ขนุนที่นิยมปลูกกันทั่วไปอยู่มี 2 ประเภท คือ ขนุนหนัง และขนุนละมุด
1. ขนุนหนัง
ลักษณะเนื้อยวงแห้งกรอบ สีเหลืองทอง สีจำปา ยวงโตเนื้อแน่นหวานกรอบนิยมปลูกกันโดยทั่วไปขนุนหนังมีอยู่หลาย
พันธุ์เช่น จำปา ตาบ๊วย ฟ้าถล่ม เป็นต้น
2. ขนุนละมุด
ลักษณะเนื้อยวงเปียก เละเหนียว เนื้อค่อนข้างบาง ยวงเล็ก รสหวาน มีกลิ่นหอม ขนุนพันธุ์นี้ ไม่ค่อยนิยมปลูกกันมากนัก อีกพวกหนึ่ง ซึ่งนิยมปลูกกันมากทางภาคใต้ของประเทศไทยคือ จำปาดะ ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายขนุน ผลเล็กยาวเรียวคล้ายผลฟัก เปลือกบาง เนื้อเละ รสหวาน กลิ่นหอม
1. ขนุนหนัง
ลักษณะเนื้อยวงแห้งกรอบ สีเหลืองทอง สีจำปา ยวงโตเนื้อแน่นหวานกรอบนิยมปลูกกันโดยทั่วไปขนุนหนังมีอยู่หลาย
พันธุ์เช่น จำปา ตาบ๊วย ฟ้าถล่ม เป็นต้น
2. ขนุนละมุด
ลักษณะเนื้อยวงเปียก เละเหนียว เนื้อค่อนข้างบาง ยวงเล็ก รสหวาน มีกลิ่นหอม ขนุนพันธุ์นี้ ไม่ค่อยนิยมปลูกกันมากนัก อีกพวกหนึ่ง ซึ่งนิยมปลูกกันมากทางภาคใต้ของประเทศไทยคือ จำปาดะ ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายขนุน ผลเล็กยาวเรียวคล้ายผลฟัก เปลือกบาง เนื้อเละ รสหวาน กลิ่นหอม
การปลูกและการดูแลรักษา แนะนำให้ปฏิบัติ ดังนี้
1. การเตรียมดิน
1.1 ใน ที่ลุ่มน้ำท่วมถึง เช่นที่ราบลุ่มแม่น้ำต่าง ๆ การปลูกขนุนในที่ ดังกล่าวต้องยกร่องเสียก่อน เช่นเดียวกับร่องผัก หรือร่องสวนในที่ลุ่ม เพื่อป้องกัน ไม่ให้น้ำท่วมถึงโคนต้นได้ ขนาดของร่องกว้างประมาณ 4-6 เมตร
คูน้ำกว้าง 1.5 เมตร ส่วนความยาวของร่องขึ้นอยู่ กับขนาดของพื้นที่และความต้องการ ความสูง ของร่องยิ่งสูงมากยิ่งดี รากขนุนจะได้หยั่งลึกและเติบโตอย่างเต็มที่ เมื่อขุดยกร่อง เสร็จแล้วทำการปรับปรุงดินให้ร่วนซุยโดยการขุดตากดิน ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เศษอินทรีย์วัตถุต่าง ๆ เพราะดินในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำมักจะเป็นดินเหนียว จัด ไม่ค่อยเหมาะต่อการเจริญเติบโตของไม้ยืนต้น ในที่ซึ่งเห็นว่าดินยังไม่ ดีพอ ดินยังเหนียวอยู่มาก ควรจะปลูกพืชพวกรากตื้น ๆ หรือปลูกผักก่อนสัก 2-3 ปี แล้วจึงปลูกขนุน ส่วนในที่เป็นร่องสวนเก่ามีคันคูอยู่แล้ว เคยปลูกพืชอย่างอื่นจนดินร่วนซุยดี แล้วก็อาจจะทำการปรับปรุงดินอีกเล็กน้อยแล้วลงมือปลูกได้เลย
