วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สารกำจัดวัชพืช(ยาฆ่าหญ้า) ตอนที่ 15

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำ ชื่อสารเคมี(ชื่อสามัญ) ชนิดต่างๆ  มาเผยแพร่ให้เกษตรกร,ผู้สนใจ,ฯลฯ ได้รู้ถึงประโยชน์, อันตราย, และความเป็นพิษเพื่อจะได้เลือกใช้สารเคมีอย่างระมัดระวัง(ในกรณีที่จำเป็น) มิได้ต้องการส่งเสริมให้เกษตรกรหรือผู้อ่านใช้สารเคมีเพิ่มขึ้น เพียงแต่หากจำเป็นต้องใช้สารเคมี  ก็ควรใช้อย่างรู้คุณและโทษของมันอย่างถูกต้อง และได้ประโยชน์ คุ้มค่ากับเงินลงทุนที่เสียไปทุกบาททุกสตางค์ และไม่ทำให้ผู้บริโภครวมถึงตัวเกษตรกรและผู้ใช้เองต้องตกเป็นเหยื่อของพิษ ภัยจากการใช้สารเคมีโดยมิได้รู้แจ้ง ซึ่ง ทางผู้โพสหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรและบุคคลทั่วไปไม่มากก็น้อย  สำหรับท่านที่มีเพื่อน,มิตร,ญาติสนิท,ฯลฯ ที่ทำเกษตร หรือเกี่ยวข้องทางด้านนี้อยู่ ก็รบกวนช่วยนำไปเผยแพร่นะครับ ผมเองได้ข้อมูลมาตั้งแต่สมัยที่ยังทำการเกษตรอยู่ จาก หนังสือ "สารกำจัดศัตรูพืชในประเทศไทย"  เป็นหนังสือที่หาค่อนข้างยาก ปัจจุบันไม่ทราบว่ามีตีพิมพ์อีกหรือไม่ แต่ข้อมูลก็ยังสามารถใช้ได้ดีอยู่ จึงอยากนำมาเผยแพร่ให้คนรักต้นไม้,เกษตรกร,หรือคนที่เกี่ยวข้องได้ทราบกัน
 (นายยักษ์เขียว)



ไออ๊อกซีนิล
(ioxynil)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดวัชพืช  nitrile  ประเภทเจาะจงพืช  กำจัดวัชพืชแบบภายหลังงอก  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและดูดซึมได้ทางใบ
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  110  มก./กก.  ทางผิวหนัง  มากกว่า  2,000  มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้         วัชพืชใบกว้างประเภทล้มลุก  โดยกำจัดในระยะเริ่มงอก
พืชที่ใช้                   กำจัดวัชพืชในนาข้าว  ในไร่ข้าวโพด  ข้าวฟ่างและธัญพืชอื่น ๆ
การแก้พิษ                ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  รักษาตามอาการ

ไอโซโปรทูรอน
(isoproturon)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดวัชพืช  urea  ประเภทเจาะจงพืช  กำจัดวัชพืชได้ทั้งแบบก่อนงอกและภายหลังงอก  ออกฤทธิ์โดยการดูดซึมผ่านทางใบและราก
ความเป็นพิษ            
มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  1,800  มก./กก.  ทางผิวหนัง  มากกว่า  2,000  มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้         วัชพืชใบแคบพวกหญ้าล้มลุกและวัชพืชใบกว้างล้มลุกบางชนิด
พืชที่ใช้                   กำจัดวัชพืชในไร่ปลูกธัญพืช  เช่น  ข้าวสาลี  ข้าวบาเลย์  ข้าวไรย์  รวมทั้งอ้อยและถั่วลิสง
สูตรผสม                  50ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้        ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก 
การแก้พิษ                ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ

แล็คโตเฟน
(lactofen)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดวัชพืช  diphenyl  ประเภทเจาะจงพืช  กำจัดวัชพืชใบกว้างแบบภายหลังงอกและก่อนงอกได้เล็กน้อย
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  2,533  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (กระต่าย)  มากกว่า  2,000  มก./กก.  อาจทำให้ดวงตาและผิวหนังระคายเคือง
วัชพืชที่กำจัดได้         ผักเสี้ยนผี  ผักเบี้ยหิน  โทงเทง  กะเมง  ปอวัชพืช  ฝักยาว  และวัชพืชใบกว้างทั่วไป
พืชที่ใช้                   ถั่วลิสง  ถั่วเหลือง  ถั่วเขียว  ข้าว  ข้าวโพด  ฝ้าย  มันฝรั่ง
สูตรผสม                  24อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้        ใช้อัตรา  60-80  ลบ.ซม.ต่อไร่  หรือ  15-20  ลบ.ซม.ต่อน้ำ  20  ลิตร  ฉีดพ่นที่ต้นวัชพืช
การแก้พิษ                ถ้าเกิดพิษที่ผิวหนังให้ล้างน้ำกับสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างด้วยน้ำนาน  15  นาที  หากกลืนกินเข้าไปและยังมีสติอยู่  ให้ผู้ป่วยดื่มนมหรือไข่ขาวหรือน้ำจำนวนมาก ๆ  ห้ามทำให้อาเจียน  และห้ามให้อาหารหรือเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ผสม  นำผู้ป่วยส่งแพทย์ต่อไป

ลีนาซิล
(lenacil)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดวัชพืช  uracil  ประเภทเจาะจงพืช  กำจัดวัชพืชแบบก่อนปลูกหรือก่อนงอก
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  11,000  มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้         กำจัดวัชพืชใบกว้าง
พืชที่ใช้                   ธัญพืช  สตรอเบอร์รี่และไม้ประดับ
สูตรผสม                  80ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้        ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก  ถ้าต้องการกำจัดวัชพืชแบบก่อนงอกหรือคุมวัชพืช  ให้ฉีดพ่นหน้าดินทันทีภายหลังจากปลูกเสร็จ  ถ้าใช้แบบก่อนปลูกให้ใช้คลุกกับดินลึกจากหน้าดิน  2  นิ้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น