วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

สารกำจัดวัชพืช(ยาฆ่าหญ้า) ตอนที่ 2

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำ ชื่อสารเคมี(ชื่อสามัญ) ชนิดต่างๆ  มาเผยแพร่ให้เกษตรกร,ผู้สนใจ,ฯลฯ ได้รู้ถึงประโยชน์, อันตราย, และความเป็นพิษเพื่อจะได้เลือกใช้สารเคมีอย่างระมัดระวัง(ในกรณีที่จำเป็น) มิได้ต้องการส่งเสริมให้เกษตรกรหรือผู้อ่านใช้สารเคมีเพิ่มขึ้น เพียงแต่หากจำเป็นต้องใช้สารเคมี  ก็ควรใช้อย่างรู้คุณและโทษของมันอย่างถูกต้อง และได้ประโยชน์ คุ้มค่ากับเงินลงทุนที่เสียไปทุกบาททุกสตางค์ และไม่ทำให้ผู้บริโภครวมถึงตัวเกษตรกรและผู้ใช้เองต้องตกเป็นเหยื่อของพิษ ภัยจากการใช้สารเคมีโดยมิได้รู้แจ้ง ซึ่ง ทางผู้โพสหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรและบุคคลทั่วไปไม่มากก็น้อย  สำหรับท่านที่มีเพื่อน,มิตร,ญาติสนิท,ฯลฯ ที่ทำเกษตร หรือเกี่ยวข้องทางด้านนี้อยู่ ก็รบกวนช่วยนำไปเผยแพร่นะครับ ผมเองได้ข้อมูลมาตั้งแต่สมัยที่ยังทำการเกษตรอยู่ จาก หนังสือ "สารกำจัดศัตรูพืชในประเทศไทย"  เป็นหนังสือที่หาค่อนข้างยาก ปัจจุบันไม่ทราบว่ามีตีพิมพ์อีกหรือไม่ แต่ข้อมูลก็ยังสามารถใช้ได้ดีอยู่ จึงอยากนำมาเผยแพร่ให้คนรักต้นไม้,เกษตรกร,หรือคนที่เกี่ยวข้องได้ทราบกัน
 (นายยักษ์เขียว)


อะลาคลอร์
(alachlor)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดวัชพืช  anilide  ที่ใช้ทางดินและเป็น  protein  synthesis  inhibitor  ซึ่งให้ผลในทางควบคุมเมล็ดพืชมิให้งอก  (pre  emergence)
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  1,800  มก./กก.  ทางผิวหนัง  13,300  มก./กก.  ทำให้ดวงตาและผิวหนังระคายเคือง
วัชพืชที่กำจัดได้         ใช้ควบคุมมิให้เมล็ดพืชงอก  เช่น  หญ้าขน  หญ้าตีนนก  หญ้าปากควาย  หญ้าปล้อง  หญ้าข้าวนก  หญ้าตีนไก่  หญ้ากุศลา  หญ้าหางหมา  ผักโขม  ผักโขมหวาน  หญ้าชันอากาศ  วัชพืชใบแคบและใบกว้างอื่น ๆ
พืชที่ใช้                   ข้าวโพด  อ้อย  มันสำปะหลัง  ถั่วเหลือง  ถั่วเขียว  ถั่วลิสง  หอม  กระเทียม  ผักตระกูลกะหล่ำ  มะเขือเทศ  และพริก
สูตรผสม                  45.1และ  48%  อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้        ใช้อัตราแตกต่างกันออกไปตามชนิดของดินทั่ว ๆ ไปใช้อัตราระหว่าง  500-1,000  ซีซี  ผสมกับน้ำ  60-80  ลิตร  ฉีดพ่นคลุมดิน
อาการเกิดพิษ            หากถูกบริเวณผิวหนัง  อาจทำให้เกิดอาการแพ้และระคายเคือง  ถ้าเข้าตาทำให้ดวงตาระคายเคือง  ถ้ากินเข้าไป  ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้และท้องเสีย
การแก้พิษ                ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนัง  ให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่จำนวนมาก ๆ  ถ้าเข้าตา  ให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนานประมาณ  15  นาที  ถ้ากินเข้าไป  อย่าทำให้อาเจียน  ให้คนไข้รับประทานยาแอ็คติเวทเต็ด  ซาร์โคล  2-4  ช้อนโต๊ะ  ละลายกับน้ำ  1  แก้ว  แล้วนำผู้ป่วยส่งแพทย์  รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้                    - ให้ใช้ก่อนวัชพืชงอกหรือก่อนพืชที่ปลูกงอก
                             - ภายหลังการฉีดพ่น  ถ้ามีฝนตกลงมาภายใน  10  วัน  จะให้ผลดีมาก
                             - ใช้ผสมฉีดพ่นร่วมกับสารกำจัดวัชพืชอื่น ๆ ได้เป็นจำนวนมาก  รวมทั้งปุ๋ย
                             - คงตัวอยู่ในดินได้นาน  6-10  สัปดาห์
                             - อย่าใช้กับดินที่มีอินทรีย์วัตถุสูงกว่า  10%