1.2 ในพื้นที่น้ำท่วมไม่ถึง ที่ป่า ที่เขา ถ้าเป็นที่ ๆ เคยปลูกพืชอย่างอื่น อยู่แล้วก็ไม่ต้องเตรียมดินมาก เพราะที่จะโล่งเตียนอยู่แล้ว เพียงแต่ปรับปรุงหน้าดิน โดยการไถพรวน ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักให้ดินดีขึ้น ส่วนที่เป็นป่าเปิดใหม่ต้องถางที่ให้ โล่งเตียน ไม่ให้มีไม้อย่างอื่นปนอยู่ ถ้าไถพรวนได้สักครั้งสองครั้งก็จะเป็นการดี ที่ดังกล่าวมักเป็นดินที่ร่วนชุยอยู่แล้ว ในที่บางแห่ง เช่นป่าเปิดใหม่มักจะมีอินทรียวัตถุ อยู่มากตามธรรมชาติก็ไม่จำเป็นต้องหามาเพิ่มเติม ส่วนในที่ ๆ เห็นว่าเป็นทรายจัด อินทรียวัตถุค่อนข้างน้อยก็ควรใส่เพิ่มโดยใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น มูลสัตว์ ต่าง ๆ เศษใบไม้ใบหญ้าที่แห้งผุพัง กากถั่ว เปลือกถั่ว เป็นต้น หรือจะปรับปรุงดิน โดยใช้ปุ๋ยพืชสดก็ได้โดยการปลูกพืชตระกูลถั่วต่าง ๆ แล้วไถกลบให้ต้นถั่วสลายตัวผุพัง อยู่ในดิน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยให้ดินร่วนซุย ระบายน้ำและอากาศได้ดี ทำให้ดิน อุ้มน้ำดี เหมาะแก่การเจริญเติบโตของต้นขนุน
2. การขุดหลุมปลูก
การปลูกทั้งแบบยกร่องและ แบบปลูกในที่ดอน ควรปลูกเป็นแถวเป็น แนว เพื่อสะดวกในการดูแลรักษา และการปฎิบัติงานสวน ระยะห่างระหว่างต้นหรือ ระหว่างหลุมคือ 8 x 10 เมตร หรือ 10 x l2 เมตร เป็นระยะที่เหมาะสำหรับการปลูก แบบไร่ หรือถี่กว่านี้ขี้นอยู่กับพันธุ์และความเหมาะสมต่าง ๆ ส่วนการปลูก แบบร่อง ต้นขนุนมักมีขนาดเล็กกว่าการปลูกแบบไร่ ระยะห่างระหว่างต้นอาจ ถี่กว่านี้ก็ได้ ขนาดของหลุมปลูก ให้ขุดหลุมขนาด กว้าง ยาว ลึก 50-100 เซนติเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ถ้าดินดีร่วนซุยมีพวกอินทรีย์วัตถุมาก ขุดหลุมขนาด 50 เซนติเมตร ก็พอ ส่วนที่ดินไม่ค่อยดีให้ขุดหลุมขนาดใหญ่ เพื่อจะ ได้ปรับปรุงดินในหลุมปลูกให้ดีขึ้น ทำให้รากเจริญเติบโตได้ดี ดินที่ขุดขึ้นมาจาก หลุมนั้นให้แยกเป็นสองกอง คือดินชั้นบนกองหนึ่งและดินชั้นล่างอีกกองหนึ่ง ตากดินที่ขุดขึ้นมาประมาณ l5-20 วัน แล้วผสมดินทั้งสองกองนั้นด้วยปุ๋ยคอก และปุ๋ยหมักอัตรา 1-2 ถังก่อสร้าง หรือผสมปุ๋ยอินทรีย์ตรายักษ์เขียว อัตรา 1-2 กก.ต่อ หลุม แล้วกลบดินลงในหลุมตามเดิมโดยให้ดินชั้นบนลงไว้ก้นหลุม และดิน ชั้นล่างกลบไว้ด้านบน ดินที่กลบลงไปจะสูงเกินปากหลุม ปล่อยทิ้งไว้ให้ดินยุบตัวดี เสียก่อนจึงจะลงมือปลูก
