เทคนิคการทำส้มโอ(ส่งออก)
สวนส้มโอ(ส่งออก) ภาพโดย ภควัตเพื่อนเกษตร |
1. การเตรียมแปลงปลูกและดินสำหรับการปลูก
1. หากที่ดินแปลงปลูกมีขนาดใหญ่ ควรเริ่มปรับพื้นที่หรือเตรียมดินในฤดูแล้ง และควรจัดพื้นที่ขุดบ่อน้ำ สำหรับกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง
2. ไถดินเพื่อปรับสภาพแปลงปลูก รื้อสิ่งกรีดขวางออก เพื่อพื้นที่มีสภาพโล่ง
3. วัดแนวเขตพื้นที่ (กว้าง-ยาว) และทำแผนที่ของดินแปลงที่ปลูก
4. คำนวณจำนวนต้นส้มและเลือกระยะปลูก ตามความต้องการ โดยยึดหลักดังนี้
4.1 ควรวาง แถวของต้น อยู่ในแนวทิศเหนือ-ใต้
4.2 มาตรฐานของการปลูก ระยะต้น*ระยะแถว คือ พื้นราบ 5.5*5.5 6*6 ร่องน้ำ 5*8 6*9 เมตร
4.3 คำนวณจำนวนกิ่งพันธุ์หรือต้นพันธุ์ที่ต้องการใช้ในการปลูก (ควร + เพิ่ม 2%)
4.4 กำหนดจำนวนแถว วางแนวและตำแหน่งของต้นที่จะปลูกในพื้นที่จริง
5. ไถพรวนดิน ยกแนวปลูกให้เป็นร่องลูกฟูกหรือฟันดินพูนเป็นโขด (กระทะคว่ำ)ร่องลูกฟูกหรือโขดควรสูงจากพื้นดินเดิมอย่างน้อยประมาณ 50-75 ซม.
6. ย่อยดินตรงบริเวณที่จะปลูกให้ละเอียดเหมาะสมต่อการปลูกพืช
7. ปรับปรุงสภาพดินของแนวรองปลูกหรือบริเวณโขดที่จะปลูกด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเกา
8. ปักไม้รวก (ยาวประมาณ 50-60 ซม.) ตรงบริเวณจุดกำหนดหรือโขดที่จะปลูก ให้แต่ละจุดที่จะปลูกต้นในแต่ละแถวปลูก อยู่ในแนวที่ตรงกัน
9. หากดินที่จะปลูกต้นส้มเป็นดินร่วนปนทราย ควรจัดเตรียมเศษพืชหรือฟางเพื่อการคลุมดิน รักษาความชื้น
10. เก็บ ตัวอย่างดินบริเวณที่จะปลูก ส่งหน่วยงานเพื่อวิเคราะห์ความเป็นกรดเป็นด่าง โครงสร้างของดิน ปริมาณอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารที่จำเป็น
2. การเตรียมต้นพันธุ์
- หากเลือกใช้ต้นพันธุ์เป็นกิ่งตอน ควรพิจารณาดังนี้
1.1 เป็นกิ่งตอนจากแหล่งหรือผู้ขายที่เชื่อถือได
1.2 ต้นแม่ต้องแข็งแรง ไม่เป็นโรคกรีนนิ่งและโรคทริสเตซ่า หรือโรคไวรัสอื่นๆ และมี ลักษณะที่ดีตรงตามสายพันธุ์
1.3 ต้นแม่ควรมีอายุมากกว่า 8-9 ปีขึ้นไป
1.4 กิ่ง ตอนควรเป็นกิ่งที่ตั้งหรือตั้งตรงทีมีอายุ 1-1.5 ปี กิ่งแข็งแรง กลม -ไม่มีหนาม สี เขียวอมน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอมเขียว มีรากออกโดยรอบขวั้น
1.5 ความสูงของกิ่งตอน 45-55 ซม. (ไม่ควรเกิน 60 ซม.)
