วันเสาร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2554

สารป้องกันและกำจัดโรคพืช ตอนที่ 7

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำชื่อสารเคมี(ชื่อสามัญ) ชนิดต่างๆ
มาเผยแพร่ให้เกษตรกร,ผู้สนใจ,ฯลฯ ได้รู้ถึงประโยชน์, อันตราย, และความเป็นพิษ
เพื่อจะได้เลือกใช้สารเคมีอย่างระมัดระวัง(ในกรณีที่จำเป็น) มิได้ต้องการส่งเสริมให้เกษตรกรหรือผู้อ่านใช้สารเคมีเพิ่มขึ้น เพียงแต่หากจำเป็นต้องใช้สารเคมี  ก็ควรใช้อย่างรู้คุณและโทษของมันอย่างถูกต้อง และได้ประโยชน์ คุ้มค่ากับเงินลงทุนที่เสียไปทุกบาททุกสตางค์ และไม่ทำให้ผู้บริโภครวมถึงตัวเกษตรกรและผู้ใช้เองต้องตกเป็นเหยื่อของพิษ ภัยจากการใช้สารเคมีโดยมิได้รู้แจ้ง ซึ่ง ทางผู้โพสหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรและบุคคลทั่วไปไม่มากก็น้อย  สำหรับท่านที่มีเพื่อน,มิตร,ญาติสนิท,ฯลฯ ที่ทำเกษตร หรือเกี่ยวข้องทางด้านนี้อยู่ ก็รบกวนช่วยนำไปเผยแพร่นะครับ ผมเองได้ข้อมูลมา
ตั้งแต่สมัยที่ยังทำการเกษตรอยู่ จาก หนังสือ "สารกำจัดศัตรูพืชในประเทศไทย"  เป็นหนังสือที่หาค่อนข้างยาก ปัจจุบันไม่ทราบว่ามีตีพิมพ์อีกหรือไม่ แต่ข้อมูลก็ยังสามารถใช้ได้ดีอยู่ จึงอยากนำมาเผยแพร่ให้คนรักต้นไม้,เกษตรกร,หรือคนที่เกี่ยวข้องได้ทราบกัน
 (นายยักษ์เขียว)


ไดคลอโรเฟน
(dichlorophen)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดเชื้อราออร์กาโนฟอสโฟรัส  ที่สามารถใช้กำจัดสาหร่ายและแบคทีเรียได้  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัส
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนูกิเนีย)  1,250  มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้        โรคที่เกิดจากเชื้อราแบคทีเรีย  กำจัดสาหร่ายและเชื้อราที่เกิดกับเสื้อผ้า  เครื่องนุ่งห่มและวัสดุที่ทำด้วยผ้า
การแก้พิษ                ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  รักษาตามอาการที่ปรากฏ

ไดโคลแรน  หรือดีซีเอ็นเอ
(dicloran  or  DCNA)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดเชื้อรา  chlorinated  nitroanilide  ที่กำจัดได้ทั้งเชื้อราที่อยู่ในดินและที่เป็นกับใบพืช
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  4,000  มก./กก.  ทางผิวหนัง  มากกว่า  5,000  มก./กก.
โรคพืชที่กำจัดได้        โรคที่เกิดจากเชื้อรา  Botrytis  spp. , Rhizoctonia  spp. , Sclerotium  spp. , Stromatinia  spp. , Monilini  เช่น  โรคใบจุด  โรคใบไหม้  โรคเน่าคอดิน  โรคโคนเน่า  โรครากเน่า  โรคราดำและโรคเน่าอื่น ๆ
พืชที่ใช้                   ฝ้าย  พืชตระกูลแตง  กระเทียม  องุ่น  ผักกาด  มันฝรั่ง  หอม  ถั่วต่าง ๆ  มะเขือเทศ  ข้าว  เงาะ  ทุเรียน  พริก  สตรอเบอร์รี่  และผักต่าง ๆ
สูตรผสม                  75ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้        ใช้อัตรา  17  กรัม  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดีแล้วฉีดพ่นที่ใบให้ทั่วต้นพืชหรือราด / รดโคนต้น  ควรศึกษารายละเอียดวิธีการใช้เพิ่มเติมจากฉลาก
อาการเกิดพิษ            อาจทำให้ดวงตาและระบบทางเดินหายใจเกิดอาการระคายเคือง  หากกินเข้าไปในปริมาณมากอาจทำให้รู้สึกไม่สบาย
การแก้พิษ                ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลายครั้ง  ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไป  ทำให้อาเจียนด้วยการล้วงคอ  หรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่นและนำผู้ป่วยส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้                    - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  2-14  วัน  แล้วแต่ชนิดพืช
                             - อย่าใช้กับเมล็ดที่กำลังงอกหรือกล้าพืชล้มลุก  ยกเว้นในกรณีที่มีการแนะนำให้ใช้
                             - อย่าใช้ร่วมกับสารกำจัดแมลงออร์กาโนฟอสเฟทที่อยู่ในรูปน้ำมันผสมได้กับน้ำ
                             - ขณะใช้  จำเป็นต้องเขย่าถังฉีดไปพร้อม ๆ กันด้วย
                             - อย่าใช้ฉีดพ่นที่ปลูก  ในช่วงที่มีอากาศร้อนของวันหรือในช่วงที่มีแสงแดดจัด
                             - ใช้ผสมกับสารกำจัดเชื้อราและสารกำจัดแมลงทั่ว ๆ ไปได้