3. วิธีปลูก
การปลูกไม่ว่าจะปลูกด้วย กิ่งตอน กิ่งทาบ หรือต้นที่เพาะเมล็ดก็ ตาม ให้ทำด้วยความระมัดระวัง อย่าให้รากขาดมากต้นจะชะงักการเจริญเติบโต ต้นขนุนที่ปลูกไว้ในภาชนะนาน ๆ ดินในภาชนะจะจับตัวแข็งและรากจะพันกัน ไปมา เวลาปลูกเมื่อเอาออกจากกระถางแล้วให้เอามือบิดินก้นภาชนะ ให้แยกออกจาก กันเล็กน้อยและค่อย ๆ คลี่รากที่ม้วนไปมาให้แยกจากกัน เพื่อจะได้เติบโตต่อไป อย่างรวดเร็ว
3.1 การปลูกด้วยกิ่งทาบ อย่ากลบดินจนมิดรอยต่อของกิ่ง ให้ปลูกใน ระดับเดียวกับดินในกระถางเดิมหรือสูงกว่าเดิมเพียงเล็กน้อยแต่ไม่มิดรอยต่อ เพื่อจะได้มองเห็นว่ากิ่งที่แตกออกมานั้นเป็นกิ่งของต้นตอหรือของกิ่งพันธุ์ ถ้า แตกออกมาจากต้นตอให้ตัดทิ้งไปเพราะเป็นกิ่งที่ไม่ต้องการ
3.2 การปลูกด้วยกิ่งตอน ให้กลบดินให้เสมอดินเดิมในภาชนะ หรือให้ เหลือจุกมะพร้าวที่ใช้ในการตอนโผล่อยู่ อย่ากลบดินจนมิดจุกมะพร้าวเพราะทำให้ ต้นเน่าได้ง่าย เมื่อ ปลูกเสร็จให้หาไม้มาปักเป็นหลักผูกต้นกันลมโยกแล้วรดน้ำทันทีให้โชก ควรใช้ทางมะพร้าวช่วยคลุมแดดให้บ้างในระยะแรก เพราะถ้าโดนแดดจัดต้นอาจจะ เฉาชะงักการเจริญเติบโตได้ หลังจากปลูกแล้วให้คอยดูแลรดน้ำอยู่เสมอ ถ้าฝน ไม่ตกการใช้ฟางหรือหญ้าแห้งคลุมบริเวณโคนต้นจะช่วยรักษาความชื้นของดินได้ดี
3.3 การปลูกพืชแซม การปลูกขนุนด้วยกิ่งตอนและกิ่งทาบจะใช้เวลา ประมาณ 3-4 ปีกว่าจะให้ผล และการปลูกด้วยเมล็ดใช้เวลาประมาณ 4-6 ปี ใน ระหว่างที่ต้นขนุนยังเล็กอยู่นี้ ควรปลูกพืชอย่างอื่นที่มีอายุสั้น ๆ เป็นการหารายได้ไป พลาง ๆ ก่อน ไม่ควรปล่อยที่ดินให้ว่างเปล่า นอกจากจะไม่ได้ประโยชน์อะไร แล้ว ยังต้องคอยดายหญ้าอยู่เสมออีกด้วย วิธีหนึ่งที่นิยมทำกันมากคือ ก่อนจะปลูก ขนุนควรปลูกกล้วยเสียก่อน เมื่อกล้วยโตพอสมควรจึงปลูกขนุนตามลงไป ซึ่งกล้วย จะช่วยเป็นร่มเงาให้ขนุนไม่โดนแดดมากเกินไป และทำให้สวนชุ่มชื้นอยู่เสมอ ต้นขนุนจะโตเร็ว จนเห็นว่าต้นขนุนโตพอสมควร ก็ทยอยขุดกล้วยออก การ ปลูกกล้วยก่อนนี้เป็นวิธีที่นิยมในการปลูกไม้ผลทั่วไป แต่มีข้อเสียตอนขุดรื้อ ต้นกล้วยออก เพราะต้องใช้แรงงานมากเช่นกัน
การดูแลรักษา
