วันศุกร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2554

เทคนิคการดูแลปาล์มน้ำมัน

ที่มา phkaset.com

พันธุ์
พันธุ์ที่นิยมปลูก คือ พันธุ์ปาล์มน้ำมัน ลูกผสมเทเนอร่า (DxP) พันธุ์ลูกผสมสุราษฎร์ธานี 1 พันธุ์ลูกผสมสุราษฎร์ธานี 2 และ พันธุ์ลูกผสมสุราษฎร์ธานี 3
การให้ผลผลิต และรักษาลักษณะต่างๆ ที่สำคัญของปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานี เฉลี่ย ปี (อายุ 6-11 ปี)




พันธุ์
สายพ่อพันธุ์
ผลผลิต
ทะลายสด
(กก./ไร่/ปี)
น้ำมัน
ทะลาย
(%)
ผลผลิตน้ำมัน
(กก./ไร่)
ความสูง
อายุ 9 ปี
(ซม.)
Calabar
160.78
26.9
986
208
Lame
168.91
23.5
905
187
DAMI
139.97
26.3
839
208
พันธุ์มาตรฐาน
AVROS
130.40
25.8
767
243
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
-           ดินควรมีความอุดมสมบรูณ์ปานกลางถึงดี
-           ปริมาณน้ำฝนไม่ต่ำกว่า 1600 มม./ปี
-           มีช่วงแล้งไม่เกิน 3-4 เดือน
การเตรียมพื้นที่ ควรเตรียมในฤดูแล้งในระหว่างเดือน มกราคม-เมษายน
การเตรียมต้นกล้า
ระยะอนุบาลแรก (0-3 เดือน)  ไว้ในเรือนเพาะชำโดยเพาะชำต้นกล้าในถุงพลาสติกสีดำ ขนาด 6x7 หรือ 6x9 นิ้ว หนาอย่างน้อย 0.06 มม. จนต้นกล้ามีใบงอก 3-4 ใบ หรือต้นกล้าอายุประมาณ 3 เดือน จึงย้ายใส่ถุงพลาสติกขนาดใหญ่ ในระยะนี้ต้องคัดทิ้งต้นกล้าประมาณ 5-15 % ที่มีลักษณะต้นเตี้ย และแคระแกร็น
ระยะอนุบาลหลัก (3 -12 เดือน) โดยเพาะต้นกล้าในถุงพลาสติกสีดำหนาอย่างน้อย 0.12 มม. ใช้ถุงพลาสติกสีดำขนาดไม่ต่ำกว่า 15x18 นิ้ว วางไว้ในแปลงกลางแจ้ง ในระยะนี้ต้องคัดทิ้งต้นกล้าประมาณ 5-10 % และในขณะขนย้ายต้นกล้าไปปลูก ในแปลงปลูกจริงต้องคัดทิ้งต้นกล้าที่ผิดปกติและไม่สมบูรณ์อีกประมาณ 2-5%
การจัดวางต้นกล้า วางต้นกล้าเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ระยะระหว่างถุงไม่ควรต่ำกว่า 75 ซม. โดยจัดแปลงแยกเป็นกลุ่มๆ ตามอายุต้นกล้า ไม่ปะปนกันมีป้ายแสดงให้เห็นชัดเจน
การดูแลรักษาต้นกล้า มีการให้น้ำในปุ๋ย กำจัดวัชพืช ควบคุมโรค และแมลง ตลอดจนการเตรียมต้นกล้า พร้อมนำไปปลูกในแปลงปลูกจริง ควรปฏิบัติตามหลักวิชาการ
การเลือกต้นกล้า ต้นกล้าที่แนะนำให้ปลูกเป็นต้นกล้าอายุ 12 เดือน ต้นสมบูรณ์แข็งแรง มีความสูงระหว่าง 100-150 เซนติเมตร จากระดับดินในถุง และมีใบประกอบรูปขนนก จำนวนอย่างน้อย 9 ใบ
การวางแนวปลูก ให้แถวปลูกหลักอยู่ในแนวทิศเหนือ-ใต้ ปลูกแบบสามเหลี่ยมด้านเท่า ระยะปลูกที่เหมาะสม
ระยะปลูกที่เหมาะสมสำหรับพันธุ์ลูกผสมที่ได้จากพ่อพันธุ์กลุ่มต่าง ๆ
พันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสม
ปลูกแบบสามเหลี่ยมด้านเท่าระยะปลูก (ม.)