1.6 กิ่งตอนไม่ควรเพาะชำอยู่ในถุงนานเกิน 6 เดือน
- หากเลือกใช้ต้นพันธุ์เป็นต้นตอที่ติดตาหรือเสียบยอด ควรเลือกที่มีลักษณะดังนี้
2.1 ต้นพันธุ์ได้จากแหล่งหรือผู้เชื่อถือได หรือได้ผ่านรับรอง การปลอดโรค
2.2 ต้นพันธุ์แข็งแรงไม่เป็นโรคกรีนนิ่งและทริสเตซ่าหรือโรคไวรัส อื่นๆ และมีลักษณะที่ดีตรงตามสายพันธุ์
2.3 ต้นพันธุ์ไม่ควรปลูกอยู่ในถุงเพาะชำ ภายหลังการติดตาหรือเสียบยอดเกินกว่า 1 ปี
2.4 เลือกใช้ชนิดของต้นตอให้เหมาะสมกับพันธุ์และสภาพของดินที่ปลูก
2.5 พื้นที่ที่จะปลูกต้นปลอดโรค ควรหากไกลจากแหล่งปลูกเดิม
2.6 ต้องระมัดระวังการติดโรคภายหลังจากการปลูก
- ระยะเวลาปลูกและวิธีการปลูกที่เหมาะสม
3.1 สามารถเลือกเวลาปลูกเมื่อใดก็ได ถ้าแปลงปลูกมีการติดตั้งระบบน้ำชลประทาน
3.2 ควรปลูกในเดือนกรกฎาคม ถึง เดือนตุลาคม หากอาศัยน้ำฝนโดยไม่มีแหล่งน้ำ
3.3 กิ่งหรือต้นพันธุ์ที่จะนำลงปลูกควรเป็นระยะใบแก่ (ไม่ควรมีใบอ่อน) หากเป็นกิ่งตอนควร ให้ปลายรากมีสีเหลืองหรือสีนวล
3.4 ต้นพันธุ์ติดตาหรือเสียบยอด ควรปลูกโดยการจัดระบบราก
3.5 ต้นพันธุ์ที่มีรากขดงอโดยเฉพาะรากใหญ่ หากไม่สามารถจัดระบบรากได้ ไม่ควรนำลงปลูก
3.6 อย่าปลูกต้นพันธุ์ลึก ควรปลูกและกลบหน้าดินให้เสมอขั้วบนของกิ่งตอน หรือเสมอระดับ หน้าดินเดิมของถุงเพาะชำ
3.7 ควรปลูกโดยจัดให้ลําต้นหลักของต้นพันธุ์ตั้งตรงระวังอย่าให้ต้นส้มโยกคลอน ปักหลักไม้รวกและผูกยึดต้นให้แน่น
3.8 ควรหาฟางข้าวหรือเศษพืชคลุมดินบริเวณโขดที่ปลูก โดยเฉพาะในดินร่วนหรือดินปนทราย
- การดูแลและการทำงาน (หลังปลูก -ต้นอายุ 1 ปี)
4.1 ผูกยึดต้นให้แน่นกับหลักไมรวกที่ปักไวเพื่อป้องกันไม่ให้ต้นโยกคลอน
4.2 ต้องให้น้ำแก่ต้นที่ปลูกใหม่อย่างสม่ำเสมอและเพียงพอ ระวังอย่าให้ต้นขาดน้ำ
4.3 ให้ปุ๋ยทางดินแก่ต้น ใช้ปุ๋ยอินทรีย์เกรด AAA “ยักษ์เขียว”สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง) อัตรา 0.5 กิโลกรัมต่อต้น สลับกับปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 หรือ 25-7-7 ปริมาณ ต้นละ 2-3 กำมือต่อครั้งต่อต้น โดยใส่สลับกันเที่ยวเว้นเที่ยว ทุก ๆ 30-40 วัน/ครั้ง ตั้งแต่ปลูก - 12 เดือนหลังปลูก
4.4 ทางใบ ควรให้ปุ๋ยไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง)อัตรา 30 ซีซี ร่วมกับ ธาตุอาหารเสริมรวม “คีเลท” อัตรา 5-10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทางใบแก่ต้นส้มโอ เดือนละ 1-2 ครั้ง
