(นายยักษ์เขียว)
อะนิโลฟอส
(anilofos)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช organic phosphate ประเภทเจาะจงพืช ใช้กำจัดวัชพืชภายหลังงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก 1,000 มก./กก. (หนูตัวผู้) สำหรับหนูตัวเมีย 400 มก./กก. อาจทำให้ดวงตาและผิวหนังระคายเคือง
วัชพืชที่กำจัดได้ หญ้าและวัชพืชใบแคบอื่น ๆ
พืชที่ใช้ กำจัดวัชพืชในนาข้าว
สูตรผสม 30% อีซี , 1.5% และ % จี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก โดยใช้ในระยะที่วัชพืชมีใบอ่อน 2-5 ใบ หรือภายหลังจากปักดำแล้ว 4-12 วัน
ข้อควรรู้ - เป็นพิษต่อปลา
- ห้ามใช้กับเมล็ดข้าวโดยตรง
- ดูดซึมเข้าไปในต้นวัชพืชได้โดยผ่านทางรากและใบ
- ภายหลังจากใช้แล้ว วัชพืชจะหยุดเจริญเติบโต เปลี่ยนเป็นสีเขียวคล้ำ และตายในที่สุด
- เข้ากับสารกำจัดวัชพืชอย่างอื่นที่กำจัดวัชพืชใบกว้างได้ ยกเว้นสารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง
อะซูแลม
(asulam)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช carbamate ประเภทเจาะจงพืช ใช้กำจัดวัชพืช ภายหลังงอก โดยการดูดซึมผ่านทางใบและรากไปยังส่วนต่าง ๆ ของวัชพืช
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) มากกว่า 4,000 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 1,200 มก./กก. (หนู)
พืชที่ใช้ กำจัดวัชพืชในไร่อ้อย กล้วย ยางพาราและพื้นที่ ๆ ไม่มีการเพาะปลูก
สูตรผสม 40% แอลซี
อัตราใช้และวิธีใช้ ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก โดยฉีดพ่นภายหลังวัชพืชงอกแล้ว ถ้ากำจัดวัชพืชในไร่อ้อย ควรใช้ในระยะที่อ้อยมีความสูงอย่างน้อย 12-36 นิ้ว
การแก้พิษ ยังไม่ทราบยาแก้พิษโดยเฉพาะ รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ - ออกฤทธิ์ได้รวดเร็วเมื่อมีอุณหภูมิสูง
- มีพิษต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นกและปลาต่ำ
- อาจใช้ผสมฉีดพ่นร่วมกับสารกำจัดวัชพืชพวก phenoxy ได้
อะทราซีน
(atrazine)
การออกฤทธิ์ เป็นสารกำจัดวัชพืช triazine ประเภทดูดซึมและกำจัดแบบเจาะจงวัชพืช ใช้ควบคุมการงอกของเมล็ดวัชพืชและกำจัดในระยะเริ่มงอก
ความเป็นพิษ มีพิษเฉียบพลันทางปาก (หนู) 1,869 มก./กก. ทางผิวหนัง มากกว่า 7,500 มก./กก. อาจทำให้ดวงตาและผิวหนังระคายเคืองเล็กน้อย
วัชพืชที่กำจัดได้ หญ้าขจรจบ หญ้านกสีชมพู หญ้าตีนกา หญ้าหางหมา ผักเบี้ยใหญ่ น้ำนมราชสีห์ หญ้ายาง หญ้าอื่น ๆ และวัชพืชใบกว้างล้มลุกบางชนิด
พืชที่ใช้ ข้าวโพด อ้อย สัปปะรด ข้าวฟ่าง หน่อไม้ฝรั่ง ต้นฝรั่ง มะคาเดเมีย
สูตรผสม 80% ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้ อัตราใช้แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับชนิดของพืช โดยทั่วไปใช้อัตราระหว่าง 240-460 กรัม/ไร่ ผสมกับน้ำแล้วฉีดพ่นทับหน้าดินที่ปลูกพืช อย่างไรก็ดี ควรศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากฉลากก่อนใช้
อาการเกิดพิษ ถ้าถูกผิวหนังอาจจะมีอาการระคายเคือง เช่นเดียวกับที่ดวงตาและเยื่อบุ หากกลืนกินเข้าไป อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หายใจขัด กล้ามเนื้อกระตุกและอาจเกิดอาการชักได้
การแก้พิษ ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนังให้ล้างด้วยสบู่กับน้ำมาก ๆ ถ้าเข้าตา ให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ 10 นาที ถ้ากินเข้าไป ทำให้คนไข้อาเจียนด้วยการล้วงคอหรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น หรือ syrup of IPECAC ถ้าคนไข้ไม่อาเจียน ให้ล้างท้องคนไข้ทันทีแล้วให้กินถ่านยาแอ็คติเวทเต็ด ซาร์โคล ภายหลัง 4 ชั่วโมง ถ้าคนไข้ยังไม่ถ่าย ให้ถ่านยาถ่ายประเภทเกลือ ห้ามใช้ยาถ่ายประเภทน้ำมัน ในช่วงนี้อย่าให้คนไข้ดื่มนม ครีมและอาหารที่มีไขมัน รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้ - เมื่อใช้เป็นสารกำจัดวัชพืชแบบไม่เจาะจงพืช ให้ใช้เมื่อวัชพืชงอกแล้วและยาวไม่เกิน 1 นิ้วครึ่ง
- เมื่อใช้เป็นสารกำจัดวัชพืชแบบเจาะจงพืช ให้ใช้ก่อนเพาะปลูกหรือระหว่างปลูก
- พืชที่อ่อนแอต่ออะทราซีน ได้แก่ พืชผักทั้งหมด เมล็ดธัญพืช แอสพารากัส ถั่วเหลือง ถั่วลิสงและมันฝรั่ง
- ฤทธิ์ตกค้างอยู่ในดินได้นานมากกว่า 1 ปี
- ความชื้นจะช่วยให้อะทราซีนออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น