อะมีทรีน
(ametryn)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดวัชพืช  triazine  ประเภทเจาะจง  กำจัดวัชพืชได้ทั้งก่อนงอก  และภายหลังจากงอกแล้ว
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  1,110  มก./กก.  ทางผิวหนัง  มากกว่า  8,160  มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้         หญ้าตีนนก  หญ้าขน  หญ้าตีนกา  หญ้ากุศลา  หญ้าชันอากาศ  หญ้าหางหมา  ผักโขม  ผักโขมหวาน
พืชที่ใช้                   ใช้กำจัดวัชพืชในไร่อ้อย  ส้ม  สัปปะรด  กล้วย  ชา  กาแฟ  มันฝรั่ง
สูตรผสม                  80ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้        ใช้อัตราแตกต่างกันออกไปตามชนิดพืช  อยู่ในช่วงระหว่าง  320-640  กรัม/ไร่  ผสมกับน้ำ  กวนให้เข้ากันดีแล้วฉีดพ่นคลุมหน้าดินให้ทั่วพื้นที่เพาะปลูก  ศึกษารายละเอียดวิธีการใช้เพิ่มเติมจากฉลาก
อาการเกิดพิษ            อาจทำให้ผิวหนัง  ดวงตาและเยื่อบุต่าง ๆ  เกิดอาการระคายเคือง  หากกินเข้าไปอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้  อาเจียน  ท้องเสีย  เคลื่อนไหวไม่เป็นปกติ  เนื่องจากกล้ามเนื้อทำงานไม่สัมพันธ์กัน  หายใจขัดและอาจชักได้
การแก้พิษ                ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนัง  ให้ล้างออกด้วยสบู่กับน้ำ  ถ้าเข้าตา  ให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดจำนวนมาก ๆ  เป็นเวลา  10  นาที  ถ้ากลืนกินเข้าไป  รีบทำให้คนไข้อาเจียนด้วยการใช้นิ้วล้วงคอหรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่นหรือให้ยา  syrup  of  IPECAC  ถ้ายังไม่อาเจียนให้ล้างท้องคนไข้แล้วให้ทานถ่านยาแอ็คติเวทเต็ด  ซาร์โคล  ภายหลัง  4  ชั่วโมง  ถ้ายังไม่หายให้คนไข้ถ่ายด้วยยาประเภทเกลือ  ห้ามให้ยาถ่ายที่เป็นน้ำมัน  แล้วรักษาตามอาการ
ข้อควรรู้                    - สำหรับอ้อยและสัปปะรด  ไม่ควรใช้เกินขนาดที่แนะนำ
                             - ห้ามใช้ฉีดพ่นยอดข้าวโพด
                             - ดูดซึมเข้าไปในต้นวัชพืชได้โดยผ่านทางราก  ดังนั้น  วัชพืชจึงงอกออกมาก่อนแล้วจึงตายในภายหลัง
                             - เข้ากันได้กับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ  และปุ๋ย

อะมีโทร
(amitrol)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดวัชพืช  triazole  ประเภทไม่เจาะจงพืช  ใช้กำจัดวัชพืช  ภายหลังงอก  โดยออกฤทธิ์ผ่านทางใบและราก
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  5,000  มก./กก.  ทางผิวหนัง  มากกว่า  10,000  มก./กก.(หนู)
วัชพืชที่กำจัดได้         วัชพืชใบแคบ  เช่น  หญ้าต่าง ๆ  และวัชพืชใบกว้าง  ทั้งประเภทล้มลุกและยืนต้น
พืชที่ใช้                   ใช้กำจัดวัชพืชในสวนผลไม้  ตามคลองชลประทานและไหล่ถนน
สูตรผสม                  80เอสพี
อัตราใช้และวิธีใช้        ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก  ฉีดพ่นที่ใบพืชให้ทั่วทั้งต้นพืช
การแก้พิษ                ยังไม่ทราบยาแก้พิษโดยเฉพาะ  รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้                    - ให้ผลในการกำจัดเต็มที่ภายใน  2-3  สัปดาห์
                             - เป็นสารขัดขวางการสร้าง  chlorophyll  จึงทำให้ใบพืชเป็นสีขาวแดง  และน้ำตาล
                             - วัชพืชที่มีอายุมากหรือต้นแก่กว่า จะดูดซึมสารนี้ได้ช้ากว่าพืชที่มีอายุอ่อนกว่า
                             - คงตัวอยู่ในดินได้นาน  2-4  สัปดาห์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น