วันเสาร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2554

คู่มือการเพิ่มผลผลิตใน แคนตาลูป


การปลูกแคนตาลูป
1.         การเพาะกล้า เนื่องจากเมล็ดมีราคาแพง ควรเพาะกล้าลงถุงก่อนแล้วปลูกจะช่วยประหยัดเมล็ดพันธุ์และค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ซึ่งจะดีกว่าปลูกด้วยเมล็ดโดยตรง  การเพาะทำได้โดยนำเมล็ดพันธ์มาแช่ในน้ำอุ่น(ประมาณ ½-1 ชั่วโมง แล้วนำมาห่มด้วยผ้าชุบน้ำ รดน้ำพอชุ่ม(อย่าให้แฉะ) และปิดผ้ารักษาความชื้นไว้ ประมาณ 1-2 วันเมื่อเมล็ดเริ่มแทงรากออกมา จึงนำไปหยอดในถุงชำ ถุงละ 1-2 เมล็ด แล้วจึงกลบดินบาง ๆ
2.         การดูแลกล้า รดน้ำเช้าเย็นจนต้นกล้ามีใบจริง 2 ใบ หรือมีอายุ 12 - 15 วัน ก็ย้ายปลูกได้
วิธีปลูกและดูแลรักษา
วิธีปลูก  หลังจากเพาะกล้ามีอายุ 12 - 15 วัน สามารถย้ายปลูกลงแปลงปลูกได้
  1. การปลูกแบบขึ้นค้าง แปลงขนาด 80 เซนติเมตร ระยะระหว่างต้น 20 เซนติเมตร มีร่องทางเดินระหว่างแปลงประมาณ 40 เซนติเมตร
  2. การปลูกแบบปล่อยบนดิน แปลงปลูกจะกว้าง 3.5 เมตร ปลูกเป็นแถวเดียวตรงขอบแปลงด้านในทั้งสองข้างของแปลง
    - ระยะห่างระหว่างหลุมประมาณ 50 เซนติเมตร จำนวนต้น/ไร่ 8,500 - 9,000 ต้น/ไร่
ตารางการให้ปุ๋ย
ช่วงอายุ
ทางดิน
ทางใบ
เริ่มเพาะกล้า- อายุ 12-15 วัน
ใช้ ไบโอเฟอร์ทิล (สูตรไล่แมลง) อัตรา 20-30 ซีซี + ไตรโคแม็ก อัตรา 40 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นให้ชุ่ม ทุก ๆ 5 วัน
ประโยชน์ :  ทำให้กล้าสมบูรณ์ เปอร์เซ็นต์รอดตายสูง  ต้นแข็งแรง ช่วยป้องกันการเข้าทำลายของโรคเชื้อรา เนื่องจากเป็นฮอร์โมนจากธรรมชาติ มีกรดแลคติก ช่วยยับยั้งป้องกันโรค และยังช่วยไล่แมลง
เตรียมแปลงเพาะกล้า
  1. หลังปรับพื้นที่ : หากดินเป็นกรดจัด ,ดินจับปึกหรือเป็นดินเหนียวละเอียด(ดินแน่นมาก)  ให้ใช้ สารปรับสภาพดิน ไดนาไมท์ อัตรา 30-50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร  ฉีดพ่นบริเวณแปลง(หรือแนวที่จะปลูก) แล้วรดน้ำตาม หลังจากนั้นทิ้งไว้ 3-5 วัน จึงใส่ปุ๋ยยักษ์เขียว สูตร 1 รองก้นหลุมหรือเป็นปุ๋ยรองพื้น อัตรา 2 ช้อนแกงต่อหลุม ประโยชน์ : ปรับสภาพดินได้รวดเร็ว(เนื่องจาก ไดนาไมท์ มีค่าพีเอช ประมาณ 10 )  ทำให้ประหยัดค่าแรงกว่าและใช้งานง่ายกว่าการปรับสภาพกรดด้วย ปูนขาว
  2. ใส่ปุ๋ยรองพื้น หรือรองก้นหลุม(คลุกกับดิน) ใช้ ปุ๋ยอินทรีย์ยักษ์เขียว อัตรา 150-200 กรัมต่อหลุม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพได้ดีกว่าปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก
อายุ  21  วัน
ใช้ปุ๋ยเคมี 46-0-0 อัตรา 2 ช้อนชา/น้ำ 20 ลิตร(ผสมน้ำรดหรือให้ตามระบบน้ำหยด)
หมายเหตุ  หากใส่ ปุ๋ยอินทรีย์ยักษ์เขียว ในช่วงเตรียมแปลงแล้ว  ต้นจะเจริญเติบโตได้ดี จะสามารถงด หรือลดอัตราการใช้ปุ๋ย 46-0-0 ในช่วงนี้ได้



ช่วงต้นเจริญเติบโต-ก่อนเริ่มให้ดอก ฉีดพ่น ไบโอเฟอร์ทิล (สูตรไล่แมลง) อัตรา 20-30 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ชุ่ม ทุก ๆ 5 วันจนกระทั่งเริ่มติดดอก
หลังติดผล ใช้ แคล-แม็ก ผสมน้ำอัตรา 20 ซีซี+ ไบโอเฟอร์ทิล (สูตรเร่งขนาดผล) อัตรา 10-20 ซีซี) ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นเสริมทางใบทุก ๆ 5-7 วัน ตามความเหมาะสม
อายุ28 วัน
ใส่ ปุ๋ยอินทรีย์ยักษ์เขียว (แถบทอง) อัตรา 1  ช้อนแกง/หลุม
อายุ45 วัน
ใส่ปุ๋ยสูตร13-13-21 ผสม กับ ยักษ์เขียว(แถบทอง) อัตรา 1:1 (ใส่ 1 ช้อนแกง/หลุม)
อายุ55 วัน

