วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สารกำจัดวัชพืช(ยาฆ่าหญ้า) ตอนที่ 12

บท ความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำ ชื่อสารเคมี(ชื่อสามัญ) ชนิดต่างๆ  มาเผยแพร่ให้เกษตรกร,ผู้สนใจ,ฯลฯ ได้รู้ถึงประโยชน์, อันตราย, และความเป็นพิษเพื่อจะได้เลือกใช้สารเคมีอย่างระมัดระวัง(ในกรณีที่จำเป็น) มิได้ต้องการส่งเสริมให้เกษตรกรหรือผู้อ่านใช้สารเคมีเพิ่มขึ้น เพียงแต่หากจำเป็นต้องใช้สารเคมี  ก็ควรใช้อย่างรู้คุณและโทษของมันอย่างถูกต้อง และได้ประโยชน์ คุ้มค่ากับเงินลงทุนที่เสียไปทุกบาททุกสตางค์ และไม่ทำให้ผู้บริโภครวมถึงตัวเกษตรกรและผู้ใช้เองต้องตกเป็นเหยื่อของพิษ ภัยจากการใช้สารเคมีโดยมิได้รู้แจ้ง ซึ่ง ทางผู้โพสหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรและบุคคลทั่วไปไม่มากก็น้อย  สำหรับท่านที่มีเพื่อน,มิตร,ญาติสนิท,ฯลฯ ที่ทำเกษตร หรือเกี่ยวข้องทางด้านนี้อยู่ ก็รบกวนช่วยนำไปเผยแพร่นะครับ ผมเองได้ข้อมูลมาตั้งแต่สมัยที่ยังทำการเกษตรอยู่ จาก หนังสือ "สารกำจัดศัตรูพืชในประเทศไทย"  เป็นหนังสือที่หาค่อนข้างยาก ปัจจุบันไม่ทราบว่ามีตีพิมพ์อีกหรือไม่ แต่ข้อมูลก็ยังสามารถใช้ได้ดีอยู่ จึงอยากนำมาเผยแพร่ให้คนรักต้นไม้,เกษตรกร,หรือคนที่เกี่ยวข้องได้ทราบกัน
 (นายยักษ์เขียว)


ฟลูโรซี่เพอร์
(fluroxypyr)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดวัชพืช  pyridine
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  มากกว่า  5,000  มก./กก.  ทางผิวหนัง  มากกว่า  5,000  มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้         วัชพืชใบกว้างและวัชพืชยืนต้นที่มีรากหยั่งลึก
พืชที่ใช้                   ใช้กำจัดวัชพืชในนาข้าว  ในสวนผลไม้  องุ่นและทุ่งหญ้าและเลี้ยงสัตว์
สูตรผสม                  20อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้        ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก
การแก้พิษ                ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  รักษาตามอาการ

ฟอร์มีซาเฟน
(formesafen)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดวัชพืช  nitro  compound : bridged  diphenyl , trifluoromethyl  กำจัดวัชพืชแบบภายหลังงอก
ความเป็นพิษ            
มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  1,250  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (กระต่าย)  มากกว่า  1,000  มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้         หญ้าตีนตุ๊กแก  หญ้าลิ้นงู  กกทราย  ปอป่าน  สาบแร้งสาบกา  กะเม็ง  บัวบก  หญ้าขาวนก  หญ้านกสีชมพู  ผักโขมหนาม  ผักโขมทราย  ผักโขมหินและผักโขมอื่น ๆ
พืชที่ใช้                   ถั่วเหลือง  กระเทียม
สูตรผสม                  25เอสซี
อัตราใช้และวิธีใช้        โดยทั่วไปใช้อัตรา  240  ซีซี  ผสมน้ำแล้วฉีดพ่นให้ทั่วพื้นที่  1  ไร่  หรือจะใช้อัตรา  60  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ฉีดพ่นก็ได้  ควรใช้ในระยะที่วัชพืชมีความสูง  1-3  นิ้ว
การแก้พิษ                ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ  ถ้าเข้าปาก  ห้ามทำให้คนไข้อาเจียน  ให้รีบนำส่งแพทย์  ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้                    - กำจัดวัชพืชพวกหญ้าไม่ได้

โฟซามีน-แอมโมเนียม
(fosamine-ammonium)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดวัชพืช  carbamate  กำจัดวัชพืชแบบภายหลังงอกและควบคุมการเจริญเติบโตของวัชพืช  โดยซึมผ่านทางใบไปสู่ลำต้น  ไม่เคลื่อนย้ายและออกฤทธิ์เฉพาะจุดที่ถูกฉีดพ่น
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  24,200  มก./กก.  (41.5%)  ทางผิวหนัง  มากกว่า  1,683  มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้         วัชพืชที่เป็นต้นไม้ทรงพุ่ม  เช่น  ไมยราบยักษ์
พืชที่ใช้                   ใช้กำจัดวัชพืชในพื้นที่ที่ไม่มีการเพาะปลูก  ตามทุ่งเลี้ยงสัตว์  ตามไหล่ถนน  ทางรถไฟ  ริมคลองชลประทาน
สูตรผสม                  48เอสแอล
อัตราใช้และวิธีใช้        ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก  ผสมน้ำแล้วฉีดพ่นที่ใบและต้นวัชพืช  พืชจะหยุดการเจริญเติบโตและตายในที่สุด
การแก้พิษ                ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้                    - ห้ามใช้กับพืชที่เป็นอาหาร
                             - ถ้ามีฝนตกภายใน  24  ชั่วโมงหลังจากใช้  ประสิทธิภาพจะลดลง
                             - ปลอดภัยต่อปลาและสัตว์ป่า
                             - ไม่ได้ผลเมื่อใช้ฉีดพ่นที่ดิน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น