วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

สารกำจัดวัชพืช(ยาฆ่าหญ้า) ตอนที่ 4

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ นำ ชื่อสารเคมี(ชื่อสามัญ) ชนิดต่างๆ  มาเผยแพร่ให้เกษตรกร,ผู้สนใจ,ฯลฯ ได้รู้ถึงประโยชน์, อันตราย, และความเป็นพิษเพื่อจะได้เลือกใช้สารเคมีอย่างระมัดระวัง(ในกรณีที่จำเป็น) มิได้ต้องการส่งเสริมให้เกษตรกรหรือผู้อ่านใช้สารเคมีเพิ่มขึ้น เพียงแต่หากจำเป็นต้องใช้สารเคมี  ก็ควรใช้อย่างรู้คุณและโทษของมันอย่างถูกต้อง และได้ประโยชน์ คุ้มค่ากับเงินลงทุนที่เสียไปทุกบาททุกสตางค์ และไม่ทำให้ผู้บริโภครวมถึงตัวเกษตรกรและผู้ใช้เองต้องตกเป็นเหยื่อของพิษ ภัยจากการใช้สารเคมีโดยมิได้รู้แจ้ง ซึ่ง ทางผู้โพสหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรและบุคคลทั่วไปไม่มากก็น้อย  สำหรับท่านที่มีเพื่อน,มิตร,ญาติสนิท,ฯลฯ ที่ทำเกษตร หรือเกี่ยวข้องทางด้านนี้อยู่ ก็รบกวนช่วยนำไปเผยแพร่นะครับ ผมเองได้ข้อมูลมาตั้งแต่สมัยที่ยังทำการเกษตรอยู่ จาก หนังสือ "สารกำจัดศัตรูพืชในประเทศไทย"  เป็นหนังสือที่หาค่อนข้างยาก ปัจจุบันไม่ทราบว่ามีตีพิมพ์อีกหรือไม่ แต่ข้อมูลก็ยังสามารถใช้ได้ดีอยู่ จึงอยากนำมาเผยแพร่ให้คนรักต้นไม้,เกษตรกร,หรือคนที่เกี่ยวข้องได้ทราบกัน
 (นายยักษ์เขียว)



เบ็นซัลฟูรอน  เม็ทธิล
(bensulfuron  methyl)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดวัชพืช  urea , sulphonyl  urea : pyrimidine  ประเภท เจาะจงวัชพืช  ออกฤทธิ์ในทางดูดซึม  และเข้าไปยับยั้งการแบ่งเซลล์และการเจริญเติบโตของวัชพืช  กำจัดวัชพืชได้ทั้งก่อนงอกและในระยะเริ่มงอก
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  มากกว่า  10,985  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (กระต่าย)  มากกว่า  2,000  มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้         กำจัดวัชพืชใบกว้างประเภทล้มลุกในนาข้าวได้อย่างกว้างขวาง  รวมทั้งหญ้าทรงกระเทียมด้วย
พืชที่ใช้                   ใช้กำจัดวัชพืชในนาข้าว
สูตรผสม                  10ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้        ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก
อาการเกิดพิษ            ทำให้ดวงตาเกิดอาการระคายเคือง
การ แก้พิษ                ถ้าเข้าตาให้ล้างตาทันทีด้วยน้ำจำนวนมาก ๆ  นานอย่างน้อย  15  นาที  แล้วไปหาแพทย์  ถ้ากินเข้าไป  ต้องทำให้คนไข้อาเจียนทันทีด้วยการให้คนไข้ดื่มน้ำ  2  แก้วแล้วล้วงคอด้วยนิ้ว  ถ้าคนไข้หมดสติ  อย่าให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดแก่คนไข้  แล้วไปหาแพทย์  รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้                    - ห้ามใช้ผสมกับสารกำจัดวัชพืชอย่างอื่น

เบ็นซูไลด์
(bensulide)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดวัชพืช  organophosphorous  ประเภทเจาะจงพืช  ใช้กำจัดวัชพืชก่อนงอก  หรือคุมวัชพืช
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  770  มก./กก.  (หนู)  ทางผิวหนัง  3,950  มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้         วัชพืชพวกหญ้าล้มลุกต่าง ๆ  และวัชพืชใบกว้าง
พืช ที่ใช้                   ใช้กำจัดวัชพืชในไร่ฝ้าย  ในสวนผัก  เช่น  กะหล่ำปลี  แครอท  กะหล่ำดอก  หอม  ผักกาดหอม  แตงกวา  พริกไทย  มะเขือเทศและข้าว
สูตรผสม                  50อีซี  และ  48%  อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้        ใช้อัตราและวิธีตามคำแนะนำบนฉลาก
การแก้พิษ               
ใช้ยาอะโทรปิน  โดยอาจใช้ร่วมกับ  PAM  และ  Toxogonin 
ข้อควรรู้                    - เป็นซูไลด์  มีฤทธิ์ตกค้างยาวนาน  อาจเป็นอันตรายต่อพืชที่ปลูกตามหลังพืชเดิมได้
                             - ห้ามใช้กับพืชที่ไม่ได้แนะนำบนฉลาก  อย่างน้อยเป็นเวลา  18  เดือนภายหลังใช้
                             - ให้ผลในการควบคุมวัชพืชได้ประมาณ  6-8  เดือน