1. การให้น้ำ สัปดาห์แรกหลังจากปลูก ถ้าฝนไม่ตกควรรดน้ำให้ทุกวัน หลังจากนั้น ถ้าฝนไม่ตกควรรดน้ำ 3-4 วันต่อครั้ง และตลอดฤดูแล้ง ถ้าเห็นว่าดินแห้งเกินไป ต้องรดน้ำช่วยจนกว่าต้นขนุนมีอายุ 1 ปีขึ้นไป จีงจะปลอดภัยการให้น้ำอาจ ห่างออกไปบ้างก็ได้ การปลูกโดยทั่วไปมักให้น้ำเพียง 1-2 ครั้ง แล้วปล่อยตามธรรมธาติ ก็สามารถเจริญเติบโตให้ดอกให้ผลได้เช่นกัน เพราะโดยปกติขนุนเป็นพืชที่ทนแล้ง อยู่แล้ว แต่อย่างไรก็ตามการปลูกเพือให้ได้ผลอย่างเต็มที่นั้นควรให้น้ำอยู่อย่าง สม่ำเสมอ ในฤดูแล้งหรือช่วงที่ขาดฝนนาน ๆ ควรให้น้ำช่วยบ้าง จะทำให้ต้นเจริญ เติบโตอย่างสม่ำเสมอ ไม่ชะงักการเจริญเติบโต
เมื่อขนุนโตขนาดให้ผล แล้ว ในระยะที่ขนุนตกดอกให้งดน้ำชั่วระยะ หนึ่ง เมื่อดอกบานและติดผลแล้ว จึงให้น้ำให้มากเพื่อบำรุงผลให้เติบโตและมี คุณภาพดี หลังจากที่ติดผลแล้ว ถ้าขาดน้ำผลจะมีขนาดเล็ก การเติบโตของผลไม่สม่ำ เสมอ ผลอาจแป้ว เบี้ยว และเนื้อบาง การให้น้ำจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง
2. การปราบวัชพืช การกำจัดวัชพืชต้องกระทำอยู่เสมอ เพราะวัชพืช ต่าง ๆ จะคอยแย่ง อาหารจากต้นขนุน และการปล่อยให้สวนรกรุงรังจะกลายเป็นที่อยู่อาศัยของโรคและ แมลงต่าง ๆ ที่จะทำลายขนุนอีกด้วย การปราบวัชพืชทำได้โดยการถาง หรือโดยการปลูกพืชคลุมดินเป็นวิธีที่ควรปฏิบัติอย่างหนึ่ง เพราะพืช คลุมดินนอกจากจะป้องกันไม่ให้วัชพืชขึ้นแล้ว ยังช่วยรักษาความชุ่มชื้นของ ดิน ทำให้ดินไม่แห้งเร็ว ไม่ต้องให้น้ำบ่อย ๆ ช่วยให้ดินร่วนซุย และใบที่ร่วงหล่นจะผุพังเป็นประโยชน์ต่อไป นอกจากนี้พืชคลุมดินยังช่วยป้องกันการชะล้างของดินอัน เนื่องจากฝนตก โดยเฉพาะการปลูกตามที่ลาดเอียง พืชคลุมดินที่ควรใช้ปลูกคือพวก ถั่วต่าง ๆ เช่น ถั่วพุ่ม ถั่วผี เป็นต้น ถั่วเหล่านี้จะมีเถาอาจเลื้อยพันขึ้นไปบนต้น ขนุน ต้องหมั่นดูแลและคอยตัดออกโดยเฉพาะบริเวณเรือนพุ่มต้องคอยตัดคอย ถาง อย่าให้พืชคลุมดินขึ้นบริเวณโคนต้น พืชคลุมดินนี้เมื่อปลูกไปนาน ๆ ก็ไถกลบ ดินเสียครั้งหนึ่งแล้วปลูกใหม่จะช่วยให้ดินดียิ่งขึ้น การปราบวัชพืชนี้ถ้าไม่ปลูกพืช คลุมดินก็ควรปลูกพืชแซมดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ไม่แนะนำให้ใช้ยาปราบวัชพืชบริเวณใกล้ทรงพุ่ม เพราะจะทำให้รากขนุนชะงักการเจริญเติบโต ต้นโตช้าและโทรมเร็วกว่าปกติ
