วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ตอนที่ 23

ซาลิไธออน  หรือ  เฟนฟอสโฟริน
(salithion  or  fenphosphorin)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดแมลงกลุ่ม  organic  phosphate  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัส
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  125  มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        หนอนกอข้าว  เพลี้ยกระโดด  เพลี้ยจักจั่น  หนอนกระทู้  แมลงวันผลไม้  หนอนม้วนใบ  หนอนเจาะสมอฝ้าย  ด้วงงวงสมอฝ้าย  เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยแป้ง
พืชที่ใช้                   แอปเปิล  ฝ้าย  ชา  ยาสูบ  องุ่น  ข้าว  ผักต่าง ๆ
อัตราใช้และวิธีใช้        ตามคำแนะนำบนฉลาก  ใช้เมื่อมีแมลงศัตรูพืชปรากฏให้เห็น  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น
ข้อควรรู้                    - เป็นพิษต่อปลา
                             - ห้ามผสมใช้ร่วมกับสารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง
                             - ไม่เป็นพิษต่อพืชเมื่อใช้ตามคำแนะนำ

ซีบูฟอส
(sebufos)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดไส้เดือนฝอยและแมลง  ในกลุ่มสารออร์กาโนฟอสเฟท
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนูตัวผู้)  679  มก./กก.  (หนูตัวเมีย)  391  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (กระต่าย)  155  มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        ไส้เดือนฝอยรากปมและอื่น ๆ  รวมทั้งสามารถกำจัดปลวก  มด  หนอนกัดกินราก  หนอนกัดลำต้น  หนอนกอ  หนอนเจาะลำต้น  แมลงด้วงนูน  และหนอนกัดกินหัว
พืชที่ใช้                   พริกไทย  พลู  สัปปะรด  กล้วย  ถั่วลิสง  ถั่วเหลือง  มันฝรั่ง  ยาสูบ 
อัตราใช้และวิธีใช้        อัตราการใช้แตกต่างกันออกไปตามพืชที่ปลูก  ศึกษาจากฉลากให้ละเอียดก่อนใช้  และควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
อาการเกิดพิษ            ในระยะที่แพ้จะมีอาการรุนแรงคือ  อ่อนเพลีย  ท้องร่วง  ตาพร่า  และหายใจขัด
การแก้พิษ                ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดจำนวนมาก ๆ  อย่างน้อยนาน  15  นาที  ถ้ากลืนกินเข้าไป  ให้ดื่มน้ำ  1-2  แก้ว  และทำให้อาเจียนด้วยการล้วงคอ  ในรายที่หมดสติห้ามทำให้อาเจียน  สำหรับแพทย์  ยาแก้พิษคือ  อะโทรปินซัลเฟท  ขนาด  2-4  มก.  ฉีดเข้าทางเส้นเลือด  ให้ซ้ำทุก  5-10  นาที  จนกระทั่งผู้ป่วยแสดงอาการ  atropinization  อาจให้  2-PAM  ร่วมกับอะโทรปินได้

ซัลโปรฟอส
(sulprofos)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดแมลงออร์กาโนฟอสโฟรัส  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  107-130  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (กระต่าย)  820  มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        หนอนเจาะสมออเมริกัน  หนอนกระทู้หอม  หนอนเจาะฝักข้าวโพด  หนอนเจาะลำต้น  เพลี้ยแป้ง  เพลี้ยกระโดด  ไร  แมลงหวี่ขาว  และอื่น ๆ
พืชที่ใช้                   ฝ้าย  ข้าวโพด  ยาสูบ  มะเขือเทศ  ถั่วลิสง  ถั่วเหลือง
สูตรผสม                  72%  อีซี
อัตราใช้                   กำจัดแมลงทั่วไป  ใช้อัตรา  40-60  ซีซี  ผสมน้ำ  20  ลิตร
วิธีใช้                       ใช้ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นที่ใบให้ทั่วต้นพืช  เมื่อพบเห็นแมลงศัตรูทำลายพืช  ฉีดซ้ำได้ตามความจำเป็น
อาการเกิดพิษ            จะมีอาการมึนงง  ปวดศีรษะ  คลื่นไส้  อาเจียน  ปวดท้อง  ท้องร่วง  ม่านตาหรี่  เหงื่อออกมาก
การแก้พิษ                ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ  ถ้ากลืนกินเข้าไป  ให้ดื่มน้ำ  1  แก้ว  พร้อมกับถ่านยาแอ๊คติเวทเต็ด  ซาร์โคล  เพื่อดูดซับพิษหรือจะให้ผู้ป่วยกินยาอะโทรปินซัลเฟท  ขนาด  0.5  มก.  2  เม็ด  แล้วนำส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ยาแก้พิษคือ  อะโทรปินซัลเฟท  โดยใช้ขนาด  2  มก.  ฉีดแบบ  IV  กับคนไข้และฉีดซ้ำทุก  10-15  นาที  จนอาการดีขึ้น  ยา  2-PAM  หรือ  Toxogonin  อาจใช้รักษาร่วมกับอะโทรปินได้  รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้                    - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  14  วัน
                             - เป็นพิษต่อปลา
                             - กำจัดแมลงได้ดีโดยเฉพาะกับหนอนผีเสื้อทุกชนิดที่อยู่ในระยะ  (instar)  ที่  1-3

ทีปูฟีโนไซด์
(tebufenozide)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดแมลงที่ออกฤทธิ์ด้วยการเข้าไปยับยั้งหรือควบคุมการเจริญเติบโตของแมลง  หนอนแมลงที่กินยานี้เข้าไปไม่ลอกคราบและตายไปในที่สุด
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  มากกว่า  5,000  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (หนู)  มากกว่า  5,000  มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        หนอนกระทู้หอม  หนอนม้วนใบข้าว  หนอนปลอกข้าวและหนอนกอข้าว
พืชที่ใช้                   องุ่น  ข้าว  ผักต่าง ๆ
สูตรผสม                  20เอฟ  (F)
อัตราใช้และวิธีใช้        มีอัตราการใช้แตกต่างกันไปตามชนิดพืชตั้งแต่  5-25  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช  เมื่อตรวจพบว่ามีแมลงศัตรูพืชระบาด
อาการเกิดพิษ            อาจก่อให้เกิดอาการระคายเคืองต่อดวงตาและผิวหนัง
การแก้พิษ                ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดมาก ๆ  ถ้าผู้ป่วยหมดสติอย่าให้กินหรือดื่มอะไร  นำผู้ป่วยส่งแพทย์  เพื่อทำการล้างท้องและรักษาตามอาการ
ข้อควรรู้                    - ตัวหนอนของแมลงที่กินสารนี้เข้าไปจะตายช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับลักษณะทางกายภาพของหนอนแต่ละชนิด  แต่โดยทั่วไปจะตายภายใน  2-4  วัน
                             - มีพิษต่อแมลงตัวเต็มวัยเล็กน้อยหรือไม่มีเลย
                             - ไม่มีประสิทธิภาพในการกำจัดไร  และไม่เป็นพิษต่อผึ้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น