วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สารกำจัดวัชพืช(ยาฆ่าหญ้า) ตอนที่ 21

บท ความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำ ชื่อสารเคมี(ชื่อสามัญ) ชนิดต่างๆ  มาเผยแพร่ให้เกษตรกร,ผู้สนใจ,ฯลฯ ได้รู้ถึงประโยชน์, อันตราย, และความเป็นพิษเพื่อจะได้เลือกใช้สารเคมีอย่างระมัดระวัง(ในกรณีที่จำเป็น) มิได้ต้องการส่งเสริมให้เกษตรกรหรือผู้อ่านใช้สารเคมีเพิ่มขึ้น เพียงแต่หากจำเป็นต้องใช้สารเคมี  ก็ควรใช้อย่างรู้คุณและโทษของมันอย่างถูกต้อง และได้ประโยชน์ คุ้มค่ากับเงินลงทุนที่เสียไปทุกบาททุกสตางค์ และไม่ทำให้ผู้บริโภครวมถึงตัวเกษตรกรและผู้ใช้เองต้องตกเป็นเหยื่อของพิษ ภัยจากการใช้สารเคมีโดยมิได้รู้แจ้ง ซึ่ง ทางผู้โพสหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรและบุคคลทั่วไปไม่มากก็น้อย  สำหรับท่านที่มีเพื่อน,มิตร,ญาติสนิท,ฯลฯ ที่ทำเกษตร หรือเกี่ยวข้องทางด้านนี้อยู่ ก็รบกวนช่วยนำไปเผยแพร่นะครับ ผมเองได้ข้อมูลมาตั้งแต่สมัยที่ยังทำการเกษตรอยู่ จาก หนังสือ "สารกำจัดศัตรูพืชในประเทศไทย"  เป็นหนังสือที่หาค่อนข้างยาก ปัจจุบันไม่ทราบว่ามีตีพิมพ์อีกหรือไม่ แต่ข้อมูลก็ยังสามารถใช้ได้ดีอยู่ จึงอยากนำมาเผยแพร่ให้คนรักต้นไม้,เกษตรกร,หรือคนที่เกี่ยวข้องได้ทราบกัน
 (นายยักษ์เขียว)


เซ็ทท๊อกซี่ดิม
(sethoxydim)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดวัชพืช  cyclohexene  ประเภทเจาะจงพืช  กำจัดวัชพืชแบบภายหลังงอก  ออกฤทธิ์ในทางดูดซึมโดยผ่านทางใบ
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  3,500  มก./กก.  ทางผิวหนัง  มากกว่า  5,000  มก./กก. ทำให้ดวงตาและผิวหนังระคายเคือง
วัชพืชที่กำจัดได้         วัชพืชใบแคบล้มลุกและยืนต้น
พืชที่ใช้                   ถั่วเหลือง  ฝ้าย  ถั่วเขียว  ถั่วลิสง  ยาสูบ  มะเขือเทศ  มันฝรั่ง  แตงกวา  ฟักทอง  หอม  กระเทียม  แอสพารากัส  ผักต่าง ๆ  และพืชใบกว้างอื่น ๆ
สูตรผสม                  12.5อีซี  และ  20อีซี
อัตราใช้และวิธีใช้        ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก  ฉีดพ่นกำจัดวัชพืชภายหลังงอก
การแก้พิษ                ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้                    - ไม่กำจัดวัชพืชใบกว้าง  กกและหญ้าทรงกระเทียม
                             - อย่าใช้  ถ้าคาดว่าจะมีฝนตกภายใน  1  ชั่วโมง
                             - มีความคงตัวในดินสั้นมาก
                             - อาจผสมใช้ร่วมกับบาซาเกรนได้