ไดฟีโนโคนาโซล
(difenoconazole)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดเชื้อรา
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  1,453  มก./กก.  ทางผิวหนัง  มากกว่า  2,010  มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        โรคเถาแห้งและผลเน่าขององุ่น  ที่เกิดจากเชื้อ  Sphaceloma  fulligenium
พืชที่ใช้                   องุ่น
สูตรผสม                  25อีซี

ไดโนแค๊ป
(dinocap)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดเชื้อรา  dinitrophenol  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัส  ให้ผลในทางป้องกันและรักษาโรคพืช  และยังเป็นสารกำจัดไรประเภทไม่ดูดซึมอีกด้วย
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  980  มก./กก.  ทางผิวหนัง  มากกว่า  4,700  มก./กก. 
โรคพืชที่กำจัดได้        โรคราแป้ง  และไรสนิมต่าง ๆ
พืชที่ใช้                   พืชตระกูลแตง  ส้ม  องุ่น  สตรอเบอร์รี่  เชอร์รี่  ฟักทอง  พืชผัก  ไม้ผล  กุหลาบ  และไม้ดอกทั่วไป
สูตรผสม                  19.5% , 22.5% , 25%  ดับบลิวพี  และ  37.4เอสซี
อัตราใช้และวิธีใช้        ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก  ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  แล้วใช้ฉีดพ่นที่ใบให้ทั่วต้นพืชทุก  7-10  วัน
อาการเกิดพิษ            จะมีอาการชีพจรเต้นเร็ว  ตัวร้อน  ไม่มีแรง  หิวน้ำ  คลื่นไส้  อาเจียน  เหงื่อออกมาก  หายใจลำบาก  ถ้าเป็นมาก ๆ  กล้ามเนื้อจะกระตุกและถึงตายได้
การแก้พิษ                ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง  ถ้าเข้าปากหรือกลืนกินเข้าไป  ต้องทำให้คนไข้อาเจียนโดยเร็ว  ด้วยการล้วงคอหรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น  แล้วนำผู้ป่วยส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ควรทำการล้างท้องผู้ป่วยด้วยโซเดียมไบคาร์บอเนท  แล้วรักษาตามอาการ  ใช้ยาบาร์บิทูเรท  ช่วยรักษาในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการทางระบบประสาท  ห้ามใช้ยาอะโทรปินรักษาผู้ป่วย
ข้อควรรู้                    - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  7-21  วัน  แล้วแต่ชนิดพืช
                             - เป็นอันตรายในทางหายใจ  สัมผัสและกลืนกินเข้าไป
                             - เป็นอันตรายต่อปลา
                             - อย่าใช้ร่วมกับสารกำจัดศัตรูพืชที่เป็นน้ำมัน  หรือถ้าใช้ฉีดพ่นใบต้องให้ห่างกันอย่างน้อย  30  วัน
                             - ห้ามผสมกับ  ไลม์  ซัลเฟอร์
                             - เมื่อผสมอยู่ในรูปผงเปียกน้ำ  (ดับบลิวพี)  จะให้ผลดีในการกำจัดเชื้อรา  และเมื่ออยู่ในรูปน้ำมัน  (อีซี)  จะให้ผลดีในการกำจัดไร
                             - ผสมกับสารกำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น