรวดเร็วและได้ผล
7.    เมื่อต้นเริ่มแทงช่อใบใหม่ หรือเริ่มฟื้น(สังเกตจากใบ)  ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ยักษ์เขียว ในอัตรา ต้นละ 1-2 กิโลกรัม (ปริมาณขึ้นอยู่กับขนาดทรงพุ่ม) เพื่อฟื้นฟู(กระแทก) ให้ใบชุดใหม่ที่ออกมาสมบูรณ์ขึ้น  หมาย เหตุ ช่วงแรกแนะนำให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ยักษ์เขียว เนื่องจาก ปุ๋ยเคมี(ส่วนใหญ่มีสภาพเป็นกรด)อาจส่งเสริมการแพร่ระบาดของโรครากเน่าโคน เน่า ทำให้การแก้ปัญหาเสียเวลายาวนานขึ้น
8.    เมื่อต้นกลับสู่สภาวะปกติ ควรเว้นระยะการทำผลผลิตเป็นรุ่น(การกักน้ำหรือใช้สารบังคับ) โดยนับจากเมื่อเริ่มฟื้นฟูอย่างน้อย 5-6 เดือน เพื่อป้องกันอาการยืนต้นตาย สำหรับต้นที่ไม่พร้อมเพราะได้รับการกระทบจากน้ำท่วมมาก
9.    ในส่วนของต้นตายจากน้ำท่วม ให้ตัดทิ้งและขุดตอออก จากนั้นโรยปูนเพื่อปรับดินและฆ่าเชื้อโรค และทำการตากดิน ก่อนปลูกแซมต้นใหม่  อย่างน้อย 2 สัปดาห์
การวิเคราะห์เหตุการณ์ (ข้อคิดที่เกษตรกรควรสังเกต)
จากสภาพการณ์น้ำท่วมที่เกินขึ้น เมื่อวิเคราะห์สาเหตุของการตายหรือความสามารถในการอยู่รอดของต้นไม้แล้ว อาจจำแนกได้เป็น 3 กรณีด้วยกัน ดังต่อไปนี้
1. ธรรมชาติหรือชนิดของไม้ผล ไม้ผลแต่ละชนิดมีความคงทนต่อสภาพน้ำท่วมขังได้แตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับวิวัฒนาการของความเป็นมาของไม้ผลชนิดนั้น ๆ บางชนิดอาจไวต่อสภาพขาดออกซิเจนของระบบรากบางชนิดอาจทนทานได้มากกว่า ตัวอย่างเช่น พืชบางชนิดสามารถทนต่อสภาพน้ำท่วมขังได้นานนับเดือน บางชนิดน้ำท่วมแค่ไม่กี่วันก็ตาย
2. ความสมบูรณ์หรือความแข็งแรงของต้น ต้นไม้ที่มีการดูแลรักษาให้มีสภาพสมบูรณ์ มีอาหารสะสมภายในต้นมาก เมื่อประสบกับสภาวะน้ำท่วมขังซึ่งต้นไม้มีโอกาสสร้างอาหารได้น้อยหรือไม่มี แต่ยังคงต้องมีการใช้อาหารอยู่ตลอดเวลาเพื่อคงความมีชีวิตอยู่ต่อไปนั้น ต้นที่มีอาหารสะสมอยู่มากก็สามารถอยู่ได้นานกว่าต้นที่มีอยู่น้อย นอกจากนี้พื้นที่ส่วนที่มีการใช้อาหารภายใต้ต้นโดยเฉพาะที่ใบ หากจำกัดให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะก็จะสามารถยึดช่วงเวลาการใช้อาหารออกไปได้ นานมากขึ้น ตัวอย่างอาจสังเกตได้จากต้นพืชที่มีการตัดแต่งกิ่งและให้ปุ๋ย การตัดแต่งกิ่งเป็นการลดจำนวนใบซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการใช้อาหารออกไปในขณะ เดียวกัน ต้นก็มีความสมบูรณ์มากขึ้นเนื่องจากได้รับการบำรุงจากการใส่ปุ๋ย จะมีความสูญเสียน้อยมาก แม้ว่าจะอยู่ในสภาวะน้ำท่วมขังนานกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับต้นพืชที่ไม่มีการตัดแต่งกิ่งรวมถึงต้นที่ผ่านการติดผล เป็นจำนวนมากมาก่อน หรือมีผลผลิตใกล้เก็บเกี่ยวค่อนข้างมากก็มีสภาพต้นที่อ่อนแอ ทำให้การสูญเสียมากกว่า
3. ระยะการเจริญเติบโต ต้นไม้ผลที่มีใบเจริญเติบโตเต็มที่หรือมีใบแก่ ต้นมีการสร้างอาหารสะสมไว้ค่อนข้างมาก ในขณะที่ต้นที่กำลังผลิใบอ่อนโดยเฉพาะในระยะที่ใบกำลังคลี่ (ระยะใบพวง) ซึ่งเป็นช่วงระยะที่ต้นไม้มีการใช้อาหารสะสมไปเป็นจำนวนมาก ต้นจึงอยู่ในภาวะที่อ่อนแอ อย่างมากเมื่อประสบกับเหตุการณ์น้ำท่วมขัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น