ซิมาซีน
(simazine)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดวัชพืช  triazine  ประเภทเจาะจงพืช  กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอก  ออกฤทธิ์ในทางดูดซึม
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  มากกว่า  5,000  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (กระต่าย)  มากกว่า  3,100  มก./กก.  อาจทำให้ดวงตาและผิวหนังระคายเคืองเล็กน้อย
วัชพืชที่กำจัดได้         วัชพืชใบแคบหรือหญ้าล้มลุกเกือบทุกชนิด  และวัชพืชใบกว้างบางอย่าง
พืชที่ใช้                   แอสพารากัส  กล้วย  สตรอเบอร์รี่  ส้ม  ข้าวโพด  องุ่น  สัปปะรด  อ้อย
สูตรผสม                  50และ  80ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้        ใช้ตามคำแนะนำบนฉลาก  โดยใข้กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอก
การแก้พิษ                ไม่มียาแก้พิษโดยเฉพาะ  รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้                    - เมื่อจะใช้กำจัดวัชพืชในสวนองุ่น  องุ่นจะต้องมีอายุไม่น้อยกว่า  3  ปี
                             - พืชที่อ่อนแอต่อสารนี้  คือ  มะเขือเทศ  ยาสูบ  ผักโขม  พืชตระกูลแตง  หอม  แครอท  ข้าว  ถั่วเหลืองและผักกาดหอม
                             - มีฤทธิ์ตกค้างนานจึงห้ามปลูกพืชอื่นที่มิได้แนะนำในพื้นที่ที่ใช้สารนี้ในฤดูเดียวกัน
                             - ไม่ได้ป้องกันการงอกแต่จะทำลายต้นกล้าภายหลังจากเข้าไปในรากแล้ว
                             - ฝนจะช่วยเร่งให้สารนี้ออกฤทธิ์ได้เร็วและได้ผลมากขึ้น

โซเดียม  อาร์ซีไนท์
(sodium  arsenite)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดวัชพืช  inorganic  ประเภทไม่เจาะจงพืช  ดูดซึมเข้าไปในต้นได้  โดยผ่านทางรากและใบ  เข้าไปทำลายการงอกของเมล็ดและยับยั้งการเจริญเติบโตของพืช
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  1,200  มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้         พืชทุกชนิด
พืชที่ใช้                   กำจัดวัชพืชในสวนยางพาราและตามพื้นที่ที่ไม่มีการเพาะปลูก
สูตรผสม                  99ผง
ข้อควรรู้                    ปัจจุบันทางราชการไม่อนุญาตให้นำเข้ามาจำหน่ายในประเทศ

เทอร์บาซิล
(terbacil)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดวัชพืช  uracil  ประเภทเจาะจงพืช  กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอก
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  5,000  มก./กก.
วัชพืชที่กำจัดได้         วัชพืชใบแคบพวกหญ้าล้มลุกส่วนมากและวัชพืชใบกว้างบางชนิด
พืชที่ใช้                   แอสพารากัส  สตรอเบอร์รี่  อ้อยและส้ม
สูตรผสม                  80%  ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้        ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก  โดยใช้กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอก  หรือในช่วงระหว่าง  ระยะที่วัชพืชกำลังจะงอกเป็นต้นกล้า
ข้อควรรู้                    - ห้ามใช้กับดินทรายหรือดินที่มีอินทรีย์วัตถุต่ำกว่า  1%
                             - ห้ามปลูกพืชที่มิได้แนะนำในพื้นที่ที่ใช้สารนี้แล้วอย่างน้อย  2  ปี

เทอร์บูทริน
(terbutryn)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดวัชพืช  triazine  ประเภทเจาะจงพืช  กำจัดวัชพืชแบบก่อนงอก  และภายหลังงอกกับพืชบางชนิด
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  2,500  มก./กก.  อาจทำให้ดวงตาและผิวหนังระคายเคืองเล็กน้อย
วัชพืชที่กำจัดได้         วัชพืชใบกว้างประเภทล้มลุก
พืชที่ใช้                   ข้าวสาลี  ข้าวบาเลย์  ข้าวโอ๊ต  ธัญพืช  อ้อย  มันฝรั่ง  ทานตะวัน  ข้าวโพด  และกำจัดวัชพืชตามพื้นที่ที่ไม่ได้ทำการเพาะปลูก
สูตรผสม                  50และ  80ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้        ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก  โดยการฉีดพ่นทับหน้าดินภายหลังจากปลูกพืชแล้วไม่ว่าจะหลังหรือก่อนเมล็ดงอกก็ได้  สำหรับการใช้กำจัดวัชพืชแบบภายหลังงอกถ้าเป็นข้าวสาลี  ให้ใช้ในระยะที่มีใบแล้ว  3  ใบ  หรือมีหน่อ  1-2  หน่อ  และวัชพืชไม่ควรสูงเกิน  4  นิ้ว
ข้อควรรู้                    - เป็นพิษต่อปลา
                             - อย่าใช้กับข้าวฟ่างที่งอกแล้ว
                             - ดูดซึมได้ทั้งทางใบและทางราก
                             - ผสมใช้ร่วมกับปุ๋ยน้ำได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น