วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สารกำจัดวัชพืช(ยาฆ่าหญ้า) ตอนที่ 13

บท ความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำ ชื่อสารเคมี(ชื่อสามัญ) ชนิดต่างๆ  มาเผยแพร่ให้เกษตรกร,ผู้สนใจ,ฯลฯ ได้รู้ถึงประโยชน์, อันตราย, และความเป็นพิษเพื่อจะได้เลือกใช้สารเคมีอย่างระมัดระวัง(ในกรณีที่จำเป็น) มิได้ต้องการส่งเสริมให้เกษตรกรหรือผู้อ่านใช้สารเคมีเพิ่มขึ้น เพียงแต่หากจำเป็นต้องใช้สารเคมี  ก็ควรใช้อย่างรู้คุณและโทษของมันอย่างถูกต้อง และได้ประโยชน์ คุ้มค่ากับเงินลงทุนที่เสียไปทุกบาททุกสตางค์ และไม่ทำให้ผู้บริโภครวมถึงตัวเกษตรกรและผู้ใช้เองต้องตกเป็นเหยื่อของพิษ ภัยจากการใช้สารเคมีโดยมิได้รู้แจ้ง ซึ่ง ทางผู้โพสหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรและบุคคลทั่วไปไม่มากก็น้อย  สำหรับท่านที่มีเพื่อน,มิตร,ญาติสนิท,ฯลฯ ที่ทำเกษตร หรือเกี่ยวข้องทางด้านนี้อยู่ ก็รบกวนช่วยนำไปเผยแพร่นะครับ ผมเองได้ข้อมูลมาตั้งแต่สมัยที่ยังทำการเกษตรอยู่ จาก หนังสือ "สารกำจัดศัตรูพืชในประเทศไทย"  เป็นหนังสือที่หาค่อนข้างยาก ปัจจุบันไม่ทราบว่ามีตีพิมพ์อีกหรือไม่ แต่ข้อมูลก็ยังสามารถใช้ได้ดีอยู่ จึงอยากนำมาเผยแพร่ให้คนรักต้นไม้,เกษตรกร,หรือคนที่เกี่ยวข้องได้ทราบกัน
 (นายยักษ์เขียว)



กลูโฟซิเนท - แอมโมเนียม
(glufosinate - ammonium)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดวัชพืช  organophosphorous  ประเภทไม่เจาะจงพืช  กำจัดวัชพืชแบบภายหลังงอกโดยทางสัมผัสและมีฤทธิ์ในทางดูดซึม
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  1,625  มก./กก.  ทางผิวหนัง  มากกว่า  2,000  มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้         วัชพืชล้มลุกและยืนต้นทั่วไป  รวมทั้งวัชพืชตระกูลหญ้า
พืชที่ใช้                   สวนผลไม้  สวนองุ่น  สวนผัก  สวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน
สูตรผสม                  18และ  20เอสแอล
อัตราใช้และวิธีใช้        ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก  โดยฉีดพ่นที่ใบและส่วนที่กำลังเจริญเติบโตโดยตรง
การแก้พิษ                ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้                    - อย่าใช้  ถ้าคาดว่าจะมีฝนตกภายใน  6  ชั่วโมง
                             - ในสภาพที่มีอากาศร้อน  กลูโฟซิเนทจะออกฤทธิ์ได้มากกว่า
                             - ในการกำจัดวัชพืชใบกว้าง  ควรใช้ในระยะเริ่มเจริญเติบโต  สำหรับหญ้า  ควรใช้กำจัดในระยะเริ่มแตกหน่อ
                             - ไม่มีพิษต่อปลา
                             - วัชพืชจะแสดงอาการตายภายใน  2-5  วัน
                             - กำจัดวัชพืชใบกว้างได้ดีกว่าใบแคบ
                             - ออกฤทธิ์ได้รวดเร็วกว่า  ไกลโฟเสท  แต่ช้ากว่า  พาราคว๊อท

ไกลโฟเสท
(glyphosate)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดวัชพืช  organophosphorous  ประเภทไม่เจาะจงพืช  กำจัดวัชพืชแบบภายหลังงอก  ออกฤทธิ์โดยทางดูดซึมและเคลื่อนย้ายในต้นพืช
ความเป็นพิษ            
มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  4,320  มก./กก.  ทางผิวหนัง  มากกว่า  5,000  มก./กก.  อาจทำให้ดวงตาและผิวหนังระคายเคือง
วัชพืช ที่กำจัดได้         หญ้าคา  หญ้าแห้วหมู  หญ้าขน  หญ้าชันอากาศ  หญ้าตีนนก  หญ้าปากควาย  หญ้าปล้อง  หญ้าใบไผ่  หญ้าลูกเห็บ  สาปแร้งสาปกา  ผักตบชวา  ไมยราบยักษ์  วัชพืชใบกว้างอื่น ๆ  และใบแคบทั่วไปทั้งประเภทล้มลุกและยืนต้น
พืชที่ใช้                   ยางพารา  ปาล์มน้ำมัน  สวนผลไม้  และพื้นที่ไม่ได้ทำการเกษตรทั่วไป
สูตรผสม                  10% , 15% , 16% , 41%  และ  48เอสแอล
อัตรา ใช้และวิธีใช้        ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก  ผสมกับน้ำสะอาดฉีดพ่นที่ใบพืชและต้นพืชโดยตรง  ศึกษารายละเอียดการใช้เพิ่มเติมจากฉลากก่อนใช้
อาการ เกิดพิษ            ถ้าถูกผิวหนังและดวงตา  อาจทำให้เกิดอาการระคายเคือง  ถ้ากินเข้าไปจำนวนมาก ๆ  จะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้  อาเจียน  ท้องเสีย
การ แก้พิษ                ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนังหรือดวงตา  ให้ล้างด้วยน้ำสะอาดจำนวนมาก ๆ  ถ้ากินเข้าไปควรล้างท้องคนไข้ตามวิธีทางการแพทย์  ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้                    - ภายหลังจากใช้  6  ชม.  ถ้ามีฝนตกลงมา  จะทำให้ประสิทธิภาพลดลง
                             - อย่าใช้น้ำสกปรกผสมฉีดพ่น  เพราะจะทำให้ไม่มีประสิทธิภาพ
                             - ผลการกำจัดวัชพืชจะน้อยลง  ถ้าใบพืชที่ฉีดพ่นนั้นปกคลุมด้วยฝุ่นละออง
                             - การเริ่มต้นออกฤทธิ์จะเป็นไปอย่างช้า ๆ  ภายหลังจากใช้  จะสังเกตเห็นได้หลังจากหลายวันผ่านไปแล้ว

ฮาโลซี่ฟอพ - เอ็ทธอกซี่เอ็ทธิล
(haloxyfop - ethoxyethyl)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดวัชพืช  pyridine : phenoxy : trifluoromethyl  ประเภทเจาะจงพืช  กำจัดวัชพืชได้ทั้งแบบก่อนงอกและภายหลังงอก  ดูดซึมผ่านทางใบและรากเข้าสู่ลำต้น
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  518-531  มก./กก.  ทางผิวหนัง  มากกว่า  5,000  มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้         วัชพืชตระกูลหญ้าทั้งประเภทล้มลุกและยืนต้น
พืชที่ใช้                   ใช้กำจัดวัชพืชในไร่ปลูกพืชทั่วไป
สูตรผสม                  12.5อีซี
การแก้พิษ                ยาแก้พิษโดยเฉพาะยังไม่เป็นที่ทราบกัน  รักษาตามอาการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น