4.5 ระวังการทำลายของเพลี้ยไฟ เพลี้ยไก่แจ้และหนอนชอนใบในระยะยอดและใบอ่อน หากพบการระบาดให้ใช้ ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช เมทา-แม็ก ฉีดพ่น อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร 2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน หรือหากต้องการใช้สารเคมี ให้ใช้ สารจำพวก อิมิดาโคลพริด,ไซเปอร์เมธริน,ฟิโปรนิล,คาร์โบซัลแฟน,อะบาเม็คติน,ฯลฯ โดยใช้เดี่ยวหรือผสมกัน ให้เลือกสลับการใช้อย่าให้ซ้ำกัน เพื่อป้องกันแมลงศัตรูพืชดื้อยา
4.6 ตั้งแต่ต้นอายุ 10-12 เดือนขึ้นไป ควรตัดแต่งกิ่งกระโดง กิ่งแห้งและกิ่งเป็นโรค
4.7 ห้ามฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดวัชพืชใกล้บริเวณโคนต้นหรือทรงพุ่ม
4.8 ระวังการทำลายของโรคแคงเคอร์หรือโรคใบจุดที่ใบอ่อนในฤดูฝน
4.9 หากดินเป็นกรด หรือแน่นแข็ง ควรใช้สารปรับสภาพดิน “ไดนาไมท์” อัตรา 500 ซีซี/ไร่ ผสมไปกับระบบการจ่ายน้ำ(สปริงเกอร์) หรือผสมน้ำฉีดพ่นผิวดินรอบทรงพุ่มแล้วรดน้ำตามทันที(กรณีร่องสวน)
4.10 ปลูกซ่อมแซมต้นที่ตายหรือไม่แข็งแรง โดยใช้พันธุ์ที่สมบูรณ์แข็งแรง
4.11 หากแปลงปลูกอยู่ในสภาพที่โล่ง ใกล้นาข้าว ที่รกร้าง ให้วางแผนการปลูกพืชล้อมที่หรือพืชกำบังลมตามคันล้อมแนวเขตที่ดิน(กล้วย,มะพร้าว,มะม่วง,ฯลฯ)ก่อนการลงต้น และควรปักไม้ค้ำต้นเพื่อป้องกันต้นโดนลมโยก(รากขาด)
4.12 หาก ต้องการปลูกต้นไม้อื่นเป็นพืชเสริมรายได้ ให้เลือกชนิดที่เหมาะสมกับส้มโอที่ปลูก พืชที่เลือก ควรมีอายุการเก็บเกี่ยวไม่เกิน 3 ปี(กิ่งต้นส้มโอจะแผ่ชนกัน) เช่น มะละกอ,ฝรั่ง,ฯลฯ
- การดูแลและการทำงาน (ต้นอายุ 1-3 ปี)
5.1 ให้เริ่มสร้างทรงพุ่ม โดยมีลำต้นหลักเพียงลำต้นเดียวและมีกิ่งใหญ่ 4-7 กิ่ง
5.2 ควบคุมให้แตกยอดอ่อนเป็นรุ่นหรือเป็นชุดพร้อม ๆ กันตั้งแต่ต้นส้มอายุ 1 1/2 ปี (งดน้ำ,ขึ้นน้ำ)
5.3 บังคับการแตกยอดอ่อนให้มีการแตกตาข้างมากกว่าการแตกตายอด (โดยการตัดแต่ง)
5.4 การแตกยอดสามารถบังคับให้เกิดได้ ทุก ๆ 50-55 วันโดยอาศัยวิธีการให้น้ำเป็นระยะ ๆ และฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง)+ ธาตุอาหารรองและเสริม รวม “คีเลท”ตามที่แนะนำทุก ๆ 15-30 วัน
5.5 ขนาดของใบควรได้มาตรฐาน ใบหนา สีเขียวเข้ม ไม่แสดงอาการขาดธาตุอาหารหลัก หรืออาหารรอง
5.6 การให้ปุ๋ยทางดินควรเริ่มปรับเป็นการให้ 30-40 วัน/ครั้ง โดยใส่สลับกันเที่ยวเว้นเที่ยวระหว่างปุ๋ยเคมี และ ปุ๋ยอินทรีย “ยักษ์เขียว”สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง)อัตรา 0.5-1 กิโลกรัมต่อต้น สลับกับการให้ปุ๋ยเคมีควรใช้สูตร 25-7-7 หรือ15-15-15 โดยให้ในปริมาณ 2-5 กำมือ ตามขนาดทรงพุ่ม
