วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ตอนที่ 21

ไพริมิฟอส เม็ทธิล
(pirimiphos – methyl)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดแมลงออร์กาโนฟอสโฟรัส  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและมีฤทธิ์เป็นสารรมควันพิษ
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  2,018  มก./กก.  ทางผิวหนัง  มากกว่า  2,000  มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        เพลี้ยอ่อน  ไรสนิม  ไรแดง  เพลี้ยไฟ  แมลงหวี่ขาว  หนอนผีเสื้อต่าง ๆ  รวมทั้งแมลงศัตรูในโรงเก็บ  และโรงเรือนเลี้ยงสัตว์  เช่น  มอดข้าวสาร  มอดข้าวเปลือก  มอดสยาม  ผีเสื้อข้าวเปลือก  มอดแป้ง  มอดฟันเลื่อย  มอดหนวดยาว  มอดข้าวโพด  ด้วงงวงข้าว  เหา  ไร  หมัด  มด
พืชที่ใช้                   ข้าวโพด  ข้าวฟ่าง  ข้าว  ส้ม  องุ่น  มะเขือเทศ  กาแฟ  ไม้ผล  ไม้ดอกและไม้ประดับทั่วไป
สูตรผสม                  50%  อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้        แตกต่างกันออกไปตามชนิดพืชและวัตถุประสงค์  จึงควรศึกษารายละเอียดการใช้จากฉลากที่ติดข้างภาชนะบรรจุก่อนใช้
อาการเกิดพิษ            จะมีอาการมึนงง  ปวดศีรษะ  อ่อนเพลีย  ชักกระตุก  ม่านตาหรี่  คลื่นไส้  อาเจียน  เหงื่อออกมาก  ปวดท้อง  กล้ามเนื้อเกร็ง
การแก้พิษ                ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดมาก ๆ  ถ้าเข้าปากต้องรีบล้างท้องทันที  ยาที่ใช้แก้พิษคือ  อะโทรปินซัลเฟท  และ  PAM
ข้อควรรู้                    - เป็นพิษต่อปลา
                             - มีความคงตัวเมื่อฉีดพ่นบนผิวพื้นได้นานกว่าสารกำจัดแมลงอย่างอื่น ๆ
                             - ออกฤทธิ์เร็ว
                             - ผลการใช้จะดีถ้าเมล็ดพืชมีความชื้นถึง  15สำหรับเมล็ดที่แห้งเกินไปจะทำให้ความคงตัวของยาลดน้อยลง  อย่าใช้กับเมล็ดพืชที่มีความชื้นมากกว่า  18
                             - ทำให้ผิวหนังและดวงตาระคายเคือง

โปรฟีโนฟอส
(profenofos)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดแมลงและไรออร์กาโนฟอสโฟรัส  ประเภทไม่ดูดซึม  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย  cholinesterase  inhibitor
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  358  มก./กก.  (หนู)  ทางผิวหนัง  472  มก./กก.  (กระต่าย) 
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        หนอนใยผัก  หนอนเจาะสมอฝ้าย  หนอนกระทู้ยาสูบ  หนอนกระทู้ควายพระอินทร์  หนอนคืบกะหล่ำ  ด้วงงวงเจาะสมอ  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยไฟ  เพลี้ยกระโดด  ไรฝ้าย
พืชที่ใช้                   ฝ้าย  อ้อย  มันฝรั่ง  ยาสูบ  ถั่วเหลือง  หอม  พริก  ผักตระกูลกะหล่ำ  องุ่น  ข้าวโพด  และพืชอื่น
สูตรผสม                  50อีซี , 25%  ยูแอลวี
อัตราการใช้               กำจัดแมลงศัตรูพืชทั่วไป  ใช้อัตรา  40-60  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากฉลากก่อนใช้
วิธีใช้                       ใช้ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นให้ทั่วใบและต้นพืช  เมื่อพบเห็นว่ามีแมลงศัตรูพืชระบาด  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น
อาการเกิดพิษ            จะมีอาการมึนงง  ปวดศีรษะ  อ่อนเพลีย  ม่านตาหรี่  ตาพร่า  คลื่นไส้  อาเจียน  เหงื่อและน้ำลายไหลมาก  ปวดท้องเกร็ง  ท้องเสีย  กล้ามเนื้อกระตุก  พูดไม่ชัด  หายใจขัด  หัวใจเต้นช้า  ชักเกร็งและอาจหมดสติ
การแก้พิษ                ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดจำนวนมาก ๆ  ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไปจนเกิดอาการเป็นพิษ  ควรรีบนำส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ยาแก้พิษคือ  อะโทรปินซัลเฟท  โดยใช้ขนาด  2-4  มก.  ฉีดแบบ  IV  ฉีดซ้ำทุก  15  นาที  จนอาการดีขึ้น  ห้ามใช้มอร์ฟีน
ข้อควรรู้                    - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  21  วัน
                             - กำจัดหนอนในระยะ  1  ถึง  3  ได้ดีกว่าระยะ  (instar)  อื่น ๆ
                             - เป็นพิษต่อปลาและผึ้ง

