วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ตอนที่ 25


ไธโอไซแคลม
(thiocyclam)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดแมลง  Trithiane  ออกฤทธิ์ในทางสัมผัสและกินตาย  ฤทธิ์ในทางดูดซึมมีจำกัด
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  310  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (หนู)  มากกว่า  1,000  มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        กำจัดหนอนผีเสื้อและหนอนด้วง
พืชที่ใช้                   ส้ม  กะหล่ำปลี  ข้าวโพด  มันฝรั่ง  ข้าว  อ้อย  และพืชอื่น ๆ
สูตรผสม                  50%  ดับบลิวพี
อัตราใช้และวิธีใช้        ใช้อัตราตามคำแนะนำบนฉลาก  ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นที่ใบและต้นพืช  เมื่อพบเห็นว่ามีแมลงทำลายพืชที่เพาะปลูก  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น
การแก้พิษ                ในกรณีที่คนไข้มีอาการเกิดพิษแน่ชัดว่ามาจากสารไธโอไซแคลม  (อาเจียน  สั่น  หนาว  ชักและอื่น ๆ)  ให้ฉีดคนไข้ด้วยยา  L-cysteine  ขนาด  12.5-25  มก./กก.

ไธโอดิคาร์บ
(thiodicarb)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดแมลงคาร์บาเมท  ออกฤทธิ์ในทางกินตาย  ฤทธิ์ในทางสัมผัสมีจำกัด  cholinesterase  inhibitor
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  66  มก./กก.  (หนู)  ทางผิวหนัง  มากกว่า  2,000  มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        หนอนเจาะสมออเมริกัน  หนอนหนาม  หนอนเจาะสมอสีชมพู  หนอนกระทู้  หนอนกินใบ  หนอนคืบ  หนอนชอนใบ  หนอนม้วนใบ  หนอนใยผัก  หนอนกอ  หนอนกินยอดยาสูบ  หนอนหงอนยาสูบ  หนอนเจาะลำต้น  หนอนเจาะฝัก  มวนแดง  ด้วง  เพลี้ยหอย  หนอนแมลงวัน  และแมลงอื่น ๆ ที่ทำลายพืช
พืชที่ใช้                   ฝ้าย  ส้ม  มะนาว  องุ่น  ถั่วเหลือง  มะเขือเทศ  พืชผัก  ยาสูบ  ข้าวโพด  และพืชอื่น ๆ ทั่วไป
สูตรผสม                  37.5%  เอฟ  (F)  และ  75%  ดับบลิวพี
อัตราการใช้               ชนิด  37.5%  ใช้อัตรา  40-60  ซีซี  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร  ชนิด  75%  ใช้อัตรา  30-50  กรัม  ผสมกับน้ำ  20  ลิตร
วิธีใช้                       ใช้ผสมกับน้ำกวนให้เข้ากันดี  แล้วฉีดพ่นที่ใบให้ทั่วต้นพืช  เมื่อตรวจพบว่ามีแมลงทำลายพืชที่เพาะปลูก  ใช้ซ้ำได้ตามความจำเป็น
อาการเกิดพิษ            ผู้ได้รับพิษจะมีอาการม่านตาหรี่  ตาพร่า  วิงเวียน  ปวดศีรษะ  คลื่นไส้  อาเจียน  เหงื่อออกมาก  กล้ามเนื้อกระตุก  ชัก  หมดสติและหมดลมหายใจ  ถ้าถูกผิวหนังหรือเข้าตา  จะทำให้เกิดอาการระคายเคือง  น้ำตาไหล
การแก้พิษ                ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำกับสบู่  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดจำนวนมาก ๆ  ถ้าเข้าปากและยังไม่หมดสติหรือชัก  ให้ดื่มน้ำ  1-2  แก้ว  แล้วทำให้อาเจียนโดยการล้วงคอหรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น  แล้วนำผู้ป่วยส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ยาแก้พิษคือ  อะโทรปินซัลเฟท  1-2  มก.  ห้ามใช้ยาพวก  narcotic  sedative  และ  2-PAM  รักษาตามอาการ
ข้อควรรู้                    - ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว  28  วัน
                             - อย่าผสมกับสารกำจัดเชื้อราที่มีโลหะหนักผสม  เช่น  maneb  mancozeb  Bordeaux  Mixture
                             - อย่าใช้น้ำที่มี  pH  ต่ำกว่า  3.0  หรือสูงกว่า  8.5  ผสมกับไธโอดิคาร์บ
                             - จะต้องใช้  thiodicarb  ที่ผสมกับน้ำแล้วภายใน  6  ชั่วโมง
                             - ออกฤทธิ์ตกค้างได้นานประมาณ  7-10  วัน

ไธโอฟาน๊อกซ์
(thiofanox)
การออกฤทธิ์             เป็นสารกำจัดแมลงและไรคาร์บาเมท  ประเภทดูดซึม
ความเป็นพิษ             มีพิษเฉียบพลันทางปาก  (หนู)  8  มก./กก.  ทางผิวหนัง  (หนู)  39  มก./กก.
ศัตรูพืชที่กำจัดได้        เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยไฟ  เพลี้ยจักจั่น  เพลี้ยหอย  แมลงหวี่ขาว  ไรแดง  มวน  และด้วงบางชนิด
พืชที่ใช้                   ฝ้าย  มันฝรั่ง  ถั่วลิสง  ถั่วเหลือง  อ้อย  และธัญพืชบางชนิด
สูตรผสม                  5%  จี
อัตราการใช้               9.6-32  กก./ไร่
วิธีใช้                       ใช้หว่านรอบโคนต้นหรือหยอดลงหลุมปลูก
อาการเกิดพิษ            จะมีอาการวิงเวียน  คลื่นไส้  อาเจียน  น้ำลายสอ  ปวดท้อง  ท้องเสีย  กล้ามเนื้ออ่อนเปลี้ย  เหนื่อย  ตัวสั่น  ม่านตาหรี่  ชักกระตุกและหมดความรู้สึก
การแก้พิษ                ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำสบู่มาก ๆ  ถ้าเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดจำนวนมาก ๆ  ถ้ากลืนกินเข้าไป  ต้องรีบทำให้อาเจียนด้วยการล้วงคอหรือให้ดื่มน้ำเกลืออุ่น  1-2  แก้ว  แล้วนำคนไข้ส่งแพทย์  สำหรับแพทย์  ให้คนไข้ถ่ายท้องด้วยยา  Laxative  salt  ให้ยาอะโทรปินซัลเฟท  แล้วรักษาตามอาการต่อไป
ข้อควรรู้                    - เป็นอันตรายต่อปลา
                             - ภายใต้สภาพที่เหมาะสม  จะออกฤทธิ์ควบคุมศัตรูพืชได้นาน  5-10  อาทิตย์
                             - เป็นอันตรายเมื่อถูกผิวหนังและหายใจเข้าไป
                             - เก็บไว้ในที่มิดชิด  ห่างไกลจากเด็ก  อาหารและสัตว์เลี้ยง
                             - ห้ามใช้กับพืชอาหาร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น