จำนวนต้น/ไร่
Dell Dura x AVROS
Dell Dura x Ekona
Dell Dura x Ghana
Dell Dura x La Me'
9.00
8.75
8.50
9.00
22
24
25
22
การปลูก
ควรปลูกปาล์มน้ำมันในช่วงฤดูฝน ไม่ควรปลูกช่วงปลายฤดูฝนต่อเนื่องฤดูแล้ง ข้อควรระวังหลังจากปลูกไม่ควรเกิน 10 วัน จะต้องมีฝนตก ภาคใต้ฝั่งตะวันตก ปลูกในช่วงระหว่างเดือนเมษายน ถึงกันยายน และภาคใต้ฝั่งตะวันออก ปลูกช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงตุลาคม เตรียมหลุมปลูกขนาด 45x45x35 เซนติเมตร
การให้ปุ๋ย
วิธีที่ 1 : ใช้ลักษณะอาการที่มองเห็นที่ต้นปาล์ม แสดงอาการขาดธาตุอาหาร
วิธีที่ 2 : ใส่ปุ๋ยเคมีตามผลการวิเคราะห์ใบปาล์มน้ำมันเป็นวิธีที่นิยมและแพร่หลายในปัจจุบัน
การใส่ปุ๋ยทางดินเพื่อลดต้นทุนในปาล์มน้ำมันอายุต่างๆ

อายุปาล์ม (ปี)
ปุ๋ยอินทรีย์ ตรายักษ์เขียว สูตรเข้มข้น
(แถบทอง)
ปุ๋ยเคมี
1 - 4
ใส่อัตรา 0.5-1 กิโลกรัมต่อต้น ทุก ๆ 30-40 วัน ใส่บริเวณรอบโคนต้นที่กำจัดวัชพืชแล้ว
ใช้สูตร 25-7-7 ใส่อัตรา 100 กรัม ทุก ๆ 40-60 วันร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ยักษ์เขียว
5 – 9
ใส่อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น ทุก ๆ 30 วัน ใส่บริเวณรอบโคนต้นที่กำจัดวัชพืชแล้ว
ใส่บริเวณรอบโคนต้นห่างจากโคนต้น 2.50 เมตร ถึง บริเวณปลายทางใบ
10 ปีขึ้นไป
หว่านบริเวณระหว่างแถวปาล์มที่กำจัดวัชพืชแล้ว หรือ ขุดฝังบริเวณทรงพุ่ม
หมายเหตุ  ในกรณีที่ต้นปาล์ม แสดงอาการขาดธาตุโบรอน  ให้ผสมโบรอนชนิดน้ำเข้มข้น โบวีรอน  ให้ไปกับระบบน้ำ หรือฉีดพ่นบริเวณในทรงพุ่มและช่อทะลาย  ในอัตรา 1 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่  ปีละ 2-4 ครั้ง โดยเฉพาะปาล์มที่ให้ผลผลิตแล้วควรเพิ่มความถี่มากขึ้น
การฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ  :  ใช้ไบโอเฟอร์ทิล (สูตรไล่แมลง) ฉีดพ่นอัตรา 30-50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อเร่งการเจริญเติบโตในปาล์มเล็ก  และเพิ่มผลผลิตในปาล์มใหญ่ ทำให้ปาล์มติดผลได้เพิ่มขึ้น
การให้น้ำ
ในสภาพพื้นที่ที่ช่วงฤดูแล้งยาวนาน หรือสภาพพื้นที่ที่มีการขาดน้ำมากกว่า 250 มม./ปี ถ้ามีแหล่งน้ำเพียงพอควรมีการให้น้ำเสริมในฤดูแล้ง
ตัดแต่งทางใบ
ตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงปีที่ 6 ควรไว้ทางใบ 7-8 รอบ (56-64 ทางใบ) ต้นที่โตเต็มที่ควรไว้ทางใบ 4.5-6.5 รอบ (36-48 ทางใบ) ไม่ควรตัดแต่งทางใบจนกว่าจะถึงช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต ควรตัดทางใบให้เหลือรองรับทะลายปาล์ม 2 ทาง (ชั้นล่างจากทะลาย) และทางใบที่ตัดแล้ว ควรนำมาเรียงกระจายแถวเว้นแถว และวางสลับแถวกันทุกๆ 4-5 ปี เพื่อเพิ่มอินทรีย์วัตถุ ให้กระจายทั่วแปลง
การใช้ทะลายเปล่าคลุมดิน
ทะลายเปล่าที่นำมาจากโรงงาน ควรนำมากองทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน แล้วจึงนำไปวางกระจายไว้รอบโคนต้น โดยใส่ทะลายเปล่า อัตรา 150-225 กก./ต้น/ปี
การลดจำนวนต้นปาล์มต่อไร่เพื่อรักษาระดับผลผลิตให้สูง
ควรลดจำนวนต้นปาล์มจาก 22 ต้น/ไร่ ให้เหลือประมาณ 19 ต้น/ไร่ เมื่อปาล์มมีอายุ 10 ปี โดยเลือกคัดต้นปาล์ม ที่มีลักษณะผิดปกติและมีผลผลิตน้อย หรือไม่ให้ผลผลิตออก
ศัตรูของปาล์มน้ำมันและการป้องกันกำจัด
โรคที่สำคัญ
1. โรคใบไหม้ พบมากในระยะต้นกล้าหากรุนแรงทำให้ต้นกล้าถึงตายได้
2. โรคก้านทางใบบิด พบในต้นปาล์มน้ำมันอายุ 1-3 ปี หลังจากนำลงปลูกในแปลง มีผลให้การเจริญเติบโตของต้นปาล์มน้ำมันหยุดชะงัก
3. โรคยอดเน่า ระบาดมากในฤดูฝน เข้าทำลายต้นปาล์มน้ำมันตั้งแต่ในระยะกล้า แต่ส่วนใหญ่มักจะพบโรคนี้กับต้นปาล์มน้ำมัน อายุ 1-3 ปี ทำให้ใบยอดทั้งใบเน่าแห้งเป็นสีน้ำตาลแดง สามารถดึงหลุดออกมาได้ง่าย
4. โรคทะลายเน่า ทำลายผลปาล์มก่อนที่จะสุก ระบาดมากในฤดูฝน ที่มีความชื้นสูง ทำให้เปอร์เซ็นต์กรดไขมันอิสระเพิ่มขึ้น ประสิทธิภาพในการให้น้ำมันน้อยลง
5. โรคลำต้นเน่า พบมากกับต้นปาล์มน้ำมันที่มีอายุมาก ปัจจุบันพบระบาดมากกับต้นปาล์มอายุ 10-15 ปี
การป้องกัน  แนะนำให้ผสม ไตรโคแม็ก  อัตรา 50-100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ราดหรือ + สารจับใบ ฉีดพ่นบริเวณยอด และลำต้น เพื่อป้องกันกำจัดเชื้อราศัตรูพืช
แมลงศัตรูที่สำคัญ
1. หนอนหน้าแมว กัดทำลายใบจนเหลือแต่ก้านใบ ทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ควรสำรวจแมลงในพื้นที่เป็นประจำ
2. ด้วงกุหลาบ กัดทำลายใบของต้นปาล์มน้ำมัน ขนาดเล็กที่เพิ่งปลูกใหม่
3. ด้วงแรด กัดเจาะโคนทางใบ ทำให้ทางใบหักง่าย และยังกัดเจาะทำลายยอดอ่อน ทำให้ทางใบที่เกิดใหม่ไม่สมบูรณ์ มีรอยขาดแหว่งเป็น ริ้วๆ คล้ายรูปสามเหลี่ยม ถ้ารุนแรงจะทำให้ต้นตายได้