โปรมีคาร์บ
(promecarb)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดแมลงคาร์บาเมท  ประเภทไม่ดูดซึม  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  74-90  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (กระต่าย)  มากกว่า 1,000  มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        หนอนชอนใบ  เพลี้ยอ่อน  ด้วงเจาะมันฝรั่ง  หนอนกัดรากข้าวโพด  แมลงวันเห็บ  และหนอนผีเสื้อทั่วไป
พืชที่ใช้                   มันฝรั่ง  ไม้ผลทั่วไป  รวมทั้งไม้ดอกและไม้ประดับ
สูตรผสม                  25อีซี  และ  30ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้        ทั้งชนิด  25และ  30ใช้ผสมกับน้ำ  ตามอัตราส่วนที่กำหนดบนฉลาก  กวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นให้ทั่วใบพืช  เมื่อพบเห็นแมลงศัตรูพืช  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น
ยาแก้พิษ                  อะโทรปินซัลเฟท
ข้อควรรู้                    - เป็นพิษต่อผึ้ง
                             - อย่าใช้ผสมกับสารอื่นที่มีฤทธิ์เป็นด่าง
                             - ผสมได้กับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ

โปรพาร์ไลท์
(propargite)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดไร  ประเภทไม่ดูดซึม  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและมีฤทธิ์ตกค้างยาวนาน
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  2,200  มก./กก.  ทางผิวหนัง  10,300  มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        ไรแดง  ไรสนิม  ไรขาว  และไรที่ทำลายพืชชนิดอื่น ๆ
พืชที่ใช้                   กล้วยไม้  ลิ้นจี่  กระเทียม  สตรอเบอร์รี่  ข้าว  แอปเปิ้ล  เชอร์รี่  องุ่น  ฝ้าย  มันฝรั่ง  ถั่วลิสง  ถั่วเขียว  ข้าวโพด  ข้าวฟ่าง  และไม้ผลทั่วไป
สูตรผสม                  20อีซี , 30ดับบลิวพี
อัตราการใช้               ใช้อัตรา  20-40  กรัม  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร
วิธีใช้                       ผสมกับน้ำกวนให้ตัวยาละลายเข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นให้ทั่วใบพืช  เมื่อพบเห็นว่ามีไรทำลายพืช  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น
อาการเกิดพิษ            จะมีอาการปวดศีรษะ  ปวดท้อง  ท้องเสีย  คลื่นไส้  อาเจียน  ถ้าถูกผิวหนังหรือเข้าตาจะทำให้เกิดอาการอักเสบหรือระคายเคือง
การแก้พิษ                ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง  ถ้าเข้าปากให้ดื่มน้ำมาก ๆ  แล้วรีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์ทันที  ห้ามให้เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่  สำหรับแพทย์  ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  ให้รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้                    - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  14  วัน
                             - เป็นพิษต่อปลา  ปลอดภัยต่อผึ้ง
                             - อย่าใช้ในขณะที่อากาศมีอุณหภูมิสูงกว่า  35  องศาเซลเซียส
                             - อย่าผสมกับสารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง  น้ำมันฉีดพ่น  หรือกับสารกำจัดศัตรูพืชที่ประกอบด้วยสารทำละลายปิโตรเลียมจำนวนมาก ๆ
                             - ใช้กำจัดไรที่อยู่ในระยะเคลื่อนไหวได้ผลดีที่สุด
                             - จะให้ผลดีเมื่อใช้ในขณะที่มีอากาศสูงกว่า  21  องศาเซลเซียส

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น