ใช้ ฉีดพ่นทุก ๆ 5-7 วัน ไปจนเก็บเกี่ยว
หมายเหตุ          
1.          การใช้ปุ๋ยเคมีทางดินควรระมัดระวังอย่าให้เข้มข้นมากเกินไปหรือ หากสะดวก ควรผสมน้ำหรือให้ตามระบบน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้รากและโคนเน่า 
2.          ให้เน้นหนักในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทั้งทางดินและทางใบทดแทนเคมีในทุกช่วงที่ทำได้  เพราะจะทำให้สภาพดินไม่เสื่อม ต้นแคนตาลูปยากต่อการถูกโรคและเชื้อราเข้าทำลาย  อีกทั้งจะช่วยให้รสชาติของผลผลิตดีกว่า การใช้ปุ๋ยเคมีเร่ง

การให้น้ำ
แตงแคนตาลูปเป็นพืชที่ต้องการน้ำสม่ำเสมอไม่มากเกินไป วิธีให้น้ำ โดยการปล่อยน้ำตามร่องในแนวกลางระหว่างแถวปลูกและทางเดินปล่อยน้ำ 3-5 วัน/ครั้ง
การปฏิบัติอื่น ๆ
-           การเด็ดตาข้างจะเด็ดตั้งแต่ ข้อที่ 1-7
-           การเด็ดยอด เมื่อแถวยาวประมาณ 170 เซนติเมตร หรือมีใบประมาณ 25-26 ใบ
ศัตรูพืชที่สำคัญและวิธีการป้องกันและกำจัด
  1. โรคราน้ำค้าง เป็นจุดสีเหลืองบนใบ
ป้องกันกำจัด
ชีวภาพ : ใช้ไตรโคแม็ก  อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ ทุก ๆ 10-15 วัน หรือในช่วงที่อากาศปิด(ความชื้นสูง)เพื่อป้องกัน และอัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อกำจัด
ใช้สารเคมี :  ฉีดพ่นด้วยสารเคมี ชื่อสามัญ : คอปเปอร์อ๊อกซีคลอไรด์,บีโนมิล, แมนโคเซป, เมธาแล็กซิลหรือแคปเทน อัตราตามระบุในฉลาก
  1. โรคเหี่ยว เกิดจากเชื้อรา
ป้องกันกำจัด  : 
ชีวภาพ :         1. ใช้ไตรโคแม็ก  อัตรา 50-80 กรัมต่อน้ำ 50 ลิตร(1 ไร่ใช้ประมาณ 600 กรัม) ฉีดพ่นผิวดิน ช่วงเตรียมแปลงแล้วจึงปูพลาสติก จะควบคุมปัญหาโรคเหี่ยวได้ดี
2. ตรวจสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินก่อนปลูก ถ้าจำเป็นควรมีการปรับ ดินด้วยปูนขาว หรือใส่อินทรีย์วัตถุเพื่อปรับสภาพดิน
สารเคมี :  ในกรณีที่พบพืชแสดงอาการเหี่ยว เนื่องจากเชื้อราในดิน อาจใช้สารป้องกัน กำจัดโรคพืชพวก พีซีเอ็นบี ราดโคนต้น แต่ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง และหากพบต้องรีบปฏิบัติทันที เนื่องจากอาจลุกลามและทำให้ผลผลิตเสียหายทั้งหมด
  1. เพลี้ยไฟ
ป้องกันกำจั:
ชีวภาพ :  หากใช้ไบโอเฟอร์ทิลตามคำแนะนำก็จะพบได้น้อย  สำหรับการใช้สมุนไพร ไม่แนะนำ เพราะใช้ไม่ได้ผล    หรืออาจถ้าพบอาจใช้น้ำฉีดพ่นแรง ๆ ให้หล่นไป จะช่วยได้บ้าง
ชีวภาพ :         1. ใช้ เมทา-แม็ก  อัตรา 50-80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร  ฉีดพ่นทุก ๆ 7-10 วัน หรือเมื่อหากพบการระบาด ทุก ๆ 5 วัน   
สารเคมี  : หากมีการระบาดมากในช่วงที่อากาศแล้งจัดใช้ยาฆาแมลงพวกไซเปอร์เมธริน หรือไดเมธโธเอท หรือ ฟิโปรนิล ฉีดพ่น ทุก ๆ 5 วัน
  1. แมลงวันทอง ตัวเมียจะเจาะวางไข่ที่ผล
ป้องกันกำจัด
ชีวภาพ :         1. ใช้กับดักกาวเหนียวและเก็บผลที่ร่วงผิวดินเพื่อลดการระบาดหรือห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์
                   2. ใช้เหยื่อโปรตีน ผสมกับ เมทา-แม็ก ในอัตราส่วน 1:1 วางล่อเพื่อกำจัดเป็นจุด ๆ รอบแนวเขตที่ปลูก
3. ควรป้องกันก่อนเข้าทำลายโดยใช้ไบโอเฟอร์ทิล เป็นประจำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
          สารเคมี  หากมีการระบาดเป็นประจำทุก ๆ ปีให้ใช้มาลาไธออนฉีดพ่นทำลายตัวเต็มวัย และใช้เหยื่อโปรตีนผสมยาฆ่าแมลงพวกมาลาไธออน อัตรา 1:1

หมายเหตุ  กรณีที่มีการระบาดของแมลงศัตรูพืชมาก  แนะนำให้ใช้ ไบโอเฟอร์ทิล (สูตรไล่แมลง) ร่วมกับสารเคมีกำจัดแมลง ในการฉีดพ่นแต่ละครั้ง  จะทำให้สามารถป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น