การป้องกัน  แนะนำให้ใช้ ไบโอเฟอร์ทิล (สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง)  ผสมอัตรา 50-100 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร  รดหรือฉีดพ่นบริเวณยอด, ลำต้นและใบ ทุก ๆ 15 วัน สำหรับปาล์มเล็ก  และทุก ๆ 20 วัน สำหรับปาล์มที่ให้ผลผลิตแล้ว เพื่อป้องกันแมลงศัตรูเข้าทำลาย และยังเป็นการบำรุง กระตุ้นการเจริญเติบโตและติดผล(ทลาย) อีกทางหนึ่ง  ในกรณีพบการเข้าทำลาย ให้ใช้ เมทา-แม็ก อัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร + ยาจับใบ ฉีดพ่นที่ยอด ในช่วงเวลาเย็น เพื่อกำจัด
ระยะตั้งแต่ปลูกจนถึงระยะเริ่มให้ผลผลิต (อายุ 1-3 ปี) มักพบ เม่น หมูป่า หนู และอีเห็น เข้ามากัดโคนต้นอ่อน และทางใบปาล์มส่วนที่ติดกับพื้นดิน
ระยะให้ผลผลิตศัตรูที่สำคัญ คือ หนู ซึ่งที่พบในสวนปาล์ม ได้แก่ หนูนาใหญ่ หนูท้องขาวทั้งชนิดที่เป็น หนูป่ามาเลย์ และหนูบ้านมาเลย์ หนูพุก หนูฟันขาวใหญ่ หนูท้องขาวสิงคโปร์ นอกจากนี้ยังมี เม่น กระแต หมูบ้า และอีเห็น
          การควบคุมวัชพืชมีหลายวิธี เช่น การใช้แรงงาน การใช้เครื่องจักรตัดวัชพืช การใช้วัสดุคลุมดิน การปลูกพืชคลุมดิน โดยใช้พืชตระกูลถั่ว และการใช้สารกำจัดวัชพืช ไม่แนะนำให้ใช้สารเคมี เพราะจะทำให้รากถูกทำลาย  ต้นชะงักการเจริญเติบโตและอาจตายได้
การปลูกแทนใหม่
ต้นปาล์มมีอายุประมาณ 18-25 ปี ต้นสูงเกินไปทำให้ค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยวสูง และมีผลผลิตต่ำ
การเก็บเกี่ยว
ต้องเก็บเกี่ยวทะลายปาล์มที่สุกพอดี หรือประมาณ 20-22 สัปดาห์ และส่งโรงงานสกัดน้ำมันภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อให้ได้น้ำมันปาล์มทั้งปริมาณ และคุณภาพสูงสุดต่อไร่ ซึ่งการปฏิบัติที่ถูกต้อง และเหมาะสมจะทำให้ได้น้ำมันปาล์มที่มีคุณภาพดี
วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
ทะลายผลปาล์มสดจะถูกนำมารวมกองไว้ข้างถนนซอย โดยใช้แรงงานคนแบก รถเข็นล้อเลื่อนแรงงานจากสัตว์ และรถแทรกเตอร์ โดยจะต้องมีการวางแผนการเก็บเกี่ยวให้สอดคล้องกับการบรรทุกส่งโรงงาน ทั้งนี้ต้องเสร็จภายในวันเดียว และต้องไม่มีทะลายปาล์มเหลืออยู่ในสวนปาล์ม เพราะหากทิ้งไว้ข้ามวันจะสูญเสียปริมาณและคุณภาพของน้ำมันในทะลาย และอาจเกิดความเสียหายกับทะลายผลปาล์ม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น