5.7 เริ่ม ไว้ผลเมื่อต้นอายุประมาณ 30-36 เดือน (ยกเว้นพันธ์ทองดีให้เริ่มที่อายุประมาณ 6 ปี) โดย "เว้นน้ำ" หรือ "กักน้ำ" ในช่วงฤดูหนาวประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน เมื่อติดผลครั้งแรก ควรปลิดผลทิ้งกะประมาณให้เหลือไว้ถึงตอนเก็บผลแค่ 5-10 ผล/ต้น ครั้งต่อไป เพิ่มขึ้นตามลำดับเพื่อไม่ให้ต้นโทรมเร็ว
5.8 ใน การบังคับการแตกยอดอ่อนพร้อมดอกรุ่นแรก ใช้วิธีการกักน้ำให้ต้นมีสภาพขาดน้ำในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ(ประมาณ 7-20 วัน แล้วแต่สภาพดินเหนียวหรือดินทราย,อายุและขนาดของต้นส้มโอ) จากนั้นจึง "ขึ้นน้ำ" โดยการค่อย ๆ เพิ่มการรดน้ำจนสู่ระดับปกติ และรดน้ำอย่างเพียงพอเพื่อให้ต้นส้มผลิยอดอ่อนชุดใหม่
5.9 การบังคับการแตกยอดอ่อน(ใบหรือดอก)นั้น แนะนำให้ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง)ร่วมด้วยทุกครั้ง เพื่อให้ใบหรือดอกที่ได้มีคุณภาพ และลดปัญหาเรื่องแมลงศัตรูพืช
5.10 ความสูงของต้นที่เริ่มการบังคับให้ออกดอกและติดผล คือ 2-2.5 เมตร หรือเริ่มเก็บผลได้เมื่อต้นมีทรงพุ่มประมาณ 2-2.5 เมตร
- การดูแลการทำงานส้มโอที่เริ่มให้ผลผลิตแล้ว (พันธ์ส้มโอตระกูลขาวน้ำผึ้ง,ขาวหอม,ขาวใหญ่ ต้นอายุ 3-3 ½ ปีขึ้นไปหรือ พันธ์ทองดี ต้นอายุ 6 ปีขึ้นไป)
6.1 การ ตัดแต่งกิ่งให้ตัดแต่งกิ่งกระโดงที่ยาวและมีหนาม กิ่งแห้ง กิ่งบิดไขว้ กิ่งเป็นโรคหรือถูกแมลงทำลาย ควรเริ่มตัดแต่งได้เมื่อหมดฤดูฝนหรือหลังเก็บเกี่ยวส้มโอรุ่นในฤดู ช่วงเดือนตุลาคม
6.2 หากต้นส้มแสดงอาการขาดธาตุอาหารรอง โดยเฉพาะธาตุแมกนีเซียมและธาตุสังกะสี(ยอดจะตื้อ,ใบจะมีแถบด่างเหลือง) ให้รีบแก้ไขโดยใช้ธาตุอาหารรองและเสริม รวม “คีเลท” อัตรา 50 กรัม/ถัง(น้ำ 200 ลิตร) ฉีดพ่นทางใบ 1-2 ครั้ง หรือฉีดในช่วงแตกใบอ่อนทุกครั้ง
6.3 ก่อนการบังคับการออกดอก (ก่อนการเว้นให้น้ำหรือการกักน้ำประมาณ ½-1 เดือน) ให้ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบสูตร 0-52-34 อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 7 วันประมาณ 2-3 ครั้ง
6.4 บังคับ ให้ต้นแตกยอดอ่อน(ดอก)เป็นชุดพร้อม ๆกัน โดยการไม่ให้น้ำแก่ต้น "เว้นน้ำ" หรือ "กักน้ำ" ในช่วงเดือน พฤศจิกายน หรือเดือนธันวาคม(ส่วนใหญ่จะเว้นน้ำประมาณ 2-3 อาทิตย์ ขึ้นอยู่กับขนาดและความสมบูรณ์ของต้น) จากนั้นจึง "ขึ้นน้ำ" โดย การเริ่มค่อย ๆ รดน้ำให้แก่ต้นส้มโอ จนถึงเกณฑ์ปกติ(ประมาณ 3-4 วัน) และฉีดพ่นด้วยไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) ทุกๆ 7-10 วัน ประมาณ 4 ครั้ง เพื่อกระตุ้นการติดช่อดอก ทำให้ดอกติดมากและขั้วเหนียว