3. การให้ปุ๋ย ขนุนเป็นพืชที่ไม่เลือกดินปลูกนัก สามารถปลูกได้ในดินทั่วไป แต่ถ้าดิน นั้นอุดมสมบูรณ์มีธาตุอาหารเพียงพอ ต้นขนุนจะเจริญได้ดี ให้ผลดกและผลมี คุณภาพดี การปรับปรุงดินให้ร่วนซุยและการเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดินจึงเป็นสิ่งควร ปฏิบัติ
การให้ปุ๋ยทางดิน
ช่วงลงปลูก (ระยะแรก - 3 ปี) : ใช้ วัสดุปรับปรุงดินเกรด AAA “ยักษ์เขียว” สูตรเข้มข้นพิเศษ (แถบทอง) ในอัตรา ยักษ์เขียว 2 ส่วน : ปุ๋ยเคมี 1 ส่วน โดยปุ๋ยเคมีที่ใช้ผสม ให้ใช้สูตร 25-7-7 ผสมสลับกับ 16-16-16 ใส่ทุก ๆ 30-45 วัน จะช่วยให้ต้นโตเร็ว แตกทรงพุ่มได้ดี ต้นสมบูรณ์กว่า ใบเขียวเข้มเป็นมัน และต้นทุนต่ำกว่าการใช้เคมีอย่างเดียว 30-40% และ เมื่อต้นอายุ 1 ปีขึ้นไป ให้ใส่เพิ่มเป็น อัตรา 0.5-1 กก.ต่อต้น(มากน้อยขึ้นอยู่กับขนาดทรงพุ่ม) ทุก ๆ 1-2 เดือน
ช่วงให้ผลผลิต : เมื่อต้นโตจนให้ผลแล้ว ควรทำรางดินรอบ ๆ เป็นวงกลมในรัศมี ของกิ่งที่แผ่รอบต้นแล้วใส่ วัสดุปรับปรุงดินเกรด AAA “ยักษ์เขียว” สูตรเข้มข้นพิเศษ (แถบทอง) ในอัตรา ยักษ์เขียว 2 ส่วน : ปุ๋ยเคมี 1 ส่วน ใส่ทุก ๆ 30-45 วัน โดยปุ๋ยเคมีที่ใช้อาจใช้สูตร 15-15-15 หรือ 16- 16-16 เป็นหลัก
เนื่องจากขนุนเป็นไม้ผลที่มีขนาดใหญ่ รากสามารถหยั่งลงดินได้ ลึก และหาอาหารได้ไกล ดังนั้นการใช้ “ยักษ์เขียว”ในแปลงปลูก จะทำให้ดินดี มีความร่วนซุยอยู่เสมอ ซึ่งเป็นการเพียงพอสำหรับการปลูกขนุน นอกจากช่วงที่ต้นมีการติดผลมาก ๆ จึงควรเพิ่มปุ๋ยวิทยาศาสตร์(13-13-21 หรือ 0-0-50)ร่วมด้วย เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพ
การฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ
ช่วงเจริญเติบโต,ทั่วไป : ฉีดพ่น ปุ๋ยและฮอร์โมนธรรมชาติ ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) ในอัตรา 30-50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 10-14 วัน เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโต และกระตุ้นช่อใบและดอก ช่วยให้มีผลผลิตมาก ต้นแบกน้ำหนักได้ดี
ช่วงติดผล : ให้ฉีดพ่นเสริม ด้วย ไบโอเฟอร์ทิล สูตรเร่งขนาดผล (ฉลากเหลือง) อัตรา 30-50 ซีซี+อาหารรองและเสริม “คีเลท” อัตรา 5-10 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 10-14 วัน ทำให้เนื้อขนุนคุณภาพดีมาก ผลใหญ่ รสชาติดีกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว
ช่วงก่อนเก็บเกี่ยว 3 เดือน-เก็บเกี่ยว : ฉีดพ่นเสริม ด้วย อาหารเสริม โบวีรอนอัตรา 15-20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อเพิ่มความหวานกรอบของเนื้อขนุน ป้องกันเนื้อขขนุนเน่าดำ และอาการไส้ดำแห้งหรือเน่า เนื่องจากการขาดโบรอน
โรคและแมลง
ปกติขนุนไม่ค่อยมีโรค แมลงรบกวนนัก การปลูกโดยทั่วไปก็ไม่ได้คำนึงถึง การกำจัดศัตรูนัก แต่การป้องกันและกำจัดศัตรูที่จะมารบกวนก็เป็นอีกทางหนึ่ง ที่จะทำให้การปลูกขนุนได้ผลอย่างเต็มที่ ทำให้ต้นมีอายุยืนให้ผลได้นาน
1. โรค ที่พบว่าเป็นปัญหาอยู่บ้างได้แก่ โรครา ที่เกิดที่ดอกทำให้ดอกและผล อ่อนเน่าเป็นสีดำร่วงหล่นเสียหาย การป้องกันให้ฉีดด้วย ชีวภัณฑ์ป้องกันและกำจัดโรครา(ปลอดสารพิษ) “ไตรโค-แม็ก” อัตรา 50-100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นเมื่อพบอาการซ้ำ 2-3 ครั้ง ห่างกัน 5-7 วัน หรือกำมะถัน ผงชนิดละลายน้ำได้ แต่ต้นขนุนที่ได้รับแดดจัด ต้นโปร่ง จะเป็นโรคนี้น้อย นอกจากนี้ก็มีโรคราที่เกิดกับใบ กิ่ง หรือต้นอยู่บ้างแต่ไม่ทำความเสีย หายร้ายแรง การบำรุงรักษาต้นให้แข็งแรง ดูแลทำความสะอาดสวนอยู่เสมอ ไม่ปล่อยให้รกรุงรัง มีการตัดแต่งกิ่งออกเสียบ้างไม่ให้ต้นทึบเกินไป ตลอดจนการ ตัดกิ่งที่เป็นโรค กิ่งที่ไม่ค่อยแข็งแรงทิ้งอยู่เสมอ เป็นการป้องกันการเข้าทำลายของ ศัตรูต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดีโดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาปราบศัตรูพืชก็ได้ การใช้ยาปราบ ศัตรูพืชให้ใช้ในกรณีรีบด่วน หรือเกิดการระบาดอย่างมากเท่านั้น
2. แมลง ที่พบอยู่เสมอคือ หนอนไชลำต้น โดยเฉพาะในสวนที่ไม่ค่อยดูแลรักษา ปล่อยให้รกรุงรังจะพบมาก และยังพบมากในต้นขนุนที่มีอายุมาก ๆ ตัวหนอนจะ เจาะไชอยู่ตามกิ่ง ต้น สังเกตได้ดือรูที่หนอนไชจะมียางขนุนไหลออกมา เมือพบว่า หนอนเจาะไชเข้าไปในกิ่งหรือต้นแล้ว การกำจัดจะทำได้ลำบาก ที่ทำได้คือเปิดปากรูแล้วใช้สำลีชุบยาฆ่าแมลงเช่น ดีลดรีน ดีดีที อุดเข้าไปในรู แล้วใช้ดินเหนียว อุดปากรูไว้ หรือใช้ยาฉีดยุงฉีดเข้าไปในรูแล้วอุดด้วยดินเหนียว ยาจะระเหยเข้า ไปฆ่าหนอนได้ ส่วนกิ่งที่พบว่ามีหนอนไชมากให้ตัดเอาไปเผาทิ้งเสีย