เบ็นตาโซน
(bentazone)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดวัชพืช  benzothiadiazole  ประเภทเจาะจงวัชพืช  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัส  และแทรกซึมเข้าไปในต้นพืชได้โดยผ่านส่วนที่มีสีเขียว  ใช้กำจัดวัชพืชภายหลังงอก
ความ เป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  1,100  มก./กก.  ทางผิวหนัง  มากกว่า  2,500  มก./กก.  อาจทำให้ดวงตาและผิวหนังระคายเคือง
วัชพืชที่กำจัดได้         วัชพืชใบกว้างประเภทล้มลุก
พืชที่ใช้                   ใช้กำจัดวัชพืชในไร่ถั่วเหลือง  ข้าว  ข้าวโพด  ถั่วลิสง  ถั่วลันเตา  และมันฝรั่ง
สูตรผสม                  48อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้        ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก  ผสมกับน้ำฉีดพ่นที่วัชพืชภายหลังงอกแล้ว  ในช่วงระยะที่มีใบ  2-10  ใบ
การแก้พิษ                ยาแก้พิษโดยเฉพาะยังไม่รู้  รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้                    - ประสิทธิภาพจะลดลงถ้ามีฝนตกภายหลังฉีดพ่นแล้ว  8  ชั่วโมง
                             - เมื่อใช้กับข้าว  ให้ใช้เมื่อวัชพืชงอกโผล่พ้นระดับน้ำแล้วเท่านั้น
                             - ห้ามใช้กับถั่วเหลืองที่กำลังเจริญเติบโตในสภาพที่มีน้ำท่วมขัง  ทั้งนี้  อาจทำให้ถั่วเหลืองเป็นอันตรายได้
                             - อากาศยิ่งร้อนมากขึ้นเท่าใด  ประสิทธิภาพของสารกำจัดวัชพืชนี้ก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น
                             - ผลในการกำจัดวัชพืชจะปรากฏให้เห็นภายหลังจากใช้แล้ว  2-7  วัน

โปรมาซิล
(bromacil)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดวัชพืช  uracil  ประเภท เจาะจงในการกำจัดวัชพืชพวกหญ้าล้มลุกและวัชพืชยืนต้นอื่น ๆ  ทั้งก่อนงอกและภายหลังงอก  สามารถดูดซึมเข้าทางรากพืชได้อย่างรวดเร็ว  ผ่านทางใบได้เล็กน้อยและเป็น  Photosynthesis  inhibitor 
ความ เป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  5,200  มก./กก.  ทางผิวหนัง  มากกว่า  5,000  มก./กก.  อาจทำให้ผิวหนังระคายเคือง
วัชพืช ที่กำจัดได้         หญ้าแพรก  หญ้าข้าวนก  กก  หญ้าตีนกา  หญ้าตีนนก  หญ้าปากควาย  หญ้ารังนก  หญ้าหางหมา  หญ้าพง  หญ้าชันอากาศ  หญ้าขน  สาบเสือ  ผักโขม  ผักเบี้ยใหญ่  แห้วหมู  รวมทั้งวัชพืชใบแคบอื่น ๆ  และวัชพืชใบกว้างทั้งชนิดล้มลุกและยืนต้น
พืชที่ใช้                   ส้มเขียวหวาน  มะนาว  ไร่สัปปะรดและพื้นที่ไม่ได้ทำการเกษตร
สูตรผสม                  80ดับบลิวพี
อัตรา ใช้และวิธีใช้        ใช้อัตรา  360-720  กรัม  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ฉีดพ่นที่ต้นและใบวัชพืชที่กำลังอยู่ในระยะเจริญเติบโต  หรือที่พื้นดินทันทีที่ปลูกสัปปะรดเสร็จและก่อนที่จะแตกยอด
การแก้พิษ                ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้                    - ห้ามปลูกพืชอื่นบนพื้นที่ที่เคยใช้โปรมาซิลมาแล้วอย่างน้อย  2  ปี
                             - น้ำฝนจะช่วยให้รากวัชพืชดูดโปรมาซิลเข้าไปในลำต้นได้เร็วขึ้น
                             - ในระหว่างฉีดพ่น  ควรเขย่าถังฉีดพ่นอย่างสม่ำเสมอ
                             - ให้ใช้กับส้มที่มีอายุอย่างน้อย  4  ปี  ขึ้นไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น