6.5 การ ให้ปุ๋ยทางดินแก่ต้น ควรพิจารณาความสมบูรณ์ของต้น ขนาดของใบ และผลของการวิเคราะห์ดินเป็นสำคัญ ในสภาพทั่ว ๆ ไป สำหรับพื้นดินที่มีไนโตรเจนไม่สูง สังเกตจากส้มโอที่เก็บเกี่ยวได้จะมีเปลือกบาง ผิวเนียน มัน ผิวไม่เห่อ เช่น ในเขตปทุมธานี,นครปฐม หรือนครนายกบางส่วน ฯลฯ เมื่อติดผลช่วงแรก(ลูกเล็ก)ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเมษายน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ “ยักษ์เขียว”สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง) อัตรา 1-1.5 กิโลกรัมต่อต้น ทุก ๆ 30 วัน (ประมาณ 3 ครั้ง)สลับปุ๋ยเคมีสูตร 25-7-7 อัตรา 1 กิโลกรัมต่อต้น( 1 ครั้ง) หลังจากนั้นให้ใช้ปุ๋ยเคมีสูตรที่เน้นตัวหน้าและหลัง เช่น 24-4-24 หรือ 13-13-21 สลับกับ ปุ๋ยอินทรีย์ “ยักษ์เขียว”สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง)อัตรา 1-1.5 กิโลกรัมต่อต้น ทุก ๆ 30-45 วัน (ประมาณ 2-3 ครั้ง)
6.6 สำหรับ ในพื้นที่ดินที่มีไนโตรเจนสูง สังเกตได้ว่าต้นจะมีการเจริญเติบโตทางใบสูง ใบใหญ่ ผิวส้มโอจะหนา เช่นในเขตเชียงราย พิจิตร ราชบุรี ปราจีนบุรีฯลฯ ช่วงติดผลให้เปลี่ยนจากการเน้นปุ๋ยไนโตรเจน โดยใส่ปุ๋ยเคมีสูตรอื่นแทน ได้แก่ 15-15-15 หรือ 13-13-21 หรือ 0-0-50 แทน
6.7 ช่วงติดผลแล้ว การให้ปุ๋ยทางใบ ให้ใช้ไบโอเฟอร์ทิล สูตรเร่งขนาดผล ฉีดพ่นทุกๆ 10-14 วันจนถึงเก็บเกี่ยว เมื่อใช้เป็นประจำ ปัญหาการหลุดร่วงของผลเนื่องจากสภาวะอากาศหรือโรคจะลดลงมาก ผลส้มโอที่ได้จะมีขนาดใหญ่สม่ำเสมอ(เป็นเบอร์เดียว) และผิวจะเนียนสวยกว่าแปลงที่ใช้ยาฆ่าแมลงควบคุมเพียงอย่างเดียว
6.8 ใน ช่วงติดผล หากมีการเตรียมต้นไม่ดี(ปุ๋ยไม่พอ) หรือ สภาพอากาศแปรปรวน ส้มโอจะมีปัญหาลูกเบาและผลร่วงมาก แนะนำให้ฉีดพ่นเสริมด้วย คีเลท อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 15-20 วัน
6.9 ในแปลงที่มีการระบาดของแมลงศัตรูพืชมาก แนะนำให้ใช้ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง)ร่วมกับชีวภัณฑ์กำจัดแมลง เมทา-แม็ก หรือสารเคมีควบคุมแมลง โดยอาจฉีดพ่นร่วมกันหรือสลับกัน จะช่วยป้องกันแมลงศัตรูพืชเข้าทำลายและสามารถยืดอายุการใช้สารเคมี ทำให้ลดต้นทุนการใช้สารเคมีลงกว่า 50 %