นอกจากนี้อาจมีตัวหนอน หรือแมลงไชผล ทำให้บริเวณนั้นเน่าเป็นสีดำ ผลแป้วหรือเบี้ยวขายไม่ได้ราคา การป้องกันอาจฉีดด้วยยาฆ่าแมลงชนิดต่าง ๆ ตั้งแต่ตอนที่ยังเป็นผลอ่อนป้องกันไว้ก่อน หรืออาจทำได้โดยการห่อผลขนุนด้วยกระดาษ หนังสือพิมพ์ตั้งแต่ยังเป็นผลอ่อนอยู่ นอกจากนี้แมลงศัตรูของขนุนที่อาจพบก็มี เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย หากพบให้ใช้ ชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืช(ปลอดสารพิษ) “เมทา-แม็ก” อัตรา 50-100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นเมื่อตรวจพบศัตรูพืชซ้ำ 2-3 ครั้ง ห่างกัน 5-7 วันและอื่น ๆ แต่ไม่ค่อยมีความสำคัญนัก การดูแลสวนให้สะอาด และการใช้ ไบโอเฟอร์ทิล สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง ตามคำแนะนำเป็นประจำอยู่เสมอ จะทำให้ป้องกันการระบาดของแมลงได้เป็นอย่างดี(ประสบการณ์เกษตรกรผู้ใช้จริง)
ต้นขนุนที่ปลูกด้วยกิ่งตอน กิ่งทาบ จะออกดอกและผลประมาณปีที่ 3-4 หลังจากปลูก ส่วนการปลูกด้วยเมล็ดจะให้ผลประมาณปีที่ 4-6 ทั้ง นี้ขี้นอยู่กับการบำรุง รักษาต้นด้วย ดอกของขนุนมีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่บนต้นเดียวกัน แต่แยกกัน เป็นคนละดอก ดอกจะออกตามลำต้นและกิ่ง ดอกตัวผู้เรียกว่า ส่า เพราะมีกลิ่นคล้าย ส่าเหล้า ซึ่งจะร่วงไปในเวลาต่อมา ส่วนดอกตัวเมียมักอยู่ตามกิ่งใหญ่และลำต้น มีสีเขียวและใหญ่กว่าดอกตัวผู้ เมื่อได้รับการผสมแล้วจะเจริญเติบโตเป็นผลแก่ ภายใน 8 เดือน ปกติจะออกผลปี ละสองดรั้ง คือครั้งแรกราวเดือน ธันวาศม มกราคม และครั้งที่สองราวเดือน เมษายน พฤษภาคม และมีบางต้นที่ให้ผลตลอดปีก็มี
สำหรับผลผลิตนั้น แล้วแต่ขนาดของต้น เช่น ต้นอายุ 10 ปีขี้นไป จะมีผลประมาณ 40-50 ผล ต่อปี เป็นต้น การไว้ผลนั้น ถ้ากิ่ง หรือด้นไม่ใหญ่มากนักแต่ติดผล มาก เมื่อผลติดและโตพอสมควรแล้วให้ตัดออกเสียบ้าง นำมารับประทานหรือขาย เป็นขนุนอ่อน การไว้ผลมากจนเกินกำลังของต้นจะเป็นผลเสีย การตัดผลออกนั้นพยายาม ให้ผลที่เหลือบนต้นกระจายอยู่ทั่ว ๆ ต้น
ผลขนุนที่แก่ขนาดเก็บได้ จะสังเกตได้จากตาหนามที่เจริญขยายห่าง และผิว ของผลเป็นสีเหลืองมากขึ้น หรืออาจใช้มีดกรีดที่ขั้วผล ถ้าผลแก่จะมียางไหลออกมา น้อยและมีลักษณะข้นเหนียว การเก็บผลที่อยู่สูง ๆ ให้ตัดแล้วใส่ตะกร้าโรยลงมาจาก ต้นเพื่อไม่ให้ผล ช้ำเสียหาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น