6.10 ในกรณีติดผลดกและต้นแสดงอาการขาดธาตุอาหารรองและเสริม ให้เสริมด้วยธาตุอาหารรองและเสริม “คีเลท” เดือนละ 1-2 ครั้ง
- ให้ปุ๋ยหรือธาตุอาหารแก่ต้นส้มโอและผล ในทุกระยะตั้งแต่เริ่มผลิยอดถึงก่อนการเก็บเกี่ยว ดังนี้
7.1 หลังเก็บเกี่ยวและตัดแต่งกิ่ง เมื่อเริ่มผลิยอดอ่อน
ทางดิน (ครั้งแรก)ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ตรา“ยักษ์เขียว”สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง) อัตรา 1-1.5 กิโลกรัมต่อต้น (ครั้งที่ 2) ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 25-7-7 อัตรา 0.5 กิโลกรัมต่อต้น
ทางใบ ไบโอเฟอร์ทิล สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง อัตรา 30-50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร + ธาตุอาหารรองและเสริม รวม “คีเลท” อัตรา 5-10 กรัมทุกๆ 10-14 วัน ประมาณ 4-5 ครั้ง
7.2 ก่อนเว้นน้ำ 15-30 วัน
ทางใบ ปุ๋ยสูตร 0-52-34 อัตรา 30-50 กรัม/น้ำ 20 ลิตรทุกๆ 7 วันประมาณ 2 ครั้ง เพื่อเร่งให้ใบแก่ และอั้นใบ
7.3 กระตุ้นดอกเมื่อเริ่มขึ้นน้ำได้ 3-4 วัน
ทางใบ ไบโอเฟอร์ทิล สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง อัตรา 30-50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร + ธาตุอาหารรองและเสริม รวม “คีเลท” อัตรา 5-10 กรัม ทุกๆ 5-7 วัน ประมาณ 5 ครั้ง
7.4 ติดผลอายุ 1-4 เดือน
ทางดิน (ครั้งแรก) ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ตรา“ยักษ์เขียว”สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง) อัตรา 1-1.5 กิโลกรัมต่อต้น (ห่างกัน 30 วัน ใส่ครั้งที่ 2)ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 25-7-7 หรือ 24-8-8 หรือ 15-15-15 อัตรา 1 กิโลกรัมต่อต้น (ห่างกัน 30 วัน ใส่ครั้งที่ 3) ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ตรา“ยักษ์เขียว”สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง) อัตรา 1-1.5 กิโลกรัมต่อต้น
ทางใบ ไบโอเฟอร์ทิล สูตรเร่งขนาดผลสลับกับสูตรไล่แมลง อัตรา 50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ทุกๆ 10-14 วัน)
7.5 ผลอายุ 4-8 เดือน
ทางดิน (ห่างกัน 30 วัน ใส่ครั้งที่ 4) ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ตรา“ยักษ์เขียว”สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง) อัตรา 1-1.5 กิโลกรัมต่อต้น (ห่างกันอีก 30 วัน ใส่ครั้งที่ 5) ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21หรือ 24-4-24 อัตรา 1 กิโลกรัม/ต้น
ทางใบ ไบโอเฟอร์ทิล สูตรเร่งขนาดผลสลับกับสูตรไล่แมลง อัตรา 50 ซีซี ทุกๆ 10-14 วัน + ธาตุอาหารรองและเสริม รวม “คีเลท” อัตรา 5 กรัม + แคลแม็ก (แคลเซียมโบรอน) อัตรา 20 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นเพื่อป้องกันผลแตก
* ในพื้นที่ดินที่มีไนโตรเจนสูง ให้คำนึงถึงการให้ปุ๋ยตัวหน้าอย่างระมัดระวัง (ไนโตรเจนสูง สังเกตได้จาก ต้นมีการเจริญเติบโตทางใบมาก หรือเปลือกส้มโอหนา แม้ไม่ได้ใส่ปุ๋ยตัวหน้า) โดยให้ลดการใช้ปุ๋ยเคมีตัวหน้าลง โดยให้ใช้ปุ๋ยเคมีสูตรที่ตัวหน้าต่ำลงจากที่แนะนำ ประมาณ 50 % เพื่อลดการเห่อของผิวส้มโอและความหนาของเปลือก ซึ่งจะทำให้ผลผลิตเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น*
หมายเหตุ
การใส่ปุ๋ยเคมีและ ยักษ์เขียว สามารถผสมร่วมกันแล้วนำไปใส่เพื่อความสะดวกได้ ในสัดส่วน ยักษ์เขียว 2 ส่วน : ปุ๋ยเคมี 1 ส่วน ใส่ตามช่วงที่แนะนำในอัตราครั้งละ 1-1.5 กิโลกรัมต่อต้น(มากน้อยตามขนาดทรงพุ่มและปริมาณผลผลิตบนต้น)
การป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช
มีช่วงที่สำคัญควรดูแลเฝ้าระวังเป็นพิเศษในแต่ละช่วงดังนี้
1. ช่วงแตกใบอ่อน(ช่วงบำรุงต้นทำใช),แทงช่อดอก(ช่วงกระตุ้นดอก ให้ระวัง เพลี้ยไฟ,ไรแดง เข้าทำลายเมื่อเริ่มแทงยอด สังเกตโดยเอากระดาษขาวมารองและเคาะที่ช่อใบ หากพบตั้งแต่ 2 ตัวต่อช่อ ให้ใช้ ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช(ปลอดสารพิษ) เมทา-แม็ก อัตรา 50-100 กรัม ฉีดพ่น ทุก ๆ 5 วัน หรือใช้สารเคมี จำพวก อิมิดาโคลพริด,ฟิโปรนิล,ไซเปอร์เมธริน,ฯลฯ
2. ช่วงแตกใบอ่อน(ตลอดทั้งปี)ระมัดระวังหนอนประกบใบ,หนอนกัดกินใบต่าง ๆ ซึ่งจะสังเกตเห็นไข่ได้ตั้งแต่ช่วงแตกใบอ่อน หากพบให้ใช้ชีวภัณฑ์กำจัดหนอน(ปลอดสารพิษ) บาร์ท๊อป อัตรา 50-100 กรัม(กำจัดหนอน,แมลง) + พี-แม็ก อัตรา 50 กรัม(กำจัดไข่แมลง) ฉีดพ่น ทุก ๆ 5 วัน หรือใช้สารเคมี จำพวก อิมิดาโคลพริด,คาร์โบซัลแฟน,ไซเปอร์เมธริน,อะบาเม็คติน,ฯลฯ
3. สำหรับส้มโอ(ส่งออก) ช่วงติดลูก ให้ระมัดระวังเพลี้ยไฟ,ไรแดง จะทำลายเปลือกส้มโอ ทำให้เป็นรอย,ด่างเป็นแนวหรือแถบ และหนอนเจาะผล,แมลงวันทอง ให้หมั่นควบคุมด้วยสารกำจัดตามที่แนะนำในข้างต้น
4. ช่วงฤดูฝน ระมัดระวังโรครากเน่า โคนเน่า ป้องกันโดยก่อนปลูกควรทำโขดหรือโคก ยกพื้นดินขึ้นมาประมาณ 50 เซนติเมตรเพื่อให้ระบายน้ำได้สะดวก และให้ใช้ ชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดโรค ไตรโคแม็ก อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นผิวดินรอบทรงพุ่มและโคนต้น ปีละ 2 ครั้ง ในช่วงต้นฝนและปลายฝน
5. หมั่นควบคุมและกำจัดแมลงพาหะเพลี้ยไก่แจ้ ไม่ให้มีการระบาด เพราะจะทำให้ ต้นส้มโอ เป็นโรคกรีนนิ่งได้
6. การตัดแต่งกิ่งหลังการเก็บเกี่ยวและการดูแลควบคุมวัชพืช ที่ดี จะช่วยลดการระบาดของแมลงศัตรูพืชและโรคเชื้อรา ทำให้ต้นทุนลดลงได้ส่วนหนึ่ง
ข้อเปรียบเทียบหลังจากใช้ผลิตภัณฑ์ภควัตเพื่อนเกษตร ตามคำแนะนำเป็นประจำ
1. ส้มโอจะบังคับดอกง่าย ขั้วดอก,ผล เหนียว ต้นไม่โทรมแม้แบกผลผลิตมาก อายุการให้ผลผลิตจะมากกว่าแปลงที่ไม่ได้ใช้อย่างเห็นได้ชัด เมื่อใช้ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรไล่แมลง)เป็นประจำ (3-4 ครั้ง ขึ้นไป) จะสังเกตได้ว่าแมลงศัตรูพืชที่เข้ามารบกวนลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะจำพวกผีเสื้อกลางคืนซึ่งเป็นตัวแม่ของหนอนชนิดต่าง ๆ รวมถึงแมลงวันทอง และด้วงกัดกินใบ ทำให้ประหยัดต้นทุนยากำจัดศัตรูพืช และลดความเสียหายได้ดีกว่า (ในพื้นที่ที่มีการระบาดมาก หากใช้ไบโอเฟอร์ทิล ฉีดร่วมกับยากำจัดศัตรูพืช ก็จะทำให้สามารถคุมและป้องกันการเข้าทำลาย ได้นานขึ้น)
2. ใบ พืชเงาเป็นมัน อายุใบนานขึ้นทำให้ต้นไม่สูญเสียอาหารในการสร้างใบใหม่ (ไบโอเฟอร์ทิล เป็นสารธรรมชาติ ไม่กัดผิวใบทำให้ใบด้านเหมือนการใช้เคมีอย่างเดียว)
3. ผิวส้มโอเนียนเป็นมันกว่าแปลงที่ไม่ได้ใช้ เป็นที่ต้องการของผู้ซื้อ
4. เมื่อใช้ผลิตภัณฑ์ตามคำแนะนำ เนื้อผลมีรสชาติหวานเข้มข้นดีกว่าแปลงที่ใช้เคมีอย่างเดียว
5. สุขภาพผู้ปลูกดีขึ้น เนื่องจาก สัมผัสหรือจับต้องสารเคมีน้อยลง
6. การใช้ ปุ๋ยอินทรีย์ “ยักษ์เขียว” ร่วมด้วยเป็นประจำ จะทำให้ต้นทุนปุ๋ยและสารทางดินต่อชุดการผลิต ลดลงได้ประมาณ 30-50 % โดยที่ผลผลิตที่ได้ยังเป็นปกติหรือดีกว่าเดิม และสังเกตได้ว่าสารอินทรีย์ในเนื้อปุ๋ยทำให้สภาพดินดีขึ้น ดินโปร่ง อุ้มน้ำได้ดี ต้นทนแล้งได้ดีขึ้น และพืชตอบสนองต่อการให้ปุ๋ยทางดินดีกว่าเดิม ในระยะยาวปัญหาเรื่องโรคทางดินน้อยกว่าแปลงข้างเคียงที่ไม่ได้ใช้ ผลในทางอ้อม เนื่อง จาก ยักษ์เขียว เป็นสารอินทรีย์แท้ จึงกระตุ้นจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ให้ย่อยปุ๋ย(เคมี)ที่ตกค้างในดินทำให้ รากพืชสามารถดูดซึมกลับไปใช้ได้ ธาตุอาหารในดินจะสมดุลมากกว่า
7. ปัญหาการดื้อยาของแมลงศัตรูพืชจะหมดไป เมื่อใช้ เมทา-แม็ก และ พี-แม็ก ฉีดพ่นเพื่อตัดวงจรเจริญพันธุ์ของแมลงศัตรูพืชเป็นประจำ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น